......ในขณะที่จะเข้าสมาธิเป็นการพักผ่อนจิต เพื่อเป็นกำลังของปัญญาในการค้นคว้าต่อไป
ก็พักเสีย พักในสมาธิ คือเข้าสู่ความสงบ ได้แก่หยุดการปรุงการแต่งการคิดค้นคว้าทางด้านปัญญาโดยประการทั้งปวง
ให้จิตสงบตัวเข้ามาอยู่อย่างสบาย ไม่ต้องคิดต้องปรุงอะไรซึ่งเป็นเรื่องของงาน พักจิตให้สบายโดยความมีอารมณ์เดียว
หากว่าจิตมีความเพลิดเพลินต่อการพิจารณาไปมากจะยับยั้งไว้ไม่ได้ เราก็เอา “พุทโธ” เป็นเครื่องฉุดลากเข้ามา
ให้จิตอยู่กับ
“พุทโธ ๆๆ”
คำบริกรรมกับ
“พุทโธ” นี้
แม้จะเป็นความคิดปรุงก็ตาม แต่เป็นความคิดปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียว
ความปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียวนั้นเป็นเหตุให้จิตมีความสงบตัวได้ เช่น คำว่า “พุทโธ ๆๆ”
หากจิตจะแย็บออกไปทำงานเพราะความเพลิดเพลินในงาน งานยังไม่เสร็จ เราก็กำหนดคำบริกรรมนั้นให้ถี่ยิบเข้าไป
ไม่ยอมให้จิตนี้ออกไปทำงาน คือจิตขั้นที่เพลินกับงานนั้นมีอยู่ ถ้าพูดแบบโลกก็ว่า “เผลอไม่ได้”
แต่จะว่าจิตเผลอก็พูดยาก การพูดที่พอใกล้เคียงก็ควรว่า
“รามือไม่ได้” พูดง่าย ๆ ว่ายังงั้น เรารามือไม่ได้
จิตจะต้องโดดออกไปหางาน ตอนนี้ต้องหนักแน่นในการบริกรรม บังคับจิตให้อยู่กับอารมณ์อันเดียว คือ พุทโธ เป็นเครื่องยับยั้งจิต
กำหนด พุทโธ ๆๆๆ ให้ถี่ยิบอยู่นั้น แล้ว พุทโธ กับจิตก็เป็นอันเดียวกัน ใจก็แน่ว สงบลง สงบลงไป ก็สบาย
ปล่อยวางงานอะไรทั้งหมด ใจก็เยือกเย็นขึ้นมา นี่คือสมาธิที่ชอบ
ในขณะที่จะพักต้องพักอย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สัมมาสมาธิ” เป็นสมาธิชอบ
พอสมควรเห็นว่าใจได้กำลังแล้ว เพียงปล่อยเท่านั้นแหละจิตจะดีดตัวออกทำงานทันทีเลย
ดีดออกจากความเป็นหนึ่ง ความเป็นอารมณ์อันเดียวนั้น แล้วก็เป็นสองกับงานละทีนี้ ใจทำงานต่อไปอีก
ไม่ห่วงกับเรื่องของสมาธิในขณะที่ทำงาน ในขณะที่ทำสมาธิเพื่อความสงบก็ไม่ต้องห่วงกับงานเลยเช่นเดียวกัน
ขณะที่พักต้องพัก เช่นในขณะที่รับประทานต้องรับประทาน ไม่ต้องทำงานอะไรทั้งนั้น นอกจากทำงานในการรับประทาน
จะพักนอนหลับก็นอนหลับให้สบาย ๆ ในขณะที่นอนไม่ต้องไปยุ่งกับงานอะไรทั้งสิ้น
แต่เวลาที่เริ่มทำงานแล้วไม่ต้องไปยุ่งในเรื่องการกินการนอน ตั้งหน้าทำงานจริง ๆ นี่ได้ชื่อว่าทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน
ทำงานเป็นวรรคเป็นตอน ทำงานถูกต้องโดยกาลโดยเวลาเหมาะสมกับเหตุการณ์ เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
“สัมมากัมมันตะ” คือการงานชอบ ไม่ก้าวก่ายกัน เป็นงานที่เหมาะสม
เรื่องสมาธิปล่อยไม่ได้ การปฏิบัติเพื่อความรื่นเริงของใจ
การเห็นว่า “สมาธิ” อยู่เฉย ๆ ไม่เกิดประโยชน์นั้นไม่ถูก
ถ้าผู้ติดสมาธิไม่อยากออกทำงานเลยอย่างนั้น เห็นว่าไม่ถูกต้องควรตำหนิ เพื่อให้ผู้นั้นได้ถอนตัวออกมาทำงาน
แต่ถ้าจิตมีความเพลิดเพลินในงานแล้ว เรื่องของสมาธิก็มีความจำเป็นในด้านหนึ่ง ในเวลาหนึ่งจนได้
คนเราทำงานไม่พักผ่อนนอนหลับบ้างเลยนี้ทำงานต่อไปไม่ได้ แม้จะรับประทานอาหาร สมบัติเสียไปด้วยการรับประทานก็ให้มันเสียไป
ผลที่ได้คือธาตุขันธ์มีกำลังจากการรับประทาน ประกอบการงานตามหน้าที่ต่อไปได้อีก
เงินจะเสียไป ข้าวของอะไรที่นำมารับประทานจะเสียไป ก็เสียไปเพื่อเกิดประโยชน์
เพื่อเป็นพลังในร่างกายเราจะเป็นอะไรไป ให้มันเสียไปเสียอย่างนี้ ไม่เสียผลเสียประโยชน์อะไร
ถ้าไม่รับประทานจะเอากำลังมาจากไหน ต้องรับประทาน เสียไปก็เสียไปเพื่อกำลัง เพื่อให้เกิดกำลังขึ้นมา
นี่การพักในสมาธิ ในขณะที่พักให้มีความสงบ ความสงบนั้นแลเป็นพลังของจิต
ที่จะหนุนทางด้านปัญญาได้อย่างคล่องแคล่ว เราต้องพักให้มีความสงบ
ถ้าไม่สงบเลยมีแต่ปัญญาเดินท่าเดียว ก็เหมือนกับมีดไม่ได้ลับหิน ฟันตุ๊บ ๆ ตั๊บ ๆ ไม่ทราบว่าเอาสันลงเอาคมลง
มีแต่ความอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากถอนกิเลสโดยถ่ายเดียว
โดยที่ปัญญาไม่ได้ลับจากการพักสงบ อันเป็นสิ่งที่หนุนหลังให้เป็นความสงบเย็นใจ ให้เป็นกำลังของใจ
แล้วมันก็เหมือนกับมีดที่ไม่ได้ลับหินน่ะซี ฟันอะไรก็ไม่ค่อยขาดง่าย ๆ เสียกำลังวังชาไปเปล่า ๆ
เพราะฉะนั้นเพื่อความเหมาะสม ในขณะที่พักสงบจิตในเรือนสมาธิต้องให้พัก
การพักผ่อนจึงเหมือนเอาหินลับปัญญานั่นเอง การพักธาตุขันธ์ คือสกลกายก็มีกำลัง การพักจิต จิตก็มีกำลังด้วย
พอมีกำลังแล้ว จิตออกคราวนี้ก็เหมือน
“มีดได้ลับหินแล้ว”
อารมณ์อันเก่านั้นแล ปัญญาอันเก่านั้นแล ผู้พิจารณาคนเก่านั้นแล แต่พอกำหนดพิจารณาลงไป มันขาดทะลุไปเลย
คราวนี้เหมือนกับคนที่พักผ่อนนอนหลับ รับอาหารให้สบาย ลับมีดพร้าให้เรียบร้อยแล้ว
ไปฟันไม้ท่อนนั้นแล คน ๆ นั้น มีดก็เล่มนั้น แต่มันขาดได้อย่างง่ายดาย เพราะมีดก็คม คนก็มีกำลัง
นี่อารมณ์ก็อารมณ์อันนั้นแล ปัญญาก็ปัญญาอันนั้นแล ผู้ปฏิบัติคนนั้นแล แต่ได้
“ลับหิน” แล้ว
กำลังของจิตก็มีแล้วเป็นเครื่องหนุนปัญญา จึงแทงทะลุไปได้อย่างรวดเร็ว ผิดกับตอนไม่ได้พักในสมาธิเป็นไหน ๆ
เพราะฉะนั้นเรื่องของสมาธิกับเรื่องของปัญญา จึงเป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกัน เป็นแต่เพียงทำงานในวาระต่าง ๆ กันเท่านั้น
วาระที่จะทำสมาธิก็ทำเสีย วาระนี้จะพิจารณาทางด้านปัญญาให้เต็มอรรถเต็มธรรม เต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มสติกำลัง
พิจารณาลงไปให้เต็มเหตุเต็มผล เวลาจะพักก็พักให้เต็มที่เต็มฐานเหมือนกัน ให้เป็นคนละเวลาไม่ให้ก้าวก่ายกัน
แบบทั้งจะพิจารณาทางด้านปัญญา ทั้งเป็นห่วงสมาธิ เวลาเข้าสมาธิแล้วก็เป็นอารมณ์กับเรื่องปัญญา อย่างนี้ไม่ถูก
จะปล่อยทางไหน จะทำงานอะไรให้ทำงานนั้นจริง ๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอัน นี่ถูกต้องเหมาะสม สัมมาสมาธิ ก็เป็นอย่างนี้จริง ๆ
เรื่องของกิเลสเป็นเรื่องกดถ่วงจิตใจ จิตเรานี่เหมือนเป็นนักโทษ ถูกกิเลสอาสวะทั้งหลายครอบงำอยู่ตลอดเวลา
และบังคับทรมานจิตใจมาตลอดนับแต่เกิดมา
---------------------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก
โลกในเรือนจำกับโลกนอก -
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1521&CatID=1
“พุทโธ ๆๆ”
ก็พักเสีย พักในสมาธิ คือเข้าสู่ความสงบ ได้แก่หยุดการปรุงการแต่งการคิดค้นคว้าทางด้านปัญญาโดยประการทั้งปวง
ให้จิตสงบตัวเข้ามาอยู่อย่างสบาย ไม่ต้องคิดต้องปรุงอะไรซึ่งเป็นเรื่องของงาน พักจิตให้สบายโดยความมีอารมณ์เดียว
หากว่าจิตมีความเพลิดเพลินต่อการพิจารณาไปมากจะยับยั้งไว้ไม่ได้ เราก็เอา “พุทโธ” เป็นเครื่องฉุดลากเข้ามา
ให้จิตอยู่กับ “พุทโธ ๆๆ”
คำบริกรรมกับ “พุทโธ” นี้ แม้จะเป็นความคิดปรุงก็ตาม แต่เป็นความคิดปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียว
ความปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียวนั้นเป็นเหตุให้จิตมีความสงบตัวได้ เช่น คำว่า “พุทโธ ๆๆ”
หากจิตจะแย็บออกไปทำงานเพราะความเพลิดเพลินในงาน งานยังไม่เสร็จ เราก็กำหนดคำบริกรรมนั้นให้ถี่ยิบเข้าไป
ไม่ยอมให้จิตนี้ออกไปทำงาน คือจิตขั้นที่เพลินกับงานนั้นมีอยู่ ถ้าพูดแบบโลกก็ว่า “เผลอไม่ได้”
แต่จะว่าจิตเผลอก็พูดยาก การพูดที่พอใกล้เคียงก็ควรว่า “รามือไม่ได้” พูดง่าย ๆ ว่ายังงั้น เรารามือไม่ได้
จิตจะต้องโดดออกไปหางาน ตอนนี้ต้องหนักแน่นในการบริกรรม บังคับจิตให้อยู่กับอารมณ์อันเดียว คือ พุทโธ เป็นเครื่องยับยั้งจิต
กำหนด พุทโธ ๆๆๆ ให้ถี่ยิบอยู่นั้น แล้ว พุทโธ กับจิตก็เป็นอันเดียวกัน ใจก็แน่ว สงบลง สงบลงไป ก็สบาย
ปล่อยวางงานอะไรทั้งหมด ใจก็เยือกเย็นขึ้นมา นี่คือสมาธิที่ชอบ
ในขณะที่จะพักต้องพักอย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สัมมาสมาธิ” เป็นสมาธิชอบ
พอสมควรเห็นว่าใจได้กำลังแล้ว เพียงปล่อยเท่านั้นแหละจิตจะดีดตัวออกทำงานทันทีเลย
ดีดออกจากความเป็นหนึ่ง ความเป็นอารมณ์อันเดียวนั้น แล้วก็เป็นสองกับงานละทีนี้ ใจทำงานต่อไปอีก
ไม่ห่วงกับเรื่องของสมาธิในขณะที่ทำงาน ในขณะที่ทำสมาธิเพื่อความสงบก็ไม่ต้องห่วงกับงานเลยเช่นเดียวกัน
ขณะที่พักต้องพัก เช่นในขณะที่รับประทานต้องรับประทาน ไม่ต้องทำงานอะไรทั้งนั้น นอกจากทำงานในการรับประทาน
จะพักนอนหลับก็นอนหลับให้สบาย ๆ ในขณะที่นอนไม่ต้องไปยุ่งกับงานอะไรทั้งสิ้น
แต่เวลาที่เริ่มทำงานแล้วไม่ต้องไปยุ่งในเรื่องการกินการนอน ตั้งหน้าทำงานจริง ๆ นี่ได้ชื่อว่าทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน
ทำงานเป็นวรรคเป็นตอน ทำงานถูกต้องโดยกาลโดยเวลาเหมาะสมกับเหตุการณ์ เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
“สัมมากัมมันตะ” คือการงานชอบ ไม่ก้าวก่ายกัน เป็นงานที่เหมาะสม
เรื่องสมาธิปล่อยไม่ได้ การปฏิบัติเพื่อความรื่นเริงของใจ การเห็นว่า “สมาธิ” อยู่เฉย ๆ ไม่เกิดประโยชน์นั้นไม่ถูก
ถ้าผู้ติดสมาธิไม่อยากออกทำงานเลยอย่างนั้น เห็นว่าไม่ถูกต้องควรตำหนิ เพื่อให้ผู้นั้นได้ถอนตัวออกมาทำงาน
แต่ถ้าจิตมีความเพลิดเพลินในงานแล้ว เรื่องของสมาธิก็มีความจำเป็นในด้านหนึ่ง ในเวลาหนึ่งจนได้
คนเราทำงานไม่พักผ่อนนอนหลับบ้างเลยนี้ทำงานต่อไปไม่ได้ แม้จะรับประทานอาหาร สมบัติเสียไปด้วยการรับประทานก็ให้มันเสียไป
ผลที่ได้คือธาตุขันธ์มีกำลังจากการรับประทาน ประกอบการงานตามหน้าที่ต่อไปได้อีก
เงินจะเสียไป ข้าวของอะไรที่นำมารับประทานจะเสียไป ก็เสียไปเพื่อเกิดประโยชน์
เพื่อเป็นพลังในร่างกายเราจะเป็นอะไรไป ให้มันเสียไปเสียอย่างนี้ ไม่เสียผลเสียประโยชน์อะไร
ถ้าไม่รับประทานจะเอากำลังมาจากไหน ต้องรับประทาน เสียไปก็เสียไปเพื่อกำลัง เพื่อให้เกิดกำลังขึ้นมา
นี่การพักในสมาธิ ในขณะที่พักให้มีความสงบ ความสงบนั้นแลเป็นพลังของจิต
ที่จะหนุนทางด้านปัญญาได้อย่างคล่องแคล่ว เราต้องพักให้มีความสงบ
ถ้าไม่สงบเลยมีแต่ปัญญาเดินท่าเดียว ก็เหมือนกับมีดไม่ได้ลับหิน ฟันตุ๊บ ๆ ตั๊บ ๆ ไม่ทราบว่าเอาสันลงเอาคมลง
มีแต่ความอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากถอนกิเลสโดยถ่ายเดียว
โดยที่ปัญญาไม่ได้ลับจากการพักสงบ อันเป็นสิ่งที่หนุนหลังให้เป็นความสงบเย็นใจ ให้เป็นกำลังของใจ
แล้วมันก็เหมือนกับมีดที่ไม่ได้ลับหินน่ะซี ฟันอะไรก็ไม่ค่อยขาดง่าย ๆ เสียกำลังวังชาไปเปล่า ๆ
เพราะฉะนั้นเพื่อความเหมาะสม ในขณะที่พักสงบจิตในเรือนสมาธิต้องให้พัก
การพักผ่อนจึงเหมือนเอาหินลับปัญญานั่นเอง การพักธาตุขันธ์ คือสกลกายก็มีกำลัง การพักจิต จิตก็มีกำลังด้วย
พอมีกำลังแล้ว จิตออกคราวนี้ก็เหมือน “มีดได้ลับหินแล้ว”
อารมณ์อันเก่านั้นแล ปัญญาอันเก่านั้นแล ผู้พิจารณาคนเก่านั้นแล แต่พอกำหนดพิจารณาลงไป มันขาดทะลุไปเลย
คราวนี้เหมือนกับคนที่พักผ่อนนอนหลับ รับอาหารให้สบาย ลับมีดพร้าให้เรียบร้อยแล้ว
ไปฟันไม้ท่อนนั้นแล คน ๆ นั้น มีดก็เล่มนั้น แต่มันขาดได้อย่างง่ายดาย เพราะมีดก็คม คนก็มีกำลัง
นี่อารมณ์ก็อารมณ์อันนั้นแล ปัญญาก็ปัญญาอันนั้นแล ผู้ปฏิบัติคนนั้นแล แต่ได้ “ลับหิน” แล้ว
กำลังของจิตก็มีแล้วเป็นเครื่องหนุนปัญญา จึงแทงทะลุไปได้อย่างรวดเร็ว ผิดกับตอนไม่ได้พักในสมาธิเป็นไหน ๆ
เพราะฉะนั้นเรื่องของสมาธิกับเรื่องของปัญญา จึงเป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกัน เป็นแต่เพียงทำงานในวาระต่าง ๆ กันเท่านั้น
วาระที่จะทำสมาธิก็ทำเสีย วาระนี้จะพิจารณาทางด้านปัญญาให้เต็มอรรถเต็มธรรม เต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มสติกำลัง
พิจารณาลงไปให้เต็มเหตุเต็มผล เวลาจะพักก็พักให้เต็มที่เต็มฐานเหมือนกัน ให้เป็นคนละเวลาไม่ให้ก้าวก่ายกัน
แบบทั้งจะพิจารณาทางด้านปัญญา ทั้งเป็นห่วงสมาธิ เวลาเข้าสมาธิแล้วก็เป็นอารมณ์กับเรื่องปัญญา อย่างนี้ไม่ถูก
จะปล่อยทางไหน จะทำงานอะไรให้ทำงานนั้นจริง ๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอัน นี่ถูกต้องเหมาะสม สัมมาสมาธิ ก็เป็นอย่างนี้จริง ๆ
เรื่องของกิเลสเป็นเรื่องกดถ่วงจิตใจ จิตเรานี่เหมือนเป็นนักโทษ ถูกกิเลสอาสวะทั้งหลายครอบงำอยู่ตลอดเวลา
และบังคับทรมานจิตใจมาตลอดนับแต่เกิดมา
---------------------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก
โลกในเรือนจำกับโลกนอก - หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1521&CatID=1