เพราะฉะนั้นไม่ใช่ พวกเราจะไปสรุปตามใจชอบนะว่า ต้องนั่งสมาธิเข้าฌานได้ก่อน ถึงจะเจริญปัญญาได้ บางคนสรุปแบบนี้นะ
ใช้ไม่ได้เลยนะ มันขัดกับพระไตรปิฎกเลย คนส่วนน้อยหรอก ที่ทรงฌาน คนส่วนมากก็คือคนอย่างพวกเรานี้แหละ
แล้วทำไมถึงไปบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ท่านที่บรรลุมรรคผลโดยทรงฌาน
ท่านก็มีสมาธิอย่างที่สองด้วย ถ้ามีสมาธิแต่อย่างแรกน่ะ จะบรรลุมรรคผลไม่ได้หรอก
สมาธิสองชนิดต่างกันอย่างไร สมาธิอย่างแรกที่เป็นไปเพื่อความสุขความสงบนั้นน่ะ มันมีลักษณะที่ว่า
มีจิตเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตก็เป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตไปรวมสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว
เพราะฉะนั้นไม่เดินปัญญา ยกตัวอย่าง พุทโธ พุทโธ พุทโธ นะ จิตอยู่กับพุทโธไม่หนีไปไหนเลย
สงบอยู่กับพุทโธ นี่คือสมาธิชนิดที่หนึ่ง ไปรู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปไหนเลย จิตจับอยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียวเลย
นี่คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปดูท้องพองยุบ เห็นท้องพองท้องยุบ จิตจับเข้าไปที่ท้อง ไม่ไปไหนเลย สงบอยู่กับท้องเท่านั้นเอง
นี่เป็นสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า จิตไปเพ่งอยู่ที่เท้า หรือเพ่งอยู่ที่ร่างกายทั้งร่างกาย
นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว นี้คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง
อ่านเนื้อหาเต็มได้จากที่นี่นะคะ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
http://www.dhammada.net/2013/11/18/23867/
"งงแล้วรู้ว่างงเป็นการเจริญปัญญานะ ได้บุญใหญ่ยิ่งกว่าใส่บาตรอีก
เมื่อไรมีสติเมื่อนั้นจิตเป็นกุศล เมื่อไรขาดสติเมื่อนั้นไม่ใช่กุศลแล้ว ดูแค่ง่ายๆ รู้เนื่อรู้ตัวไป"
พระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่โรงเรียนสตรีภูเก็ต วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558
http://podcast.dhamma.com/webpage/page/20/size/25
(เนื้อหาบางส่วน)
นักปฏิบัติน่ะ ไม่ได้ทำอย่างอื่นหรอก ชอบแทรกแซงขันธ์ แทรกแซงไปเรื่อยเลย บังคับไป กระทั่งทำสมถะนะ ก็คือพยายามบังคับให้ใจนิ่ง
แต่ว่ามีประโยชน์นะ สมถะ ไม่ใช่หลวงพ่อว่าไม่ให้ทำนะ เพียงแต่ว่าทำสมถะ บังคับใจไปเรื่อยๆไม่เกี่ยวอะไรกับมรรคผลนิพพาน อยากได้มรรคผลนิพพานต้องปล่อยให้ขันธ์ ๕ ทำงานไป แล้วมีสติตามรู้ไปเรื่อยๆ จนเห็นความจริง ว่ามันทำงานของมันเอง มันไม่ใช่ตัวเรา ใจเป็นกลาง ใจไม่ดิ้นรน ตรงที่ใจไม่ดิ้นรนนั่นแหละ ใจจะเข้าไปถึงธรรมะ ไม่ใช่ทำให้ขันธ์สงบแล้วเข้าถึงธรรมะนะ ขันธ์ก็ต้องเป็นขันธ์ ขันธ์ก็ต้องปรุงแต่ง เพราะขันธ์เป็น“สังขตธรรม” ธรรมที่ต้องปรุงแต่งถ้าเราวางเป้าหมายของการปฏิบัติผิด เราจะเข้าถึงธรรมะไม่ได้ นักปฏิบัติเกือบทั้งหมดนะตั้งเป้าหมายของการปฏิบัติผิด อยากดี อยากดี อยากจะพ้นจากความชั่ว อยากจะดี อยากได้รับความสุขนะ พ้นจากความทุกข์ อยากได้ความสงบ พ้นจากความฟุ้งซ่าน แท้จริงแล้วไม่มีใครทำขันธ์นี้ให้สุขถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้สงบถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้ดีถาวรได้ เพราะขันธ์เป็นของไม่ถาวร สุขได้ก็ทุกข์ได้ ดีได้ก็ชั่วได้นะ แต่ความพ้นจากขันธ์ต่างหากล่ะ คือความพ้นจากทุกข์ เราไม่เข้าใจนะ ว่าความพ้นจากขันธ์คือความพ้นจากทุกข์ พ้นจากขันธ์ไม่ต้องรอให้ตายก่อนนะ จิตนี้แหละมันไม่ยึดถือขันธ์ มันถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ เป็นอิสระจากขันธ์ เมื่อไรจิตเป็นอิสระจากขันธ์ ถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ ในพระไตรปิฎกมีคำหนึ่งด้วย สำรอกออกมา สำรอกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์นะ ขันธ์ก็เป็นทุกข์ตามธรรมดาของขันธ์ แต่จิตที่หลุดออกมาจากขันธ์ จิตที่พ้นจากขันธ์ ตัวนี้ต่างหากที่ไม่ทุกข์ ไม่ใช่พยายามไปปฏิบัติเพื่อให้ขันธ์เป็นสุขนะ พวกเราพยายามปฏิบัติจะให้ขันธ์เป็นสุข เช่น อยากให้จิตสุขถาวร ถ้าตั้งเป้าผิด การปฏิบัติผิดแน่นอนเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำ ชาวพุทธทำเนี่ย ไม่ใช่ว่าทำยังไงจะดี ทำยังไงจะสุข ทำยังไงจะสงบ อันนั้นศาสนาอื่นเค้าก็ทำ สิ่งที่ชาวพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ ก็อยู่ที่ตัวปัญญานั่นเอง สิ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธต่างจากคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องศีล ไม่ใช่เรื่องสมาธินะ ศาสนาอื่นก็มีศีล มีสมาธิ แตกต่างก็แตกต่างในรายละเอียด
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖ /Track: ๒/File: 491022B.mp3/ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๓
http://www.dhammada.net/2010/10/05/4821/
FYI...ต้องนั่งสมาธิเข้าฌานได้ก่อน ถึงจะเจริญปัญญาได้ บางคนสรุปแบบนี้นะ ใช้ไม่ได้เลยนะ มันขัดกับพระไตรปิฎกเลย
ใช้ไม่ได้เลยนะ มันขัดกับพระไตรปิฎกเลย คนส่วนน้อยหรอก ที่ทรงฌาน คนส่วนมากก็คือคนอย่างพวกเรานี้แหละ
แล้วทำไมถึงไปบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ท่านที่บรรลุมรรคผลโดยทรงฌาน
ท่านก็มีสมาธิอย่างที่สองด้วย ถ้ามีสมาธิแต่อย่างแรกน่ะ จะบรรลุมรรคผลไม่ได้หรอก
สมาธิสองชนิดต่างกันอย่างไร สมาธิอย่างแรกที่เป็นไปเพื่อความสุขความสงบนั้นน่ะ มันมีลักษณะที่ว่า
มีจิตเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตก็เป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตไปรวมสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว
เพราะฉะนั้นไม่เดินปัญญา ยกตัวอย่าง พุทโธ พุทโธ พุทโธ นะ จิตอยู่กับพุทโธไม่หนีไปไหนเลย
สงบอยู่กับพุทโธ นี่คือสมาธิชนิดที่หนึ่ง ไปรู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปไหนเลย จิตจับอยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียวเลย
นี่คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปดูท้องพองยุบ เห็นท้องพองท้องยุบ จิตจับเข้าไปที่ท้อง ไม่ไปไหนเลย สงบอยู่กับท้องเท่านั้นเอง
นี่เป็นสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า จิตไปเพ่งอยู่ที่เท้า หรือเพ่งอยู่ที่ร่างกายทั้งร่างกาย
นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว นี้คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง
อ่านเนื้อหาเต็มได้จากที่นี่นะคะ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
http://www.dhammada.net/2013/11/18/23867/
"งงแล้วรู้ว่างงเป็นการเจริญปัญญานะ ได้บุญใหญ่ยิ่งกว่าใส่บาตรอีก
เมื่อไรมีสติเมื่อนั้นจิตเป็นกุศล เมื่อไรขาดสติเมื่อนั้นไม่ใช่กุศลแล้ว ดูแค่ง่ายๆ รู้เนื่อรู้ตัวไป"
พระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่โรงเรียนสตรีภูเก็ต วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558
http://podcast.dhamma.com/webpage/page/20/size/25
(เนื้อหาบางส่วน)
นักปฏิบัติน่ะ ไม่ได้ทำอย่างอื่นหรอก ชอบแทรกแซงขันธ์ แทรกแซงไปเรื่อยเลย บังคับไป กระทั่งทำสมถะนะ ก็คือพยายามบังคับให้ใจนิ่ง แต่ว่ามีประโยชน์นะ สมถะ ไม่ใช่หลวงพ่อว่าไม่ให้ทำนะ เพียงแต่ว่าทำสมถะ บังคับใจไปเรื่อยๆไม่เกี่ยวอะไรกับมรรคผลนิพพาน อยากได้มรรคผลนิพพานต้องปล่อยให้ขันธ์ ๕ ทำงานไป แล้วมีสติตามรู้ไปเรื่อยๆ จนเห็นความจริง ว่ามันทำงานของมันเอง มันไม่ใช่ตัวเรา ใจเป็นกลาง ใจไม่ดิ้นรน ตรงที่ใจไม่ดิ้นรนนั่นแหละ ใจจะเข้าไปถึงธรรมะ ไม่ใช่ทำให้ขันธ์สงบแล้วเข้าถึงธรรมะนะ ขันธ์ก็ต้องเป็นขันธ์ ขันธ์ก็ต้องปรุงแต่ง เพราะขันธ์เป็น“สังขตธรรม” ธรรมที่ต้องปรุงแต่งถ้าเราวางเป้าหมายของการปฏิบัติผิด เราจะเข้าถึงธรรมะไม่ได้ นักปฏิบัติเกือบทั้งหมดนะตั้งเป้าหมายของการปฏิบัติผิด อยากดี อยากดี อยากจะพ้นจากความชั่ว อยากจะดี อยากได้รับความสุขนะ พ้นจากความทุกข์ อยากได้ความสงบ พ้นจากความฟุ้งซ่าน แท้จริงแล้วไม่มีใครทำขันธ์นี้ให้สุขถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้สงบถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้ดีถาวรได้ เพราะขันธ์เป็นของไม่ถาวร สุขได้ก็ทุกข์ได้ ดีได้ก็ชั่วได้นะ แต่ความพ้นจากขันธ์ต่างหากล่ะ คือความพ้นจากทุกข์ เราไม่เข้าใจนะ ว่าความพ้นจากขันธ์คือความพ้นจากทุกข์ พ้นจากขันธ์ไม่ต้องรอให้ตายก่อนนะ จิตนี้แหละมันไม่ยึดถือขันธ์ มันถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ เป็นอิสระจากขันธ์ เมื่อไรจิตเป็นอิสระจากขันธ์ ถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ ในพระไตรปิฎกมีคำหนึ่งด้วย สำรอกออกมา สำรอกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์นะ ขันธ์ก็เป็นทุกข์ตามธรรมดาของขันธ์ แต่จิตที่หลุดออกมาจากขันธ์ จิตที่พ้นจากขันธ์ ตัวนี้ต่างหากที่ไม่ทุกข์ ไม่ใช่พยายามไปปฏิบัติเพื่อให้ขันธ์เป็นสุขนะ พวกเราพยายามปฏิบัติจะให้ขันธ์เป็นสุข เช่น อยากให้จิตสุขถาวร ถ้าตั้งเป้าผิด การปฏิบัติผิดแน่นอนเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำ ชาวพุทธทำเนี่ย ไม่ใช่ว่าทำยังไงจะดี ทำยังไงจะสุข ทำยังไงจะสงบ อันนั้นศาสนาอื่นเค้าก็ทำ สิ่งที่ชาวพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ ก็อยู่ที่ตัวปัญญานั่นเอง สิ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธต่างจากคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องศีล ไม่ใช่เรื่องสมาธินะ ศาสนาอื่นก็มีศีล มีสมาธิ แตกต่างก็แตกต่างในรายละเอียด
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖ /Track: ๒/File: 491022B.mp3/ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๓
http://www.dhammada.net/2010/10/05/4821/