เหตุผลที่ต้องปฏิรูปการเมือง
เนื่องจากระบบการเมืองแบบรัฐสภาของไทย ที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เราใช้ระบบโครงสร้างอำนาจแบบเดิ มๆ ทำให้มีการแย่งชิงอำนาจกันตลอดมา เพราะเป็นระบบรัฐสภาแบบการต่อสู้แย่งชิง และทำลายฝ่ายตรงกันข้าม ไม่ใช่ระบบแบบถ่วงดุลตรวจสอบและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้า เราจึงเห็นได้ว่าประเทศไทยมีการต่อสู้ทางการเมืองกันอย่างเข้มข้น เพื่อรักษาอำนาจและแย่งชิงอำนาจกันตลอดมาเป็นเวลา 80 กว่าปี เรามีการล้มล้างก่อการรัฐประหารบ่อยที่สุดติดอันดับท็อปของโลกแทบจะทุก 6-8 ปี ตลอดมา ถ้าเรายังใช้แบบระบบโครงสร้างเดิมๆอยู่เราคงจะต้องทะเลาะกันต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นจึงขอเสนอแนวคิดรูปแบบโครงสร้างของรัฐสภาและการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาล เพื่อลดปัญหาดังต่อไปนี้
-ลดการแย่งชิงอำนาจในการเข้าสู่ อำนาจการปกครองของรัฐบาล เพราะทุกพรรคการเมืองได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกันตามอัตราส่วนของคะแนนเสียงที่พรรคได้รับจากประชาชนทั้งประเทศ
-ลดปัญหาในการแตกแยกในหมู่ประชาชน เพราะ จะไม่มีรัฐบาลของคนใต้ รัฐบาลของคนอีสาน หรือเหนือ แต่เป็นรัฐบาลของคนไทยทุกคน ประชาชนเลือกพรรคใดก็อยากให้พรรคที่ตัวเองสนับสนุนได้มีส่วนในการบริหารจัดการบ้านเมือง
-ลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เพราะเมื่อพรรคการเมืองลดการแย่งชิงอำนาจ การแข่งขันก็ลดน้อยลง การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็หมดความจำเป็นหรือน้อยลงไปเอง
-ลดการเล่นพรรคเล่นพวกในวงราชการ ข้าราชการที่เป็นคนของพรรคการเมืองน้อยลง เพราะอำนาจในการให้คุณให้โทษไม่ได้อยู่ที่คนของพรรคการเมือง ทำให้การซื้อขายตำแหน่งในวงราชการน้อยลงไปและยากมากขึ้น ทำให้ลดการทุจริตในวงราชการ
-การตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจและการบริหารของรัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่พวกมากลากไปเหมือนในระบบแบบเดิม เพราะอำนาจหน้าที่การตรวจสอบถ่วงดุลมาอยู่ที่วุฒิสภา ซึ่งไม่ใช่คนของพรรคการเมืองแต่มาจากประชาชนโดยตรงและวุฒิสภาไม่สามารถล้มรัฐบาลเพื่อแย่งชิงอำนาจมาให้ตนเองเป็นฝ่ายบริหารแทนเหมือนระบบที่มีฝ่ายค้านเดิม
-ฝายบริหารไม่สามารถบริหารประเทศได้ตามอำเภอใจเพราะ นโยบายใดๆ หรือกฎหมายใดที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและอาจเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน หรือรัฐต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนตั้งแต่100,000ล้านบาทขึ้นไป รัฐต้องทำประชามติก่อนดำเนินการตามนโยบายหรือประกาศใช้กฎหมายนั้นๆ ลดการชุมนุมประท้วงทั้งทางการเมืองและการบริหารงานของรัฐ
-ลดการผูกขาดอำนาจ ของนักการเมือง เพราะมีวาระการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน ทำให้ลดผู้มีอิทธิพลหรือลดกลุ่มก๊วนทางการเมืองที่ยึดการเมืองเป็นแหล่งทำมาหากิน ประเทศชาติจะได้คนรุ่นใหม่ๆเข้ามาช่วยกันบริหารบ้านเมืองมากขึ้น
-ปิดช่องทางการปฎิวัติ รัฐประหาร หรืออำนาจนอกระบบ เพราะอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง รวมทั้งแม่ทัพนายกองต่างๆ ทั้งตำรวจและทหารต้องผ่านการพิจารณาจากวุฒิสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด
-อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และประชาชนได้เข้าถึงอำนาจได้มากขึ้น เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
แนวคิดการปฏิรูปการเมือง
-เปลี่ยนระบบการคานอำนาจในรัฐสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส) แบ่งเป็น 2 ประเภท วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
สส มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง 100 คน ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล)
มาจากการเลือกตั้ง 200 คน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
คุณสมบัติของต้องห้าม ของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส)
เคยถูกศาลลงโทษในคดีอาญาและโทษถูกจำคุก (คดีถึงที่สุด)
เคยถูก กกต ให้ใบแดง กรณีใดกรณีหนึ่ง
สมาชิกวุฒิสภา (สว) มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 300 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ไม่สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกัน ถ้าต้องการลงสมัครรับเลือกใหม่ต้องเว้นวรรค 1 สมัย
ทำหน้าที่ แต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ องค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งข้าราชการระดับสูง แม่ทัพนายกองตำรวจและทหาร ถ่วงดุล และ ยื่นอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร
คุณสมบัติของ สมาชิกวุฒิสภา (สว)
ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ไม่มีญาติ พี่น้อง พ่อ แม่ หรือลูก เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในระยะ 5 ปีก่อนมีการเลือกตั้ง
ไม่เคยถูกศาลลงโทษในคดีอาญาและโทษถูกจำคุก (คดีถึงที่สุด)
ไม่เคยถูก กกต ให้ใบแดง กรณีใดกรณีหนึ่ง
- เปลี่ยนระบบการเข้าสู่อำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล)
นายกรัฐมนตรี มาจาก สส ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 สมัยติดต่อกัน หรือรวมกันแล้วได้ 2 สมัย หลังจากนั้นห้ามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก
คณะรัฐมนตรี มาจาก สส ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองทุกพรรคหรือมาจากบุคคลภายนอกตามโควต้าของพรรคนั้นๆ ตามอัตราส่วนของคะแนนเสียงที่พรรคได้รับจากการเลือกตั้งของประชาชนทั่วประเทศ รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 สมัยติดต่อกัน หรือรวมกันแล้วได้ 2 สมัย หลังจากนั้นห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีก
นโยบายใดๆ หรือกฎหมายใดที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและอาจเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน หรือรัฐต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนตั้งแต่100,000ล้านบาทขึ้นไป รัฐต้องทำประชามติก่อนดำเนินการตามนโยบายหรือประกาศใช้กฎหมายนั้นๆ
ชวนคนไทย ไม่ว่าเหลืองหรือแดง มาคิดเรื่องปฎิรูปการเมืองกัน
เนื่องจากระบบการเมืองแบบรัฐสภาของไทย ที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เราใช้ระบบโครงสร้างอำนาจแบบเดิ มๆ ทำให้มีการแย่งชิงอำนาจกันตลอดมา เพราะเป็นระบบรัฐสภาแบบการต่อสู้แย่งชิง และทำลายฝ่ายตรงกันข้าม ไม่ใช่ระบบแบบถ่วงดุลตรวจสอบและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้า เราจึงเห็นได้ว่าประเทศไทยมีการต่อสู้ทางการเมืองกันอย่างเข้มข้น เพื่อรักษาอำนาจและแย่งชิงอำนาจกันตลอดมาเป็นเวลา 80 กว่าปี เรามีการล้มล้างก่อการรัฐประหารบ่อยที่สุดติดอันดับท็อปของโลกแทบจะทุก 6-8 ปี ตลอดมา ถ้าเรายังใช้แบบระบบโครงสร้างเดิมๆอยู่เราคงจะต้องทะเลาะกันต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นจึงขอเสนอแนวคิดรูปแบบโครงสร้างของรัฐสภาและการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาล เพื่อลดปัญหาดังต่อไปนี้
-ลดการแย่งชิงอำนาจในการเข้าสู่ อำนาจการปกครองของรัฐบาล เพราะทุกพรรคการเมืองได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกันตามอัตราส่วนของคะแนนเสียงที่พรรคได้รับจากประชาชนทั้งประเทศ
-ลดปัญหาในการแตกแยกในหมู่ประชาชน เพราะ จะไม่มีรัฐบาลของคนใต้ รัฐบาลของคนอีสาน หรือเหนือ แต่เป็นรัฐบาลของคนไทยทุกคน ประชาชนเลือกพรรคใดก็อยากให้พรรคที่ตัวเองสนับสนุนได้มีส่วนในการบริหารจัดการบ้านเมือง
-ลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เพราะเมื่อพรรคการเมืองลดการแย่งชิงอำนาจ การแข่งขันก็ลดน้อยลง การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็หมดความจำเป็นหรือน้อยลงไปเอง
-ลดการเล่นพรรคเล่นพวกในวงราชการ ข้าราชการที่เป็นคนของพรรคการเมืองน้อยลง เพราะอำนาจในการให้คุณให้โทษไม่ได้อยู่ที่คนของพรรคการเมือง ทำให้การซื้อขายตำแหน่งในวงราชการน้อยลงไปและยากมากขึ้น ทำให้ลดการทุจริตในวงราชการ
-การตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจและการบริหารของรัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่พวกมากลากไปเหมือนในระบบแบบเดิม เพราะอำนาจหน้าที่การตรวจสอบถ่วงดุลมาอยู่ที่วุฒิสภา ซึ่งไม่ใช่คนของพรรคการเมืองแต่มาจากประชาชนโดยตรงและวุฒิสภาไม่สามารถล้มรัฐบาลเพื่อแย่งชิงอำนาจมาให้ตนเองเป็นฝ่ายบริหารแทนเหมือนระบบที่มีฝ่ายค้านเดิม
-ฝายบริหารไม่สามารถบริหารประเทศได้ตามอำเภอใจเพราะ นโยบายใดๆ หรือกฎหมายใดที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและอาจเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน หรือรัฐต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนตั้งแต่100,000ล้านบาทขึ้นไป รัฐต้องทำประชามติก่อนดำเนินการตามนโยบายหรือประกาศใช้กฎหมายนั้นๆ ลดการชุมนุมประท้วงทั้งทางการเมืองและการบริหารงานของรัฐ
-ลดการผูกขาดอำนาจ ของนักการเมือง เพราะมีวาระการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน ทำให้ลดผู้มีอิทธิพลหรือลดกลุ่มก๊วนทางการเมืองที่ยึดการเมืองเป็นแหล่งทำมาหากิน ประเทศชาติจะได้คนรุ่นใหม่ๆเข้ามาช่วยกันบริหารบ้านเมืองมากขึ้น
-ปิดช่องทางการปฎิวัติ รัฐประหาร หรืออำนาจนอกระบบ เพราะอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง รวมทั้งแม่ทัพนายกองต่างๆ ทั้งตำรวจและทหารต้องผ่านการพิจารณาจากวุฒิสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด
-อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และประชาชนได้เข้าถึงอำนาจได้มากขึ้น เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
แนวคิดการปฏิรูปการเมือง
-เปลี่ยนระบบการคานอำนาจในรัฐสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส) แบ่งเป็น 2 ประเภท วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
สส มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง 100 คน ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล)
มาจากการเลือกตั้ง 200 คน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
คุณสมบัติของต้องห้าม ของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส)
เคยถูกศาลลงโทษในคดีอาญาและโทษถูกจำคุก (คดีถึงที่สุด)
เคยถูก กกต ให้ใบแดง กรณีใดกรณีหนึ่ง
สมาชิกวุฒิสภา (สว) มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 300 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ไม่สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกัน ถ้าต้องการลงสมัครรับเลือกใหม่ต้องเว้นวรรค 1 สมัย
ทำหน้าที่ แต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ องค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งข้าราชการระดับสูง แม่ทัพนายกองตำรวจและทหาร ถ่วงดุล และ ยื่นอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร
คุณสมบัติของ สมาชิกวุฒิสภา (สว)
ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ไม่มีญาติ พี่น้อง พ่อ แม่ หรือลูก เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในระยะ 5 ปีก่อนมีการเลือกตั้ง
ไม่เคยถูกศาลลงโทษในคดีอาญาและโทษถูกจำคุก (คดีถึงที่สุด)
ไม่เคยถูก กกต ให้ใบแดง กรณีใดกรณีหนึ่ง
- เปลี่ยนระบบการเข้าสู่อำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล)
นายกรัฐมนตรี มาจาก สส ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 สมัยติดต่อกัน หรือรวมกันแล้วได้ 2 สมัย หลังจากนั้นห้ามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก
คณะรัฐมนตรี มาจาก สส ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองทุกพรรคหรือมาจากบุคคลภายนอกตามโควต้าของพรรคนั้นๆ ตามอัตราส่วนของคะแนนเสียงที่พรรคได้รับจากการเลือกตั้งของประชาชนทั่วประเทศ รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 สมัยติดต่อกัน หรือรวมกันแล้วได้ 2 สมัย หลังจากนั้นห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีก
นโยบายใดๆ หรือกฎหมายใดที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและอาจเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน หรือรัฐต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนตั้งแต่100,000ล้านบาทขึ้นไป รัฐต้องทำประชามติก่อนดำเนินการตามนโยบายหรือประกาศใช้กฎหมายนั้นๆ