ขาลง (ของจริง) ไม่มีพระเอกขี่ม้าขาว
ภาพเศรษฐกิจไทยเวลานี้มีสัญญาณการชะลอตัวอย่างชัดเจน ทั้งชาวบ้าน ผู้ประกอบการเล็กใหญ่ทั้งหลายต่างได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่หดหาย จากช่วงต้นปีที่หลายฝ่ายคาดหวังว่า "ภาคส่งออก" จะเป็นพระเอก (จำเป็น) ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย
แต่ก็กลายเป็น "พระเอกตกยาก" เพราะจากต้นปีที่คาดหวังปีนี้ส่งออกจะโต 3-5% แต่ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขการส่งออกของไทยช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ติดลบ 1.36%
โดยที่ยังต้องลุ้นว่าสิ้นปีจะโผล่พ้นน้ำหรือไม่ เพราะศูนย์วิจัยกสิกรไทยก็ฟันธงว่า ปีนี้ตัวเลขส่งออกทั้งปีจะติดลบ 0.3% ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ว่าปีนี้อย่างเก่งการเติบโตของภาคส่งออกอยู่ที่ 0%
เรียกว่าความหวังจากภาคส่งออกที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีอันหายวับ
ทำให้เวลานี้เหลือเครื่องยนต์หลักที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยเวลานี้เพียงตัวเดียวคือ "การลงทุนและใช้จ่ายภาครัฐ"
แต่การทำงานของภาครัฐภายใต้รัฐบาลเฉพาะกิจของ "บิ๊กตู่" ที่ชูนโยบาย Zero Corruption ทำให้ทุกหน่วยงานระแวดระวังมากขึ้น ดังนั้นการใช้จ่ายภาครัฐที่พยายามกระตุ้นออกมาในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้คงไม่รวดเร็วทันใจรัฐบาลหรือใคร ๆ ได้
แม้ว่า "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" เลขาธิการสภาพัฒน์ ซึ่งเป็น Think-Tank ของรัฐบาล นั่งควบเก้าอี้ รมช.คมนาคมให้สัมภาษณ์ว่า "ลงทุนภาครัฐ" จะเป็นพระเอกของปี 2558
แต่ก็คงแค่ช่วยประคองไม่ให้เกิดอาการหัวทิ่มเท่านั้น
เพราะ "ส่งออก" ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักที่มีสัดส่วน 70% ของจีดีพียังเป็นจุดตายสำคัญของประเทศ เพราะนอกจากปัญหาเศรษฐกิจของคู่ค้าหลักทั้งหลายแล้ว อีกด้านก็คือปัญหาภายในของไทย รวมทั้งในแง่ของความสามารถในการแข่งขันที่อาจกดดันให้โอกาสการเติบโตของภาคการส่งออกไม่สดใสเหมือนเช่นในอดีต
และหากดูจากตัวเลขการส่งออกในอดีตจะพบว่าการเติบโตลดลงมาอย่างต่อเนื่อง
จากปี 2553 ตัวเลขส่งออกไทยมีการเติบโต 28.5% ปี 2554 เหลือ 16.4% ปี 2555 โต 3.2% และปี 2556 ที่ผ่านมาเติบโตติดลบ 0.2% ซึ่งคงต้องลุ้นกันว่าปีนี้จะติดลบเท่าไหร่
ทำให้ล่าสุดเวิลด์แบงก์ปรับลดคาดการณ์จีดีพีของไทยปีนี้อยู่ที่ราว 1.5% และปีหน้าอยู่ที่ 3.5% ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในอาเซียน
ขณะที่อีกด้านการเติบโตของตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ก็อยู่ในทิศทางขาลงเช่นกัน
เห็นได้จากปี 2553 อยู่ที่ 575,927 ล้านบาท เติบโต 43% ปี 2554 อยู่ที่ 591,405 ล้านบาท เติบโต 3% ปี 2555 กำไรสุทธิ 710,114 ล้านบาท เติบโต 20% และปี 2556 กำไรสุทธิ 776,900 ล้านบาทเติบโต 9%
และสำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้คาดการณ์ว่า ปีนี้บจ.ไทยจะมีกำไรสุทธิประมาณ 7.9 แสนล้านบาท เติบโตเพียง 3% จากปีก่อน ทำให้มีโอกาสกำไรต่ำสุดในรอบ 5 ปี หรือเท่ากับปี 2554 ที่ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่จนทำให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ ประสบปัญหาอย่างหนัก
โดย ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส อธิบายว่า อัตราการเติบโตกำไรของ บจ.ไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานกำไร บจ.ในปัจจุบันที่ใหญ่มากแล้วและเริ่มอิ่มตัวในหลายอุตสาหกรรม และหลายธุรกิจก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
สัญญาณแรงจัดชัดเจนในทิศทาง "ขาลง" ทุกทางแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับมาเฟื่องฟูเหมือนเช่นอดีต เพราะ "ส่งออก" ที่เป็นฐานหลักเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในสถานการณ์ลูกผีลูกคน โดยเฉพาะปีหน้ามีสินค้าอีกหลายรายการจะถูกตัดสิทธิ์จีเอสพี นี่คือความจริงที่คนไทยต้องเผชิญ
ปล. ขาลง ในสภาวะไกล้ขับขัน เตรียมตัวกันไว้เพื่อความไม่ประมาท แต่ก็อย่าไปวิตกกันมากเกินไปนะครับ เพราะยังไงเราก็ต้องยังต้องอยู่ในตลาด ตลาดขึ้นหรือลง มันมีจังหวะให้คนฉลาดมีช่องทางทำเงินได้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นปัจจุบันหรืออนาคต แต่กับคนไม่ฉลาดต่อให้ตลาดหุ้นขึ้นทุกวันเขาเหล่านั้นก็ยังดอย ตลาดจะขึ้นหรือลงจึงไม่น่าใช่ประเด็นครับที่จะทำให้เราเครียด
เขาว่า......ขาลง (ของจริง) ไม่มีพระเอกขี่ม้าขาว
ภาพเศรษฐกิจไทยเวลานี้มีสัญญาณการชะลอตัวอย่างชัดเจน ทั้งชาวบ้าน ผู้ประกอบการเล็กใหญ่ทั้งหลายต่างได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่หดหาย จากช่วงต้นปีที่หลายฝ่ายคาดหวังว่า "ภาคส่งออก" จะเป็นพระเอก (จำเป็น) ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย
แต่ก็กลายเป็น "พระเอกตกยาก" เพราะจากต้นปีที่คาดหวังปีนี้ส่งออกจะโต 3-5% แต่ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขการส่งออกของไทยช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ติดลบ 1.36%
โดยที่ยังต้องลุ้นว่าสิ้นปีจะโผล่พ้นน้ำหรือไม่ เพราะศูนย์วิจัยกสิกรไทยก็ฟันธงว่า ปีนี้ตัวเลขส่งออกทั้งปีจะติดลบ 0.3% ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ว่าปีนี้อย่างเก่งการเติบโตของภาคส่งออกอยู่ที่ 0%
เรียกว่าความหวังจากภาคส่งออกที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีอันหายวับ
ทำให้เวลานี้เหลือเครื่องยนต์หลักที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยเวลานี้เพียงตัวเดียวคือ "การลงทุนและใช้จ่ายภาครัฐ"
แต่การทำงานของภาครัฐภายใต้รัฐบาลเฉพาะกิจของ "บิ๊กตู่" ที่ชูนโยบาย Zero Corruption ทำให้ทุกหน่วยงานระแวดระวังมากขึ้น ดังนั้นการใช้จ่ายภาครัฐที่พยายามกระตุ้นออกมาในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้คงไม่รวดเร็วทันใจรัฐบาลหรือใคร ๆ ได้
แม้ว่า "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" เลขาธิการสภาพัฒน์ ซึ่งเป็น Think-Tank ของรัฐบาล นั่งควบเก้าอี้ รมช.คมนาคมให้สัมภาษณ์ว่า "ลงทุนภาครัฐ" จะเป็นพระเอกของปี 2558
แต่ก็คงแค่ช่วยประคองไม่ให้เกิดอาการหัวทิ่มเท่านั้น
เพราะ "ส่งออก" ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักที่มีสัดส่วน 70% ของจีดีพียังเป็นจุดตายสำคัญของประเทศ เพราะนอกจากปัญหาเศรษฐกิจของคู่ค้าหลักทั้งหลายแล้ว อีกด้านก็คือปัญหาภายในของไทย รวมทั้งในแง่ของความสามารถในการแข่งขันที่อาจกดดันให้โอกาสการเติบโตของภาคการส่งออกไม่สดใสเหมือนเช่นในอดีต
และหากดูจากตัวเลขการส่งออกในอดีตจะพบว่าการเติบโตลดลงมาอย่างต่อเนื่อง
จากปี 2553 ตัวเลขส่งออกไทยมีการเติบโต 28.5% ปี 2554 เหลือ 16.4% ปี 2555 โต 3.2% และปี 2556 ที่ผ่านมาเติบโตติดลบ 0.2% ซึ่งคงต้องลุ้นกันว่าปีนี้จะติดลบเท่าไหร่
ทำให้ล่าสุดเวิลด์แบงก์ปรับลดคาดการณ์จีดีพีของไทยปีนี้อยู่ที่ราว 1.5% และปีหน้าอยู่ที่ 3.5% ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในอาเซียน
ขณะที่อีกด้านการเติบโตของตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ก็อยู่ในทิศทางขาลงเช่นกัน
เห็นได้จากปี 2553 อยู่ที่ 575,927 ล้านบาท เติบโต 43% ปี 2554 อยู่ที่ 591,405 ล้านบาท เติบโต 3% ปี 2555 กำไรสุทธิ 710,114 ล้านบาท เติบโต 20% และปี 2556 กำไรสุทธิ 776,900 ล้านบาทเติบโต 9%
และสำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้คาดการณ์ว่า ปีนี้บจ.ไทยจะมีกำไรสุทธิประมาณ 7.9 แสนล้านบาท เติบโตเพียง 3% จากปีก่อน ทำให้มีโอกาสกำไรต่ำสุดในรอบ 5 ปี หรือเท่ากับปี 2554 ที่ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่จนทำให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ ประสบปัญหาอย่างหนัก
โดย ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส อธิบายว่า อัตราการเติบโตกำไรของ บจ.ไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานกำไร บจ.ในปัจจุบันที่ใหญ่มากแล้วและเริ่มอิ่มตัวในหลายอุตสาหกรรม และหลายธุรกิจก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
สัญญาณแรงจัดชัดเจนในทิศทาง "ขาลง" ทุกทางแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับมาเฟื่องฟูเหมือนเช่นอดีต เพราะ "ส่งออก" ที่เป็นฐานหลักเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในสถานการณ์ลูกผีลูกคน โดยเฉพาะปีหน้ามีสินค้าอีกหลายรายการจะถูกตัดสิทธิ์จีเอสพี นี่คือความจริงที่คนไทยต้องเผชิญ
ปล. ขาลง ในสภาวะไกล้ขับขัน เตรียมตัวกันไว้เพื่อความไม่ประมาท แต่ก็อย่าไปวิตกกันมากเกินไปนะครับ เพราะยังไงเราก็ต้องยังต้องอยู่ในตลาด ตลาดขึ้นหรือลง มันมีจังหวะให้คนฉลาดมีช่องทางทำเงินได้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นปัจจุบันหรืออนาคต แต่กับคนไม่ฉลาดต่อให้ตลาดหุ้นขึ้นทุกวันเขาเหล่านั้นก็ยังดอย ตลาดจะขึ้นหรือลงจึงไม่น่าใช่ประเด็นครับที่จะทำให้เราเครียด