“พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ใช่ผู้เผด็จการปฏิวัติธรรมดา เหมือนผู้เผด็จการปฏิวัติในประเทศไทยที่ผ่านมาหลายครั้ง การเหมารวมว่า พลเอกประยุทธ์ คือ เผด็จการทหารเหมือนคนก่อนๆ ตามความเข้าใจ ที่เคยชินของตะวันตก และการใช้วิธีทูตปากโป้งโวยวาย (Megaphone Diplomacy) กดดันลงโทษประเทศไทย ถือเป็นการกระทำที่ผิดพลาดและตัดสินใจเร็วเกินไป”
นั่นเป็นการเกริ่นนำ บทความที่ ดอกเตอร์ จอห์น แบล็กแลนด์ นักวิชาการสถาบันป้องกันและยุทธศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เขียนสั่งสอนรัฐบาลออสเตรเลีย และประเทศมหาอำนาจตะวันตก
บทความชื่อ “ประยุทธ์ ไม่ใช่นักปฏิวัติธรรมดา” ได้รับการเผยแพร่กว้างขวางในออสเตรเลีย รวมทั้งหนังสือพิมพ์นิว แมนดาลา ซึ่งเคยเขียนบทความโจมตีคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลายครั้ง ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกในแถบเอเชียที่มีท่าทีก้าวร้าว โดยประกาศห้ามไม่ให้สมาชิกทุกคนของ คสช.เดินทางเข้าประเทศ
การที่นักวิชาการทางด้านป้องกันประเทศและยุทธศาสตร์ศึกษา เขียนบทความสั่งสอนรัฐบาล แสดงให้เห็นว่า ท่าทีของออสเตรเลียต่อรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ เริ่มโอนอ่อนผ่อนปรนลงบ้างแล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดประชาชนชาวออสเตรเลียเริ่มหูตาสว่างขึ้นบ้างแล้ว
ดร.จอห์น เริ่มต้นบทความว่า ใช่ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปฏิวัติรัฐประหารมากที่สุดในโลก เพราะทำการปฏิวัติหรือเตรียมการปฏิวัติกันมาแล้วถึง 18 ครั้งตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 แต่การปฏิวัติทุกครั้งล้วนมีเหตุและเงื่อนไขให้ปฏิวัติ และการปฏิวัติรัฐประหารในอดีตคือ การล้มล้าง หรือไม่ก็เลือดตกยางออก แต่การยึดอำนาจของพลเอกประยุทธ์ ไม่มีเลือดตกแม้แต่หยดเดียว
ดร.จอห์น ให้เหตุผลว่า การยึดอำนาจของพลเอกประยุทธ์จำเป็นต้องทำและเหตุที่ต้องทำการยึดอำนาจแตกต่างไปจากคณะปฏิวัติชุดก่อนๆ ที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง
ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารในประเทศไทยที่ผ่านมา ทหารหรือแม้แต่คณะราษฎร์ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่ยังปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์ แต่พลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจบริหารประเทศมาจากรัฐบาลที่ล้มเหลว รัฐบาลที่พลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจมา ถูกศาลตัดสินให้พ้นตำแหน่งไปแล้ว ส่วนเรื่องรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์อ้างว่า ได้ตั้งคนรักษาการแทนตำแหน่งนายกฯนั้น เป็นคำกล่าวอ้างนอกเหนือรัฐธรรมนูญ
ดร.จอห์นอธิบายว่า ความจริงทหารเฝ้ามองและเอาใจช่วยทางการเมืองจนนาทีสุดท้าย เห็นได้จากการที่สมาชิกวุฒิสภาที่ยังเหลืออยู่พยายามสรรหานายกฯมาแทนน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น ผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลถูกฆ่าตายไปกว่า 30 คน พลเอกประยุทธ์จึงจัดให้คู่ขัดแย้งทางการเมืองมาเจรจาหาข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่เมื่อความขัดแย้งไม่อาจปรองดองกันได้ และดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง พลเอกประยุทธ์ ถึงตัดสินใจยึดอำนาจ เพื่อหยุดยั้งการนองเลือด
พลเอกประยุทธ์ต่างกับผู้ปฏิวัติคนก่อนๆ ที่ไม่เคยแถลงชัดเจนว่า จะคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านหีบเลือกตั้งเมื่อไหร่...ใช่ ผู้ปฏิวัติยึดอำนาจในปี 2549 (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน) เคยประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 1 ปีหลังยึดอำนาจ แต่ครั้งนั้นผู้ปฏิวัติไม่ได้วางรากฐานเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง หลังเลือกตั้งผู้สูญเสียอำนาจจึงชนะเลือกตั้งกลับมาใหม่และวิกฤติการเมืองเลวร้ายไปกว่าก่อนปฏิวัติ
แต่พลเอกประยุทธ์ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหาขัดแย้งทางการเมืองไว้อย่างรอบคอบ ตามแผนบันไดสามขั้น ชั้นแรกคือ จัดตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แก้ปัญหาความมั่นคงและเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน การประกาศใช้กฎอัยการศึกสามารถกวาดล้างกลุ่มคนที่ก่อเหตุร้ายในประเทศได้มาก ทำให้ประเทศที่วุ่นวายมากว่าครึ่งปี กลับเข้าสู่ภาวะสงบเป็นปกติได้
พลเอกประยุทธ์มุ่งมั่นในการปฏิรูปประเทศหลายด้านภารกิจนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สามเดือนแรกของการคุมอำนาจบริหารประเทศ คือ จัดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และตามมาด้วยจัดให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สปช.คือกุญแจสำคัญของการปฏิรูป เพราะสปช.จะสรรหาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งพลเอกประยุทธ์ได้สัญญาไว้ว่า จะจัดให้มีการเลือกตั้งเสรีตามระบอบประชาธิปไตย หลังมีรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศคาดว่าจะประกาศใช้ประมาณเดือนตุลาคม 2558
นักวิจารณ์ตะวันตกหลายคน แสดงอาการวิตกว่า รัฐธรรมนูญที่ทหารเขียนขึ้นมาใหม่ต้องมีเป้าหมายขจัดตระกูลชินวัตรให้พ้นจากถนนการเมือง เช่น เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้มีสองสภา ในสภาผู้แทนฯ ให้มีการเลือกทั้งหมด ส่วนวุฒิสภาให้สัดส่วนมาจากการแต่งตั้งมากกว่าจากการเลือกตั้ง
ในประเด็นนี้ ทำไมนักวิจารณ์เหล่านั้นไม่มองในแง่ดีของวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อย่างเช่นในประเทศอังกฤษและแคนาดาบ้าง ทั้งสองประเทศได้ชื่อว่า เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ เพราะวุฒิสมาชิกทั้งหมดมาจากการแต่งตั้ง
ส่วนประเด็นที่วิจารณ์ว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ทหารสั่งให้เขียนเพื่อขจัดระบอบทักษิณนั้น การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองประเทศไทยโดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวัฒนธรรม ความเชื่อและพลังผลักดันทางการเมืองของคนไทย ทำให้ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดได้ง่าย ก่อนอื่นตะวันตกต้องรู้ว่า คนไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นตะวันตก และสำคัญที่สุดคนไทยส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท ที่ยังมีความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความเชื่อเคารพศรัทธาต่อสถาบันสูงสุดของประเทศ และความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด
มองอย่างผิวเผิน คนไทยหัวนอกเห่อฝรั่ง เห่อวัฒนธรรมประเพณีตะวันตก แต่ในความเชื่อลึกๆ คนไทยยังเชื่อบาปบุญคุณโทษ ยังเชื่อกรรมที่กระทำจะตามไปสนองทั้งชาตินี้ชาติหน้า ทักษิณ ชินวัตร มีพฤติกรรมที่ทำให้คนไทย คลางแคลงใจเรื่องสถาบันสูงสุด นอกจากนั้นทักษิณ เป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายของประชาชนหลายพันคน จากการวิสามัญฆาตกรรมตามนโยบายปราบปรามยาเสพติด
พลเอกประยุทธ์ เป็นผู้เคารพเทิดทูนสถาบันกษัตริย์อย่างสูง เข้ามารับภารกิจอันหนักหน่วงในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาวิกฤติชาติได้เหมือนในอดีต ภารกิจภายหน้าของพลเอกประยุทธ์ จึงผิดพลาดไม่ได้แม้แต่ก้าวเดียว
“ถ้าเรา (ตะวันตก) พิจารณาถึงวิธีที่พลเอกประยุทธ์ และรัฐบาลของเขากำลังปฏิรูปประเทศ สร้างแนวทางประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่ต้องต่อสู้กับคลื่นใต้น้ำของอำนาจเก่า ถ้ามีประเทศออสเตรเลีย สอดมือเข้าขัดขวางอีกแรง ภาระปฏิรูปประเทศก็ยุ่งยากมากขึ้น
ประเทศที่ความคิดลึกซึ้งซับซ้อนอย่างประเทศไทย การโวยวายทางการทูต อาจเกิดผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม แทนที่จะประณาม หรือลงโทษ เราควรเคารพในการตัดสินใจของคนไทย และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิรูปประเทศตามคำสัญญา เพราะว่าความเข้าใจในวัฒนธรรม และพลังความคิดทางการเมืองที่เราไม่สามารถมองอย่างมีประสิทธิภาพผ่านสายตาตะวันตกเพียงเท่านั้น”
บทความยาวเหยียดของดอกเตอร์ จอห์น แบล็กแลนด์ แสดงให้เห็นถึงท่าทีเปลี่ยนแปลงที่โลกตะวันตกมีต่อคสช. เหมือนกับเราได้เห็นภาพนายจอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีต่างประเทศของอเมริกา เดินเข้ามาจับมือพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร หลังกล่าวสุนทรพจน์ในยูเอ็นว่า “ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว” อเมริกาเคยแสดงอาการรังเกียจ คสช. แต่เมื่อ คสช.ยึดมั่นในหลักการปฏิรูป ประเทศตะวันตกต้องเปลี่ยนท่าทีไปเอง
นาทีนี้พลเอกประยุทธ์ กำลังเป็นหนุ่มเนื้อหอมที่ใครๆ ก็อยากคบค้าด้วย รัฐมนตรีญี่ปุ่นเข้าพบพร้อมกับบัตรเชิญให้ไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ วันนี้พลเอกประยุทธ์ นำคณะออกเดินทางเยือนพม่า ถือเป็นประเทศแรกของการเยือนแนะนำตัวเองในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มีต่อมิตรประเทศในกลุ่มอาเซียน เยือนพม่าในคราวนี้ถึงแม้ว่า จะทำตามประเพณี แต่มีความสำคัญมากในการแสดงท่าทีต่อสังคมโลกได้เห็น เพราะปีนี้พม่าเป็นประธานหมุนเวียนของอาเซียน การเยือนพม่า แสดงให้เห็นว่าอาเซียนยังคงเหนียวแน่นในการส่งเสริมเศรษฐกิจและความมั่นคงร่วมกัน และอาเซียนยังยึดมั่นในหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
กลับจากพม่าวันที่ 16-17 พลเอกประยุทธ์ จะนำคณะออกเดินทางไปร่วมประชุมเอเชีย-ยุโรป ในกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ซึ่งมีผู้นำจาก 51 ประเทศเข้าร่วมประชุม นับเป็นโอกาสที่พลเอกประยุทธ์ ได้ชี้แจงสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยให้ต่างประเทศเข้าใจ
เพื่อให้คนทั่วโลกได้รู้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา “ไม่ใช่นักปฏิวัติธรรมดา”
- See more at:
http://m.naewna.com/view/columntoday/columntoday/14828#1
เมื่อนักวิชาการสถาบันป้องกันและยุทธศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เขียนถึง คสช
นั่นเป็นการเกริ่นนำ บทความที่ ดอกเตอร์ จอห์น แบล็กแลนด์ นักวิชาการสถาบันป้องกันและยุทธศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เขียนสั่งสอนรัฐบาลออสเตรเลีย และประเทศมหาอำนาจตะวันตก
บทความชื่อ “ประยุทธ์ ไม่ใช่นักปฏิวัติธรรมดา” ได้รับการเผยแพร่กว้างขวางในออสเตรเลีย รวมทั้งหนังสือพิมพ์นิว แมนดาลา ซึ่งเคยเขียนบทความโจมตีคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลายครั้ง ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกในแถบเอเชียที่มีท่าทีก้าวร้าว โดยประกาศห้ามไม่ให้สมาชิกทุกคนของ คสช.เดินทางเข้าประเทศ
การที่นักวิชาการทางด้านป้องกันประเทศและยุทธศาสตร์ศึกษา เขียนบทความสั่งสอนรัฐบาล แสดงให้เห็นว่า ท่าทีของออสเตรเลียต่อรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ เริ่มโอนอ่อนผ่อนปรนลงบ้างแล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดประชาชนชาวออสเตรเลียเริ่มหูตาสว่างขึ้นบ้างแล้ว
ดร.จอห์น เริ่มต้นบทความว่า ใช่ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปฏิวัติรัฐประหารมากที่สุดในโลก เพราะทำการปฏิวัติหรือเตรียมการปฏิวัติกันมาแล้วถึง 18 ครั้งตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 แต่การปฏิวัติทุกครั้งล้วนมีเหตุและเงื่อนไขให้ปฏิวัติ และการปฏิวัติรัฐประหารในอดีตคือ การล้มล้าง หรือไม่ก็เลือดตกยางออก แต่การยึดอำนาจของพลเอกประยุทธ์ ไม่มีเลือดตกแม้แต่หยดเดียว
ดร.จอห์น ให้เหตุผลว่า การยึดอำนาจของพลเอกประยุทธ์จำเป็นต้องทำและเหตุที่ต้องทำการยึดอำนาจแตกต่างไปจากคณะปฏิวัติชุดก่อนๆ ที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง
ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารในประเทศไทยที่ผ่านมา ทหารหรือแม้แต่คณะราษฎร์ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่ยังปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์ แต่พลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจบริหารประเทศมาจากรัฐบาลที่ล้มเหลว รัฐบาลที่พลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจมา ถูกศาลตัดสินให้พ้นตำแหน่งไปแล้ว ส่วนเรื่องรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์อ้างว่า ได้ตั้งคนรักษาการแทนตำแหน่งนายกฯนั้น เป็นคำกล่าวอ้างนอกเหนือรัฐธรรมนูญ
ดร.จอห์นอธิบายว่า ความจริงทหารเฝ้ามองและเอาใจช่วยทางการเมืองจนนาทีสุดท้าย เห็นได้จากการที่สมาชิกวุฒิสภาที่ยังเหลืออยู่พยายามสรรหานายกฯมาแทนน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น ผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลถูกฆ่าตายไปกว่า 30 คน พลเอกประยุทธ์จึงจัดให้คู่ขัดแย้งทางการเมืองมาเจรจาหาข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่เมื่อความขัดแย้งไม่อาจปรองดองกันได้ และดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง พลเอกประยุทธ์ ถึงตัดสินใจยึดอำนาจ เพื่อหยุดยั้งการนองเลือด
พลเอกประยุทธ์ต่างกับผู้ปฏิวัติคนก่อนๆ ที่ไม่เคยแถลงชัดเจนว่า จะคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านหีบเลือกตั้งเมื่อไหร่...ใช่ ผู้ปฏิวัติยึดอำนาจในปี 2549 (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน) เคยประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 1 ปีหลังยึดอำนาจ แต่ครั้งนั้นผู้ปฏิวัติไม่ได้วางรากฐานเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง หลังเลือกตั้งผู้สูญเสียอำนาจจึงชนะเลือกตั้งกลับมาใหม่และวิกฤติการเมืองเลวร้ายไปกว่าก่อนปฏิวัติ
แต่พลเอกประยุทธ์ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหาขัดแย้งทางการเมืองไว้อย่างรอบคอบ ตามแผนบันไดสามขั้น ชั้นแรกคือ จัดตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แก้ปัญหาความมั่นคงและเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน การประกาศใช้กฎอัยการศึกสามารถกวาดล้างกลุ่มคนที่ก่อเหตุร้ายในประเทศได้มาก ทำให้ประเทศที่วุ่นวายมากว่าครึ่งปี กลับเข้าสู่ภาวะสงบเป็นปกติได้
พลเอกประยุทธ์มุ่งมั่นในการปฏิรูปประเทศหลายด้านภารกิจนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สามเดือนแรกของการคุมอำนาจบริหารประเทศ คือ จัดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และตามมาด้วยจัดให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สปช.คือกุญแจสำคัญของการปฏิรูป เพราะสปช.จะสรรหาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งพลเอกประยุทธ์ได้สัญญาไว้ว่า จะจัดให้มีการเลือกตั้งเสรีตามระบอบประชาธิปไตย หลังมีรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศคาดว่าจะประกาศใช้ประมาณเดือนตุลาคม 2558
นักวิจารณ์ตะวันตกหลายคน แสดงอาการวิตกว่า รัฐธรรมนูญที่ทหารเขียนขึ้นมาใหม่ต้องมีเป้าหมายขจัดตระกูลชินวัตรให้พ้นจากถนนการเมือง เช่น เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้มีสองสภา ในสภาผู้แทนฯ ให้มีการเลือกทั้งหมด ส่วนวุฒิสภาให้สัดส่วนมาจากการแต่งตั้งมากกว่าจากการเลือกตั้ง
ในประเด็นนี้ ทำไมนักวิจารณ์เหล่านั้นไม่มองในแง่ดีของวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อย่างเช่นในประเทศอังกฤษและแคนาดาบ้าง ทั้งสองประเทศได้ชื่อว่า เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ เพราะวุฒิสมาชิกทั้งหมดมาจากการแต่งตั้ง
ส่วนประเด็นที่วิจารณ์ว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ทหารสั่งให้เขียนเพื่อขจัดระบอบทักษิณนั้น การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองประเทศไทยโดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวัฒนธรรม ความเชื่อและพลังผลักดันทางการเมืองของคนไทย ทำให้ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดได้ง่าย ก่อนอื่นตะวันตกต้องรู้ว่า คนไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นตะวันตก และสำคัญที่สุดคนไทยส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท ที่ยังมีความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความเชื่อเคารพศรัทธาต่อสถาบันสูงสุดของประเทศ และความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด
มองอย่างผิวเผิน คนไทยหัวนอกเห่อฝรั่ง เห่อวัฒนธรรมประเพณีตะวันตก แต่ในความเชื่อลึกๆ คนไทยยังเชื่อบาปบุญคุณโทษ ยังเชื่อกรรมที่กระทำจะตามไปสนองทั้งชาตินี้ชาติหน้า ทักษิณ ชินวัตร มีพฤติกรรมที่ทำให้คนไทย คลางแคลงใจเรื่องสถาบันสูงสุด นอกจากนั้นทักษิณ เป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายของประชาชนหลายพันคน จากการวิสามัญฆาตกรรมตามนโยบายปราบปรามยาเสพติด
พลเอกประยุทธ์ เป็นผู้เคารพเทิดทูนสถาบันกษัตริย์อย่างสูง เข้ามารับภารกิจอันหนักหน่วงในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาวิกฤติชาติได้เหมือนในอดีต ภารกิจภายหน้าของพลเอกประยุทธ์ จึงผิดพลาดไม่ได้แม้แต่ก้าวเดียว
“ถ้าเรา (ตะวันตก) พิจารณาถึงวิธีที่พลเอกประยุทธ์ และรัฐบาลของเขากำลังปฏิรูปประเทศ สร้างแนวทางประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่ต้องต่อสู้กับคลื่นใต้น้ำของอำนาจเก่า ถ้ามีประเทศออสเตรเลีย สอดมือเข้าขัดขวางอีกแรง ภาระปฏิรูปประเทศก็ยุ่งยากมากขึ้น
ประเทศที่ความคิดลึกซึ้งซับซ้อนอย่างประเทศไทย การโวยวายทางการทูต อาจเกิดผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม แทนที่จะประณาม หรือลงโทษ เราควรเคารพในการตัดสินใจของคนไทย และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิรูปประเทศตามคำสัญญา เพราะว่าความเข้าใจในวัฒนธรรม และพลังความคิดทางการเมืองที่เราไม่สามารถมองอย่างมีประสิทธิภาพผ่านสายตาตะวันตกเพียงเท่านั้น”
บทความยาวเหยียดของดอกเตอร์ จอห์น แบล็กแลนด์ แสดงให้เห็นถึงท่าทีเปลี่ยนแปลงที่โลกตะวันตกมีต่อคสช. เหมือนกับเราได้เห็นภาพนายจอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีต่างประเทศของอเมริกา เดินเข้ามาจับมือพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร หลังกล่าวสุนทรพจน์ในยูเอ็นว่า “ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว” อเมริกาเคยแสดงอาการรังเกียจ คสช. แต่เมื่อ คสช.ยึดมั่นในหลักการปฏิรูป ประเทศตะวันตกต้องเปลี่ยนท่าทีไปเอง
นาทีนี้พลเอกประยุทธ์ กำลังเป็นหนุ่มเนื้อหอมที่ใครๆ ก็อยากคบค้าด้วย รัฐมนตรีญี่ปุ่นเข้าพบพร้อมกับบัตรเชิญให้ไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ วันนี้พลเอกประยุทธ์ นำคณะออกเดินทางเยือนพม่า ถือเป็นประเทศแรกของการเยือนแนะนำตัวเองในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มีต่อมิตรประเทศในกลุ่มอาเซียน เยือนพม่าในคราวนี้ถึงแม้ว่า จะทำตามประเพณี แต่มีความสำคัญมากในการแสดงท่าทีต่อสังคมโลกได้เห็น เพราะปีนี้พม่าเป็นประธานหมุนเวียนของอาเซียน การเยือนพม่า แสดงให้เห็นว่าอาเซียนยังคงเหนียวแน่นในการส่งเสริมเศรษฐกิจและความมั่นคงร่วมกัน และอาเซียนยังยึดมั่นในหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
กลับจากพม่าวันที่ 16-17 พลเอกประยุทธ์ จะนำคณะออกเดินทางไปร่วมประชุมเอเชีย-ยุโรป ในกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ซึ่งมีผู้นำจาก 51 ประเทศเข้าร่วมประชุม นับเป็นโอกาสที่พลเอกประยุทธ์ ได้ชี้แจงสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยให้ต่างประเทศเข้าใจ
เพื่อให้คนทั่วโลกได้รู้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา “ไม่ใช่นักปฏิวัติธรรมดา”
- See more at: http://m.naewna.com/view/columntoday/columntoday/14828#1