กสทช.ประวิทย์ ชี้ปัญหาเรื่องเสาส่งสัญญาณเริ่มรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ( ค่ายมือถือ ยังอยากให้ กสทช.ตั้งคณะทำงานกลางขึ้นมาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้น )
ประเด็นหลัก
"ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเสาส่งสัญญาณเริ่มรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น
ทั้ง 3จี หรือ 4จี ในอนาคต ทำให้ต้องมีการตั้งเสาส่งสัญญาณมากขึ้น ทาง กสทช.จึงอยากให้เกิดคณะทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้ทั้งบริษัทและประชาชนสามารถเข้าใจกันได้ทุกฝ่าย
"ในยุคคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกัน ระหว่างโอเปอเรเตอร์และประชาชนในท้องที่ แต่เมื่อมีการเกิดขึ้นของ กสทช. คณะทำงานชุดนี้ก็ยุบหายไป จากการสอบถามไปยังโอเปอเรเตอร์พบว่า ยังอยากให้ กสทช.ตั้งคณะทำงานกลางขึ้นมาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้เพื่อเป็นกระบวน การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน"
______________________________
การตั้งเสาส่งสัญญาณ "มือถือ" แรงต้านจากชุมชนและปัญหาที่ยังไร้ทางออก
เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ทั่วบ้านทั่วเมืองส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือไม่ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมายาวนาน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเวที NBTC Public Forum เรื่อง "ปัญหาและทางออก กรณีผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์" พร้อมกับเปิดประเด็นด้วยการหยิบยกผลงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในโครงการ "ศึกษาผลกระทบของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของมนุษย์" ที่ร่วมกับกสทช.ศึกษาวิจัย ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2557 ด้วยงบประมาณ 15 ล้านบาท
"ธัชชัย พุ่มพวง" นักวิชาการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวถึงผลงานวิจัยว่า จากการลงพื้นที่วัดระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากสถานีฐาน จำนวน 40 สถานี อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าค่าที่มาตรฐานความแรงของคลื่น
แม่เหล็กที่ กสทช.กำหนดให้ใช้ได้ แต่ในส่วนผลกระทบด้านสุขภาพยังจำเป็นต้องมีการศึกษาให้ละเอียดยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงการนี้เป็นงานวิจัยเชิงฟิสิกส์ ไม่ใช่งานวิจัยทางการแพทย์ จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่าการแผ่คลื่นจากเสาสัญญาณมีความปลอดภัย เป็นเพียงการอนุมานได้ว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่เมื่อชุมชนในปัจจุบันค่อนข้างมีความกลัว ความกังวลสูง ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องหาทางออกร่วมกัน
"น.พ.พิบูล อิสสระพันธุ์" สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยกล่าวว่า ปัญหาการตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความซับซ้อน เพราะมีประเด็นทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายกรณีไม่ได้มีการสื่อสารกับชาวบ้านในพื้นที่ ขณะที่องค์การอนามัยโลกได้จัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสารก่อมะเร็งประเภท 2B คือเป็น "สารอาจก่อมะเร็ง"
"องค์การอนามัยฯยังไม่ยอมรับว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ เพราะในอนาคตหากมีข้อค้นพบมากขึ้นก็จะปรับให้เป็นสารก่อมะเร็งได้ ดังนั้นคนที่อยู่ใกล้เสา ถ้าสมัครใจก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าชุมชนไหนไม่พอใจเสาก็ต้องใช้หลักการป้องกันไว้ก่อน และคงต้องอาศัยการผลักดันทางการเมืองเพื่อให้เกิดการเจรจาและแก้ปัญหา"
ด้าน "ดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ" นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้าโทรคมนาคม กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ใกล้เสาส่งสัญญาณต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่จะรับคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าตลอดเวลา ฉะนั้นการตั้งเสาสัญญาณจึงเข้าข่ายการละเมิดสิทธิ์
ขณะที่ผลการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีมานานแล้วที่พบว่ากระทบต่อระบบชีวภาพของมนุษย์ ถ้าได้รับในปริมาณมากหรือต่อเนื่องจะสามารถทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตให้ชำรุดได้ โดยทำให้สายพันธุกรรมแตกขาด ถ้าร่างกายซ่อมแซมไม่ทัน หรือซ่อมแซมผิดจากที่ควรจะเป็น ก็อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ ได้
"สิ่งที่กสทช.ควรทำ คือทบทวนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ และหามาตรการลดความเสี่ยง โดยยึดหลักของสหประชาชาติเรื่องมาตรการป้องกันไว้ก่อน และไม่ควรอนุญาตให้ติดตั้งเสาใกล้กับโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก บ้านพักคนชรา โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยที่มีประชาชนอยู่หนาแน่น
ขณะที่การขยายโครงข่ายในเขตเทศบาลหรือชุมชน ให้ใช้สถานีฐานแบบไมโครเซลล์หรือพิโคเซลล์ ซึ่งเป็นเสาส่งขนาดเล็ก แต่ในส่วนนอกเมืองพื้นที่ชนบทที่ยังจำเป็นต้องใช้เสาส่งขนาดใหญ่ก็ต้องไม่อยู่กลางชุมชน"
ด้านประชาชนในพื้นที่ "วิทยา ทาแก้ว" ตัวแทนศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคประชาชนจังหวัดลำปาง กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ต้องมีสิทธิ์ได้รับรู้ถึงผลดีผลเสียของการตั้งเสาส่ง ดังนั้นผู้ประกอบการควรเข้ามาทำความเข้าใจกับชุมชนก่อน แต่ที่ผ่านมาไม่ได้มีกระบวนการนี้เท่าที่ควร
ขณะที่ กสทช.ควรหาความชัดเจนเรื่องผลกระทบของเสาส่งด้วย "สมยศ อิ่มเฝื่อน" ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในจังหวัดตราด กล่าวว่า ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่มีเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เข้ามาในชุมชน คือมีฟ้าผ่ามากขึ้น ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหายบ่อย
ต่างกับชุมชนอื่นที่ไม่มีปัญหานี้ เนื่องจากที่ตั้งเสาส่งมีการวางระบบป้องกันและมีรั้วล้อมปิดป้ายเตือนชัดเจน เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่หวาดระแวงยิ่งขึ้น แม้จะยังไม่เห็นผลกระทบด้านสุขภาพ จึงอยากให้ กสทช.ตั้งทีมงานตรวจวัดคุณภาพเสาส่งสัญญาณเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกพื้นที่
"ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเสาส่งสัญญาณเริ่มรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น
ทั้ง 3จี หรือ 4จี ในอนาคต ทำให้ต้องมีการตั้งเสาส่งสัญญาณมากขึ้น ทาง กสทช.จึงอยากให้เกิดคณะทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้ทั้งบริษัทและประชาชนสามารถเข้าใจกันได้ทุกฝ่าย
"ในยุคคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกัน ระหว่างโอเปอเรเตอร์และประชาชนในท้องที่ แต่เมื่อมีการเกิดขึ้นของ กสทช. คณะทำงานชุดนี้ก็ยุบหายไป จากการสอบถามไปยังโอเปอเรเตอร์พบว่า ยังอยากให้ กสทช.ตั้งคณะทำงานกลางขึ้นมาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้เพื่อเป็นกระบวน การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1412657299
กสทช.ประวิทย์ ชี้ ปัญหาเรื่องเสาส่งสัญญาณเริ่มรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ ( ค่ายมือถือ ยังอยากให้ กสทช.ตั้งคณะทำงานกลาง )
ประเด็นหลัก
"ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเสาส่งสัญญาณเริ่มรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น
ทั้ง 3จี หรือ 4จี ในอนาคต ทำให้ต้องมีการตั้งเสาส่งสัญญาณมากขึ้น ทาง กสทช.จึงอยากให้เกิดคณะทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้ทั้งบริษัทและประชาชนสามารถเข้าใจกันได้ทุกฝ่าย
"ในยุคคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกัน ระหว่างโอเปอเรเตอร์และประชาชนในท้องที่ แต่เมื่อมีการเกิดขึ้นของ กสทช. คณะทำงานชุดนี้ก็ยุบหายไป จากการสอบถามไปยังโอเปอเรเตอร์พบว่า ยังอยากให้ กสทช.ตั้งคณะทำงานกลางขึ้นมาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้เพื่อเป็นกระบวน การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน"
______________________________
การตั้งเสาส่งสัญญาณ "มือถือ" แรงต้านจากชุมชนและปัญหาที่ยังไร้ทางออก
เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ทั่วบ้านทั่วเมืองส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือไม่ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมายาวนาน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเวที NBTC Public Forum เรื่อง "ปัญหาและทางออก กรณีผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์" พร้อมกับเปิดประเด็นด้วยการหยิบยกผลงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในโครงการ "ศึกษาผลกระทบของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของมนุษย์" ที่ร่วมกับกสทช.ศึกษาวิจัย ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2557 ด้วยงบประมาณ 15 ล้านบาท
"ธัชชัย พุ่มพวง" นักวิชาการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวถึงผลงานวิจัยว่า จากการลงพื้นที่วัดระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากสถานีฐาน จำนวน 40 สถานี อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าค่าที่มาตรฐานความแรงของคลื่น
แม่เหล็กที่ กสทช.กำหนดให้ใช้ได้ แต่ในส่วนผลกระทบด้านสุขภาพยังจำเป็นต้องมีการศึกษาให้ละเอียดยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงการนี้เป็นงานวิจัยเชิงฟิสิกส์ ไม่ใช่งานวิจัยทางการแพทย์ จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่าการแผ่คลื่นจากเสาสัญญาณมีความปลอดภัย เป็นเพียงการอนุมานได้ว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่เมื่อชุมชนในปัจจุบันค่อนข้างมีความกลัว ความกังวลสูง ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องหาทางออกร่วมกัน
"น.พ.พิบูล อิสสระพันธุ์" สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยกล่าวว่า ปัญหาการตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความซับซ้อน เพราะมีประเด็นทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายกรณีไม่ได้มีการสื่อสารกับชาวบ้านในพื้นที่ ขณะที่องค์การอนามัยโลกได้จัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสารก่อมะเร็งประเภท 2B คือเป็น "สารอาจก่อมะเร็ง"
"องค์การอนามัยฯยังไม่ยอมรับว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ เพราะในอนาคตหากมีข้อค้นพบมากขึ้นก็จะปรับให้เป็นสารก่อมะเร็งได้ ดังนั้นคนที่อยู่ใกล้เสา ถ้าสมัครใจก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าชุมชนไหนไม่พอใจเสาก็ต้องใช้หลักการป้องกันไว้ก่อน และคงต้องอาศัยการผลักดันทางการเมืองเพื่อให้เกิดการเจรจาและแก้ปัญหา"
ด้าน "ดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ" นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้าโทรคมนาคม กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ใกล้เสาส่งสัญญาณต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่จะรับคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าตลอดเวลา ฉะนั้นการตั้งเสาสัญญาณจึงเข้าข่ายการละเมิดสิทธิ์
ขณะที่ผลการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีมานานแล้วที่พบว่ากระทบต่อระบบชีวภาพของมนุษย์ ถ้าได้รับในปริมาณมากหรือต่อเนื่องจะสามารถทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตให้ชำรุดได้ โดยทำให้สายพันธุกรรมแตกขาด ถ้าร่างกายซ่อมแซมไม่ทัน หรือซ่อมแซมผิดจากที่ควรจะเป็น ก็อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ ได้
"สิ่งที่กสทช.ควรทำ คือทบทวนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ และหามาตรการลดความเสี่ยง โดยยึดหลักของสหประชาชาติเรื่องมาตรการป้องกันไว้ก่อน และไม่ควรอนุญาตให้ติดตั้งเสาใกล้กับโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก บ้านพักคนชรา โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยที่มีประชาชนอยู่หนาแน่น
ขณะที่การขยายโครงข่ายในเขตเทศบาลหรือชุมชน ให้ใช้สถานีฐานแบบไมโครเซลล์หรือพิโคเซลล์ ซึ่งเป็นเสาส่งขนาดเล็ก แต่ในส่วนนอกเมืองพื้นที่ชนบทที่ยังจำเป็นต้องใช้เสาส่งขนาดใหญ่ก็ต้องไม่อยู่กลางชุมชน"
ด้านประชาชนในพื้นที่ "วิทยา ทาแก้ว" ตัวแทนศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคประชาชนจังหวัดลำปาง กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ต้องมีสิทธิ์ได้รับรู้ถึงผลดีผลเสียของการตั้งเสาส่ง ดังนั้นผู้ประกอบการควรเข้ามาทำความเข้าใจกับชุมชนก่อน แต่ที่ผ่านมาไม่ได้มีกระบวนการนี้เท่าที่ควร
ขณะที่ กสทช.ควรหาความชัดเจนเรื่องผลกระทบของเสาส่งด้วย "สมยศ อิ่มเฝื่อน" ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในจังหวัดตราด กล่าวว่า ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่มีเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เข้ามาในชุมชน คือมีฟ้าผ่ามากขึ้น ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหายบ่อย
ต่างกับชุมชนอื่นที่ไม่มีปัญหานี้ เนื่องจากที่ตั้งเสาส่งมีการวางระบบป้องกันและมีรั้วล้อมปิดป้ายเตือนชัดเจน เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่หวาดระแวงยิ่งขึ้น แม้จะยังไม่เห็นผลกระทบด้านสุขภาพ จึงอยากให้ กสทช.ตั้งทีมงานตรวจวัดคุณภาพเสาส่งสัญญาณเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกพื้นที่
"ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเสาส่งสัญญาณเริ่มรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น
ทั้ง 3จี หรือ 4จี ในอนาคต ทำให้ต้องมีการตั้งเสาส่งสัญญาณมากขึ้น ทาง กสทช.จึงอยากให้เกิดคณะทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้ทั้งบริษัทและประชาชนสามารถเข้าใจกันได้ทุกฝ่าย
"ในยุคคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกัน ระหว่างโอเปอเรเตอร์และประชาชนในท้องที่ แต่เมื่อมีการเกิดขึ้นของ กสทช. คณะทำงานชุดนี้ก็ยุบหายไป จากการสอบถามไปยังโอเปอเรเตอร์พบว่า ยังอยากให้ กสทช.ตั้งคณะทำงานกลางขึ้นมาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้เพื่อเป็นกระบวน การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1412657299