AIS ร่วมกับ กสทช.ภาค4 จัดเสวนา “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ” ให้แก่สื่อมวลชน จังหวัดสงขลา เพื่อเผยแพร่ข้อมูล และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือในการนำเสนอหรือเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป
วันที่ 27 มิถุนายน 2560 ณ ร้าน Wine Village ห้อง Emperor AIS ร่วมกับ กสทช.ภาค 4 จัดเสวนาให้ความรู้ เรื่อง “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ” มีนายวิฤทธิ์ บุญเอิบ ผู้อำนวยการสำนักปฎิบัติการด้านเทคนิค-ภาคใต้ เอไอเอส กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย นายศุภฤกษ์ ผลาชุม พนักงานปฎิบัติการระดับสูง สำนักงาน กสทช.ภาค 4 , ดร.ธีรศักดิ์ อนันตกุล ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและพัฒนาโครงข่ายวิทยุ โดยมีสื่อมวลชนจังหวัดสงขลาร่วมรับฟังการเสวนาในครั้งนี้
นายวิฤทธิ์ บุญเอิบ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันภาครัฐกำลังขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ภาครัฐ และเอกชนต่างเดินหน้าคือการขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประชาชนทุกคนในประเทศสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และการสื่อสารได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ในฐานะผู้ให้บริการได้สนับสนุนภาครัฐในการขยายสัญญาณโทรศัพท์มือถือให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ แต่ยังมีประชาชนในบางพื้นที่ยังเกิดความวิตกกังวลว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ติดตั้งตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนต่างๆจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ
AIS ในฐานะผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม จึงจัดงานเสวนาในหัวข้อ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือรวมถึงมาตรฐานในการติดตั้งเสาส่งสัญญาณ ให้แก่สื่อมวลชนจังหวัดสงขลา รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ศูนย์ดำรงธรรม และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับทราบข้อมูล
อีกทั้งการจัดงานเสวนาฯครั้งนี้ ก็สอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่จัดงานเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง และสร้างเข้าใจให้แก่สาธารณชนได้รับทราบเช่นเดียวกัน
ภายในงานก็การเสวนาให้ความรู้ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ธีรศักดิ์ อนันตกุล ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและพัฒนาโครงข่ายวิทยุ และผู้เชี่ยวชาญด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กล่าวถึง “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่างๆ และความแข็งแรงของโครงสร้างเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ” พร้อมการถามตอบประเด็นข้อสงสัยจากผู้เชี่ยวชาญ
ด้าน ดร.ธีรศักดิ์ อนันตกุล ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและพัฒนาโครงข่ายวิทยุ และผู้เชี่ยวชาญด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กล่าวว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มีประชาชนวิตกกังวลนั้น ความจริงแล้วไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เพราะว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว มีกำลังส่งที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ กสทช. กำหนดไว้ เช่นเดียวกับโครงสร้างเสาส่งสัญญาณที่ก่อสร้างตามหลักวิศวกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และกสทช.
โดยจากงานวิจัยระบุว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามี 2 ประเภท คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดไม่ก่อไอออน (Non-ionizing radiation) ซึ่งเป็นย่านความถี่ชนิดที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ(DNA) ในมนุษย์ และสัตว์ได้ เนื่องจากเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ,คลื่นจากวิทยุ เอเอ็ม เอฟเอ็ม ,โทรทัศน์ และคลื่นจากวิทยุสื่อสารตำรวจหรือกู้ภัย สัญญาณ WI-FI เช่นเดียวกับแสงแดด (UV) ที่ถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีทั้งความถี่ต่ำ และความถี่สูง
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้กำหนดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำอยู่ในกลุ่ม 2B ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ กาแฟ ,น้ำมันหอมระเหย และสารสกัดทั้งกลีบใบของว่านหางจระเข้ หรือน้ำมันมะพร้าวที่ผสมกับไดเอทาโนลาไมด์ สำหรับทำให้เกิดฟองในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจำพวกแชมพู สบู่ รวมไปถึงเครื่องสำอาง และสารสกัด เป็นต้น โดยทั้งหมดถือเป็นกลุ่มที่อาจจะ หรืออาจเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น “ปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยใดที่ชี้ชัดว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีผลกระทบทำให้เกิดโรคต่างๆต่อร่างกายมนุษย์หรือสัตว์เลย เช่นเดียวกับ กสทช. ที่ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศมีเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ กสทช.กำหนดไว้”
ดังนั้นประชาชน และผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเสาส่งสัญญาณจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด” ขณะที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดก่อไอออน(Ionizing-radiation) ซึ่งเป็นคลื่นที่มีผลต่ออะตอม และมีผลต่อการแยกอนุภาคอีเล็กตรอนออกไปกลายเป็นอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น คลื่นจากรังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ เป็นต้น ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือนั้น ทางบริษัทฯได้ดำเนินการติดตั้งก่อสร้างตามหลักวิศวกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และ กสทช. ซึ่งในการดำเนินงานก่อสร้างจะปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ดังนั้นจึงมีความมั่นคง แข็งแรงของโครงสร้างที่สามารถทนต่อแรงลมปะทะได้สูงสุดถึง 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับระดับความแรงของพายุไต้ฝุ่นหรือแม้แต่แผ่นดินไหวก็ตาม
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ
วันที่ 27 มิถุนายน 2560 ณ ร้าน Wine Village ห้อง Emperor AIS ร่วมกับ กสทช.ภาค 4 จัดเสวนาให้ความรู้ เรื่อง “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ” มีนายวิฤทธิ์ บุญเอิบ ผู้อำนวยการสำนักปฎิบัติการด้านเทคนิค-ภาคใต้ เอไอเอส กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย นายศุภฤกษ์ ผลาชุม พนักงานปฎิบัติการระดับสูง สำนักงาน กสทช.ภาค 4 , ดร.ธีรศักดิ์ อนันตกุล ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและพัฒนาโครงข่ายวิทยุ โดยมีสื่อมวลชนจังหวัดสงขลาร่วมรับฟังการเสวนาในครั้งนี้
นายวิฤทธิ์ บุญเอิบ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันภาครัฐกำลังขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ภาครัฐ และเอกชนต่างเดินหน้าคือการขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประชาชนทุกคนในประเทศสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และการสื่อสารได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ในฐานะผู้ให้บริการได้สนับสนุนภาครัฐในการขยายสัญญาณโทรศัพท์มือถือให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ แต่ยังมีประชาชนในบางพื้นที่ยังเกิดความวิตกกังวลว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ติดตั้งตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนต่างๆจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ
AIS ในฐานะผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม จึงจัดงานเสวนาในหัวข้อ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือรวมถึงมาตรฐานในการติดตั้งเสาส่งสัญญาณ ให้แก่สื่อมวลชนจังหวัดสงขลา รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ศูนย์ดำรงธรรม และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับทราบข้อมูล
อีกทั้งการจัดงานเสวนาฯครั้งนี้ ก็สอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่จัดงานเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง และสร้างเข้าใจให้แก่สาธารณชนได้รับทราบเช่นเดียวกัน
ภายในงานก็การเสวนาให้ความรู้ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ธีรศักดิ์ อนันตกุล ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและพัฒนาโครงข่ายวิทยุ และผู้เชี่ยวชาญด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กล่าวถึง “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่างๆ และความแข็งแรงของโครงสร้างเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ” พร้อมการถามตอบประเด็นข้อสงสัยจากผู้เชี่ยวชาญ
ด้าน ดร.ธีรศักดิ์ อนันตกุล ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและพัฒนาโครงข่ายวิทยุ และผู้เชี่ยวชาญด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กล่าวว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มีประชาชนวิตกกังวลนั้น ความจริงแล้วไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เพราะว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว มีกำลังส่งที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ กสทช. กำหนดไว้ เช่นเดียวกับโครงสร้างเสาส่งสัญญาณที่ก่อสร้างตามหลักวิศวกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และกสทช.
โดยจากงานวิจัยระบุว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามี 2 ประเภท คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดไม่ก่อไอออน (Non-ionizing radiation) ซึ่งเป็นย่านความถี่ชนิดที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ(DNA) ในมนุษย์ และสัตว์ได้ เนื่องจากเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ,คลื่นจากวิทยุ เอเอ็ม เอฟเอ็ม ,โทรทัศน์ และคลื่นจากวิทยุสื่อสารตำรวจหรือกู้ภัย สัญญาณ WI-FI เช่นเดียวกับแสงแดด (UV) ที่ถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีทั้งความถี่ต่ำ และความถี่สูง
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้กำหนดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำอยู่ในกลุ่ม 2B ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ กาแฟ ,น้ำมันหอมระเหย และสารสกัดทั้งกลีบใบของว่านหางจระเข้ หรือน้ำมันมะพร้าวที่ผสมกับไดเอทาโนลาไมด์ สำหรับทำให้เกิดฟองในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจำพวกแชมพู สบู่ รวมไปถึงเครื่องสำอาง และสารสกัด เป็นต้น โดยทั้งหมดถือเป็นกลุ่มที่อาจจะ หรืออาจเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น “ปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยใดที่ชี้ชัดว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีผลกระทบทำให้เกิดโรคต่างๆต่อร่างกายมนุษย์หรือสัตว์เลย เช่นเดียวกับ กสทช. ที่ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศมีเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ กสทช.กำหนดไว้”
ดังนั้นประชาชน และผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเสาส่งสัญญาณจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด” ขณะที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดก่อไอออน(Ionizing-radiation) ซึ่งเป็นคลื่นที่มีผลต่ออะตอม และมีผลต่อการแยกอนุภาคอีเล็กตรอนออกไปกลายเป็นอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น คลื่นจากรังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ เป็นต้น ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือนั้น ทางบริษัทฯได้ดำเนินการติดตั้งก่อสร้างตามหลักวิศวกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และ กสทช. ซึ่งในการดำเนินงานก่อสร้างจะปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ดังนั้นจึงมีความมั่นคง แข็งแรงของโครงสร้างที่สามารถทนต่อแรงลมปะทะได้สูงสุดถึง 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับระดับความแรงของพายุไต้ฝุ่นหรือแม้แต่แผ่นดินไหวก็ตาม