ระวังอย่าหลงเชื่อการโพสต์ข้อมูลมั่วๆ คิดเองเออเอง โดยไม่มีที่มาที่ไป นำพาให้ความจริงถูกบิดเบือนไปยังอนาคต

เนื่องจากมีการโพสต์ดังนี้  ( เรื่องนานมาแล้ว แต่ตอนนี้จำเป็นต้องตั้งกระทู้นี้ เพราะจะได้ให้คนอ่านตระหนักให้ดีก่อนจะเชื่อข้อมูลใดๆ)


http://ppantip.com/topic/30370350
แต่ทว่าเหล่านี้นั้น เป็นการโพสต์ที่ คิดเองเออเอง  แต่มีเหยื่อหลงเชื่อจำนวนมาก

ที่ท่านนี้ได้มีการระบุ ว่า

ไทยช่วงรัฐบาลทักษิณ ได้รื้อรั๊วที่ล้อมรอบตัวสาทออก เขมรก็เลยเข้ามาตั้งชุมชน
    ทางทหารไทยจะเข้าจัดการชุมชนเขมร(ที่เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่พิพาท 4.6ตร.กม.)หลายหน  
แต่นายกสมัยนั้น (ที่หนีคดีอยู่) (ทักษิณ)     ห้ามกองทัพเอาไว้กลัวจะกระทบความสัมพันธ์  

?????????






แต่ทว่านี่มันไม่ใช่ความจริงเลย  เสียเวลาสักนิดมาดูข้อมูลกัน  
เพราะการกล่าวหามันแค่ประโยคสั้นๆ แต่ความจริงมันมักจะยาวหน่อย  

"ข้อเท็จจริง"  โดยผมยึดถือข้อมูลจากเวป   http://heritage.mod.go.th/nation/case/prawihan2.htm (บทสรุปสำหรับผู้บริหาร)
ยกบางส่วนมาจะปรากฏข้อมูลเป็นดังนี้

เหตุการณ์ช่วงรัฐบาล ชวน หลีกภัย

         ๓๐ มี.ค.๔๑    หลังเขมรแดงบนเขาพระวิหารแปรพักตร์ร่วมกับรัฐบาลได้มีความพยายามเปิดเขาพระวิหารอีกครั้ง โดย กกล.สุรนารีกับภูมิภาคทหารที่ ๔ ของ กพช. มีการย้ายชุมชน กพช.จำนวน ๗๖ ครอบครัว ๓๕๐ คน จากบริเวณโดยรอบปราสาทลงมาอยู่บริเวณทางขึ้นปราสาทพระวิหาร มีการขยายชุมชนบริเวณทางขึ้นปราสาทเพิ่มมากขึ้นและเมื่อฝ่ายไทยจะสร้างอาคารสถานที่เพื่อแสดงสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าว ฝ่าย กพช.ได้ห้ามมิให้มีการดำเนินการ
           ๒๔ ก.ค.๔๑     ผบ.กกล.สุรนารี และผู้บัญชาการกองกำลังฝ่าย CPP ในพื้นที่ ซึ่งได้รับมอบอำนาจจาก พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กห.ได้เจรจาตกลงร่วมทดลองเปิดจุดผ่านแดน ณ เขาพระวิหาร โดยอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยฝ่ายกัมพูชาเก็บค่าผ่านแดนโดย กกล.สุรนารี ช่วยดำเนินการในเรื่องการเก็บกู้ระเบิด
            ๑ ส.ค.๔๑ ทดลองเปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
         ๑๗ ก.ค.๔๑ ในการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ นรม.ไทยกับกัมพูชาได้ตกลงในหลักการที่จะร่วมพัฒนาเขาพระวิหารให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัยและสะดวกต่อการเดินทางเข้าถึง โดยแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน
         พ.ศ.๒๕๔๒ มีการสร้างวัดบริเวณทางทิศตะวันตกของโคปุระหลังที่ ๑ อันเป็นส่วนหนึ่งของปราสาท พระวิหาร ห่างออกไปประมาณ ๓๐๐ เมตร เป็นบริเวณพื้นที่ที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องเส้นเขตแดนฝ่ายไทยประท้วงแต่ฝ่ายกัมพูชาก็ไม่ได้หยุดดำเนินการ
           มีการพัฒนาเส้นทางจากบ้านโกมุยขึ้นสู่เขาพระวิหาร เส้นทางดังกล่าวได้ล้ำเข้ามายังพื้นที่ที่ขัดแย้งเรื่อง เขตแดน











ข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง จากเวปเดียวกันที่ผมเอามาลงข้างต้น
เรามาดูสมัยรัฐบาลทักษิณกัน  ว่าจริงๆแล้วได้ทำอะไรกับ พท. ทับซ้อน ที่อยู่รอบปราสาทบ้าง

           ๘ ม.ค.๔๘ กระทรวงการต่างประเทศประท้วงต่อกัมพูชาเกี่ยวกับการก่อสร้างพัฒนาถนนจากบ้านโกมุยขึ้นสู่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศในพื้นที่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นต่างในเรื่องเขตแดน
           ๘ มี.ค.๔๘ กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
           ๖ พ.ค.๔๘ นรม.(พ.ต.ท.ทักษิณ ฯ) ให้ฝ่ายไทยเตรียมประเด็นหารือกับกัมพูชาในการ เคลื่อนย้ายชุมชนกัมพูชา และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่บริเวณตลาดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร เพื่อนำเข้าที่ประชุมหารือกับนายฮุนเซน นรม.กัมพูชา ใน ๑๓ - ๑๔ พ.ค.๔๘
           ๑๐ พ.ค.๔๘ ผบ.ทบ.ได้สั่งการในที่ประชุม ศปก.ทบ.เพื่อรองรับตามสั่งการของ นรม.ที่มีบัญชาให้ กต.เตรียมประเด็นหารือกับฝ่ายกัมพูชา เรื่องปัญหาเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร โดยขอ ให้ฝ่ายกัมพูชาเตรียมย้ายชุมชน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเส้นทางที่มีการก่อสร้างรุกล้ำเขตแดน และหากฝ่ายกัมพูชายังไม่ดำเนินการใด ๆ ฝ่ายไทยอาจใช้กำลังผลักดัน
           ๑๑ - ๑๖ พ.ค.๔๘ มีการเคลื่อนไหวเพิ่มเติมกำลังของทั้งสองฝ่าย โดยกัมพูชาได้ปิดประตูทางขึ้นปราสาทและอพยพครอบครัวของกำลังพลออกไปจากพื้นที่เดิม ๑๖๕ ครอบครัว คงเหลืออยู่ประมาณ ๒๐ ครอบครัว



ความจริงที่แท้มันเป็นยังไง      วิเคราะห์กันดูเอาเองครับ  
ไม่ได้อวย-ไม่ได้แก้ตัวให้ใคร   แค่เอาความจริงมากางดูกันแค่นั้นเอง





สรุป เขมรมาตั้งชุมชนและสร้างถนนล้ำเข้ามาในเขตพิพาทและเขตไทยตั้งแต่ยุครัฐบาลชวน
      รัฐบาลทักษิณไม่ได้เอื้อประโยชน์ใดๆให้เขมร หนำซ้ำจะเอาทหารผลักดัน และใช้ความสัมพันธ์อันดีเจรจา
       จนชุมชนเขมรต้องย้ายออกไปจำนวนมาก
  
และสุดท้าย  ผู้อ่าน อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อข้อมูลใดๆ ที่อ่านแล้วดูดีดูหล่อ  หรือมาโพสต์ตอบบ่อยๆจนดูเหมือนเก่ง+น่าเชื่อ    

ให้ยึดหลักกาลามสูตรเอาไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เตือนไปยังทุกท่านและตัวผมเองครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่