ใครฝากเงินกับ ODFX ไว้เตรียมถอนเงินออกได้เลยค่ะ กลายเป็นเรื่องใหญ่แล้ว
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ขณะนี้มีการระบาดของการลงทุนที่คล้ายกับแชร์ลูกโซ่รูปแบบใหม่ที่ชื่อ "ODFX" ซึ่งเป็นของบริษัท OD Capital จดทะเบียนที่เกาะเซเชลส์ เปิดให้ผู้สนใจเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อนำเงินไปลงทุนต่อในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (FOREX) โดยใช้วิธีเชิญชวนกันผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก
ทั้งนี้ การลงทุนใน ODFX จะเชิญชวนให้เข้าไปลงทุนถือหุ้นบุริมสิทธิ์แปลงสภาพได้ ในราคาหุ้นละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และมีสิทธิ์ที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า เมื่อบริษัทสามารถนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งคาดว่าราคาหุ้นที่เปิดขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในเวลานั้นจะกลายเป็น15-20 ดอลลาร์ หรือเท่ากับราคาเพิ่มขึ้น 15-20 เท่าตัวใน 5 ปี
อ้างเทรดเงินจ่ายปันผล 2-10%
ผู้ลงทุนกับ ODFX รายหนึ่งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตนได้เข้าไปลงทุนดังกล่าวมาระยะหนึ่ง ในจำนวนเงิน 1,000 ดอลลาร์ ซึ่งผู้ที่มาแนะนำให้ลงทุนเป็นเพื่อนที่รู้จักกันในเฟซบุ๊ก โดยอธิบายว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับจะมีทั้งรอยัลตี้โบนัส เสมือนการจ่ายเงินปันผลตอบแทนเข้าให้ในบัญชีการลงทุนทุกเดือน ในอัตราขั้นต่ำ 2-10% ต่อเดือนสำหรับผลประโยชน์ที่มาจ่ายโบนัส จะมาจากการฝากให้ทางบริษัททำหน้าที่เป็นตัวแทนเทรดเงินลงทุนเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอ้างว่าเป็นทีมนักลงทุนที่เชี่ยวชาญด้านการเทรดของบริษัทโบรกเกอร์ที่ชื่อ NZ Financial (NZF) ขณะเดียวกันหากผู้ลงทุนปรับสถานะตัวเองเป็น IB (Introduce Broker) หรือตัวแทนโบรกเกอร์ ที่ชักชวนคนอื่นมาร่วมลงทุนกับ ODFX ก็จะได้รับเงินผลประโยชน์กลับคืนอีกส่วนหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ ในหลายเว็บไซต์ได้มีผู้โพสต์ข้อความให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ODFX และแนะนำการลงทุน รวมถึงมีคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการจัดงานมอบรางวัลในชื่อ "1st ODFX Star Award" ซึ่งจัดที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อราวเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ธปท.ใช้ไร้ใบอนุญาตผิดกฎหมาย
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่ทราบเรื่อง และไม่ได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจประเภทนี้ แต่เห็นว่าจำเป็นจะต้องตรวจสอบกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าการกระทำของ ODFX ขัดต่อกฎหมายหลักทรัพย์หรือไม่ และนิยามของการเป็นผู้จัดการกองทุนของกฎหมายหลักทรัพย์ด้วย เพราะการจะทำธุรกิจลักษณะนี้ในประเทศไทยต้องมีใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.เท่านั้น
"เข้าใจว่าภายใต้กฎหมายของ ก.ล.ต.จะกำหนดประเภทของการทำธุรกิจ โดยครอบคลุมไปถึงจำนวนคนที่จะมาร่วมทำธุรกิจด้วย หากเป็นการนำเงินจากเครือญาติมาลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนหรือตลาดทุนต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงก็คงไม่ได้เป็นสิ่งผิด เพราะเป็นเงินของเขาเอง แต่หากระดมเงินจากประชาชนทั่วไปในวงกว้าง ปัจจุบันกฎหมายหลักทรัพย์ของประเทศไทยกำหนดไว้ว่าจะต้องขอใบอนุญาตเท่านั้น"
ส่วนกรณีที่โฆษณาว่านำเงินลงทุนจากประชาชนไปหาผลตอบแทนสูงๆในการซื้อ-ขายเงินสกุลต่างประเทศนั้นนายประสารกล่าวว่า ภายใต้กฎหมายของไทยก็ดำเนินการปราบปรามการเก็งกำไรประเภทนี้อยู่ ทั้งยังต้องเข้าใจว่ารายเล็กที่เข้ามาทำธุรกิจเช่นนี้ก็มักจะเสียเปรียบรายใหญ่ เช่น สถาบันการเงิน หรือกองทุนขนาดใหญ่ที่มีกระแสเงินต่างประเทศเยอะ โดยหลักการแล้วไม่น่าจะทำได้
นายประสารกล่าวอีกว่า ในอดีตมีกรณีแชร์แม่ชม้อย ซึ่งเกิดจากการทำสัญญาที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงเกินจริง จนนำมาสู่การออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงประชาชน เพื่อป้องปรามเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันกฎหมายฉบับดังกล่าวอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกระทรวงการคลัง
โดยในรายละเอียดก็จะระบุถึงความผิดกรณีหลอกลวงประชาชนและเอาเงินประชาชนไปบริหาร
"กรณีที่ระบุว่าจะไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นจะออกหุ้นIPO ก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ธุรกิจกล่าวขึ้นมา เพราะการจะเข้าตลาดหุ้นก็ต้องไปดูว่าเข้าเกณฑ์ของกฎหมายหลักทรัพย์และหน่วยงานผู้กำกับดูแลหรือไม่ ซึ่งกรณีเช่นนี้เบื้องต้นเชื่อว่าไม่น่าจะเข้าตลาดหุ้นได้แน่นอน" นายประสารกล่าว
ฟันธง ODFX เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่
นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า เท่าที่พิจารณาการลงทุนในลักษณะที่เรียกว่า ODFX ถือเป็นการลงทุนที่ผิดกฎหมาย และเข้าข่ายลักษณะแชร์ลูกโซ่ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนประเด็นดังกล่าวเข้ามาแล้ว ก.ล.ต.จึงส่งเรื่องไปยังศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ที่มีอำนาจในการพิจารณา
"ถ้าดูจากรูปแบบธุรกิจของบริษัทที่อ้างตัวนี้ ก็สามารถบอกได้ว่ามีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ เพราะมีลักษณะที่ให้ผลประโยชน์กับลูกค้ารายเดิมเมื่อเชิญชวนลูกค้ารายใหม่ให้มาลงทุนเป็นทอดๆ และแม้จะบอกว่ามีหุ้นบุริมสิทธิ์แลกเปลี่ยนกับเงินลงทุน แต่นั่นก็เป็นเพียงแผ่นกระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ว่าไม่ได้รับการอนุมัติจาก ก.ล.ต.ให้เสนอขาย ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง"
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการถูกหลอกลวง ควรตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้ คือ 1.การลงทุนให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะหากมากกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาดก็ต้องตั้งข้อสงสัยถึงที่มาของวิธีดำเนินการ 2.มีวิธีการเชิญชวนให้ลูกค้าที่สมัครแล้วไปหาลูกค้าใหม่ ด้วยการให้ผลตอบแทนพิเศษเพิ่ม แต่ไม่มีสินค้าให้ซื้อขายแลกเปลี่ยน 3.ออกตราสารทางการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. แต่ไม่ได้ขออนุญาต เป็นต้น
"นักลงทุนควรตั้งข้อสงสัยได้ทันที หากบริษัทที่เข้ามาระดมทุนมีลักษณะตามที่ระบุไว้ และแม้บริษัทจะกล่าวอ้างว่าได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว แต่ก็อย่าวางใจ เพราะประเด็นนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ทั้งหมด" นางดวงมนกล่าว
เตือนชวนคนอื่นลงทุนต่อถือว่าผิด
นางดวงมน กล่าวอีกว่า ในกรณีที่ผู้เข้าไปลงทุนแล้วชักชวนให้คนอื่นๆ มาลงทุนในแชร์ลูกโซ่ด้วย ก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายเช่นกัน แต่ทั้งนี้จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังเข้ามาดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)กล่าวว่า เบื้องต้นทาง สศค.อยู่ระหว่างติดตามเรื่องดังกล่าว หากพบว่าผิดกฎหมายตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ที่มีลักษณะเชิญชวน ไม่ว่าจะเป็นวิธีรับฝากเงิน การกู้ยืม หรือเชิญชวนให้ร่วมลงทุน การเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ โดยระบุผลตอบแทนที่จะได้รับชัดเจน ถือว่าผิดกฎหมายการเงิน ซึ่งกรณีนี้ สศค.ต้องติดตามข้อมูลให้รอบด้านก่อนสรุปอีกครั้ง
"เรื่องนี้หากเป็นธุรกรรมในประเทศไทยถือว่าผิดแน่นอนเพราะเป็นการเอาเงินของคนไทยกันเองไปลงทุนหาผลตอบแทนผ่านการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆแต่จะเอาผิดได้ก็ต่อเมื่อมีการฟ้องร้อง และเกิดความเสียหายกับคนในประเทศ แต่หากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในไทย จากเงินคนไทย แต่เอาเงินไปลงทุนต่างประเทศ อันนี้กฎหมายฉบับนี้อาจไม่ครอบคลุม ซึ่งต้องประสานงานไปถึงหน่วยงานต่างๆ ให้ติดตามพฤติกรรมเหล่านี้ด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
ลิ้งที่มา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1411710447
ใครฝากเงินกับ ODFX ไว้เตรียมถอนเงินออกได้เลยค่ะ กลายเป็นเรื่องใหญ่แล้ว
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ขณะนี้มีการระบาดของการลงทุนที่คล้ายกับแชร์ลูกโซ่รูปแบบใหม่ที่ชื่อ "ODFX" ซึ่งเป็นของบริษัท OD Capital จดทะเบียนที่เกาะเซเชลส์ เปิดให้ผู้สนใจเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อนำเงินไปลงทุนต่อในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (FOREX) โดยใช้วิธีเชิญชวนกันผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก
ทั้งนี้ การลงทุนใน ODFX จะเชิญชวนให้เข้าไปลงทุนถือหุ้นบุริมสิทธิ์แปลงสภาพได้ ในราคาหุ้นละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และมีสิทธิ์ที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า เมื่อบริษัทสามารถนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งคาดว่าราคาหุ้นที่เปิดขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในเวลานั้นจะกลายเป็น15-20 ดอลลาร์ หรือเท่ากับราคาเพิ่มขึ้น 15-20 เท่าตัวใน 5 ปี
อ้างเทรดเงินจ่ายปันผล 2-10%
ผู้ลงทุนกับ ODFX รายหนึ่งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตนได้เข้าไปลงทุนดังกล่าวมาระยะหนึ่ง ในจำนวนเงิน 1,000 ดอลลาร์ ซึ่งผู้ที่มาแนะนำให้ลงทุนเป็นเพื่อนที่รู้จักกันในเฟซบุ๊ก โดยอธิบายว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับจะมีทั้งรอยัลตี้โบนัส เสมือนการจ่ายเงินปันผลตอบแทนเข้าให้ในบัญชีการลงทุนทุกเดือน ในอัตราขั้นต่ำ 2-10% ต่อเดือนสำหรับผลประโยชน์ที่มาจ่ายโบนัส จะมาจากการฝากให้ทางบริษัททำหน้าที่เป็นตัวแทนเทรดเงินลงทุนเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอ้างว่าเป็นทีมนักลงทุนที่เชี่ยวชาญด้านการเทรดของบริษัทโบรกเกอร์ที่ชื่อ NZ Financial (NZF) ขณะเดียวกันหากผู้ลงทุนปรับสถานะตัวเองเป็น IB (Introduce Broker) หรือตัวแทนโบรกเกอร์ ที่ชักชวนคนอื่นมาร่วมลงทุนกับ ODFX ก็จะได้รับเงินผลประโยชน์กลับคืนอีกส่วนหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ ในหลายเว็บไซต์ได้มีผู้โพสต์ข้อความให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ODFX และแนะนำการลงทุน รวมถึงมีคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการจัดงานมอบรางวัลในชื่อ "1st ODFX Star Award" ซึ่งจัดที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อราวเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ธปท.ใช้ไร้ใบอนุญาตผิดกฎหมาย
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่ทราบเรื่อง และไม่ได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจประเภทนี้ แต่เห็นว่าจำเป็นจะต้องตรวจสอบกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าการกระทำของ ODFX ขัดต่อกฎหมายหลักทรัพย์หรือไม่ และนิยามของการเป็นผู้จัดการกองทุนของกฎหมายหลักทรัพย์ด้วย เพราะการจะทำธุรกิจลักษณะนี้ในประเทศไทยต้องมีใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.เท่านั้น
"เข้าใจว่าภายใต้กฎหมายของ ก.ล.ต.จะกำหนดประเภทของการทำธุรกิจ โดยครอบคลุมไปถึงจำนวนคนที่จะมาร่วมทำธุรกิจด้วย หากเป็นการนำเงินจากเครือญาติมาลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนหรือตลาดทุนต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงก็คงไม่ได้เป็นสิ่งผิด เพราะเป็นเงินของเขาเอง แต่หากระดมเงินจากประชาชนทั่วไปในวงกว้าง ปัจจุบันกฎหมายหลักทรัพย์ของประเทศไทยกำหนดไว้ว่าจะต้องขอใบอนุญาตเท่านั้น"
ส่วนกรณีที่โฆษณาว่านำเงินลงทุนจากประชาชนไปหาผลตอบแทนสูงๆในการซื้อ-ขายเงินสกุลต่างประเทศนั้นนายประสารกล่าวว่า ภายใต้กฎหมายของไทยก็ดำเนินการปราบปรามการเก็งกำไรประเภทนี้อยู่ ทั้งยังต้องเข้าใจว่ารายเล็กที่เข้ามาทำธุรกิจเช่นนี้ก็มักจะเสียเปรียบรายใหญ่ เช่น สถาบันการเงิน หรือกองทุนขนาดใหญ่ที่มีกระแสเงินต่างประเทศเยอะ โดยหลักการแล้วไม่น่าจะทำได้
นายประสารกล่าวอีกว่า ในอดีตมีกรณีแชร์แม่ชม้อย ซึ่งเกิดจากการทำสัญญาที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงเกินจริง จนนำมาสู่การออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงประชาชน เพื่อป้องปรามเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันกฎหมายฉบับดังกล่าวอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกระทรวงการคลัง
โดยในรายละเอียดก็จะระบุถึงความผิดกรณีหลอกลวงประชาชนและเอาเงินประชาชนไปบริหาร
"กรณีที่ระบุว่าจะไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นจะออกหุ้นIPO ก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ธุรกิจกล่าวขึ้นมา เพราะการจะเข้าตลาดหุ้นก็ต้องไปดูว่าเข้าเกณฑ์ของกฎหมายหลักทรัพย์และหน่วยงานผู้กำกับดูแลหรือไม่ ซึ่งกรณีเช่นนี้เบื้องต้นเชื่อว่าไม่น่าจะเข้าตลาดหุ้นได้แน่นอน" นายประสารกล่าว
ฟันธง ODFX เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่
นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า เท่าที่พิจารณาการลงทุนในลักษณะที่เรียกว่า ODFX ถือเป็นการลงทุนที่ผิดกฎหมาย และเข้าข่ายลักษณะแชร์ลูกโซ่ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนประเด็นดังกล่าวเข้ามาแล้ว ก.ล.ต.จึงส่งเรื่องไปยังศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ที่มีอำนาจในการพิจารณา
"ถ้าดูจากรูปแบบธุรกิจของบริษัทที่อ้างตัวนี้ ก็สามารถบอกได้ว่ามีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ เพราะมีลักษณะที่ให้ผลประโยชน์กับลูกค้ารายเดิมเมื่อเชิญชวนลูกค้ารายใหม่ให้มาลงทุนเป็นทอดๆ และแม้จะบอกว่ามีหุ้นบุริมสิทธิ์แลกเปลี่ยนกับเงินลงทุน แต่นั่นก็เป็นเพียงแผ่นกระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ว่าไม่ได้รับการอนุมัติจาก ก.ล.ต.ให้เสนอขาย ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง"
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการถูกหลอกลวง ควรตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้ คือ 1.การลงทุนให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะหากมากกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาดก็ต้องตั้งข้อสงสัยถึงที่มาของวิธีดำเนินการ 2.มีวิธีการเชิญชวนให้ลูกค้าที่สมัครแล้วไปหาลูกค้าใหม่ ด้วยการให้ผลตอบแทนพิเศษเพิ่ม แต่ไม่มีสินค้าให้ซื้อขายแลกเปลี่ยน 3.ออกตราสารทางการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. แต่ไม่ได้ขออนุญาต เป็นต้น
"นักลงทุนควรตั้งข้อสงสัยได้ทันที หากบริษัทที่เข้ามาระดมทุนมีลักษณะตามที่ระบุไว้ และแม้บริษัทจะกล่าวอ้างว่าได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว แต่ก็อย่าวางใจ เพราะประเด็นนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ทั้งหมด" นางดวงมนกล่าว
เตือนชวนคนอื่นลงทุนต่อถือว่าผิด
นางดวงมน กล่าวอีกว่า ในกรณีที่ผู้เข้าไปลงทุนแล้วชักชวนให้คนอื่นๆ มาลงทุนในแชร์ลูกโซ่ด้วย ก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายเช่นกัน แต่ทั้งนี้จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังเข้ามาดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)กล่าวว่า เบื้องต้นทาง สศค.อยู่ระหว่างติดตามเรื่องดังกล่าว หากพบว่าผิดกฎหมายตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ที่มีลักษณะเชิญชวน ไม่ว่าจะเป็นวิธีรับฝากเงิน การกู้ยืม หรือเชิญชวนให้ร่วมลงทุน การเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ โดยระบุผลตอบแทนที่จะได้รับชัดเจน ถือว่าผิดกฎหมายการเงิน ซึ่งกรณีนี้ สศค.ต้องติดตามข้อมูลให้รอบด้านก่อนสรุปอีกครั้ง
"เรื่องนี้หากเป็นธุรกรรมในประเทศไทยถือว่าผิดแน่นอนเพราะเป็นการเอาเงินของคนไทยกันเองไปลงทุนหาผลตอบแทนผ่านการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆแต่จะเอาผิดได้ก็ต่อเมื่อมีการฟ้องร้อง และเกิดความเสียหายกับคนในประเทศ แต่หากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในไทย จากเงินคนไทย แต่เอาเงินไปลงทุนต่างประเทศ อันนี้กฎหมายฉบับนี้อาจไม่ครอบคลุม ซึ่งต้องประสานงานไปถึงหน่วยงานต่างๆ ให้ติดตามพฤติกรรมเหล่านี้ด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
ลิ้งที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1411710447