ขนมไทย ปะทะ ขนมโปรตุเกส !!!

กระทู้สนทนา
ในโลกนี้มีอะไรเป็นไทยแท้ ของไทยแน่นั้นหรือคือภาษา...โอ้ ไม่ ไม่แน่ ไม่แน่ ๆ ค่ะ เพราะแม้แต่ภาษาไทยครึ่งต่อครึ่งยังได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอื่นเลย แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องของขนมไทย ที่กว่าจะเป็นขนมไทยในวันนี้ได้ก็มีการดัดแปลงปรับเปลี่ยนมาจากต่างประเทศแทบทั้งนั้น อย่างขนมสัญชาติโปรตุเกสที่จะนำมาให้ดูในวันนี้

ถ้าหากคุณยังคงจดจำเรื่องราวที่เคยเรียนสมัยมัธยมได้อยู่จะพบว่า การเดินทางมาของขนมโปรตุเกสนั้น มันเริ่มจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2200 กว่า ๆ ที่มีสตรีโปรตุเกสนางหนึ่งนามว่า มาีรี กีมาร์ หรือที่คนไทยเรียกกันว่าท้าวทองกีบม้า ภรรยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ได้นำสูตรขนมโปรตุเกสเข้ามาเผยแพร่ โดยใช้วัตถุดิบที่มีในไทย ซึ่งส่วนผสมหลัก ๆ ก็มี น้ำตาล ไข่ และแป้ง ก่อเกิดเป็น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิง ลูกชุบ สังขยา หม้อแกง บ้าบิ่น ขนมไข่ และอื่น ๆ เยอะแยะมากมาย

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ 300 กว่าปีให้หลัง ขนมสูตรโปรตุเกสที่ชาวไทยเคยเรียกว่า "ขนมฝรั่ง" ในเวลานั้น ได้ถูกเรียกว่า "ขนมไทย" ไปแล้วในวันนี้ ด้วยเพราะมันได้ถูกปรับเปลี่ยนมารุ่นแล้วรุ่นเล่า และอยู่คู่ชาวไทยมาเป็นเวลานาน นานมาก ๆ นานจริง ๆ นะจ๊ะ

เอาล่ะค่ะ วันนี้เรามาเปรียบเทียบกันดีกว่าว่า ขนมโปรตุเกสแท้ ๆ กับขนมไทยสัญชาติโปรตุเกสนั้นจะเหมือนหรือต่างกันยังไง


Fios de Ovos หวานน้อยกว่าและร่วนกว่า ขณะที่ฝอยทองจับแพสวยงาม



ลูกชุบไทยใช้ถั่วบด ส่วน Massapa'es ใช้อัลมอนต์บด



คล้ายกัน แต่ Broinhas เป็นคุ๊กกี้ชนิดหนึ่ง มีส่วนผสมของฟักทองและเครื่องเทศหลายชนิด



Bolo de Coco เนื้อร่วน สังขยาไทยเนื้อเป็นวุ้น


รสชาติคล้ายกัน แต่ Ovos Moles จะใช้แป้งหุ้ม



Tigelada เป็นคัสตาร์ดวานิลลาชนิดหนึ่ง คล้ายขนมหม้อแกงมาก



บ้าบิ่นบ้านเค้าใช้เนยแข็ง ของเราใช้มะพร้าว


จริง ๆ แล้วขนมไทยสัญชาติโปรตุเกสมีมากมายนะคะ แต่เสิร์ชหามาได้แค่ 7 ชนิด นั่นเพราะมันไม่ได้ถูกบันทึกไว้ทั้งหมด และอาจเป็นไปได้ว่าระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจทำให้ขนมโปรตุเกสหายไปบ้าง หรืออาจเปลี่ยนชื่อไปบ้าง อันนี้ไม่รู้...ชื่อขนมที่เคยบันทึกไว้ในสมัยนั้นหลาย ๆ อย่างก็เลยไม่ปรากฏในสมัยนี้ค่ะ เอาเป็นว่าใครไปเที่ยวที่โปรตุเกส ลองชิมขนมที่นั่นแล้วลองเปรียบเทียบกับขนมไทยดู แล้วเอามาเล่าสู่กันฟังบ้างก็ดีนะ อยากรู้จริงจริ๊ง


ที่มา :  http://nongza.exteen.com/20090520/entry
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่