หวังว่าข่าวนี้ อัยการ คงไม่โดนกดดันนะ
อัยการยื่นอุทธรณ์คดีฟ้อง “อภิสิทธ์ - สุเทพ” คดีสั่งสลายม็อบแดงก่อจลาจล ปี 53 อ้างไม่ได้ฟ้องปฏิบัติหน้าที่มิชอบแต่ฟ้องฆ่าคนตาย ระบุป.ป.ช.ไม่มีอำนาจสอบสวน สอดคล้องกับความเห็นแย้งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
วันนี้ (24 ก.ย.) นายวันชัย รุจนวงศ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดถึงความคืบหน้าในการยื่นอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือพระสุเทพ ปภากโร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นจำเลยที่ 1 - 2 ในความผิดฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59,80, 83, 84 และ 288 จากกรณีที่ ศอฉ. มีคำสั่งใช้กำลังเจ้าหน้าที่ในการขอคืนพื้นที่ จากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (นปช.) ระหว่างเดือน เม.ย. - พ.ค. 2553 บริเวณ ถ.ราชดำเนิน และแยกราชประสงค์ ส่งผลมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย ซึ่งคดีดังกล่าวศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2557 ที่ผ่านมาว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ และคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า ทางอัยการได้ดำเนินการยื่นอุทธรณ์คดีดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่วนประเด็นในการยื่นอุทธรณ์นั้น โดยอัยการได้อุทธรณ์ในประเด็นเรื่องข้อกฎหมาย เนื่องจากคดีดังกล่าวอัยการได้ยื่นฟ้องในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ซึ่งอัยการไม่ได้ฟ้องในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อาญา มาตรา 157 ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ก็คงจะต้องรอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ถ้าหากศาลอุทธรณ์พิจารณาสำนวนคดีเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะส่งหมายแจ้งนัดวันให้คู่ความทั้งสองฝ่ายรับทราบเพื่อเดินทางมาฟังคำพิพากษาต่อไป ส่วนจะใช้ระยะเวลาเท่าใดนั้นตนคงไม่สามารถระบุได้ ซึ่งขึ้นอยู่ที่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเสร็จสิ้นเมื่อใด
แหล่งข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า สำหรับประเด็นที่อัยการยื่นอุทธรณ์นั้น เนื่องจากเห็นว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ โดยทาง ป.ป.ช. มีอำนาจพิจารณาไต่สวนเฉพาะในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อาญา มาตรา 157 เท่านั้น แต่ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตาม ป.อาญา มาตรา 288 นั้น ทางป.ป.ช.ไม่มีอำนาจพิจารณาได้ ซึ่งเท่ากับว่า ป.ป.ช. ไม่ได้ไต่สวนในฐานความผิดดังกล่าว ดังนั้น จึงเท่ากับว่าไม่สามารถมีใครฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ แต่ในสำนวนคดีนี้ทางอัยการได้ฟ้องในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ซึ่งไม่ได้ฟ้องตาม ป.อาญา มาตรา 157 ทาง ป.ป.ช. จึงไม่มีอำนาจในการสอบสวน ทั้งนี้ ในประเด็นการอุทธรณ์อัยการก็มีความเห็นคล้ายกับกรณีความเห็นแย้งในสำนวนคดีของนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ที่ระบุว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้
นอกจากนี้ ในสำนวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิตจำนวนหลายสำนวน ศาลก็มีคำสั่งระบุชัดเจนว่าสาเหตุการตายเกิดจากวิถีกระสุนซึ่งมาจากเจ้าพนักงานทหารกำลังปฎิบัติหน้าที่รักษาความสงบปิดล้อมพื้นที่ควบคุมตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) รวมทั้งคำสั่งศาลก็ได้ระบุว่าผู้เสียชีวิตบางรายไม่มีอาวุธ ซึ่งการกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิงใส่ประชาชนจนทำให้มีผู้เสียชีวิต
มีฃ่าว อัยการยื่นอุทธรณ์คดีฟ้อง “อภิสิทธ์ - สุเทพ” อ้างไม่ได้ฟ้อง ม.157แต่จะฟ้องฐานฆ่าคนตาย
อัยการยื่นอุทธรณ์คดีฟ้อง “อภิสิทธ์ - สุเทพ” คดีสั่งสลายม็อบแดงก่อจลาจล ปี 53 อ้างไม่ได้ฟ้องปฏิบัติหน้าที่มิชอบแต่ฟ้องฆ่าคนตาย ระบุป.ป.ช.ไม่มีอำนาจสอบสวน สอดคล้องกับความเห็นแย้งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
วันนี้ (24 ก.ย.) นายวันชัย รุจนวงศ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดถึงความคืบหน้าในการยื่นอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือพระสุเทพ ปภากโร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นจำเลยที่ 1 - 2 ในความผิดฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59,80, 83, 84 และ 288 จากกรณีที่ ศอฉ. มีคำสั่งใช้กำลังเจ้าหน้าที่ในการขอคืนพื้นที่ จากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (นปช.) ระหว่างเดือน เม.ย. - พ.ค. 2553 บริเวณ ถ.ราชดำเนิน และแยกราชประสงค์ ส่งผลมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย ซึ่งคดีดังกล่าวศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2557 ที่ผ่านมาว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ และคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า ทางอัยการได้ดำเนินการยื่นอุทธรณ์คดีดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่วนประเด็นในการยื่นอุทธรณ์นั้น โดยอัยการได้อุทธรณ์ในประเด็นเรื่องข้อกฎหมาย เนื่องจากคดีดังกล่าวอัยการได้ยื่นฟ้องในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ซึ่งอัยการไม่ได้ฟ้องในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อาญา มาตรา 157 ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ก็คงจะต้องรอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ถ้าหากศาลอุทธรณ์พิจารณาสำนวนคดีเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะส่งหมายแจ้งนัดวันให้คู่ความทั้งสองฝ่ายรับทราบเพื่อเดินทางมาฟังคำพิพากษาต่อไป ส่วนจะใช้ระยะเวลาเท่าใดนั้นตนคงไม่สามารถระบุได้ ซึ่งขึ้นอยู่ที่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเสร็จสิ้นเมื่อใด
แหล่งข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า สำหรับประเด็นที่อัยการยื่นอุทธรณ์นั้น เนื่องจากเห็นว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ โดยทาง ป.ป.ช. มีอำนาจพิจารณาไต่สวนเฉพาะในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อาญา มาตรา 157 เท่านั้น แต่ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตาม ป.อาญา มาตรา 288 นั้น ทางป.ป.ช.ไม่มีอำนาจพิจารณาได้ ซึ่งเท่ากับว่า ป.ป.ช. ไม่ได้ไต่สวนในฐานความผิดดังกล่าว ดังนั้น จึงเท่ากับว่าไม่สามารถมีใครฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ แต่ในสำนวนคดีนี้ทางอัยการได้ฟ้องในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ซึ่งไม่ได้ฟ้องตาม ป.อาญา มาตรา 157 ทาง ป.ป.ช. จึงไม่มีอำนาจในการสอบสวน ทั้งนี้ ในประเด็นการอุทธรณ์อัยการก็มีความเห็นคล้ายกับกรณีความเห็นแย้งในสำนวนคดีของนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ที่ระบุว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้
นอกจากนี้ ในสำนวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิตจำนวนหลายสำนวน ศาลก็มีคำสั่งระบุชัดเจนว่าสาเหตุการตายเกิดจากวิถีกระสุนซึ่งมาจากเจ้าพนักงานทหารกำลังปฎิบัติหน้าที่รักษาความสงบปิดล้อมพื้นที่ควบคุมตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) รวมทั้งคำสั่งศาลก็ได้ระบุว่าผู้เสียชีวิตบางรายไม่มีอาวุธ ซึ่งการกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิงใส่ประชาชนจนทำให้มีผู้เสียชีวิต