ในฐานะ หมอชนบท ตัวน้อยๆคนหนึ่ง
มีเรื่องจะมาบอกเล่าให้ทุกๆท่านฟัง หรือมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
เนื่องจากกระทู้นี้
http://ppantip.com/topic/32585567 (ขออนุญาติที่พาดพิง) ผมได้ตอบในความเห็นที่ 20 ไว้ว่า
ระบบสาธารณสุขไทยล้มเหลวสิ้นเชิง ที่
ไม่สามารถทำให้บุคคลทั่วไปแยกแยะได้ว่า อะไรคือภาวะฉุกเฉิน และไม่สามารถทำให้คนทั่วไปตีความคำว่า ห้องฉุกเฉินได้
ระบบสังคมไทยล้มเหลวสันเชิง
ที่ไม่สามารถทำให้บุคคลทั่วไปๆ รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ไม่รู้ว่าอะไรเป็นสิทธิที่ควรจะได้ หรือควรจะไม่ได้ และสิทธิที่ถวิลหาจะได้มานั้น อาจเป็นการริดรอนสิทธิของคนอื่นๆ
ในหัวข้อที่ 2 จะยังไม่ขอกล่าวถึง เพราะผมก็ไม่ได้รู้ลึกหรือเชี่ยวชาญ รอผู้รู้ท่านอื่นๆมาอธิบายแนวทางแก้ไขนะครับ
ผมจะขอพูดในหัวข้อแรกครับ
บางท่านอาจสงสัยว่า แค่คนทั่วไปแยกแยะไม่ออกว่าภาวะฉุกเฉินคืออะไรบ้าง ระบบสาธารณสุขไทยถึงขั้นล้มเหลวเลยเหรอ แล้วจะให้คนทั่วไปรู้ได้อย่างไรล่ะ ก็เค้าไม่ได้เรียนวิชาแพทย์มา ไม่เหมือนหมอหรือพยาบาลที่เรียนมาโดยตรง
ผมขอตอบว่า ล้มเหลวสิครับ สิ้นเชิงด้วย ความสำคัญมันอยู่ตรงที่
มีหลายโรคที่แข่งกับเวลา หมายถึง เวลานับตั้งแต่เกิดอาการจนกระทั่งได้รับการรักษา ทุกนาทีที่ผ่านไป อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าเลยเวลา cut point ก็จะไม่ได้รับยาที่สมควรจะได้ (ถ้ามาทันเวลาก็จะได้รับยานั้น และผลลัพธ์ของการรักษาอาจเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ) นี่แหละครับ ความสำคัญที่คนทั่วไปต้องแยกแยะให้ได้ครับ ถ้ารู้ความสำคัญก็จะรีบมารพ. ส่วนเวลานับตั้งแต่ผู้ป่วยถึง รพ.จนกระทั่งได้รับยา ส่วนที่เป็นของระบบสาธารณสุขที่ต้องพัฒนากันต่อไปครับ
ไม่นับเหตุผลอื่นๆอีกร้อยแปด เช่น ฉันปวดท้องจะแย่อยู่แล้ว คนไข้จากไหนไม่รู้นอนเฉยๆ ทำไมได้เข้าห้องตรวจก่อน ได้ตรวจก่อนฉัน ตามมาซึ่งปัญหาร้องเรียนต่างๆ
อีกประเด็นคือ ห้องฉุกเฉิน ไม่ได้เรียงลำดับคิวการตรวจตามการมาถึง รพ.นะครับ ไม่ใช่จับเบอร์ 1 2 3 4 แล้วก็เรียกตรวจเรียง 1 2 3 4 แต่
ห้องฉุกเฉิน เรียกคนไข้ตรวจตามความรุนแรงครับ ถ้าคุณได้เบอร์ 4 แต่อาการของคุณรุนแรงที่สุด คุณก็จะได้มาตรวจก่อนคนเบอร์ 1 นะครับ แล้วใครเป็นคนบอกละครับว่าอาการคุณรุนแรงขนาดไหน ก็คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คือ หมอและ/หรือ พยาบาล ดังนั้นไม่ต้องกังวลนะครับ ทันทีที่คุณเข้ามารพ. คุณจะถูกประเมินความรุนแรงแล้วครับ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และเช่นกันครับ ถ้าคุณรู้ข้อมูลนี้ แล้ว
คุณมาตรวจได้เบอร์ 1 แต่คุณได้ตรวจจริงลำดับสุดท้าย ก็ไม่แปลกนะครับ
เอาละครับ เกริ่นมาเยอะแล้ว วัตถุประสงค์ของการตั้งกระทู้นี้คือ ภาวะฉุกฺเฉิน, ห้องฉุกเฉินคืออะไร และอาการอะไรบ้างที่ควรรีบการ รพ. (ซึ่งจริงๆแล้วเยอะมากๆครับ แต่ผมจะขอยกเฉพาะบางโรคที่ต้องแข่งกับเวลา หมายถึง มีcut point เวลาที่ชัดเจน ถ้าเกินกำหนดเวลาจะไม่ได้รับยานั้นๆนะครับ)
เดี๋ยวมาต่อนะครับ หรือเพื่อนๆแพทย์ พยาบาล หรือใครที่สนใจ แลกเปลี่ยนได้เลยครับ
ภาวะฉุกเฉิน, ห้องฉุกเฉิน คืออะไร ร่วมกันหาคำตอบในกระทู้นี้ครับ... จาก หมอชนบท ตัวน้อยๆ คนหนึ่ง
มีเรื่องจะมาบอกเล่าให้ทุกๆท่านฟัง หรือมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
เนื่องจากกระทู้นี้ http://ppantip.com/topic/32585567 (ขออนุญาติที่พาดพิง) ผมได้ตอบในความเห็นที่ 20 ไว้ว่า
ระบบสาธารณสุขไทยล้มเหลวสิ้นเชิง ที่ไม่สามารถทำให้บุคคลทั่วไปแยกแยะได้ว่า อะไรคือภาวะฉุกเฉิน และไม่สามารถทำให้คนทั่วไปตีความคำว่า ห้องฉุกเฉินได้
ระบบสังคมไทยล้มเหลวสันเชิง ที่ไม่สามารถทำให้บุคคลทั่วไปๆ รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ไม่รู้ว่าอะไรเป็นสิทธิที่ควรจะได้ หรือควรจะไม่ได้ และสิทธิที่ถวิลหาจะได้มานั้น อาจเป็นการริดรอนสิทธิของคนอื่นๆ
ในหัวข้อที่ 2 จะยังไม่ขอกล่าวถึง เพราะผมก็ไม่ได้รู้ลึกหรือเชี่ยวชาญ รอผู้รู้ท่านอื่นๆมาอธิบายแนวทางแก้ไขนะครับ
ผมจะขอพูดในหัวข้อแรกครับ
บางท่านอาจสงสัยว่า แค่คนทั่วไปแยกแยะไม่ออกว่าภาวะฉุกเฉินคืออะไรบ้าง ระบบสาธารณสุขไทยถึงขั้นล้มเหลวเลยเหรอ แล้วจะให้คนทั่วไปรู้ได้อย่างไรล่ะ ก็เค้าไม่ได้เรียนวิชาแพทย์มา ไม่เหมือนหมอหรือพยาบาลที่เรียนมาโดยตรง
ผมขอตอบว่า ล้มเหลวสิครับ สิ้นเชิงด้วย ความสำคัญมันอยู่ตรงที่ มีหลายโรคที่แข่งกับเวลา หมายถึง เวลานับตั้งแต่เกิดอาการจนกระทั่งได้รับการรักษา ทุกนาทีที่ผ่านไป อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าเลยเวลา cut point ก็จะไม่ได้รับยาที่สมควรจะได้ (ถ้ามาทันเวลาก็จะได้รับยานั้น และผลลัพธ์ของการรักษาอาจเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ) นี่แหละครับ ความสำคัญที่คนทั่วไปต้องแยกแยะให้ได้ครับ ถ้ารู้ความสำคัญก็จะรีบมารพ. ส่วนเวลานับตั้งแต่ผู้ป่วยถึง รพ.จนกระทั่งได้รับยา ส่วนที่เป็นของระบบสาธารณสุขที่ต้องพัฒนากันต่อไปครับ
ไม่นับเหตุผลอื่นๆอีกร้อยแปด เช่น ฉันปวดท้องจะแย่อยู่แล้ว คนไข้จากไหนไม่รู้นอนเฉยๆ ทำไมได้เข้าห้องตรวจก่อน ได้ตรวจก่อนฉัน ตามมาซึ่งปัญหาร้องเรียนต่างๆ
อีกประเด็นคือ ห้องฉุกเฉิน ไม่ได้เรียงลำดับคิวการตรวจตามการมาถึง รพ.นะครับ ไม่ใช่จับเบอร์ 1 2 3 4 แล้วก็เรียกตรวจเรียง 1 2 3 4 แต่ห้องฉุกเฉิน เรียกคนไข้ตรวจตามความรุนแรงครับ ถ้าคุณได้เบอร์ 4 แต่อาการของคุณรุนแรงที่สุด คุณก็จะได้มาตรวจก่อนคนเบอร์ 1 นะครับ แล้วใครเป็นคนบอกละครับว่าอาการคุณรุนแรงขนาดไหน ก็คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คือ หมอและ/หรือ พยาบาล ดังนั้นไม่ต้องกังวลนะครับ ทันทีที่คุณเข้ามารพ. คุณจะถูกประเมินความรุนแรงแล้วครับ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และเช่นกันครับ ถ้าคุณรู้ข้อมูลนี้ แล้วคุณมาตรวจได้เบอร์ 1 แต่คุณได้ตรวจจริงลำดับสุดท้าย ก็ไม่แปลกนะครับ
เอาละครับ เกริ่นมาเยอะแล้ว วัตถุประสงค์ของการตั้งกระทู้นี้คือ ภาวะฉุกฺเฉิน, ห้องฉุกเฉินคืออะไร และอาการอะไรบ้างที่ควรรีบการ รพ. (ซึ่งจริงๆแล้วเยอะมากๆครับ แต่ผมจะขอยกเฉพาะบางโรคที่ต้องแข่งกับเวลา หมายถึง มีcut point เวลาที่ชัดเจน ถ้าเกินกำหนดเวลาจะไม่ได้รับยานั้นๆนะครับ)
เดี๋ยวมาต่อนะครับ หรือเพื่อนๆแพทย์ พยาบาล หรือใครที่สนใจ แลกเปลี่ยนได้เลยครับ