Aeros 40D S/N 21 (SKY DRAGON) ผลิตโดยบริษัท Worldwide Aeros Corp. ประเทศสหรัฐอเมริกา ขนาดกว้าง 34.8 ฟุต (10.61 เมตร) ยาว 155.34 ฟุต (47.35 เมตร) สูง 48/3 ฟุต (13.35 เมตร) ความจุฮีเลี่ยม 100,032 ลูกบาศก์ฟุต (2,833 ลูกบาศก์เมตร) ระยะความสูงที่สามารถปฏิบัติงานได้ 0 -10,000 ฟุต (0-3,084 เมตร) ระยะความสูงปฏิบัติการ 3,000-5,000 ฟุต ความเร็วสูงสุด 88 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วเดินทาง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เครื่องยนต์ 2 คูณ 125 HP 4-Cylinder, Continental IO-240 B ความจุเชื้อเพลิง 76 แกลลอน (300 ลิตร) บินได้นาน 6 ชั่วโมง
เกณฑ์การสิ้นเปลือง ณ ความเร็วสูงสุด 50 ลิตรต่อชั่วโมง ระยะทางที่บินได้ไกลสุด ณ ความเร็วสูงสุด 560 กิโลเมตร ชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ 100 LL Grade Aviation Fuel ความจุห้องโดยสาร 4 นาย (นักบิน 2 นาย ช่างกล้อง 1 นาย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 1 นาย)
ทั้งนี้ หลังจากเรือเหาะถูกส่งถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.ปี2552 ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่จากกองทัพบกไปฝึกการใช้งานเรือเหาะตรวจการณ์กับทางบริษัทผู้ผลิต และได้มีการก่อสร้างโรงจอดที่กองพลทหารราบที่ 15 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อโรงจอดสร้างเสร็จ จึงเคลื่อนย้ายเรือเหาะไปไว้ที่โรงจอดดังกล่าวตั้งแต่ปลายปี 2552 และเริ่มทดลองใช้
ที่ผ่านมามีข้อสังเกตจากบุคคลในแวดวงธุรกิจเรือเหาะว่า ราคาเรือเหาะที่กองทัพจัดซื้อน่าจะแพงเกินไป เพราะเรือเหาะของบริษัทแอร์ชิป เอเซีย ที่นำเข้าและจดทะเบียนก่อนที่กองทัพจะจัดซื้อ และมีขนาดใกล้เคียงกับเรือเหาะ ?สกาย ดรากอน? นั้น มีราคาเพียง 30-35 ล้านบาทเท่านั้นเอง แต่เรือเหาะของกองทัพบก เฉพาะตัวบอลลูนอ้างว่ามีราคาสูงถึง 260 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวเรือเหาะตรวจการณ์ว่าอาจเป็น "สินค้ามือสอง" เพราะสั่งซื้อและได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่เดือน ทั้งๆ ที่หากเป็นของใหม่จะต้องใช้เวลาสร้างอีกร่วม 1 ปี ขณะเดียวกันก็ยังมีกระแสวิจารณ์เกี่ยวกับราคาเติมก๊าซฮีเลี่ยมที่สูงถึง 3 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เรือเหาะลำใกล้เคียงกันเติมเพียงครั้งละ 7-8 แสนบาท
ที่สำคัญการตัดสินใจซื้อ "ระบบเรือเหาะตรวจการณ์" มาใช้ในภารกิจแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกตั้งคำถามมาตั้งแต่ต้นถึงความเหมาะสมในแง่ยุทธการและความคุ้มค่า โดยอดีตนายทหารระดับสูงหลายนายอย่าง พล.อ.หาญ ลีนานนท์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองทัพไทย ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์การจัดซื้อ "ระบบเรือเหาะตรวจการณ์" อย่างรุนแรงว่าไร้ประโยชน์ในทางยุทธการ ไม่เหมาะกับสภาพพื้นที่ที่เป็นป่าเขาอย่างสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกยิงตกด้วย
ทีมข่าวสำนักข่าวเนชั่น NNA NEWS
Aeros 40D S/N 21 (SKY DRAGON) เรือเหาะไทย อาจเป็นมือสอง
เกณฑ์การสิ้นเปลือง ณ ความเร็วสูงสุด 50 ลิตรต่อชั่วโมง ระยะทางที่บินได้ไกลสุด ณ ความเร็วสูงสุด 560 กิโลเมตร ชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ 100 LL Grade Aviation Fuel ความจุห้องโดยสาร 4 นาย (นักบิน 2 นาย ช่างกล้อง 1 นาย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 1 นาย)
ทั้งนี้ หลังจากเรือเหาะถูกส่งถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.ปี2552 ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่จากกองทัพบกไปฝึกการใช้งานเรือเหาะตรวจการณ์กับทางบริษัทผู้ผลิต และได้มีการก่อสร้างโรงจอดที่กองพลทหารราบที่ 15 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อโรงจอดสร้างเสร็จ จึงเคลื่อนย้ายเรือเหาะไปไว้ที่โรงจอดดังกล่าวตั้งแต่ปลายปี 2552 และเริ่มทดลองใช้
ที่ผ่านมามีข้อสังเกตจากบุคคลในแวดวงธุรกิจเรือเหาะว่า ราคาเรือเหาะที่กองทัพจัดซื้อน่าจะแพงเกินไป เพราะเรือเหาะของบริษัทแอร์ชิป เอเซีย ที่นำเข้าและจดทะเบียนก่อนที่กองทัพจะจัดซื้อ และมีขนาดใกล้เคียงกับเรือเหาะ ?สกาย ดรากอน? นั้น มีราคาเพียง 30-35 ล้านบาทเท่านั้นเอง แต่เรือเหาะของกองทัพบก เฉพาะตัวบอลลูนอ้างว่ามีราคาสูงถึง 260 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวเรือเหาะตรวจการณ์ว่าอาจเป็น "สินค้ามือสอง" เพราะสั่งซื้อและได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่เดือน ทั้งๆ ที่หากเป็นของใหม่จะต้องใช้เวลาสร้างอีกร่วม 1 ปี ขณะเดียวกันก็ยังมีกระแสวิจารณ์เกี่ยวกับราคาเติมก๊าซฮีเลี่ยมที่สูงถึง 3 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เรือเหาะลำใกล้เคียงกันเติมเพียงครั้งละ 7-8 แสนบาท
ที่สำคัญการตัดสินใจซื้อ "ระบบเรือเหาะตรวจการณ์" มาใช้ในภารกิจแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกตั้งคำถามมาตั้งแต่ต้นถึงความเหมาะสมในแง่ยุทธการและความคุ้มค่า โดยอดีตนายทหารระดับสูงหลายนายอย่าง พล.อ.หาญ ลีนานนท์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองทัพไทย ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์การจัดซื้อ "ระบบเรือเหาะตรวจการณ์" อย่างรุนแรงว่าไร้ประโยชน์ในทางยุทธการ ไม่เหมาะกับสภาพพื้นที่ที่เป็นป่าเขาอย่างสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกยิงตกด้วย
ทีมข่าวสำนักข่าวเนชั่น NNA NEWS