หลายต่อหลายครั้งที่มีข่าวการอนุมัติงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ๆเพื่อมาเข้าประจำการในกองทัพ มักจะมีคำถามมาตลอดว่า ไทยสร้างเองไม่ได้หรือ และก็มีหลายๆท่านได้มาให้คำตอบว่าได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เล็กๆน้อยๆ วันนี้จึงถือโอกาสรวบรวม เรือ ที่ประจำการใน ทร. ที่ได้ต่อขึ้นในประเทศไทย ทั้งจากอู่ต่อเรือเอกชน และอู่ของกองทัพ ซึ่งที่รวบรวมมาครั้งนี้ อาจจะยังไม่ครบ เป็นหนึ่งในหลายๆส่วนที่มีการดำเนินการด้านผลิตยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้เองในประเทศ ท่านอื่นๆที่มีข้อมูลก็เพิ่มเติมเข้ามาได้ครับ
#### ข้อมูลที่นำให้ดูในครั้งนี้ ในกระทู้เก่าๆก็มีหลายกระทู้ครับ แต่บางอันก็เพิ่งมีมา เลยมาอัพเดทกัน
#### อุปกรณ์ อาวุธ ระบบอำนวยการต่างๆ ก็ต้อง ซื้อมานะครับ อันนี้สร้างเองไม่ได้
จะขอแบ่งเป็นผลงานของแต่ละบริษัทผู้สร้างนะครับ ซึ่งที่เคยผ่านหูผ่านตามาก็จะมี ดังนี้
กรมอู่ทหารเรือ
บ.อู่กรุงเทพ จำกัด
บ.มาร์ซัน จำกัด
บ.อิตัลไทย มารีน จำกัด
บ. ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด
บริษัท Silkline International
อู่ต่อเรือ เอเชี่ยนมารีน เซอวิส
กรมอู่ทหารเรือ
1 ชุดเรือ ต.91- ต.99 เดิม สังกัด กองเรือตรวจอ่าว ปัจจุบัน สังกัดกองเรือยามฝั่ง (ตั้งแต่ 2552 )
เรือของพ่อ
เมื่อคราวพระเจ้าอยู่หัว ร.9 เสด็จฯ ทอดพระเนตรการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งที่ ประเทศเยอรมนี และทรงมีพระราชดำรัสว่า “กองทัพเรือควรต่อเรือประเภทนี้ขึ้นใช้เองบ้าง” กองทัพเรือ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพระราชทานทั้งพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือเพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ นับตั้งแต่การสร้างเรือตรวจใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ. 2510 – 2530 อันเป็นการดำเนินโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์
2 เรือ ต.991 และ เรือ ต.994
โครงการจัดสร้างเรือตรวจเรือใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโครงการของกองทัพเรือไทย ที่ต่อยอดมาจากโครงการก่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.91 - ต.99 ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีจุดเริ่มต้นจากพระราชกระแสรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้า ฯ ณ วังไกลกังวล เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545 ความว่า “เรือรบขนาดใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสูง กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสม และสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม” กับทั้งได้มีพระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้ทรงยกตัวอย่างจากการพึ่งพาตนเองในโครงการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ในอดีตของกองทัพเรือ
ในช่วงเวลานั้น กองทัพเรือได้มีแผนปลดประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากใช้งานมานานประมาณ 40 ปีแล้ว กองทัพเรือจึงได้นำพระราชดำริฯ มาดำเนินการพัฒนาแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสดังกล่าว โดยขยายแบบเรือจากชุดเรือ ต.91 - ต.99 ให้ใหญ่ขึ้น
กองทัพเรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหม ให้ดำเนินโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 และรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพเรือดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งพร้อมกัน 3 ลำ ในวงเงินรวมประมาณ 1,912 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการรวม 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - 2550 เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550
3 ร.ล.ศรีราชา สังกัด กองเรือตรวจอ่าว
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 530 ตัน เต็มที่ 590 ตัน ความยาว 62.0 ม. ความกว้าง 8.9 ม. กินน้ำลึก 2.5 ม.
ความเร็วสูงสุด 25 น็อต ความเร็วเดินทาง 15 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วเดินทาง 2,500 ไมล์ กำลังพลประจำเรือ 45 นาย
4 เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น (เรือ กทต.)
ท.1 (20 กุมภาพันธ์ 2538) ท.2 (24 มกราคม 2539) ท.3 (16 กรกฎาคม 2540)
ท.4 ท.5 ท.11 (15 กรกฎาคม 2537) ท.12 (6 ตุลาคม 2537)
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 30 ตัน เต็มที่ 33 ตัน ความยาว 17.2 ม. ความกว้าง 4.3 ม. กินน้ำลึก 1.0 ม.
ความเร็วสูงสุด 10 น็อต ความเร็วเดินทาง 9 น็อต ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วสูงสุด 495 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 6 นาย
ขีดความสามารถ
ตัวเรือสร้างจากวัสดุผสม glass reinforced plastic (GRP) เก๋งเรือและพื้นเรือสร้างจากไม้
เครื่องกวาดทุ่นระเบิดแบบอิทธิพลเสียง A Mk 4(v) เครื่องกวาดทุ่นระเบิดแบบอิทธิพลแม่เหล็ก
5 ร.ล.ปรง ร.ล.เปริด ร.ล.เสม็ด ร.ล.จิก ร.ล.จวง สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (กยพ.กร.)
บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
เป็นรัฐวิสาหกิจในความควบคุมของกองทัพเรือ สังกัดกระทรวงกลาโหม ประกอบกิจการอุตสาหกรรมอู่เรือ
ผลงานต่อเรือ ให้กับกองทัพเรือ
1 ร.ล.ถลาง สังกัด กองเรือทุ่นระเบิด (กทบ.)
- ออกแบบโดยบริษัท FERROSTALL A – G MSSEN ประเทศเยอรมัน
- วางกระดูกงู เมื่อ 23 มี.ค. 2522
- ทำพิธีปล่อยลงน้ำ เมื่อ 17 มี.ค. 2523 โดยคุณหญิง กมลนารี สิงหะ เป็นประธาน
- ทร. รับมอบ เมื่อ 25 มิ.ย. 2523
- ขึ้นระวางประจำการ เมื่อ 25 มิ.ย. 2523
ขีดความสามารถของเรือ
- สามารถปฏิบัติการในทะเลทั้งของตนเองและสนับสนุนหมู่เรือ กทต. ได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน
- ควบคุมเรือ กทต. ในการกวาดทุ่นระเบิด
- สนับสนุนการกวาดทุ่นระเบิดเสียง
- สนับสนุนการซ่อมบำรุงเล็กน้อย
2 ร.ล.สุริยะ สังกัด กรมอุทกศาสตร์ ทร.
เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ (เรือ งคร.)
ระวางประจำการ 821 ร.ล.สุริยะ (15 มกราคม 2522)
ขนาด ระวางขับน้ำปกติ 650 ตัน เต็มที่ 960 ตัน ความยาว 54.2 ม. ความกว้าง 10.2 ม. กินน้ำลึก 3.0 ม.
ความเร็วสูงสุด 12 น็อต ความเร็วเดินทาง 10 น็อต ระยะปฏิบัติ การที่ความเร็วเดินทาง 3,000 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 60 นาย
เครื่องจักร เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 8V 396 TC กำลัง 720 แรงม้า 2 เครื่อง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล กำลังไฟฟ้า 300 กิโลวัตต์ เพลาใบจักร 2 เพลา
เครื่องผลักดันหัวเรือ (bow thruster)
ขีดความสามารถ เครนประจำที่สำหรับยกทุ่น 1 ชุด บริเวณหัวเรือ รองรับน้ำหนักได้ 10 ตัน ระวางบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์ซ่อมบำรุง สำหรับเครื่องหมายทางเรือ รวม 270 ตัน
3 ร.ล.ศุกร์ สังกัด กรมอุทกศาสตร์ ทร.
ขึ้นระวางประจำการ (3 มีนาคม 2525)
- ออกแบบโดยบริษัท FERROSTALL A – G MSSEN ประเทศเยอรมัน
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 1,400 ตัน เต็มที่ 1,526 ตัน ความยาว 62.9 ม. ความกว้าง 11.0 ม. กินน้ำลึก 4.0 ม.
ความเร็วสูงสุด 15 น็อต ความเร็วเดินทาง 12 น็อต ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วเดินทาง 5,000 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 59 นาย
เครื่องจักร
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 396 TC62 กำลัง 1,200 แรงม้า 2 เครื่อง เพลาใบจักร 2 เพลา
อาวุธ
ปืนใหญ่กล Oerlikon Mk 4 ขนาด 20 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ขีดความสามารถ เครนท้ายเรือ และเครนประจำที่สำหรับยกอุปกรณ์สำรวจ 5 ชุด
4 771 ร.ล.ทองแก้ว (28 ธันวาคม 2525)
772 ร.ล.ทองหลาง (19 เมษายน 2526)
773 ร.ล.วังนอก (16 กันยายน 2526)
774 ร.ล.วังใน (11 พฤศจิกายน 2526)
สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (กยพ.กร.)
ยาว 41.00 เมตร กว้าง 9.00 เมตร กินน้ำลึก 1.20 เมตร ท้าย 1.80 เมตร
ระวางขับน้ำ
ปกติ 173 ตัน
เต็มที่ 396 ตัน
8 ร.ล.สุรินทร์ สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (กยพ.กร.)
ขึ้นระวางประจำการ 20 มีนาคม พ.ศ.2532
ระวางขับน้ำ ปกติ 2,982 ตัน เต็มที่ 4,245 ตัน ความยาว ตลอดลำ 112.48 เมตร ที่แนวน้ำ 105.0 เมตร
ความกว้าง มากที่สุด 15.40 เมตร ที่แนวน้ำ 15.40 เมตร ความสูง ถึงดาดฟ้าใหญ่ 7.8 เมตร ถึงยอดเสา 21.2 เมตร
กินน้ำลึก ปกติ หัว 1.35 เมตร ท้าย 1.42 เมตรเต็มที่ หัว 2.06 เมตร ท้าย 4.14 เมตร
9 เรือระบายพลประจำ ร.ล.อ่างทอง LCM
10 ร.ล.กระบี่ สังกัด กองเรือตรวจอ่าว
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน ความยาว 90.5 ม. ความกว้าง 13.5 ม. กินน้ำลึก 3.8 ม. ความเร็วสูงสุด 23 น็อต ความเร็วเดินทาง 15 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วเดินทาง 3,500 ไมล์ ความคงทนทะเลระดับ sea state 5
กำลังพลประจำเรือ 55 นาย (รองรับกำลังพลเพิ่มเติมได้อีก 34 นาย)
อาวุธ
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Agusta Westland Super Lynx 300 1 เครื่อง
เรือยางทางยุทธวิธีพร้อมเครื่องยนต์ติดท้าย (RHIB) 1 ลำ
11 ร.ล.มาตรา สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (กยพ.กร.)
สำหรับคุณลักษณะทั่วไป
ความยาวตลอดลำ 63.50 เมตร กว้างกลางลำ 12.00 เมตร ความลึกกลางลำ 5.10 เมตร กินน้ำลึกเต็มที่ 3.92 เมตร ความจุของถังระวางบรรทุกน้ำมัน 1,200 กิโลลิตร ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 90,000 ลิตร
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง 8,000 ลิตร ความจุของถังน้ำจืด 100 ตัน
ขีดความสามารถ
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 12 นอต ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ ระยะปฏิบัติการ 4,000 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วมัธยัสถ์ (10 นอต) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่
สามารถปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 12 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง มีขีดความสามารถในการส่งน้ำมันในขณะเรือเดินในทะเลทางท้ายเรือ ตามมาตรฐานของนาโต สามารถส่งน้ำมันในขณะเรือจอดได้พร้อมกัน 2 จุด คือ ทางกราบซ้ายและทางกราบขวา สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ขนาดน้ำหนัก 6 ตัน ได้จำนวน 1 เครื่อง สามารถรับการเข้าเทียบของเรือขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตัน จำนวน 2 ลำ ในขณะเรือจอดทอดสมอ และปฏิบัติภารกิจได้ในสภาพทะเลเมื่อมีระวางบรรทุกสูงสุดได้ไม่เกิน Sea State 5.
12 เรือสำรวจขนาดเล็ก (เรือ สรล.) ชุด อศ.3
(30 เมษายน 2515)
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 86 ตัน
ความยาว 22.3 ม. ความกว้าง 5.0 ม. กินน้ำลึก 2.0 ม.
ความเร็วสูงสุด 10 น็อต ความเร็วเดินทาง 8 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วสูงสุด 1,000 ไมล์
รวบรวม เรือ ทร. ที่ต่อ ในประเทศไทย
#### ข้อมูลที่นำให้ดูในครั้งนี้ ในกระทู้เก่าๆก็มีหลายกระทู้ครับ แต่บางอันก็เพิ่งมีมา เลยมาอัพเดทกัน
#### อุปกรณ์ อาวุธ ระบบอำนวยการต่างๆ ก็ต้อง ซื้อมานะครับ อันนี้สร้างเองไม่ได้
จะขอแบ่งเป็นผลงานของแต่ละบริษัทผู้สร้างนะครับ ซึ่งที่เคยผ่านหูผ่านตามาก็จะมี ดังนี้
กรมอู่ทหารเรือ
บ.อู่กรุงเทพ จำกัด
บ.มาร์ซัน จำกัด
บ.อิตัลไทย มารีน จำกัด
บ. ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด
บริษัท Silkline International
อู่ต่อเรือ เอเชี่ยนมารีน เซอวิส
กรมอู่ทหารเรือ
1 ชุดเรือ ต.91- ต.99 เดิม สังกัด กองเรือตรวจอ่าว ปัจจุบัน สังกัดกองเรือยามฝั่ง (ตั้งแต่ 2552 )
เรือของพ่อ
เมื่อคราวพระเจ้าอยู่หัว ร.9 เสด็จฯ ทอดพระเนตรการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งที่ ประเทศเยอรมนี และทรงมีพระราชดำรัสว่า “กองทัพเรือควรต่อเรือประเภทนี้ขึ้นใช้เองบ้าง” กองทัพเรือ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพระราชทานทั้งพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือเพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ นับตั้งแต่การสร้างเรือตรวจใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ. 2510 – 2530 อันเป็นการดำเนินโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์
2 เรือ ต.991 และ เรือ ต.994
โครงการจัดสร้างเรือตรวจเรือใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโครงการของกองทัพเรือไทย ที่ต่อยอดมาจากโครงการก่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.91 - ต.99 ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีจุดเริ่มต้นจากพระราชกระแสรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้า ฯ ณ วังไกลกังวล เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545 ความว่า “เรือรบขนาดใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสูง กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสม และสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม” กับทั้งได้มีพระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้ทรงยกตัวอย่างจากการพึ่งพาตนเองในโครงการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ในอดีตของกองทัพเรือ
ในช่วงเวลานั้น กองทัพเรือได้มีแผนปลดประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากใช้งานมานานประมาณ 40 ปีแล้ว กองทัพเรือจึงได้นำพระราชดำริฯ มาดำเนินการพัฒนาแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสดังกล่าว โดยขยายแบบเรือจากชุดเรือ ต.91 - ต.99 ให้ใหญ่ขึ้น
กองทัพเรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหม ให้ดำเนินโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 และรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพเรือดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งพร้อมกัน 3 ลำ ในวงเงินรวมประมาณ 1,912 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการรวม 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - 2550 เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550
3 ร.ล.ศรีราชา สังกัด กองเรือตรวจอ่าว
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 530 ตัน เต็มที่ 590 ตัน ความยาว 62.0 ม. ความกว้าง 8.9 ม. กินน้ำลึก 2.5 ม.
ความเร็วสูงสุด 25 น็อต ความเร็วเดินทาง 15 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วเดินทาง 2,500 ไมล์ กำลังพลประจำเรือ 45 นาย
4 เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น (เรือ กทต.)
ท.1 (20 กุมภาพันธ์ 2538) ท.2 (24 มกราคม 2539) ท.3 (16 กรกฎาคม 2540)
ท.4 ท.5 ท.11 (15 กรกฎาคม 2537) ท.12 (6 ตุลาคม 2537)
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 30 ตัน เต็มที่ 33 ตัน ความยาว 17.2 ม. ความกว้าง 4.3 ม. กินน้ำลึก 1.0 ม.
ความเร็วสูงสุด 10 น็อต ความเร็วเดินทาง 9 น็อต ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วสูงสุด 495 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 6 นาย
ขีดความสามารถ
ตัวเรือสร้างจากวัสดุผสม glass reinforced plastic (GRP) เก๋งเรือและพื้นเรือสร้างจากไม้
เครื่องกวาดทุ่นระเบิดแบบอิทธิพลเสียง A Mk 4(v) เครื่องกวาดทุ่นระเบิดแบบอิทธิพลแม่เหล็ก
5 ร.ล.ปรง ร.ล.เปริด ร.ล.เสม็ด ร.ล.จิก ร.ล.จวง สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (กยพ.กร.)
บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
เป็นรัฐวิสาหกิจในความควบคุมของกองทัพเรือ สังกัดกระทรวงกลาโหม ประกอบกิจการอุตสาหกรรมอู่เรือ
ผลงานต่อเรือ ให้กับกองทัพเรือ
1 ร.ล.ถลาง สังกัด กองเรือทุ่นระเบิด (กทบ.)
- ออกแบบโดยบริษัท FERROSTALL A – G MSSEN ประเทศเยอรมัน
- วางกระดูกงู เมื่อ 23 มี.ค. 2522
- ทำพิธีปล่อยลงน้ำ เมื่อ 17 มี.ค. 2523 โดยคุณหญิง กมลนารี สิงหะ เป็นประธาน
- ทร. รับมอบ เมื่อ 25 มิ.ย. 2523
- ขึ้นระวางประจำการ เมื่อ 25 มิ.ย. 2523
ขีดความสามารถของเรือ
- สามารถปฏิบัติการในทะเลทั้งของตนเองและสนับสนุนหมู่เรือ กทต. ได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน
- ควบคุมเรือ กทต. ในการกวาดทุ่นระเบิด
- สนับสนุนการกวาดทุ่นระเบิดเสียง
- สนับสนุนการซ่อมบำรุงเล็กน้อย
2 ร.ล.สุริยะ สังกัด กรมอุทกศาสตร์ ทร.
เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ (เรือ งคร.)
ระวางประจำการ 821 ร.ล.สุริยะ (15 มกราคม 2522)
ขนาด ระวางขับน้ำปกติ 650 ตัน เต็มที่ 960 ตัน ความยาว 54.2 ม. ความกว้าง 10.2 ม. กินน้ำลึก 3.0 ม.
ความเร็วสูงสุด 12 น็อต ความเร็วเดินทาง 10 น็อต ระยะปฏิบัติ การที่ความเร็วเดินทาง 3,000 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 60 นาย
เครื่องจักร เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 8V 396 TC กำลัง 720 แรงม้า 2 เครื่อง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล กำลังไฟฟ้า 300 กิโลวัตต์ เพลาใบจักร 2 เพลา
เครื่องผลักดันหัวเรือ (bow thruster)
ขีดความสามารถ เครนประจำที่สำหรับยกทุ่น 1 ชุด บริเวณหัวเรือ รองรับน้ำหนักได้ 10 ตัน ระวางบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์ซ่อมบำรุง สำหรับเครื่องหมายทางเรือ รวม 270 ตัน
3 ร.ล.ศุกร์ สังกัด กรมอุทกศาสตร์ ทร.
ขึ้นระวางประจำการ (3 มีนาคม 2525)
- ออกแบบโดยบริษัท FERROSTALL A – G MSSEN ประเทศเยอรมัน
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 1,400 ตัน เต็มที่ 1,526 ตัน ความยาว 62.9 ม. ความกว้าง 11.0 ม. กินน้ำลึก 4.0 ม.
ความเร็วสูงสุด 15 น็อต ความเร็วเดินทาง 12 น็อต ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วเดินทาง 5,000 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 59 นาย
เครื่องจักร
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 396 TC62 กำลัง 1,200 แรงม้า 2 เครื่อง เพลาใบจักร 2 เพลา
อาวุธ
ปืนใหญ่กล Oerlikon Mk 4 ขนาด 20 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ขีดความสามารถ เครนท้ายเรือ และเครนประจำที่สำหรับยกอุปกรณ์สำรวจ 5 ชุด
4 771 ร.ล.ทองแก้ว (28 ธันวาคม 2525)
772 ร.ล.ทองหลาง (19 เมษายน 2526)
773 ร.ล.วังนอก (16 กันยายน 2526)
774 ร.ล.วังใน (11 พฤศจิกายน 2526)
สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (กยพ.กร.)
ยาว 41.00 เมตร กว้าง 9.00 เมตร กินน้ำลึก 1.20 เมตร ท้าย 1.80 เมตร
ระวางขับน้ำ
ปกติ 173 ตัน
เต็มที่ 396 ตัน
8 ร.ล.สุรินทร์ สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (กยพ.กร.)
ขึ้นระวางประจำการ 20 มีนาคม พ.ศ.2532
ระวางขับน้ำ ปกติ 2,982 ตัน เต็มที่ 4,245 ตัน ความยาว ตลอดลำ 112.48 เมตร ที่แนวน้ำ 105.0 เมตร
ความกว้าง มากที่สุด 15.40 เมตร ที่แนวน้ำ 15.40 เมตร ความสูง ถึงดาดฟ้าใหญ่ 7.8 เมตร ถึงยอดเสา 21.2 เมตร
กินน้ำลึก ปกติ หัว 1.35 เมตร ท้าย 1.42 เมตรเต็มที่ หัว 2.06 เมตร ท้าย 4.14 เมตร
9 เรือระบายพลประจำ ร.ล.อ่างทอง LCM
10 ร.ล.กระบี่ สังกัด กองเรือตรวจอ่าว
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน ความยาว 90.5 ม. ความกว้าง 13.5 ม. กินน้ำลึก 3.8 ม. ความเร็วสูงสุด 23 น็อต ความเร็วเดินทาง 15 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วเดินทาง 3,500 ไมล์ ความคงทนทะเลระดับ sea state 5
กำลังพลประจำเรือ 55 นาย (รองรับกำลังพลเพิ่มเติมได้อีก 34 นาย)
อาวุธ
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Agusta Westland Super Lynx 300 1 เครื่อง
เรือยางทางยุทธวิธีพร้อมเครื่องยนต์ติดท้าย (RHIB) 1 ลำ
11 ร.ล.มาตรา สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ (กยพ.กร.)
สำหรับคุณลักษณะทั่วไป
ความยาวตลอดลำ 63.50 เมตร กว้างกลางลำ 12.00 เมตร ความลึกกลางลำ 5.10 เมตร กินน้ำลึกเต็มที่ 3.92 เมตร ความจุของถังระวางบรรทุกน้ำมัน 1,200 กิโลลิตร ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 90,000 ลิตร
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง 8,000 ลิตร ความจุของถังน้ำจืด 100 ตัน
ขีดความสามารถ
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 12 นอต ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ ระยะปฏิบัติการ 4,000 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วมัธยัสถ์ (10 นอต) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่
สามารถปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 12 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง มีขีดความสามารถในการส่งน้ำมันในขณะเรือเดินในทะเลทางท้ายเรือ ตามมาตรฐานของนาโต สามารถส่งน้ำมันในขณะเรือจอดได้พร้อมกัน 2 จุด คือ ทางกราบซ้ายและทางกราบขวา สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ขนาดน้ำหนัก 6 ตัน ได้จำนวน 1 เครื่อง สามารถรับการเข้าเทียบของเรือขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตัน จำนวน 2 ลำ ในขณะเรือจอดทอดสมอ และปฏิบัติภารกิจได้ในสภาพทะเลเมื่อมีระวางบรรทุกสูงสุดได้ไม่เกิน Sea State 5.
12 เรือสำรวจขนาดเล็ก (เรือ สรล.) ชุด อศ.3
(30 เมษายน 2515)
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำปกติ 86 ตัน
ความยาว 22.3 ม. ความกว้าง 5.0 ม. กินน้ำลึก 2.0 ม.
ความเร็วสูงสุด 10 น็อต ความเร็วเดินทาง 8 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วสูงสุด 1,000 ไมล์