สวัสดียามบ่ายค่ะ
ก่อนที่ ไออิ จะแอบไปงีบ ... นึกขึ้นได้ว่า มีหลายๆกระทู้ ที่มักจะมาขอความเห็นจากเพื่อนๆในห้องมอไซค์ รัชดา .... ว่า
" สูงแค่นี้ จะขี่รถคันโน้น คันนี้ได้ไหม "
" ผมผอมไปหรือเปล่า "
" น้ำหนักแค่นี้ จะเอารถอยู่มั๊ยนะ "
ซึ่งหลายๆคน ก็หลายความเห็น
บางคนก็บอกว่าผอม บางคนก็บอกว่าอ้วน เพราะมาตรฐานของแต่ละคนไม่เท่ากัน
วันนี้ ... เรามาลองคำนวนกันดีกว่าค่ะ ว่าเราอ้สน หรือผอมแค่ไหน ?
ง่ายนิดเดียวค่ะ ลองดูนะคะ
" การวัดดัชนีมวลร่างกาย " Body Mass Index (BMI)
คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง ที่ใช้บ่งว่าอ้วนหรือผอม ในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป
ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลร่างกาย เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป
เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี
แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง
ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สูตรคำนวณดัชนีมวลกายคือ [ดัชนีมวลกาย= น้ำหนักตัว / ความสูง ยกกำลังสอง]
วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI) ( ง่ายมากค่ะ ) แค่ใส่ข้อมูลส่วนสูงและน้ำหนักปัจจุบัน
ส่วนสูง เซ็นติเมตร
น้ำหนัก กิโลกรัม
ใน Link ที่แนบมานะคะ
http://kcal.memo8.com/bmi/
การแปลผล จาก BMI ที่คำนวนได้
•40 หรือมากกว่านี้ : โรคอ้วนขั้นสูงสุด
•35.0 - 39.9: โรคอ้วนระดับ2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติคุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
•28.5 - 34.9: โรคอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
•23.5 - 28.4: น้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูงต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
•18.5 - 23.4: น้ำหนักปกติ และมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้
•น้อยกว่า 18.5: น้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
มาคำนวนกันซิว่า ... เราอ้วน หรือผอมแค่ไหน ?
ก่อนที่ ไออิ จะแอบไปงีบ ... นึกขึ้นได้ว่า มีหลายๆกระทู้ ที่มักจะมาขอความเห็นจากเพื่อนๆในห้องมอไซค์ รัชดา .... ว่า
" สูงแค่นี้ จะขี่รถคันโน้น คันนี้ได้ไหม "
" ผมผอมไปหรือเปล่า "
" น้ำหนักแค่นี้ จะเอารถอยู่มั๊ยนะ "
ซึ่งหลายๆคน ก็หลายความเห็น
บางคนก็บอกว่าผอม บางคนก็บอกว่าอ้วน เพราะมาตรฐานของแต่ละคนไม่เท่ากัน
วันนี้ ... เรามาลองคำนวนกันดีกว่าค่ะ ว่าเราอ้สน หรือผอมแค่ไหน ?
ง่ายนิดเดียวค่ะ ลองดูนะคะ
" การวัดดัชนีมวลร่างกาย " Body Mass Index (BMI)
คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง ที่ใช้บ่งว่าอ้วนหรือผอม ในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป
ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลร่างกาย เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป
เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี
แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง
ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สูตรคำนวณดัชนีมวลกายคือ [ดัชนีมวลกาย= น้ำหนักตัว / ความสูง ยกกำลังสอง]
วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI) ( ง่ายมากค่ะ ) แค่ใส่ข้อมูลส่วนสูงและน้ำหนักปัจจุบัน
ส่วนสูง เซ็นติเมตร
น้ำหนัก กิโลกรัม
ใน Link ที่แนบมานะคะ
http://kcal.memo8.com/bmi/
การแปลผล จาก BMI ที่คำนวนได้
•40 หรือมากกว่านี้ : โรคอ้วนขั้นสูงสุด
•35.0 - 39.9: โรคอ้วนระดับ2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติคุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
•28.5 - 34.9: โรคอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
•23.5 - 28.4: น้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูงต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
•18.5 - 23.4: น้ำหนักปกติ และมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้
•น้อยกว่า 18.5: น้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม