โดย นฤตย์ เสกธีระ
maxlui2810@gmail.com
ยอมรับกันทั่วโลกว่าการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการโกงนั้นเป็นอันตรายต่อสังคม
แต่สำหรับประเทศไทยพบว่ามีอะไรที่ร้ายแรงกว่า
นั่นคือการใช้การปราบโกงเป็นเครื่องมือทำลายล้างทุกอย่าง
ทุกอย่างที่ถูกกล่าวหาว่าโกง มีโอกาสพังลงได้ทุกเมื่อ
ตัวอย่างที่เห็นในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาพบว่า โครงการหลายโครงการต้องยุติลงไปเพราะข้อกล่าวหาว่า "โกง"
โครงการจำนำข้าวเจอข้อหาโกง โครงการรถไฟไฮสปีดเจอกล่าวหาว่าโกง
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เองก็เจอกล่าวหาจนสะบักสะบอม
กล่าวหาไปกล่าวหามา กลายเป็นว่าการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญยังโกง
แล้วประเทศนี้ อะไรที่ถูกกล่าวหาว่าโกง ต้องมีอันเป็นไปทุกที
วันนี้จึงไม่มีนักการเมือง ไม่มีโครงการยักษ์ ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีประชาธิปไตย
ทุกอย่างมลายหายไปหมด ยกเว้นการโกง
แปลกไหม?
เราต้องการทำลายการทุจริต เรายอมล้มทุกอย่าง ทั้งคน ทั้งโครงการ ทั้งองค์กร ทั้งรัฐบาล
และประชาธิปไตย ที่เชื่อว่ามีการทุจริต
แต่สุดท้ายเราบอกว่ายังมีการทุจริต
ผู้ที่ออกมาเปิดเผยล่าสุดคือ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล
ม.ล.ปนัดดา เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยก่อนที่มีการยึดอำนาจ
เป็นรักษาการปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หลังมีการยึดอำนาจ และต่อมา คสช.แต่งตั้งให้เป็น
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ล่าสุดร่วมคณะรัฐบาล ในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่ง
ม.ล.ปนัดดาโพสต์ข้อความหยอกว่า ท้องถิ่นดื่มไวน์ขวดละแสน
แต่ดูเหมือนท้องถิ่นไม่ฮาด้วย ในที่สุด อบจ.นัดแต่งดำกันพึ่บพั่บ จนต้องเคลียร์ใจกันไปรอบหนึ่ง
รอบใหม่ ม.ล.ปนัดดาให้สัมภาษณ์ว่า ท้องถิ่นมีทุจริต
ม.ล.ปนัดดาบอกว่า ได้รับการร้องเรียนว่าท้องถิ่นบางแห่ง อนุมัติงบประมาณเอื้อบริษัทของญาติ
จากนั้น แกนนำสมาคม-สมาพันธ์ท้องถิ่นเต้นผาง ประกาศตบเท้าเข้าพบ ม.ล.ปนัดดา
อีกครั้งในวันที่ 2 กันยายนนี้
เป้าหมายที่ขอพบ ไม่ใช่มาเพื่อปกป้องการทุจริต เพราะยอมรับว่าการทุจริตเกิดขึ้นได้ทุกหนแห่ง
และเป็นสิ่งที่ต้องป้องปราบกันต่อเนื่อง
แต่เหตุที่ต้องพบ ม.ล.ปนัดดา เพราะสงสัยว่า ม.ล.ปนัดดาต้องการทำลายการทุจริต
หรืออยากจะสกัดการกระจายอำนาจ
เหตุที่สงสัยเพราะบ้านเรานิยมใช้การปราบโกงเป็นเครื่องมือทำลายล้าง
เวลาไม่ชอบใครจะกล่าวหาว่าเขาขี้โกงไม่ชอบบริษัทไหน มักหาวิธีปล่อยข่าวว่ามีการโกงภายในบริษัท
แล้วการกระจายอำนาจที่อยู่มา 15 ปี สร้างสมทำกันมานาน อาจจะมีอันเป็นไปเพราะการกล่าวหาว่าโกงก็ได้
เริ่มแรกบอกว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุจริตบางแห่ง
สักพักบอกว่าการเมืองท้องถิ่นมีแต่การทุจริต
ต่อมาบอกว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นนี่แหละที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่น
สุดท้ายการเลือกตั้งท้องถิ่นกลายเป็นตัวโกง
และจบลงด้วยการปลุกให้หยุดยั้งการเลือกตั้งท้องถิ่นเพราะมันโกง
ไปๆ มาๆ แทนที่จะทำลายการโกง กลับกลายเป็นทำลายการเลือกตั้งท้องถิ่น
คิดไปแบบนี้แล้ว ทำให้หวาดเสียว
สงสัยว่าเป้าหมายของ ม.ล.ปนัดดาต้องการปราบโกง หรือเปลี่ยนแปลงระบบการกระจายอำนาจ
เปลี่ยนการได้สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากเลือกตั้งไปเป็นอย่างอื่นหรือเปล่า?
วันที่2 กันยายน ถามกันให้ดี
ถามถึงเจตนากันให้ชัดว่าแท้จริงแล้วท่านต้องการอะไรกันแน่ครับ
ต้องการขจัดการทุจริต หรือต้องการสกัดการกระจายอำนาจ เป้าหมายในใจของท่านคืออะไร?
...........
(ที่มา:มติชนรายวัน2กันยายน 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409646027
no comment เก็บตกจากสื่อ มาให้อ่านกัน
นฤตย์ เสกธีระ : ยุติโกงหรือยุบท้องถิ่น คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 มติชนออนไลน์
maxlui2810@gmail.com
ยอมรับกันทั่วโลกว่าการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการโกงนั้นเป็นอันตรายต่อสังคม
แต่สำหรับประเทศไทยพบว่ามีอะไรที่ร้ายแรงกว่า
นั่นคือการใช้การปราบโกงเป็นเครื่องมือทำลายล้างทุกอย่าง
ทุกอย่างที่ถูกกล่าวหาว่าโกง มีโอกาสพังลงได้ทุกเมื่อ
ตัวอย่างที่เห็นในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาพบว่า โครงการหลายโครงการต้องยุติลงไปเพราะข้อกล่าวหาว่า "โกง"
โครงการจำนำข้าวเจอข้อหาโกง โครงการรถไฟไฮสปีดเจอกล่าวหาว่าโกง
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เองก็เจอกล่าวหาจนสะบักสะบอม
กล่าวหาไปกล่าวหามา กลายเป็นว่าการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญยังโกง
แล้วประเทศนี้ อะไรที่ถูกกล่าวหาว่าโกง ต้องมีอันเป็นไปทุกที
วันนี้จึงไม่มีนักการเมือง ไม่มีโครงการยักษ์ ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีประชาธิปไตย
ทุกอย่างมลายหายไปหมด ยกเว้นการโกง
แปลกไหม?
เราต้องการทำลายการทุจริต เรายอมล้มทุกอย่าง ทั้งคน ทั้งโครงการ ทั้งองค์กร ทั้งรัฐบาล
และประชาธิปไตย ที่เชื่อว่ามีการทุจริต
แต่สุดท้ายเราบอกว่ายังมีการทุจริต
ผู้ที่ออกมาเปิดเผยล่าสุดคือ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล
ม.ล.ปนัดดา เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยก่อนที่มีการยึดอำนาจ
เป็นรักษาการปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หลังมีการยึดอำนาจ และต่อมา คสช.แต่งตั้งให้เป็น
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ล่าสุดร่วมคณะรัฐบาล ในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่ง
ม.ล.ปนัดดาโพสต์ข้อความหยอกว่า ท้องถิ่นดื่มไวน์ขวดละแสน
แต่ดูเหมือนท้องถิ่นไม่ฮาด้วย ในที่สุด อบจ.นัดแต่งดำกันพึ่บพั่บ จนต้องเคลียร์ใจกันไปรอบหนึ่ง
รอบใหม่ ม.ล.ปนัดดาให้สัมภาษณ์ว่า ท้องถิ่นมีทุจริต
ม.ล.ปนัดดาบอกว่า ได้รับการร้องเรียนว่าท้องถิ่นบางแห่ง อนุมัติงบประมาณเอื้อบริษัทของญาติ
จากนั้น แกนนำสมาคม-สมาพันธ์ท้องถิ่นเต้นผาง ประกาศตบเท้าเข้าพบ ม.ล.ปนัดดา
อีกครั้งในวันที่ 2 กันยายนนี้
เป้าหมายที่ขอพบ ไม่ใช่มาเพื่อปกป้องการทุจริต เพราะยอมรับว่าการทุจริตเกิดขึ้นได้ทุกหนแห่ง
และเป็นสิ่งที่ต้องป้องปราบกันต่อเนื่อง
แต่เหตุที่ต้องพบ ม.ล.ปนัดดา เพราะสงสัยว่า ม.ล.ปนัดดาต้องการทำลายการทุจริต
หรืออยากจะสกัดการกระจายอำนาจ
เหตุที่สงสัยเพราะบ้านเรานิยมใช้การปราบโกงเป็นเครื่องมือทำลายล้าง
เวลาไม่ชอบใครจะกล่าวหาว่าเขาขี้โกงไม่ชอบบริษัทไหน มักหาวิธีปล่อยข่าวว่ามีการโกงภายในบริษัท
แล้วการกระจายอำนาจที่อยู่มา 15 ปี สร้างสมทำกันมานาน อาจจะมีอันเป็นไปเพราะการกล่าวหาว่าโกงก็ได้
เริ่มแรกบอกว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุจริตบางแห่ง
สักพักบอกว่าการเมืองท้องถิ่นมีแต่การทุจริต
ต่อมาบอกว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นนี่แหละที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่น
สุดท้ายการเลือกตั้งท้องถิ่นกลายเป็นตัวโกง
และจบลงด้วยการปลุกให้หยุดยั้งการเลือกตั้งท้องถิ่นเพราะมันโกง
ไปๆ มาๆ แทนที่จะทำลายการโกง กลับกลายเป็นทำลายการเลือกตั้งท้องถิ่น
คิดไปแบบนี้แล้ว ทำให้หวาดเสียว
สงสัยว่าเป้าหมายของ ม.ล.ปนัดดาต้องการปราบโกง หรือเปลี่ยนแปลงระบบการกระจายอำนาจ
เปลี่ยนการได้สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากเลือกตั้งไปเป็นอย่างอื่นหรือเปล่า?
วันที่2 กันยายน ถามกันให้ดี
ถามถึงเจตนากันให้ชัดว่าแท้จริงแล้วท่านต้องการอะไรกันแน่ครับ
ต้องการขจัดการทุจริต หรือต้องการสกัดการกระจายอำนาจ เป้าหมายในใจของท่านคืออะไร?
...........
(ที่มา:มติชนรายวัน2กันยายน 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409646027
no comment เก็บตกจากสื่อ มาให้อ่านกัน