เป็น โอปปาติกะ เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

เมื่อได้รับทราบว่า ล็อกอิน วงกลม "ต้องการ" จำเพาะ ความหมายของคำว่า "โอปปาติก" เท่านั้น
โดยระบุว่า หากไม่แสดงความหมายของคำๆนี้ จักถือว่าเป็นการตอบไม่ตรงคำถาม ......

ก็ขอให้ถือว่า ผมรับทราบ แล้วนะครับ

ทีนี้ ในเมื่อคุณอ้างว่า ต้องการเฉพาะส่วนที่เนื่องกับคำว่า โอปปาติก โดยตรงเท่านั้น
ผมก็ยังรู้สึกแปลกใจว่า ผมได้แสดงไปแล้ว แต่คุณไม่ "โยนิโสมนสิการ" เอง หรือเปล่า ?

แต่กระนั้น ก็ไม่เป็นไร หรอกครับ ในเมื่อไม่เห็น หรือ ไม่เข้าใจ  ผมก็ยินดีที่จะแสดง โดยละเอียด อีกครั้ง
แต่อาจทำให้ คุณ และ ผู้ศึกษาทั้งหลาย เกิดความลำบาก ในการทำความเข้าใจ เพิ่มขึ้นอีกสักนิด ดังต่อไปนี้

******************************************************************************

อย่างที่เคยบอกไปแล้วนั่นแหละครับว่า เรื่องโอปปาติกะ(เกิดทางใจ) นี้มีหลักฐานอยู่มาก ในพระคัมภีร์
ก็ขึ้นอยู่กับว่า ท่านทั้งหลายจะสังเกตเห็น และ สามารถทำความเข้าใจให้ถูกตรงได้มากน้อยแค่ไหน เท่านั้นเอง

ดังกรณี พระอนาคามีบุคคล นี่ย่อมชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า ชาวพุทธส่วนใหญ่
จนแม้แต่ พระคัมภีราจารย์เอง ก็เกิดความสับสนเกี่ยวกับเรื่องนี้ อยู่มิใช่น้อย

ประเด็นที่พึงพิจารณา ก็คือ คำว่า โอปปาติกะ ที่เกี่ยวเนื่องกับ อนาคามีบุคคล
เป็นการใช้เพื่อเรียก อนาคามีบุคคล หรือ เป็นการใช้เพื่อบอกถึง คติ ที่ไปของอนาคามีบุคคล ?

เข้าใจประเด็น ตรงกัน ใช่ไหมครับ ?

หากถามผม ผมเห็นว่า พระพุทธเจ้าตรัสใช้คำว่า โอปปาติกกะ เพื่อเรียก อนาคามีบุคคล
โดยไม่เจาะจงว่า อนาคามีบุคคลนั้น จะยังมีชีวิตอยู่ หรือตายไปแล้ว ตัวอย่างเช่น .....



ท่านทั้งหลาย จะเห็นได้ว่า ข้อความจาก ทีฆนิกายนี้ มีทั้ง อนาคามีบุคคล ที่ยังมีชีวิตอยู่ และทั้งที่ตายไปแล้ว
ส่วนประเด็นที่ว่า โอปปาติก เป็นคำเรียก อนาคามีบุคคล หรือใช้แทนคำว่า อนาคามี มีตัวอย่างเช่น ...



จากตัวอย่างนี้ จะเห็นอย่างชัดเจน กล่าวคือ พระพุทธเจ้าตรัสว่า หากเธอปฏิบัติอย่างนี้ๆ
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย(อรหัตผล) ........ เธอย่อมเป็น โอปปาติก !

เพราะความสิ้นไป แห่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์ ........ เธอย่อมเป็น โอปปาติก
ถ้าหาก โอปปาติก ต้องหมายถึง สัตว์โลกชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในภพอื่น หลังการตายเข้าโลง
จะมิต้องแปลว่า หากเธอไม่บรรลุอรหัตผล เธอก็ต้องตาย "กายแตก" อย่างนั้นหรือ ?

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ .......



อันนี้ ข้อความก็ชัดเจนดี นะครับว่า โอปปาติก เป็นคำที่ใช้เรียก อนาคามีบุคคล กล่าวคือ

(๑) ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว ฯลฯ
(๒) ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการ ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ ฯลฯ
(๓) ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว กับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระสกทาคามี ฯลฯ
(๔) ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ฯลฯ

ชัดเจนนะครับว่า โอปปาติกะ ใช้แทนคำว่า อนาคามี

******************************************************************************

ประเด็นที่จำเป็นต้องอธิบายในลำดับถัดไป ก็คือ พระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า .....

"ร้องไห้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ) ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา"

มีความหมายว่าอย่างไร กันแน่ ?

ซึ่งพระพุทธเจ้า เคยตรัสถึงประเด็นนี้ เอาไว้กล่าวคือ พระองค์ตรัสรับรองกับภิกษุทั้งหลายว่า
พระอนาคามี ย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีก ในกาลไหนๆ โดยคำว่า "โลกนี้" หมายถึง กามาวจร นะครับ
อธิบายความได้ว่า เพราะ อนาคามีบุคคล ได้ละ กามราคะ ปฏิฆะ ได้แล้ว ดังนั้น จึงหมดเหตุปัจจัย
ที่จะทำให้เกิดปฏิสนธิในกามภพได้อีก



คราวนี้ ท่านทั้งหลาย ลองกลับไปพิจารณาข้อความที่ระบุว่า ......

"ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่มีการกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา"

นี้มาจากพระบาลี ว่าอย่างไร ?



หลายๆ ท่านเมื่อได้เห็นพระบาลีเดิมๆ ก็คงจะแปลกใจว่า พรหมโลก หรือ สุทธาวาส มันงอกออกมาจากไหนกัน ?
ก็ขออนุญาตกล่าวตามตรงว่า ที่ตัวพระบาลีแท้ ไม่มี ถ้อยคำเหล่านั้นหรอกครับ ส่วนใหญ่ก็เป็นการแปลโดยอ้างอิงมติของอรรถกถาจารย์
ซึ่งท่านทั้งหลาย ก็จำต้องยอมรับความจริงด้วยว่า มติเหล่านั้น ค่อนข้าง สับสน และ ขัดแย้งกันเอง จนหาข้อยุติ ไม่ได้

ข้อความ ........ "ปรินิพพานในโลกนั้น"  มาจากพระบาลีว่า "ตตฺถ ปรินิพฺพายี"
ซึ่งถ้าแปลแบบตรงตัว ย่อมได้ความว่า ............. ดับรอบ(นิพพาน)แล้ว ในที่นั้น

ถามว่า มีข้อความในพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย ที่แปลแบบนี้บ้างไหม ?
ตอบว่า มี



ข้อความ ........ "ไม่มีการกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา"  มาจากพระบาลีว่า "อนาวตฺติธมฺโม"
ซึ่งถ้าแปลแบบตรงตัว ย่อมได้ความแค่เพียงว่า ............. "ผู้ไม่กลับมาอีกเป็นธรรมดา"

ทั้งนี้ ที่ระบุว่า ไม่กลับมาอีก นั้นย่อมหมายถึง ไม่หวนกลับมาสู่ กามาวจร อีก
เนื่องจาก ท่าน ตัด หรือ ละ สังโยชน์ข้อ กามราคะ ปฏิฆะ ได้อย่างเด็ดขาด ตามที่ได้อธิบายไปแล้ว

ดังนั้น การไม่หวนกลับ จึงเป็นเรื่องของ คุณธรรมฝ่ายละ(หมายถึง ละสังโยชน์)
มิได้หมายถึง การกลับมาจาก ภพใดภพหนึ่ง ตามความที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย
ซึ่งท่านผู้แปล ได้ทำการแปลโดยอ้างอิงมติของอรรถกถาจารย์ มาอีกที

ขออนุญาต กล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พระบาลี "อนาวตฺติธมฺโม" มีความหมายเพียงว่า
"ผู้ไม่หวนกลับมาอีกเป็นธรรมดา" คือ ไม่หวนกลับมาสู่ กามาวจร อีก ซึ่งพระอานาคามีบุคคล
ก็เป็นผู้ที่ไม่หวนกลับไปสู่ "กาม" ในปัจจุบันอยู่แล้ว โดยไม่ต้องไปรอเวลาตายเข้าโลง แต่อย่างใดเลย

หรือมิใช่ ?

******************************************************************************

ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ ถามว่า ผมมีเจตนาจะปฏิเสธ "สุทธาวาส" หรือไม่ ?
ก็ขออนุญาตตอบเสียตรงนี้เลยว่า ....... เปล่า !

เพราะในอันที่จริง หากจะกล่าวถึง อนาคามี ที่ตายเข้าโลง แล้วไปเกิดในสุทธาวาส
มีหลักฐานพระบาลีพุทธพจน์ ที่ตรัสเอาไว้อย่างชัดเจน ยิ่งกว่า ที่ยกมาอ้างๆ กันนั่นเสียอีก ดังนี้



ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อย่างชัดเจนถึง อริยบุคคล ผู้ได้ ฌาน ๔
"เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส"

ประเด็นปัญหาที่พึงพิจารณาในขณะนี้ ก็คือ อนาคามีบุคคล ทุกคนจักต้องไปเกิดใน สุทธาวาส หรือไม่ ?

ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยหลักการแล้วจะพบว่า ผู้ที่จะไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้ จะต้องเป็นผู้ได้ฌาน เท่านั้น
แต่ปัญหา ก็คือ มิใช่ว่า อนาคามี ทุกคนจะเป็นผู้ทรงฌาน นี่ครับ !

ถามว่า อรรถกถาจารย์ แก้ประเด็นนี้ อย่างไร ?
ตอบว่า ท่านอ้างขึ้นมาดื้อๆ ว่า ถึงที่สุดแล้ว อนาคามีบุคคล จะได้ฌานไปเอง (!)

แต่ผมขออนุญาต กล่าวแย้งเอาไว้ตรงนี้เลยว่า ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ คำอธิบายนี้ ของอรรถกถาจารย์

ทั้งนี้ เป็นเพราะ เมื่อกล่าวถึงผู้ไม่ได้ฌาน ถึงอย่างไรๆ เขาก็ไม่ได้ฌาน อยู่นั่นเอง
อีกทั้ง (สัมมา)สมาธิในพระพุทธศาสนา ก็ไม่จำเป็นต้องหมายถึง ฌาน เสมอไป
โดยหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องนี้ ก็คือ กรณี สมณะบุณฑริก(สุกขวิปัสสก)



หลักฐานชิ้นนี้ มีความหมายว่าอย่างไร ?

มันก็หมายความว่า ในโลกนี้ มีอริยบุคคล ที่สามารถบรรลุธรรมชั้นต่างๆ ได้โดยไม่มีฌาน
ก็ขนาดพระอรหันต์ ผู้ไม่มีฌาน ยังมีอยู่ในโลก และมีจำนวนมากกว่าพระอรหันต์ผู้ทรงฌานเสียด้วยซ้ำ
แล้วเหตุใด เราจึงจะเข้าใจ(ผิด)ไปว่า อนาคามีบุคคล จะต้องได้ฌานไปเสียหมดทุกคนเล่า !

ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อแสดงหลักฐานให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่า
อนาคามีบุคคล ทั้งหลายในโลกนี้  ย่อมมีทั้งที่เป็นผู้ทรงฌาน และ ผู้ที่ไม่ได้ฌานขั้นใดๆ เลย
และนี่ย่อมส่งผลให้ มีทั้ง (๑) อนาคามี ผู้ไปเกิดใน สุทธาวาส และ (๒) อนาคามี ผู้ที่มิได้ไปเกิดในสุทธาวาส

ถามว่า อนาคามี ๒ พวกนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบว่า ที่จริงแล้ว การอธิบายเรื่องนี้ ให้เข้าใจได้ง่าย ไม่ควรไปเพ่งเล็งให้ความสำคัญกับเรื่องของ ฌาน มากนัก
มิเช่นนั้น ท่านจะประสบปัญหา เหมือนดังที่อรรถกถาจารย์ ไม่สามารถอธิบายได้ว่า วิปัสสนายานิก ผู้ไม่ได้ฌาน
จักไปเกิดใน พรหมโลก ชั้นสุทธาวาส ได้อย่างไร ?

แต่เราควรให้ความสำคัญในการพิจารณาในเรื่องของ สังโยชน์ ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายละ
และแนวทางในทางปฏิบัติธรรม ซึ่งย่อมดำเนินไปตามเหตุปัจจัย เสียมากกว่า กล่าวคือ

เพราะเหตุที่ อนาคามีบุคคล บางจำพวก เป็นผู้ทรงฌาน ท่านจึงย่อมเพลิดเพลินในฌานนั้น
จนมิอาจบรรลุธรรมสูงสุดได้ในปัจจุบัน ความข้อนี้ สามารถอ้างอิงพระพุทธดำรัสได้จาก .......



อนาคามีบุคคล ประเภทนี้นั่นแหละ คือผู้ที่จักไปเกิดในพรหมโลก ชั้นสุทธาวาส
เพราะไม่สามารถ ดับรอบ(นิพพาน)ได้ ในปัจจุบัน เนื่องจากยัง "ติด" ฌานสมาบัติ !

คำถามต่อมา ก็คือ แล้ว อนาคามีบุคคล ผู้ไม่มีฌาน นั้นเล่า ท่านจะเป็นอย่างไร ต่อไป ?

คำตอบ ก็คือ ด้วยเหตุที่ท่านเหล่านั้น มิได้เป็นผู้ทรงฌาน ดังนั้น สังโยชน์ คือ รูปราคะ และ อรูปราคะ
จึงเป็นสิ่งที่ท่านสามารถละได้ง่ายกว่า และเพราะเหตุผลอันนี้นี่เอง เราจึงพบว่า โยคาวจร ฝ่าย วิปัสสนายานิก
จึงสามารถบรรลุธรรม ได้ง่ายกว่า และมีจำนวนมากกว่า โยคาวจร ฝ่าย สมถยานิก หลายเท่าตัว

กล่าวโดยสรุป ก็คือ

(๑) อนาคามีบุคคล มีทั้งพวกที่ทรงฌาน และพวกที่มิได้มีฌานใดๆ เลย
(๒) พวกที่ทรงฌานนั้น ถ้าสามารถบรรลุอรหัตผลได้ ก็หมดเรื่องไป ถ้าหากไม่สามารถบรรลุได้ ก็จักไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส
(๓) ส่วน อนาคามีบุคคล พวกไม่ได้ฌาน จักจบลงด้วย อรหัตผลในปัจจุบัน เพราะ ละ รูปราคะ และ อรูปราคะ ได้ง่ายกว่า

******************************************************************************
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่