"ชวน หลีกภัย" ทางรอดชาวสวนยาง
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 15:00:06 น.
"ชวน หลีกภัย" ทางรอดชาวสวนยาง
คอลัมน์ โครงร่างตำนานคน
โดย การ์ตอง
ครั้งหนึ่งราคายางขึ้นไปสูงเฉียด 150 บาทต่อกิโลกรัม สร้างความสุขสันต์หรรษาให้กับชาวสวนยางอย่างเอิกเกริก เลี้ยงฉลองชีวิตแสนสุขกันเป็นว่าเล่น
มาวันนี้แห้งเหี่ยวหัวโตกันทั่วหน้าเพราะราคาลดลงมาเหลือแค่ 50 กว่าบาทต่อกิโลกรัม แบ่งกันระหว่างเจ้าของสวนกับผู้รับจ้างกรีดยางต่างฝ่ายต่างไม่พอยาไส้ เสียงเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจแก้ปัญหาดังกล่าวให้ขรม
สภาพการณ์เช่นนี้หากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องคงนั่งไม่ติดเก้าอี้
ก็ขนาดช่วงปลายสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ราคาอยู่ที่ 80 กว่าบาท ยังประท้วงกันเอาเป็นเอาตายปิดถนนให้จราจรอัมพาตกันยาวนาน เพื่อบีบรัฐบาลจัดการให้ขายได้กิโลละ 100 บาทให้ได้ ทำเอาผู้บริหารประเทศยุคนั้นวิ่งแก้ปัญหาหัวกระเซิงกันเป็นแถว
ช่วงนั้น นักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์เรียงหน้ากันออกมาสนับสนุนการเรียกร้องของประชาชนกันคึกคัก ไล่ถล่มรัฐบาลว่าไม่จริงใจในการช่วยเหลือชาวสวนยาง ไม่มีฝีมือในการบริหารราคายาง
สนับสนุนว่าการออกมาปิดถนนประท้วงของชาวสวนยางเป็นความชอบธรรมที่สมควรกระทำแล้ว
ไม่ได้มองเหตุที่ทำให้ราคายางตกต่ำ และหาทางออกอื่นให้ชาวสวนยาง
มาวันนี้ ชาวสวนยางกระอักเลือดกว่าช่วงรัฐบาลที่แล้ว เพราะตลาดที่หดตัวลงเพราะจีนเริ่มชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการปลูกและผลิตยางเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะทั้งในประเทศเราและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ราคายางรูดลงมาเหลือแค่ 50 กว่าบาทต่อกิโลกรัม
สภาพเช่นนี้ไม่มีทางที่ชาวสวนยางจะประคับประคองความเป็นปกติของชีวิตได้ ความเดือดร้อนย่อมหนักหนาสาหัส
แต่การชักชวนออกมาเคลื่อนไหวกลับทำได้ยากยิ่ง เพราะเป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลภายใต้การควบคุมความสงบของ คสช.ไม่แฮปปี้กับการชุมนุมประท้วง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ยิ่งถึงขั้นลุกลามเป็นการปิดถนนสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอื่นด้วยแล้ว ยิ่งยากที่จะให้เกิดขึ้น
ต้องรับรู้กันว่าการบริหารโดย คสช.ไม่จำเป็นต้องเอาอกเอาใจประนีประนอมกับประชาชนเหมือนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
การชุมนุมประท้วงจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีพลังอะไรให้ต้องหวั่นเกรง
ยิ่งไปกว่านั้นคือ นักการเมืองในท้องถิ่นที่ประชาชนมีอาชีพทำสวนยางเป็นหลักอย่างภาคใต้ กลับไม่แสดงความกระตือรือร้นที่จะเห็นดีเห็นงามกับความเคลื่อนไหวของประชาชน ออกมาเป็นผู้นำเรียกร้องจากรัฐบาล และให้การสนับสนุนชุมนุม มองเห็นความชอบธรรมของการปิดถนนประท้วงเหมือนที่ผ่านมา
ภายใต้การควบคุมอำนาจของ คสช.นักการเมืองเลือกที่จะถนอมตัวเองไม่มายุ่งเกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนให้เป็นที่เพ่งเล็ง
ไม่มองว่าการที่ราคายางตกต่ำเป็นเพราะการบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพ ผู้นำการบริหารจะต้องรับผิดชอบ เหมือนที่เคยเห็น
หากนำข้อเสนอที่นายชวน หลีกภัย ผู้นำจิตวิญญาณการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอให้ชาวสวนยางหันไป "เลี้ยงวัว" เพื่อเป็นอาชีพเสริม แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ
ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักการเมืองไม่ว่าจะระดับ "ไม้กันหมา" หรือระดับ "ศาสดา" มีเหมือนกันคือ ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์เพื่อได้ยืนอยู่ในจุดที่เป็นประโยชน์กับตัวเองที่สุด
ครั้งหนึ่งเคยโทษรัฐบาล
ยุคนี้ทำได้แค่โทษชาวบ้านทำนองไม่รู้จักทำมาหากินด้านอื่น เอาชีวิตไปผูกไว้กับราคายางอย่างเดียว
ชาวบ้านไม่รอด แต่นักการเมืองรอด เพราะที่ผิดคือชาวสวนยาง ไม่ใช่นักการเมือง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408843164
"ชวน หลีกภัย" ทางรอดชาวสวนยาง
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 15:00:06 น.
"ชวน หลีกภัย" ทางรอดชาวสวนยาง
คอลัมน์ โครงร่างตำนานคน
โดย การ์ตอง
ครั้งหนึ่งราคายางขึ้นไปสูงเฉียด 150 บาทต่อกิโลกรัม สร้างความสุขสันต์หรรษาให้กับชาวสวนยางอย่างเอิกเกริก เลี้ยงฉลองชีวิตแสนสุขกันเป็นว่าเล่น
มาวันนี้แห้งเหี่ยวหัวโตกันทั่วหน้าเพราะราคาลดลงมาเหลือแค่ 50 กว่าบาทต่อกิโลกรัม แบ่งกันระหว่างเจ้าของสวนกับผู้รับจ้างกรีดยางต่างฝ่ายต่างไม่พอยาไส้ เสียงเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจแก้ปัญหาดังกล่าวให้ขรม
สภาพการณ์เช่นนี้หากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องคงนั่งไม่ติดเก้าอี้
ก็ขนาดช่วงปลายสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ราคาอยู่ที่ 80 กว่าบาท ยังประท้วงกันเอาเป็นเอาตายปิดถนนให้จราจรอัมพาตกันยาวนาน เพื่อบีบรัฐบาลจัดการให้ขายได้กิโลละ 100 บาทให้ได้ ทำเอาผู้บริหารประเทศยุคนั้นวิ่งแก้ปัญหาหัวกระเซิงกันเป็นแถว
ช่วงนั้น นักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์เรียงหน้ากันออกมาสนับสนุนการเรียกร้องของประชาชนกันคึกคัก ไล่ถล่มรัฐบาลว่าไม่จริงใจในการช่วยเหลือชาวสวนยาง ไม่มีฝีมือในการบริหารราคายาง
สนับสนุนว่าการออกมาปิดถนนประท้วงของชาวสวนยางเป็นความชอบธรรมที่สมควรกระทำแล้ว
ไม่ได้มองเหตุที่ทำให้ราคายางตกต่ำ และหาทางออกอื่นให้ชาวสวนยาง
มาวันนี้ ชาวสวนยางกระอักเลือดกว่าช่วงรัฐบาลที่แล้ว เพราะตลาดที่หดตัวลงเพราะจีนเริ่มชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการปลูกและผลิตยางเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะทั้งในประเทศเราและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ราคายางรูดลงมาเหลือแค่ 50 กว่าบาทต่อกิโลกรัม
สภาพเช่นนี้ไม่มีทางที่ชาวสวนยางจะประคับประคองความเป็นปกติของชีวิตได้ ความเดือดร้อนย่อมหนักหนาสาหัส
แต่การชักชวนออกมาเคลื่อนไหวกลับทำได้ยากยิ่ง เพราะเป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลภายใต้การควบคุมความสงบของ คสช.ไม่แฮปปี้กับการชุมนุมประท้วง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ยิ่งถึงขั้นลุกลามเป็นการปิดถนนสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอื่นด้วยแล้ว ยิ่งยากที่จะให้เกิดขึ้น
ต้องรับรู้กันว่าการบริหารโดย คสช.ไม่จำเป็นต้องเอาอกเอาใจประนีประนอมกับประชาชนเหมือนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
การชุมนุมประท้วงจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีพลังอะไรให้ต้องหวั่นเกรง
ยิ่งไปกว่านั้นคือ นักการเมืองในท้องถิ่นที่ประชาชนมีอาชีพทำสวนยางเป็นหลักอย่างภาคใต้ กลับไม่แสดงความกระตือรือร้นที่จะเห็นดีเห็นงามกับความเคลื่อนไหวของประชาชน ออกมาเป็นผู้นำเรียกร้องจากรัฐบาล และให้การสนับสนุนชุมนุม มองเห็นความชอบธรรมของการปิดถนนประท้วงเหมือนที่ผ่านมา
ภายใต้การควบคุมอำนาจของ คสช.นักการเมืองเลือกที่จะถนอมตัวเองไม่มายุ่งเกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนให้เป็นที่เพ่งเล็ง
ไม่มองว่าการที่ราคายางตกต่ำเป็นเพราะการบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพ ผู้นำการบริหารจะต้องรับผิดชอบ เหมือนที่เคยเห็น
หากนำข้อเสนอที่นายชวน หลีกภัย ผู้นำจิตวิญญาณการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอให้ชาวสวนยางหันไป "เลี้ยงวัว" เพื่อเป็นอาชีพเสริม แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ
ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักการเมืองไม่ว่าจะระดับ "ไม้กันหมา" หรือระดับ "ศาสดา" มีเหมือนกันคือ ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์เพื่อได้ยืนอยู่ในจุดที่เป็นประโยชน์กับตัวเองที่สุด
ครั้งหนึ่งเคยโทษรัฐบาล
ยุคนี้ทำได้แค่โทษชาวบ้านทำนองไม่รู้จักทำมาหากินด้านอื่น เอาชีวิตไปผูกไว้กับราคายางอย่างเดียว
ชาวบ้านไม่รอด แต่นักการเมืองรอด เพราะที่ผิดคือชาวสวนยาง ไม่ใช่นักการเมือง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408843164