ก็ไม่ได้กะจะตั้งกระทู้ให้เป็นเรื่องแต่ เห็นหลายๆท่านยังจัดเชจของความต่างเรื่องราวเหล่านี้ไม่ถูกและเข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกัน จึงยกมาด้วยปัญญาแบบจับแพะชนแกะของผมหวังให้มันชัดขึ้นไม่ได้เอามาทะเลาะกับใคร
อชิตะ เกสกัมพล
ไม่เชื่อโลกนี้โลกหน้า เอาวัตถุนิยมเป็นหลัก คนนิยมเรียกว่า Indian Democritus มุ่งเสพความสุขอย่างเต็มที่ และเห็นแก่ตัว เกิดร่วมยุคกับพุทธเจ้า
เต๋า
บางทีก็จัดเป็นศาสนา ค่อนข้างไปในทางเชื่อว่าไม่มีโลกหน้าเช่นกัน แต่เชื่อในการกลับคืนสู่ธรรมชาติและความสมดุล หรือเอกภาพ ทั้งๆที่ไม่เชื่อในโลกหน้าแต่จิตใจกับอ่อนโยนเพราะเป็นลักษณะการรักษา ไม่ใช่นำมาใส่ตัว การเชื่อแบบเต๋าก็จัดเป็นอนัตตาได้เหมือนกัน แต่เป็นอนัตตาในความหมายว่า "ไม่มีตัวตน" เพราะทุกสิ่งแปรเปลี่ยน และทุกสิ่งสมดุลได้ด้วย "ของคู่"
เซ็น
เป็นนิกายในพุทธศาสนา เข้าไปปรับปรุงหรือต่อยอดลัทธิเต๋า(เพราะเข้าไปทางจีนช่วงนั้น) โดยมีความใกล้เคียงเรื่องสมดุลแต่เป็น "สมดุลที่ไม่ได้เกิดจากของคู่" มาประครองกัน สมดุลแบบเซ็นคือการเห็นตามจริง และสุญญตาหรืออนัตตาแบบเซ็น มีขึ้นเพื่อปฏิเสธอัตตาเท่านั้นไม่ได้เป็นขั้วตรงข้าม ควรแปลว่า "ไม่ใช่ตัวตน" และให้สอนเรื่อง "ของคู่" ก็ได้ แต่เพื่อให้เห็นว่า "มันไม่ใช่ของคู่ๆหรือขั้วตรงข้าม" ทุกอย่างเป็นเหตุปัจจัย บุญ-บาป ไม่ใช่ของที่ควรรับเอา
พุทธทาศ
เป็นเถรวาทอย่างเต็มตัว และถึงรู้ว่าอะไรไม่น่าใช่ แต่ก็ยังคงถ่ายทอด เช่นไม่เชื่อเรื่องศีลทั้งหมดแต่ก็แปลลงไตรปิฏกจนครบ ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์ทั้งหมดแต่ก็คงแปลจนครบ อะไรที่ทำตัวเป็นอรรถกถาจารย์ก็แสดงอย่างชัดว่านี่ตนเขียน และไม่แปลแทรกไปในไตรปิฏก ส่วนเรื่องใหนเป็นเรื่องสอนส่วนตัวก็แยกออกไปเป็นหนังสือต่างหาก เพราะคุณสมบัติของเถรวาทคือต้องทำหน้าที่สื่อสารและส่งต่อให้ครบถ้วน เช่นถ้าเป็นข่าวก็มีหน้าที่เสนอข่าวไม่ใช่เปลี่ยนเนื้อข่าว ถ้าจะวิเคราะห์จริงๆก็ค่อยเขียนแนบท้าย ไม่ใส่มั่วๆไปในเนื้อข่าว และไม่ได้ขัดแย้งมั่วๆ ถึงไม่เชื่อไม่ยอมรับก็วางอุเบกขาเสีย เหตุเพราะนั่นเป็นสิ่งที่ตนเชื่อแต่ยังไม่ได้มีการทำสังคายนาหรือเป็นมติของพระเถระจึงต้องสอนต่อไป เช่นเรื่องพุทธรูป และศีลเป็นต้น
พระเกษม
เคร่งวินัย แต่ไม่วางอุเบกขาในบางเรื่อง ยังทำเป็นเรื่องคู่ตรงข้าม แต่ก็ทำหน้าที่เป็นเถรวาทอย่างดี เพราะทำหน้าที่ส่งต่อไตรปิฏกครบถ้วน เพียงแต่แข็งกร้าวและมั่นคงเกินไป ข้อสำคัญคือ "เชื่อทุกอย่างที่ตนคิดว่าเป็นคำของพุทธองค์ แต่ก็ไม่ปฏเสธคำของสาวกที่แนบมา" (ผมเคารพท่านมากองค์หนึ่ง)
พระคึกฤทธิ์
คล้ายพระเกษมแต่ไม่เหมือน ไม่ทำตัวเป็นเถรวาทอย่างเต็มที่ ไม่รอการประชุมของบรรดาพระเถระ และการปรับแต่งไตรปิฏกจึงส่อมากที่จะกลายไปเป็นอาจาริยะวาทในภายหลัง
ปล.ข้อมูลเรื่อง เต๋า, เซ็น, อชิตะฯ รบกวนหาต่อถ้าสนใจ ไม่อาจจะเอามาแสดงได้หมด
อชิตะ เกสกัมพล, เต๋า, เซน ถึง พุทธทาศ พระเกษม พระคึกฤทธิ์
อชิตะ เกสกัมพล
ไม่เชื่อโลกนี้โลกหน้า เอาวัตถุนิยมเป็นหลัก คนนิยมเรียกว่า Indian Democritus มุ่งเสพความสุขอย่างเต็มที่ และเห็นแก่ตัว เกิดร่วมยุคกับพุทธเจ้า
เต๋า
บางทีก็จัดเป็นศาสนา ค่อนข้างไปในทางเชื่อว่าไม่มีโลกหน้าเช่นกัน แต่เชื่อในการกลับคืนสู่ธรรมชาติและความสมดุล หรือเอกภาพ ทั้งๆที่ไม่เชื่อในโลกหน้าแต่จิตใจกับอ่อนโยนเพราะเป็นลักษณะการรักษา ไม่ใช่นำมาใส่ตัว การเชื่อแบบเต๋าก็จัดเป็นอนัตตาได้เหมือนกัน แต่เป็นอนัตตาในความหมายว่า "ไม่มีตัวตน" เพราะทุกสิ่งแปรเปลี่ยน และทุกสิ่งสมดุลได้ด้วย "ของคู่"
เซ็น
เป็นนิกายในพุทธศาสนา เข้าไปปรับปรุงหรือต่อยอดลัทธิเต๋า(เพราะเข้าไปทางจีนช่วงนั้น) โดยมีความใกล้เคียงเรื่องสมดุลแต่เป็น "สมดุลที่ไม่ได้เกิดจากของคู่" มาประครองกัน สมดุลแบบเซ็นคือการเห็นตามจริง และสุญญตาหรืออนัตตาแบบเซ็น มีขึ้นเพื่อปฏิเสธอัตตาเท่านั้นไม่ได้เป็นขั้วตรงข้าม ควรแปลว่า "ไม่ใช่ตัวตน" และให้สอนเรื่อง "ของคู่" ก็ได้ แต่เพื่อให้เห็นว่า "มันไม่ใช่ของคู่ๆหรือขั้วตรงข้าม" ทุกอย่างเป็นเหตุปัจจัย บุญ-บาป ไม่ใช่ของที่ควรรับเอา
พุทธทาศ
เป็นเถรวาทอย่างเต็มตัว และถึงรู้ว่าอะไรไม่น่าใช่ แต่ก็ยังคงถ่ายทอด เช่นไม่เชื่อเรื่องศีลทั้งหมดแต่ก็แปลลงไตรปิฏกจนครบ ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์ทั้งหมดแต่ก็คงแปลจนครบ อะไรที่ทำตัวเป็นอรรถกถาจารย์ก็แสดงอย่างชัดว่านี่ตนเขียน และไม่แปลแทรกไปในไตรปิฏก ส่วนเรื่องใหนเป็นเรื่องสอนส่วนตัวก็แยกออกไปเป็นหนังสือต่างหาก เพราะคุณสมบัติของเถรวาทคือต้องทำหน้าที่สื่อสารและส่งต่อให้ครบถ้วน เช่นถ้าเป็นข่าวก็มีหน้าที่เสนอข่าวไม่ใช่เปลี่ยนเนื้อข่าว ถ้าจะวิเคราะห์จริงๆก็ค่อยเขียนแนบท้าย ไม่ใส่มั่วๆไปในเนื้อข่าว และไม่ได้ขัดแย้งมั่วๆ ถึงไม่เชื่อไม่ยอมรับก็วางอุเบกขาเสีย เหตุเพราะนั่นเป็นสิ่งที่ตนเชื่อแต่ยังไม่ได้มีการทำสังคายนาหรือเป็นมติของพระเถระจึงต้องสอนต่อไป เช่นเรื่องพุทธรูป และศีลเป็นต้น
พระเกษม
เคร่งวินัย แต่ไม่วางอุเบกขาในบางเรื่อง ยังทำเป็นเรื่องคู่ตรงข้าม แต่ก็ทำหน้าที่เป็นเถรวาทอย่างดี เพราะทำหน้าที่ส่งต่อไตรปิฏกครบถ้วน เพียงแต่แข็งกร้าวและมั่นคงเกินไป ข้อสำคัญคือ "เชื่อทุกอย่างที่ตนคิดว่าเป็นคำของพุทธองค์ แต่ก็ไม่ปฏเสธคำของสาวกที่แนบมา" (ผมเคารพท่านมากองค์หนึ่ง)
พระคึกฤทธิ์
คล้ายพระเกษมแต่ไม่เหมือน ไม่ทำตัวเป็นเถรวาทอย่างเต็มที่ ไม่รอการประชุมของบรรดาพระเถระ และการปรับแต่งไตรปิฏกจึงส่อมากที่จะกลายไปเป็นอาจาริยะวาทในภายหลัง
ปล.ข้อมูลเรื่อง เต๋า, เซ็น, อชิตะฯ รบกวนหาต่อถ้าสนใจ ไม่อาจจะเอามาแสดงได้หมด