http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408035092
เมื่อวันที่ 14 ส.ค. เวลาประมาณ 20.30 น. ที่โรงแรมมณเฑียร ถนนสุรวงศ์ มีการจัดงานระดมทุนเพื่อจัดสร้างประติมากรรมอนุสาวรีย์วีรชนพฤษภา 35 อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม โดยบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างชื่นมื่น มีญาติวีรชนคนเดือนพฤษภาคม 2535 มาร่วมงานคับคั่ง อาทิคนดังอย่าง นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี /นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการชื่อดัง นายโคทม อารียา นักวิชาการด้านสันติวิธี และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ช่วงไฮไลท์ของงานคือ กิจกรรมสนทนา “ถามคุณอานันท์เรื่องวันนี้” โดยเป็นการคุยกับนายอานันท์ ปันยารชุน โดยมีนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งเริ่มยิงคำถามว่า
ภิญโญ ออกตัวก่อนว่าไม่ได้มีการซักซ้อมคำถามกันมาก่อนกับคุณอานันท์ ก่อนที่จะให้เปรียบเทียบสถานการณ์การเมืองเมื่อปี 2535 ถึงวันนี้ผ่านไป 22 ปี เงื่อนไขในวันนั้น ต่างจากวันนี้อย่างไร
อานันท์ : ผมเป็นคนที่มองโลกตามความจริง ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ส่วนใหญ่ก็เอามาจากต่างประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฎในสังคมไทยคือสังคมไทยไม่ค่อยเรียนรู้จากเหตุการณ์ในอดีต ยังฟังจากผู้ใหญ่ และฟังจากฝรั่ง เรามีประชาธิปไตยในรูปแบบมาตั้งแต่ปี 2475 ซึ่งฟังดูดี แต่ผมเชื่อว่าตอนนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่เข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร พร้อมยืนยันว่าประเทศไทยไม่เคยมี ประชาธิปไตย มาโดยตลอดตั้งแต่ ปี2475 แต่เราหลอกตัวเองมาตลอดว่าเรามี โดยเฉพาะช่วง 3-5ปีที่ผ่านมา ฝรั่งถามว่ารัฐประหารครั้งนี้ทำลายประชาธิปไตย ผมถามกลับไปว่าคุณเชื่อจริงๆเหรอว่าที่ผ่านมาเราเป็นประชาธิปไตยจริง ฝรั่งไม่เคยกล้าตอบผมว่าเขาคิดว่าเราเป็นประชาธิปไตย
รัฐประหารเกิดขึ้นหลายครั้งผมก็ไม่เห็นด้วยหลายครั้งและหลายครั้งผมก็เข้าใจเหตุผล ครั้งนี้ผมก็เข้าใจเหตุผลว่ามันมีความจำเป็นบางอย่างที่จะต้องทำ ไม่ใช่ผมเห็นชอบ แต่ผมเห็นใจเขา รวมถึงเมื่อ5-6ปีที่ผ่านมา มีศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเขียนงานวิจัยเป็นทฤษฎีใหม่ขึ้นมา ซึ่งมันไม่ใช่คำถามว่า รัฐประหารดีหรือไม่ดี แต่ต้องถามว่า 1.รัฐประหารเพื่ออะไร นำไปสู่อะไร ถ้าเป็นรัฐประหารที่ทำเพื่อปกป้องประชาธิปไตย หรือ เพื่อทำลายคนที่กำลังทำลายประชาธิปไตย และ2. เมื่อรัฐประหารแล้ว จะดำเนินไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้หรือไม่ และได้เร็วแค่ไหน 2 คำถามนี้ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบได้เราก็สบายใจ
ภิญโญ : คุณอานันท์ พยายามจะขี่ม้าเลียบค่าย ผมถามเข้าไปในค่ายเลยดีกว่าว่า ที่พูดมาทั้งหมด ให้ความชอบธรรม หรือสนับสนุน รัฐประหารครั้งนี้ มากน้อยแค่ไหน ?
อานันท์ : ผมไม่ได้ขี้ขลาดที่จะให้คำตอบนะ แต่ถ้าถามวันนี้ คำตอบคือสิ่งที่ผมจะถามคุณต่อไปว่า ผมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย มันเปลี่ยนแปลงอะไรได้ไหม มันมีสำนวนที่ว่าไม่ประนาม แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนเต็มที่ เถียงกันเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ถ้าย้อนไปสมัยตนเป็นนายกฯ ผมก็ไม่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย แต่คำถามที่พวกคุณจะต้องติดตามผมคือ เมื่อผมเป็นรัฐบาลแล้ว ผมทำอะไรบ้างที่มันไม่ชอบธรรม
ภิญโญ : ถ้าวันนี้มีผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร รอบหน้าการแก้ปัญหาในบ้านเมือง อาจไม่ต้องแก้โดยการรัฐประหารหรือเปล่า ?
อานันท์ : ผมว่าเป็นการมองปัญหาที่แคบไปหน่อย ผมบอกว่ารัฐประหารเกิดขึ้นแล้ว ผมเข้ามาเป็นนายกฯเพราะสถานการณ์ตอนนั้นน่าเป็นห่วงมาก เพราะคณะทหารที่ทำก็ไม่รู้จะบริหารประเทศไปในทิศทางไหน ก็มาเชิญพลเรือนอย่างผม แรกๆก็มีคนไม่ยอมรับผมสมัยผมเป็นนายกฯ แต่สุดท้ายก็มีคนยอมรับผม คำถามที่ว่าคุณมาจากไหน ชอบธรรมหรือเปล่ามันจางไปแล้ว คำถามคือคุณอยู่แล้วคุณทำอะไรให้ประเทศชาติบ้าง
ผมไม่ได้คิดว่าทหารเขาสนุกเขารู้ว่าการเข้ามามันเสี่ยงมากขณะนี้ก็ยังเสี่ยงอยู่แต่ผมว่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับทหาร และผมยืนยันว่าผมไม่อยากเห็นรัฐประหารในเมืองไทย แต่ถ้ามันมีรัฐบาลที่ให้พื้นที่กับประชาชนในการบริหารชีวิต ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ รักษาความเป็นท้องถิ่น ความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น ถ้ามีรัฐบาลแบบนี้ที่คืนอำนาจให้ประชาชน ทหารก็คงไม่ออกมารัฐประหาร สิ่งที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องคำนึงถึงคือโลกเปลี่ยนไปมาก สิ่งที่คนต้องการคือขออำนาจมาใช้บ้าง ขณะนี้เรามีการเลือกตั้งแบบส่งผู้แทนไป แต่ผู้แทนไปถึงก็ไปกอบโกย แต่มาบอกว่าเป็นผู้แทนผู้ทรงเกียรติ อันนี้น่าเป็นห่วง เพราะประชาชนก็จะเบื่อประชาธิปไตย ขณะนี้ประชาชนก็เบื่อนักการเมืองแล้ว ทั้งที่นักการเมืองดีๆก็มี
ภิญโญ : เราเบื่อนักการเมือง โดยไม่เบื่อประชาธิปไตย ได้ไหมครับ ?
อานันท์ : เอิ่ม... ถ้าไม่มีประชาธิปไตย ก็ไม่มีนักการเมือง
ภิญโญ : เรารักษาประชาธิปไตยได้ไหม แล้วจัดการกับนักการเมืองด้วยข้อหาที่นักการเมืองทำ
อานันท์ : สิ่งที่ผมอยากเห็น ไม่ใช่ ประชาธิปไตย ผมอยากเห็น ธรรมาภิบาลในกรอบประชาธิปไตย
ภิญโญ : มันเกิดได้ในยุครัฐประหาร เหรอ ?
อานันท์ : ทำไมมันจะไม่ได้ ถ้าคุณตั้งใจดี ลืมผลประโยชน์ส่วนตัว (เสียงปรบมือ) ทำไมจะทำไม่ได้ ส่วนคนที่คัดค้านรัฐประหาร เขามีพื้นที่อยู่ ผมคิดว่าเขาไม่ผิดอะไรที่เขาจะบอกว่าอยากให้มีเลือกตั้ง หรืออยากให้มีประชาธิปไตย และผมก็มั่นใจว่า คณะรัฐประหารชุดนี้ก็อยากให้มีประชาธิปไตย แต่สำหรับผม ผมไม่หลงเชื่อว่า เลือกตั้ง เป็น คำเดียวกับประชาธิปไตย แต่มันจะต้องมีอะไรอีกหลายอย่าง จะต้องมีค่านิยมทางประชาธิปไตย จะต้องมีองค์กรคอยถ่วงดุล ต้องมีระบบตุลาการที่เที่ยงธรรม ต้องมีสิทธิในการออกความเห็น การเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น
ภิญโญ : คุณอานันท์ เชื่อว่า ระบบรัฐประหาร หรือว่าเผด็จการโดยเสียงส่วนน้อย ซึ่งไม่มีทั้งการเลือกตั้ง และไม่มีทั้งคุณค่าอื่นๆอย่างที่คุณอานันท์เอ่ยมา จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่มีคุณค่า มีธรรมาภิบาลได้หรือไม่ เริ่มต้นแบบนี้จะนำไปสู่จุดนี้ได้ไหม ?
อานันท์ : คำถามคุณยาวไป ผมจำไม่ได้ พูดสั้นๆซิ (ฮา)
ภิญโญ : ผมถามสั้นๆว่า รัฐประหารจะนำไปสู่สังคมที่ดี ที่มีคุณค่าประชาธิปไตยที่เลยจากการเลือกตั้งได้หรือไม่ ในเมื่อการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยยังทำไม่ได้
อานันท์ : เท่าที่ผมอ่านหนังสือพิมพ์ เขาบอกมันจะมีเลือกตั้ง
ภิญโญ : มันมีวิธีที่ดีกว่านั้นในการที่สังคมไทย จะจัดการปัญหาที่ซับซ้อน โดยไม่ต้องรัฐประหาร หรือไม่ ?
อานันท์ : คุณไม่คิดหรือว่าที่ผ่านมา ทำทุกวิถีทาง แต่ช่องทางมันตันหมด
ภิญโญ : ตกลงเราจำเป็นว่าเราต้องมีรัฐประหาร ?
อานันท์ : ผมไม่ตอบ ผมกำลังอธิบายให้ฟังว่าโลกแห่งความจริงเป็นยังไง ผมอยากจะพูดว่าต่อไปอนาคตเมืองไทยเราจะเป็นอย่างไร โดยหลักการผมไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ตอนนี้มันมีทฤษฎีใหม่ออกมาแล้วว่าไม่ใช่ว่าเป็นรัฐประหาร มันจะต้องไม่ดีเสียหมด
ภิญโญ : ทำอย่างไรที่จะทำให้รัฐประหาร นำไปสู่สังคมที่ดีขึ้น อะไรนำไปสู่เส้นทางเหล่านั้น ในเมื่อเราเลือกไม่ได้แล้ว ?
อานันท์ : สิ่งที่ต้องระวังก็คือ เราอย่าเดินกลับไปสู่จุดเดิม หรือกลับไปสู่สาเหตุของการรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการโกงกิน การรวบอำนาจ เพราะประชาชนจะเริ่มถามว่า แล้วทำไมทหารเข้ามาแล้วยังเหมือนเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการสนทนากันอย่างแหลมคม เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งมาสังเกตการณ์ในงานเลี้ยงครั้งนี้ด้วย ได้ส่งข้อความเตือนไปยังผู้ดำเนินรายการ ว่าให้ลดความร้อนแรงในประเด็นทางการเมืองลง จากนั้น บรรยากาศ การสนทนาในประเด็นทางการเมืองก็ค่อยๆลดความร้อนแรงไป จนเปลี่ยนประเด็น และจบการสนทนาในที่สุด
แสดง คห ดีๆ ระวังโดนยึดล๊อคอินน้ะครับ
และใครมีคลิปเต็มๆ ช่วยแจ้งให้หน่อย ผมชอบนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ครับ
อยากฟัง
เมื่อ "ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา" ถาม "อานันท์ ปันยารชุน" คุณเห็นด้วยกับรัฐประหารครั้งนี้แค่ไหน?
เมื่อวันที่ 14 ส.ค. เวลาประมาณ 20.30 น. ที่โรงแรมมณเฑียร ถนนสุรวงศ์ มีการจัดงานระดมทุนเพื่อจัดสร้างประติมากรรมอนุสาวรีย์วีรชนพฤษภา 35 อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม โดยบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างชื่นมื่น มีญาติวีรชนคนเดือนพฤษภาคม 2535 มาร่วมงานคับคั่ง อาทิคนดังอย่าง นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี /นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการชื่อดัง นายโคทม อารียา นักวิชาการด้านสันติวิธี และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ช่วงไฮไลท์ของงานคือ กิจกรรมสนทนา “ถามคุณอานันท์เรื่องวันนี้” โดยเป็นการคุยกับนายอานันท์ ปันยารชุน โดยมีนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งเริ่มยิงคำถามว่า
ภิญโญ ออกตัวก่อนว่าไม่ได้มีการซักซ้อมคำถามกันมาก่อนกับคุณอานันท์ ก่อนที่จะให้เปรียบเทียบสถานการณ์การเมืองเมื่อปี 2535 ถึงวันนี้ผ่านไป 22 ปี เงื่อนไขในวันนั้น ต่างจากวันนี้อย่างไร
อานันท์ : ผมเป็นคนที่มองโลกตามความจริง ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ส่วนใหญ่ก็เอามาจากต่างประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฎในสังคมไทยคือสังคมไทยไม่ค่อยเรียนรู้จากเหตุการณ์ในอดีต ยังฟังจากผู้ใหญ่ และฟังจากฝรั่ง เรามีประชาธิปไตยในรูปแบบมาตั้งแต่ปี 2475 ซึ่งฟังดูดี แต่ผมเชื่อว่าตอนนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่เข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร พร้อมยืนยันว่าประเทศไทยไม่เคยมี ประชาธิปไตย มาโดยตลอดตั้งแต่ ปี2475 แต่เราหลอกตัวเองมาตลอดว่าเรามี โดยเฉพาะช่วง 3-5ปีที่ผ่านมา ฝรั่งถามว่ารัฐประหารครั้งนี้ทำลายประชาธิปไตย ผมถามกลับไปว่าคุณเชื่อจริงๆเหรอว่าที่ผ่านมาเราเป็นประชาธิปไตยจริง ฝรั่งไม่เคยกล้าตอบผมว่าเขาคิดว่าเราเป็นประชาธิปไตย
รัฐประหารเกิดขึ้นหลายครั้งผมก็ไม่เห็นด้วยหลายครั้งและหลายครั้งผมก็เข้าใจเหตุผล ครั้งนี้ผมก็เข้าใจเหตุผลว่ามันมีความจำเป็นบางอย่างที่จะต้องทำ ไม่ใช่ผมเห็นชอบ แต่ผมเห็นใจเขา รวมถึงเมื่อ5-6ปีที่ผ่านมา มีศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเขียนงานวิจัยเป็นทฤษฎีใหม่ขึ้นมา ซึ่งมันไม่ใช่คำถามว่า รัฐประหารดีหรือไม่ดี แต่ต้องถามว่า 1.รัฐประหารเพื่ออะไร นำไปสู่อะไร ถ้าเป็นรัฐประหารที่ทำเพื่อปกป้องประชาธิปไตย หรือ เพื่อทำลายคนที่กำลังทำลายประชาธิปไตย และ2. เมื่อรัฐประหารแล้ว จะดำเนินไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้หรือไม่ และได้เร็วแค่ไหน 2 คำถามนี้ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบได้เราก็สบายใจ
ภิญโญ : คุณอานันท์ พยายามจะขี่ม้าเลียบค่าย ผมถามเข้าไปในค่ายเลยดีกว่าว่า ที่พูดมาทั้งหมด ให้ความชอบธรรม หรือสนับสนุน รัฐประหารครั้งนี้ มากน้อยแค่ไหน ?
อานันท์ : ผมไม่ได้ขี้ขลาดที่จะให้คำตอบนะ แต่ถ้าถามวันนี้ คำตอบคือสิ่งที่ผมจะถามคุณต่อไปว่า ผมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย มันเปลี่ยนแปลงอะไรได้ไหม มันมีสำนวนที่ว่าไม่ประนาม แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนเต็มที่ เถียงกันเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ถ้าย้อนไปสมัยตนเป็นนายกฯ ผมก็ไม่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย แต่คำถามที่พวกคุณจะต้องติดตามผมคือ เมื่อผมเป็นรัฐบาลแล้ว ผมทำอะไรบ้างที่มันไม่ชอบธรรม
ภิญโญ : ถ้าวันนี้มีผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร รอบหน้าการแก้ปัญหาในบ้านเมือง อาจไม่ต้องแก้โดยการรัฐประหารหรือเปล่า ?
อานันท์ : ผมว่าเป็นการมองปัญหาที่แคบไปหน่อย ผมบอกว่ารัฐประหารเกิดขึ้นแล้ว ผมเข้ามาเป็นนายกฯเพราะสถานการณ์ตอนนั้นน่าเป็นห่วงมาก เพราะคณะทหารที่ทำก็ไม่รู้จะบริหารประเทศไปในทิศทางไหน ก็มาเชิญพลเรือนอย่างผม แรกๆก็มีคนไม่ยอมรับผมสมัยผมเป็นนายกฯ แต่สุดท้ายก็มีคนยอมรับผม คำถามที่ว่าคุณมาจากไหน ชอบธรรมหรือเปล่ามันจางไปแล้ว คำถามคือคุณอยู่แล้วคุณทำอะไรให้ประเทศชาติบ้าง
ผมไม่ได้คิดว่าทหารเขาสนุกเขารู้ว่าการเข้ามามันเสี่ยงมากขณะนี้ก็ยังเสี่ยงอยู่แต่ผมว่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับทหาร และผมยืนยันว่าผมไม่อยากเห็นรัฐประหารในเมืองไทย แต่ถ้ามันมีรัฐบาลที่ให้พื้นที่กับประชาชนในการบริหารชีวิต ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ รักษาความเป็นท้องถิ่น ความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น ถ้ามีรัฐบาลแบบนี้ที่คืนอำนาจให้ประชาชน ทหารก็คงไม่ออกมารัฐประหาร สิ่งที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องคำนึงถึงคือโลกเปลี่ยนไปมาก สิ่งที่คนต้องการคือขออำนาจมาใช้บ้าง ขณะนี้เรามีการเลือกตั้งแบบส่งผู้แทนไป แต่ผู้แทนไปถึงก็ไปกอบโกย แต่มาบอกว่าเป็นผู้แทนผู้ทรงเกียรติ อันนี้น่าเป็นห่วง เพราะประชาชนก็จะเบื่อประชาธิปไตย ขณะนี้ประชาชนก็เบื่อนักการเมืองแล้ว ทั้งที่นักการเมืองดีๆก็มี
ภิญโญ : เราเบื่อนักการเมือง โดยไม่เบื่อประชาธิปไตย ได้ไหมครับ ?
อานันท์ : เอิ่ม... ถ้าไม่มีประชาธิปไตย ก็ไม่มีนักการเมือง
ภิญโญ : เรารักษาประชาธิปไตยได้ไหม แล้วจัดการกับนักการเมืองด้วยข้อหาที่นักการเมืองทำ
อานันท์ : สิ่งที่ผมอยากเห็น ไม่ใช่ ประชาธิปไตย ผมอยากเห็น ธรรมาภิบาลในกรอบประชาธิปไตย
ภิญโญ : มันเกิดได้ในยุครัฐประหาร เหรอ ?
อานันท์ : ทำไมมันจะไม่ได้ ถ้าคุณตั้งใจดี ลืมผลประโยชน์ส่วนตัว (เสียงปรบมือ) ทำไมจะทำไม่ได้ ส่วนคนที่คัดค้านรัฐประหาร เขามีพื้นที่อยู่ ผมคิดว่าเขาไม่ผิดอะไรที่เขาจะบอกว่าอยากให้มีเลือกตั้ง หรืออยากให้มีประชาธิปไตย และผมก็มั่นใจว่า คณะรัฐประหารชุดนี้ก็อยากให้มีประชาธิปไตย แต่สำหรับผม ผมไม่หลงเชื่อว่า เลือกตั้ง เป็น คำเดียวกับประชาธิปไตย แต่มันจะต้องมีอะไรอีกหลายอย่าง จะต้องมีค่านิยมทางประชาธิปไตย จะต้องมีองค์กรคอยถ่วงดุล ต้องมีระบบตุลาการที่เที่ยงธรรม ต้องมีสิทธิในการออกความเห็น การเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น
ภิญโญ : คุณอานันท์ เชื่อว่า ระบบรัฐประหาร หรือว่าเผด็จการโดยเสียงส่วนน้อย ซึ่งไม่มีทั้งการเลือกตั้ง และไม่มีทั้งคุณค่าอื่นๆอย่างที่คุณอานันท์เอ่ยมา จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่มีคุณค่า มีธรรมาภิบาลได้หรือไม่ เริ่มต้นแบบนี้จะนำไปสู่จุดนี้ได้ไหม ?
อานันท์ : คำถามคุณยาวไป ผมจำไม่ได้ พูดสั้นๆซิ (ฮา)
ภิญโญ : ผมถามสั้นๆว่า รัฐประหารจะนำไปสู่สังคมที่ดี ที่มีคุณค่าประชาธิปไตยที่เลยจากการเลือกตั้งได้หรือไม่ ในเมื่อการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยยังทำไม่ได้
อานันท์ : เท่าที่ผมอ่านหนังสือพิมพ์ เขาบอกมันจะมีเลือกตั้ง
ภิญโญ : มันมีวิธีที่ดีกว่านั้นในการที่สังคมไทย จะจัดการปัญหาที่ซับซ้อน โดยไม่ต้องรัฐประหาร หรือไม่ ?
อานันท์ : คุณไม่คิดหรือว่าที่ผ่านมา ทำทุกวิถีทาง แต่ช่องทางมันตันหมด
ภิญโญ : ตกลงเราจำเป็นว่าเราต้องมีรัฐประหาร ?
อานันท์ : ผมไม่ตอบ ผมกำลังอธิบายให้ฟังว่าโลกแห่งความจริงเป็นยังไง ผมอยากจะพูดว่าต่อไปอนาคตเมืองไทยเราจะเป็นอย่างไร โดยหลักการผมไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ตอนนี้มันมีทฤษฎีใหม่ออกมาแล้วว่าไม่ใช่ว่าเป็นรัฐประหาร มันจะต้องไม่ดีเสียหมด
ภิญโญ : ทำอย่างไรที่จะทำให้รัฐประหาร นำไปสู่สังคมที่ดีขึ้น อะไรนำไปสู่เส้นทางเหล่านั้น ในเมื่อเราเลือกไม่ได้แล้ว ?
อานันท์ : สิ่งที่ต้องระวังก็คือ เราอย่าเดินกลับไปสู่จุดเดิม หรือกลับไปสู่สาเหตุของการรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการโกงกิน การรวบอำนาจ เพราะประชาชนจะเริ่มถามว่า แล้วทำไมทหารเข้ามาแล้วยังเหมือนเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการสนทนากันอย่างแหลมคม เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งมาสังเกตการณ์ในงานเลี้ยงครั้งนี้ด้วย ได้ส่งข้อความเตือนไปยังผู้ดำเนินรายการ ว่าให้ลดความร้อนแรงในประเด็นทางการเมืองลง จากนั้น บรรยากาศ การสนทนาในประเด็นทางการเมืองก็ค่อยๆลดความร้อนแรงไป จนเปลี่ยนประเด็น และจบการสนทนาในที่สุด
แสดง คห ดีๆ ระวังโดนยึดล๊อคอินน้ะครับ
และใครมีคลิปเต็มๆ ช่วยแจ้งให้หน่อย ผมชอบนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ครับ
อยากฟัง