นี่เป็นการตั้งกระทู้แรกของผม มีอะไรแนะนำ ติชม หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล รบกวนใช้ถ้อยคำสุภาพด้วยนะครับ
กระทู้จะว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์รูปแบบของเจดีย์เป็นส่วนใหญ่ และนำไปอิงกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ทุกคนคงจะเคยได้ยินกันมาว่า ภายหลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือหงสา (ตามประวัติศาสตร์ไทย) พระองค์ทรงโปรดฯให้สร้างเจดีย์ขึ้น 1 องค์ เพื่อเป็นการแสดงถึงชัยชนะครั้งนั้น ตามที่หลายๆท่านทราบว่า คือ เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล ตามประวัติวัด ในคราวที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะพระมหาอุปราชของหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระพิโรธต่อบรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามทัพไม่ทัน ทรงดำริจะลงพระราชอาญาประหารชีวิต แต่สมเด็จพระวันรัตน์ได้ทูลขอพระราชทานชีวิตของแม่ทัพนายกองเหล่านั้นไว้ โดยยกเอาพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องผจญมารอยู่โดยลำพัง เปรียบเสมือนกับสมเด็จพระนเรศวรที่ต้องทรงกระทำยุทธหัตถีโดยลำพัง และได้ทูลแนะนำให้ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นแทนการประหารชีวิต สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นด้วยและทรงให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้น ชื่อว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล" ประมาณ พ.ศ. 2135 มีความสูง 1 เส้น 1 วา เป็นเจดีย์ ที่สูงที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาจนทุกวันนี้
ที่นี้เรามาพิจารณาที่รูปแบบเจดีย์กันนะคับ
เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่บนฐานที่มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ หรือจะเรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาทก็ได้ จากลักษณะสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์ได้มีข้อถกเถียงทางวิชาการว่า เจดีย์ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนั้นน่าจะเป็นศิลปะในสมัยพระนารายณ์ลงมา หรือเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย มากกว่าที่จะเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น กล่าวคือ แม้หลักฐานตำนานและพงศาวดารจะระบุว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา แต่สิ่งก่อสร้างต่างๆ มีการบูรณปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาในทุกยุคทุกสมัย เพราะคำว่าบูรณปฏิสังขรณ์ตามความหมายเดิมของไทยนั้น อาจหมายถึงการรื้อและสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมดก็ได้ มิได้หมายถึงว่าจะต้องสงวนรักษาตามอย่างของเดิมเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวคิดสมัยใหม่ ที่เพิ่งปรากฏเมื่อราว 100 กว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น
ภาพที่ 1 เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล
แล้วเหตุอันใด ผมจึงบอกว่าอาจจะไม่ใช่ เจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดฯให้สร้าง หลักฐานแรก คือ เจดีย์พระศรีสุริโยทัย
หากว่า เจดีย์ที่ชื่อว่า เจดีย์ศรีสุริโยทัย เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจริงๆ ซึ่งเจดีย์องค์ดังกล่าวเป็น เจดีย์ย่อมุม มีซุ้ม 4ด้าน
เจดีย์นี้จึงควรเป็นต้นแบบให้กับเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน หรือหลังจากกันไม่มาก คือ อยู่ในช่วงอยุธยาตอนต้น
ภาพที่ 2 เจดีย์ศรีสุริโยทัย
ทีนี้มาดูความเป็นไปได้กัน ผมมีความเห็นว่าเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดฯให้สร้าง น่าจะเป็นเจดีย์ที่วัดภูเขาทองมากกว่า ซึ่ง ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม อธิบายว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ส่วนฐานของเจดีย์เป็นรูปแบบมอญพม่า รองรับเจดีย์เพิ่มมุมที่มีรูปแบบสืบทอดมาจากเจดีย์ศรีสุริโยทัย แต่ต่างกันที่เจดีย์องค์นี้ไม่มีเจดีย์ยอดบนมุขทั้งสี่ด้าน ซึ่งอาจไม่มีการสร้างมาแต่แรกหรืออาจถูกรื้อออกไปเมื่อคราวบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็เป็นได้ แกมเฟอร์บันทึกไว้ว่า เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงชัยชนะของกษัตริย์ไทยที่มีเหนือกษัตริย์พม่า บางท่านจึงอธิบายว่าการสร้างเจดีย์อยุธยาบนฐานแบบมอญพม่านี้ ก็คือสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีเหนือพม่า การประกาศชัยชนะด้วยวิธีนี้ พม่าเคยใช้มาก่อนเมื่อครั้งที่ชนะเมืองมอญ เข้าใจว่าสมเด็จพระนเรศวรที่ทรงเจริญพระชนม์ในพม่า น่าจะโปรดเกล้าฯ ให้นำวิธีนี้มาใช้เช่นกัน ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พอสรุปได้ความว่าเมื่อ พ.ศ. 2287 สมเด็จพระเจ้าบรมโกศโปรดให้ปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์และพระอารามวัดภูเขาทอง
ความในพงศาวดารในฉบับนั้นเขียนไว้ว่า "ในปีนั้น (พ.ศ. 2287) ทรงพระกรุณาโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์และพระอารามภูเขาทอง 6 เดือนจึงสำเร็จ" ด้วยเหตุอาจจะทำให้หลายๆท่านเข้าใจไปว่า เจดีย์ภูเขาทองก็ถูกสร้างขึ้นในคราเดียวกัน
ภาพที่ 3 เจดีย์วัดภูเขาทอง
เจดีย์อันแสดงถึงชัยชนะแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รือจะมิใช่เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล
กระทู้จะว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์รูปแบบของเจดีย์เป็นส่วนใหญ่ และนำไปอิงกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ทุกคนคงจะเคยได้ยินกันมาว่า ภายหลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือหงสา (ตามประวัติศาสตร์ไทย) พระองค์ทรงโปรดฯให้สร้างเจดีย์ขึ้น 1 องค์ เพื่อเป็นการแสดงถึงชัยชนะครั้งนั้น ตามที่หลายๆท่านทราบว่า คือ เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล ตามประวัติวัด ในคราวที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะพระมหาอุปราชของหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระพิโรธต่อบรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามทัพไม่ทัน ทรงดำริจะลงพระราชอาญาประหารชีวิต แต่สมเด็จพระวันรัตน์ได้ทูลขอพระราชทานชีวิตของแม่ทัพนายกองเหล่านั้นไว้ โดยยกเอาพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องผจญมารอยู่โดยลำพัง เปรียบเสมือนกับสมเด็จพระนเรศวรที่ต้องทรงกระทำยุทธหัตถีโดยลำพัง และได้ทูลแนะนำให้ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นแทนการประหารชีวิต สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นด้วยและทรงให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้น ชื่อว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล" ประมาณ พ.ศ. 2135 มีความสูง 1 เส้น 1 วา เป็นเจดีย์ ที่สูงที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาจนทุกวันนี้
ที่นี้เรามาพิจารณาที่รูปแบบเจดีย์กันนะคับ
เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่บนฐานที่มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ หรือจะเรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาทก็ได้ จากลักษณะสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์ได้มีข้อถกเถียงทางวิชาการว่า เจดีย์ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนั้นน่าจะเป็นศิลปะในสมัยพระนารายณ์ลงมา หรือเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย มากกว่าที่จะเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น กล่าวคือ แม้หลักฐานตำนานและพงศาวดารจะระบุว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา แต่สิ่งก่อสร้างต่างๆ มีการบูรณปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาในทุกยุคทุกสมัย เพราะคำว่าบูรณปฏิสังขรณ์ตามความหมายเดิมของไทยนั้น อาจหมายถึงการรื้อและสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมดก็ได้ มิได้หมายถึงว่าจะต้องสงวนรักษาตามอย่างของเดิมเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวคิดสมัยใหม่ ที่เพิ่งปรากฏเมื่อราว 100 กว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น
ภาพที่ 1 เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล
แล้วเหตุอันใด ผมจึงบอกว่าอาจจะไม่ใช่ เจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดฯให้สร้าง หลักฐานแรก คือ เจดีย์พระศรีสุริโยทัย
หากว่า เจดีย์ที่ชื่อว่า เจดีย์ศรีสุริโยทัย เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจริงๆ ซึ่งเจดีย์องค์ดังกล่าวเป็น เจดีย์ย่อมุม มีซุ้ม 4ด้าน
เจดีย์นี้จึงควรเป็นต้นแบบให้กับเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน หรือหลังจากกันไม่มาก คือ อยู่ในช่วงอยุธยาตอนต้น
ภาพที่ 2 เจดีย์ศรีสุริโยทัย
ทีนี้มาดูความเป็นไปได้กัน ผมมีความเห็นว่าเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดฯให้สร้าง น่าจะเป็นเจดีย์ที่วัดภูเขาทองมากกว่า ซึ่ง ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม อธิบายว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ส่วนฐานของเจดีย์เป็นรูปแบบมอญพม่า รองรับเจดีย์เพิ่มมุมที่มีรูปแบบสืบทอดมาจากเจดีย์ศรีสุริโยทัย แต่ต่างกันที่เจดีย์องค์นี้ไม่มีเจดีย์ยอดบนมุขทั้งสี่ด้าน ซึ่งอาจไม่มีการสร้างมาแต่แรกหรืออาจถูกรื้อออกไปเมื่อคราวบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็เป็นได้ แกมเฟอร์บันทึกไว้ว่า เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงชัยชนะของกษัตริย์ไทยที่มีเหนือกษัตริย์พม่า บางท่านจึงอธิบายว่าการสร้างเจดีย์อยุธยาบนฐานแบบมอญพม่านี้ ก็คือสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีเหนือพม่า การประกาศชัยชนะด้วยวิธีนี้ พม่าเคยใช้มาก่อนเมื่อครั้งที่ชนะเมืองมอญ เข้าใจว่าสมเด็จพระนเรศวรที่ทรงเจริญพระชนม์ในพม่า น่าจะโปรดเกล้าฯ ให้นำวิธีนี้มาใช้เช่นกัน ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พอสรุปได้ความว่าเมื่อ พ.ศ. 2287 สมเด็จพระเจ้าบรมโกศโปรดให้ปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์และพระอารามวัดภูเขาทอง
ความในพงศาวดารในฉบับนั้นเขียนไว้ว่า "ในปีนั้น (พ.ศ. 2287) ทรงพระกรุณาโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์และพระอารามภูเขาทอง 6 เดือนจึงสำเร็จ" ด้วยเหตุอาจจะทำให้หลายๆท่านเข้าใจไปว่า เจดีย์ภูเขาทองก็ถูกสร้างขึ้นในคราเดียวกัน
ภาพที่ 3 เจดีย์วัดภูเขาทอง