วัดภูเขาทองตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้กลางทุ่งภูเขาทอง พื้นที่วัดตั้งอยู่บนโคกซึ่งพื้นที่โดยรอบมีน้ำท่วมถึง วัดแห่งนี้ถือเป็นพุทธสถานที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นยุทธศาสตร์สงครามระหว่างไทยกับพม่าที่ทำให้กรุงแตกทั้ง 2 ครั้ง วัดที่มีเจดีย์สูงถึง 90 เมตรแห่งนี้ได้ชื่อตามมหาเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งตามพระราชพงศาวดารอยุธยาได้กล่าวไว้ว่า วัดภูเขาทองได้รับการสถาปนาขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น รัชสมัยพระราเมศวร โดยในสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ารบชนะอยุธยาเมื่อครั้งเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบมอญผสมพม่าก่อทับองค์เจดีย์เดิมของวัดแห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือทัพไทย แต่สันนิษฐานว่าคงสร้างได้แต่ส่วนฐานทักษิณส่วนล่างแล้วยกทัพกลับ จากนั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่า จึงมีสถาปัตยกรรมหลายแบบผสมผสานกันอยู่ แต่สันนิษฐานว่าเจดีย์ภูเขาทองที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ได้รับการบูรณะให้สูงใหญ่ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาถึงสมัยพระเพทราชา ระหว่าง พ.ศ. 2112-2246 และต่อมาภายหลังก็ได้รับการบูรณะใหญ่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งเป็นช่วงอยุธยาตอนปลาย โดยปฏิสังขรณ์เป็นฐานทักษิณ 4 ชั้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทั้ง 4 ด้านขึ้นไปจนถึงฐานทักษิณชั้นบนสุด ซึ่งมีฐานสี่เหลี่ยมขององค์เจดีย์ที่มีอุโมงค์รูปโค้งเข้าไปข้างใน ประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ เหนือขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยมองค์ระฆังและบัลลังก์ และเหนือขึ้นไปอีกคือปล้องไฉน ปลียอด และลูกแก้ว ซึ่งพังทลายในสมัยต้นรัตนโกสินทร์แต่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. 2499 โดยได้ทำลูกแก้วทองคำหนัก 2,500 กรัม เป็นสัญลักษณ์การบูรณะในวาระครบ 25 พุทธศตวรรษช่วงสงครามก่อนกรุงแตกครั้งแรก มีการขุดคลองมหานาคเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญระหว่างพระนครด้านแม่น้ำลพบุรีกับวัดภูเขาทอง ส่วนเขตพุทธาวาสเดิมยังหลงเหลือแนวกำแพงแก้วล้อมรอบ 688 เมตร ภายในเขตพุทธาวาสประกอบไปด้วยวิหารขนาดเล็ก อุโบสถใหญ่ด้านหน้ามีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ ทว่าหลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดภูเขาทองกลายเป็นวัดร้าง แต่ก็ยังมีผู้คนจากทุกแห่งหนเดินทางมาสักการะพระมหาเจดีย์อยู่เช่นเดิม ดังปรากฏในนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนมาถึง พ.ศ. 2500 จึงได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้อีกครั้ง
Ep.14 วัดภูเขาทองWat Phu Khao Thong Ayutthaya Thailand.#อยุธยา #เมืองเก่า #เที่ยววัด #โบราณสถาน
วัดภูเขาทองตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้กลางทุ่งภูเขาทอง พื้นที่วัดตั้งอยู่บนโคกซึ่งพื้นที่โดยรอบมีน้ำท่วมถึง วัดแห่งนี้ถือเป็นพุทธสถานที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นยุทธศาสตร์สงครามระหว่างไทยกับพม่าที่ทำให้กรุงแตกทั้ง 2 ครั้ง วัดที่มีเจดีย์สูงถึง 90 เมตรแห่งนี้ได้ชื่อตามมหาเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งตามพระราชพงศาวดารอยุธยาได้กล่าวไว้ว่า วัดภูเขาทองได้รับการสถาปนาขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น รัชสมัยพระราเมศวร โดยในสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ารบชนะอยุธยาเมื่อครั้งเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบมอญผสมพม่าก่อทับองค์เจดีย์เดิมของวัดแห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือทัพไทย แต่สันนิษฐานว่าคงสร้างได้แต่ส่วนฐานทักษิณส่วนล่างแล้วยกทัพกลับ จากนั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่า จึงมีสถาปัตยกรรมหลายแบบผสมผสานกันอยู่ แต่สันนิษฐานว่าเจดีย์ภูเขาทองที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ได้รับการบูรณะให้สูงใหญ่ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาถึงสมัยพระเพทราชา ระหว่าง พ.ศ. 2112-2246 และต่อมาภายหลังก็ได้รับการบูรณะใหญ่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งเป็นช่วงอยุธยาตอนปลาย โดยปฏิสังขรณ์เป็นฐานทักษิณ 4 ชั้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทั้ง 4 ด้านขึ้นไปจนถึงฐานทักษิณชั้นบนสุด ซึ่งมีฐานสี่เหลี่ยมขององค์เจดีย์ที่มีอุโมงค์รูปโค้งเข้าไปข้างใน ประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ เหนือขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยมองค์ระฆังและบัลลังก์ และเหนือขึ้นไปอีกคือปล้องไฉน ปลียอด และลูกแก้ว ซึ่งพังทลายในสมัยต้นรัตนโกสินทร์แต่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. 2499 โดยได้ทำลูกแก้วทองคำหนัก 2,500 กรัม เป็นสัญลักษณ์การบูรณะในวาระครบ 25 พุทธศตวรรษช่วงสงครามก่อนกรุงแตกครั้งแรก มีการขุดคลองมหานาคเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญระหว่างพระนครด้านแม่น้ำลพบุรีกับวัดภูเขาทอง ส่วนเขตพุทธาวาสเดิมยังหลงเหลือแนวกำแพงแก้วล้อมรอบ 688 เมตร ภายในเขตพุทธาวาสประกอบไปด้วยวิหารขนาดเล็ก อุโบสถใหญ่ด้านหน้ามีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ ทว่าหลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดภูเขาทองกลายเป็นวัดร้าง แต่ก็ยังมีผู้คนจากทุกแห่งหนเดินทางมาสักการะพระมหาเจดีย์อยู่เช่นเดิม ดังปรากฏในนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนมาถึง พ.ศ. 2500 จึงได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้อีกครั้ง