จากที่ทราบข่าวว่าจะมีการสร้างละครข้าบดินทร์ โดยคุณปิ่น จากค่ายทีวีซีน
จขกท.เลยไปซื้อหนังสือมาอ่าน เจ้าของบทประพันธ์ ได้เล่าเรื่องของหมอบรัดเลย์ไว้สนุกทีเดียว
เลยอยากนำเรื่องราวชีวประวัติของคุณหมอท่านนี้มาแบ่งปันค่ะ
เรื่องเล่าหมอบรัดเลย์ ผู้ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์
หมอบรัดเลย์ เป็นชาวอเมริกัน มีขื่อเต็มว่า “แดน บีช บรัดเลย์” มีอาชีพหลักคือ แพทย์ ที่ชาวบ้านเรียกกันตามลิ้นไทยสมัยโบราณว่า หมอบรัดเลย์ หรือ ปลัดเล มีหมอฝรั่งอีกคนชื่อ “ดร. เฮ้าส์” ชาวบ้านเรียกง่ายๆว่า “หมอเหา” เป็นต้น เช้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
ประวัติชีวิตสั้นๆ ของหมอบรัดเลย์ หรือปลัดเลนี้มีอยู่ว่า ปลัดเล เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2347 (ค.ศ. 1804) เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส ในมลรัฐนิวยอร์ก เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายแดน บรัดเลย์ กับ นางยูนิช บีช บรัดเลย์ เกิดมาได้เพียงวันเดียว แม่ก็เสียชีวิตด้วยโรคโลหิตเป็นพิษ บรัดเลย์สำเร็จการศึกษาสูงสุดเป็น ดร.ทางการแพทย์ และเมื่อคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตท์ รับสมัครมิชชันนารี เพื่อทำการเผยแพร่พระศาสนาจากผู้ที่สำเร็จวิชาแพทย์ บรัดเลย์จึงสมัครเข้าเป็นมิชชันนารีเดินทางมาสู่อุษาคเนย์ พร้อมภารกิจรับใช้พระผู้เป็นเจ้า
การทำงานหน้าที่นี้จำต้องมีผู้ช่วย และมีผู้แนะนำว่า ผู้ช่วยที่ดีที่สุดคือ “เมีย” ดังนั้นบรัดเลย์จึงตัดสินใจแต่งงานกับเด็กสาวชาวเมืองเดียวกันชื่อ “เอมิลี่ รอยส์” ที่มีอายุต่างกว่าเขาเกือบ 10 ปี ก่อนกำหนดการเดินทางมาสู่อุษาคเนย์เพียง 3 เดือน
บรัดเลย์เดินทางออกจากท่าเรือเมืองบอนตัน โดยเรือโดยสารทางมหาสมุทรอินเดีย ใช้เวลาเดินทาง 6 เดือน ฝ่าคลื่นลมในทะเล จนมาขึ้นท่าที่เมืองสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2378 เขาเริ่มทำการศึกษาภาษาไทยอย่างแข็งขัน จนสามารถพูดภาษาไทยได้พอเข้าใจ และเริ่มกำหนดจะเดินทางต่อมายังประเทศไทย
บรัดเลย์เดินทางมาถึงเมืองสยาม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2378 บรัดเลย์เริ่มติดต่อสำนักคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ในสยาม เพื่อหาหลักแหล่งในการลงหลักปักฐานทำงานให้พระศาสนา และได้มีโอกาสสร้างเรือนแพอยู่ที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ (ท้ายพระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี) เขาพยายามสร้างความดีอุทิศตนให้แก่งานและพระผู้เป็นเจ้า ท่ามกลางอุปสรรคนานัปการ
บรัดเลย์กระทำตนเป็นคนดีในสายตาของชาวบ้านอย่างคงเส้นคงวา ไม่ดื่มสุรา หยุดงานวันอาทิตย์เพื่อไปสวดมนต์ที่โบสถ์ ชีวิตของบรัดเลย์มีความสุขควรแก่อัตภาพ เพราะเป็นคนมีลูกมาก เขามีลูกกับเอมิลี่ รอยซ์ 5 คน (เป็นชาย 3 คน หญิง 2 คน) เอมิลี่ รอยซ์ ใช้ชีวิตอยู่กับปลัดเลในเมืองบางกอกนานถึง 10 ปี จึงถึงแก่กรรม (มีบันทึกกล่าวว่า เอมิลี่ถึงแก่กรรมด้วยโรคโลหิตเป็นพิษ เช่นเดียวกับแม่ของบรัดเลย์ที่อเมริกา)
พอสิ้นเมีย บรัดเลย์ไม่อาจจมอยู่กับความเศร้าได้นาน ต้องหอบลูกๆ 5 คน กลับอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2390 และที่อเมริกานี่เอง เขาพบรักใหม่กับญาติห่าง ๆ ของเอมิลี่ รอยซ์ ชื่อ “ซาราห์ แบลชลี่ย์” จึงตัดสินใจแต่งงานกับเธอ แล้วพาเดินทางกลับมาสู่ประเทศสยามอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2392 ครั้งนี้ ปลัดเลมีบุตรกับซาราห์อีก 5 คน เป็นชาย 2 หญิง 3 คน
บรัดเลย์สิ้นชีวิตด้วยโรคฝีในท้อง (วัณโรค) เมื่ออายุได้ 69 ปี ในปีพุทธศักราช 2416 บรัดเลย์เดินทางเข้ามาสู่สยามโดยเส้นทางลำน้ำเจ้าพระยา และวาระสุดท้าย ศพของท่านก็ถูกฝังไว้นิรันดร์ ณ สุสานโปรเตสแตนต์ ยานนาวา ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (บัดนี้ ยังปรากฏอยู่ และบุตรสาวคนเล็กของบรัดเลย์ที่ชื่อ “ไอรีน” ก็มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านละแวกบางกอกใหญ่ ที่บรรดาทหารเรือในละแวกนั้นเรียกเธอว่า “แหม่มหลิน” กลายเป็นชื่อจีนไปเลย) ซึ่งถือว่าเป็น “บรัดเลย์คนสุดท้าย”
คงจะต้องพูดถึงด้านงานที่บรัดเลย์ได้สร้างไว้ให้คนไทยหลายๆอย่าง ท่านเป็นคนแรกที่บุกเบิกความรู้ความคิดใหม่ๆ ถือเป็นคนสำคัญในสังคมไทยคนหนึ่งในยุคนั้น ที่มีความสำเร็จงดงามน่าสรรเสริญ เว้นภารกิจเดียวที่ท่านไม่ประสบความสำเร็จ คือการเผยแพร่ศาสนา เพราะตลอดชีวิตของบรัดเลย์เขาโน้มน้าวให้คนเข้านับถือศาสนาเป็นคริสเตียนได้เพียง 10 คน ขณะที่ผลงานอื่นๆ รุ่งโรจน์งดงาม
ในทางการแพทย์ ท่านเป็นผู้นำในการผ่าตัด การถอนฟัน การรักษาต้อกระจก (ที่ชาวบองกอกในยุคนั้นเป็นกันมาก) การทำเซรุ่มปลูกฝีป้องกันไขทรพิษ (ฝีดาษ) การทำคลอดแบบตะวันตก (ซึ่งแตกต่างจากการทำคลอดแบบไทย ที่ใช้หมอตำแยเป็นคนทำคลอด) และได้แต่งหนังสือคู่มือมารดา ที่เรียกว่า “ครรภ์รักษา” ไว้เป็นความรู้ทางสูตินารีเวช ที่ยังใช้มาจนทุกวันนี้ ในหลักสูตรกุมารแพทย์ของไทย ในหลายสถาบันการแพทย์
ในประวัติศาสตร์การผ่าตัดครั้งแรกของไทยบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2378 ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยการผ่าเอาก้อนเนื้องอกที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งในขณะที่สมัยนั้นยังไม่มียาสลบ แต่การผ่าตัดที่อื้อฉาวที่สุด ซึ้งทำให้คนทั่วไปรู้จักการผ่าตัดคือ
เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2379 งานเฉลิมฉลองวัดประยูรวงศ์ศาวาส ซึ้งสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ บรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ได้สร้างขึ้น ผู้จัดงานต้องการที่จะให้เป็นงานใหญ่ จึงขอยืมปืนใหญ่มา 1 กระบอก เพื่อใช้จุดไฟพะเนียง โดยการเอาโคนกระบอกฝังลงดิน ให้ปลายชี้ขึ้น และอัดดินปืนเข้าไปให้แน่นหวังจะให้เป็นไปพะเนียงที่ยิ่งใหญ่ แต่พอจุดไฟ ปืนใหญ่ก็แตกออก เพราะอัดดินปืนไว้แน่น สะเก็ดกระบอกปืนปลิวว่อน ทำให้คนที่อยู่ใกล้ตายทันที 8 คน และมีผู้บาดเจ็บมากมาย หมอบรัดเลย์ซึ่งเปิดคลีนิคที่อยู่ใกล้เคียงราว 250 เมตร ถูกเรียกตัวมาทันที
คนที่บาดเจ็บเล็กน้อยก็ใช้วิธีใส่ยา แต่ที่เป็นแผลฉกรรจ์ฉีกขาด หมอบรัดเลย์ และคณะแพทย์มิชันนารีลงความเห็นว่าจะต้องตัดแขนและขาทิ้ง คนไทยยุคนั้นไม่เชื่อว่าถ้าถูกตัดแขนและขาออกจะรอดชีวิตได้ แต่มีพระสงฆ์ใจเด็ดรูปหนึ่ง ยอมให้หมอบรัดเลย์ตัดแขน ทั้งๆที่ตอนนั้นยังไม่มียาสลบและยาชา
ในการผ่าตัดครั้งนั้น มีผู้คนมากมาที่เฝ้าดูเหตุการณ์ การผ่าตัดด้วยความตื่นเต้น ก็ทำให้บรรดามิชชันนารีเองก็ตื่นเช่นกัน เพราะถ้าตัดแขนแล้วพระเกิดตายขึ้นมา ก็จะทำให้พวกตนเสียชื่อเสียง ปรากฎว่าพระภิกษุรูปนั้นรอดชีวิต แม้นจะต้องเสียแขนข้างหนึ่งไป รวมทั้งคณะอื่นๆที่ยอมให้มิชชันนารีรักษาก็รอดทุกคน
เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้การแพทย์สมัยใหม่ของมิชชันนารีได้รับการเลื่องลือเป็นอันมาก และทำให้หมอบรัดเลย์ ได้รับการยกย่องในหมู่คนไทยทั่วไป
ในทางสังคม ท่านเป็นผู้บุกเบิกการพิมพ์ของไทย ได้ทำหนังสือพิมพ์ที่มีผลสำคัญ คือหนังสือจดหมายเหตุที่เรียกว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” เมื่อมีงานวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสยาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงออกประกาศมิให้ราษฎรเชื่อฟัง เรื่องที่ตีพิมพ์ในฝรั่ง ทำให้เกิดศัพท์คำว่า “หนังสือพิมพ์” ขณะเดียวกัน เพื่อแถลงข่าวของรัฐบาลเป็นการตอบโต้ จึงมีหนังสือพิมพ์ที่ออกมาเป็น หนังสือพิมพ์ฉบับรากฐานของไทยฉบับแรก (โดยรัฐบาล) มีชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” (ยังคงมีสืบเนื่องกันมานับจากสมัยรัชกาลที่ 4)
การทำหนังสือพิมพ์ของบรัดเลย์ในยุคนั้น ท่านสั่งหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยเข้ามา ตั้งแต่แท่นพิมพ์ที่แพพำนักปากคลองบางกอกใหญ่ โดยใช้หมึกดำทาพิมพ์ แล้วใช้มือหมุนลูกกลิ้งออกมาเป็นแผ่นๆคล้ายใบปลิว มีเรื่องราวเกี่ยวกับข่าว และโฆษณาบ้างเล็กน้อย รวมทั้งบทความวิจารณ์รัฐบาล (บางทีก็รุนแรง) ด้วย
บ้านหมอบรัดเลย์
หนังสือบางกอกรีคอร์เดอร์ในยุคหลังทำเป็นเล่ม เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ ความคิด เป็นปากเสียงแทนราษฎร ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (ราชธิปไตย) จุดจบของหนังสือพิมพ์ของบรัดเลย์ มิใช่ถูกรัฐบาลสยามควบคุม หากเกิดจากการทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐบาลสยาม จากการล่วงละเมิดของกงสุลฝรั่งที่มีชื่อว่า “นายโอบาเรต์” (ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายยากาแรต) จึงกงสุลฝรั่งเศสฟ้อง และยากจะชนะคดี เพราะฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างยิ่งในยุคนั้น รัฐบาลสยามเกรงว่า ฝรั่งเศสจะหาเรื่องลุกลามไปสู่เรื่องอื่นๆ จึงมีพระราชกระแส (ของรัชกาลที่ 4) ห้ามขุนนางไทยไปเบิกความเป็นพยานจำเลย ผลทำให้บรัดเลย์แพ้คดีและถูกศาลบังคับให้ชดใช้สินไหมแก่นายยากาแรต เป็นเงินจำนวนมาก บรัดเลย์ต้องขายทรัพย์สินบางส่วน และอาศัยเงินที่ฝรั่งผู้รักความเป็นธรรมช่วยกันบริจาคช่วยเหลือ ซึ่งในบรรดาผู้ช่วยชำระเงินค่าสินไหมครั้งนั้นที่ไม่เปิดเผยนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวนมากพอสมควรให้แก่บรัดเลย์ด้วย
ความจริงนั้นบรัดเลย์ได้มีโอกาสคบหากับบรรดาเจ้านายและขุนนางสยามมาก่อนเข้าสู่บางกอก ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์มาเป็นลำดับ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานความช่วยเหลือบรัดเลย์ในด้านต่างๆ เว้นแต่เพียงในการเผยแพร่ศาสนา และในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรัดเลย์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าถวายความรู้ภาษาอังกฤษต่อพระองค์ด้วย และในทางกลับกัน ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณหลายประการ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้พระราชทานที่ดินให้อยู่เปล่า ที่ในสวนบางกอกใหญ่ และได้พระทานเงินจำนวนหนึ่งช่วยในพิธีฝังศพบรัดเลย์ด้วย
และแม้ท่านจะสิ้นชีวิตไป 200 ปีกว่าแล้ว ท่านก็ยังได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงนำงานสร้างสรรค์ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ของท่านบรัดเลย์ กลับมาพิมพ์เผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง จึงนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ขอจงทรงพระเจริญ
ที่มา: เรื่องเล่าชาวเมืองสยาม
http://storyofsiam.blogspot.com/p/blog-page_02.html
ปล. ตอนเด็กเคยอ่านคำว่า หมอบรัดเลย์ เป็น หมอบ ลัดเลย์ น่ะค่ะ นึกว่าเป็นตำแหน่งนำหน้าเหมือนท่านเซอร์
หมอบรัดเลย์ เรื่องเล่าจากหนังสือประวัติศาสตร์ไทยสู่ละครข้าบดินทร์
จขกท.เลยไปซื้อหนังสือมาอ่าน เจ้าของบทประพันธ์ ได้เล่าเรื่องของหมอบรัดเลย์ไว้สนุกทีเดียว
เลยอยากนำเรื่องราวชีวประวัติของคุณหมอท่านนี้มาแบ่งปันค่ะ
เรื่องเล่าหมอบรัดเลย์ ผู้ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์
หมอบรัดเลย์ เป็นชาวอเมริกัน มีขื่อเต็มว่า “แดน บีช บรัดเลย์” มีอาชีพหลักคือ แพทย์ ที่ชาวบ้านเรียกกันตามลิ้นไทยสมัยโบราณว่า หมอบรัดเลย์ หรือ ปลัดเล มีหมอฝรั่งอีกคนชื่อ “ดร. เฮ้าส์” ชาวบ้านเรียกง่ายๆว่า “หมอเหา” เป็นต้น เช้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
ประวัติชีวิตสั้นๆ ของหมอบรัดเลย์ หรือปลัดเลนี้มีอยู่ว่า ปลัดเล เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2347 (ค.ศ. 1804) เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส ในมลรัฐนิวยอร์ก เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายแดน บรัดเลย์ กับ นางยูนิช บีช บรัดเลย์ เกิดมาได้เพียงวันเดียว แม่ก็เสียชีวิตด้วยโรคโลหิตเป็นพิษ บรัดเลย์สำเร็จการศึกษาสูงสุดเป็น ดร.ทางการแพทย์ และเมื่อคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตท์ รับสมัครมิชชันนารี เพื่อทำการเผยแพร่พระศาสนาจากผู้ที่สำเร็จวิชาแพทย์ บรัดเลย์จึงสมัครเข้าเป็นมิชชันนารีเดินทางมาสู่อุษาคเนย์ พร้อมภารกิจรับใช้พระผู้เป็นเจ้า
การทำงานหน้าที่นี้จำต้องมีผู้ช่วย และมีผู้แนะนำว่า ผู้ช่วยที่ดีที่สุดคือ “เมีย” ดังนั้นบรัดเลย์จึงตัดสินใจแต่งงานกับเด็กสาวชาวเมืองเดียวกันชื่อ “เอมิลี่ รอยส์” ที่มีอายุต่างกว่าเขาเกือบ 10 ปี ก่อนกำหนดการเดินทางมาสู่อุษาคเนย์เพียง 3 เดือน
บรัดเลย์เดินทางออกจากท่าเรือเมืองบอนตัน โดยเรือโดยสารทางมหาสมุทรอินเดีย ใช้เวลาเดินทาง 6 เดือน ฝ่าคลื่นลมในทะเล จนมาขึ้นท่าที่เมืองสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2378 เขาเริ่มทำการศึกษาภาษาไทยอย่างแข็งขัน จนสามารถพูดภาษาไทยได้พอเข้าใจ และเริ่มกำหนดจะเดินทางต่อมายังประเทศไทย
บรัดเลย์เดินทางมาถึงเมืองสยาม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2378 บรัดเลย์เริ่มติดต่อสำนักคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ในสยาม เพื่อหาหลักแหล่งในการลงหลักปักฐานทำงานให้พระศาสนา และได้มีโอกาสสร้างเรือนแพอยู่ที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ (ท้ายพระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี) เขาพยายามสร้างความดีอุทิศตนให้แก่งานและพระผู้เป็นเจ้า ท่ามกลางอุปสรรคนานัปการ
บรัดเลย์กระทำตนเป็นคนดีในสายตาของชาวบ้านอย่างคงเส้นคงวา ไม่ดื่มสุรา หยุดงานวันอาทิตย์เพื่อไปสวดมนต์ที่โบสถ์ ชีวิตของบรัดเลย์มีความสุขควรแก่อัตภาพ เพราะเป็นคนมีลูกมาก เขามีลูกกับเอมิลี่ รอยซ์ 5 คน (เป็นชาย 3 คน หญิง 2 คน) เอมิลี่ รอยซ์ ใช้ชีวิตอยู่กับปลัดเลในเมืองบางกอกนานถึง 10 ปี จึงถึงแก่กรรม (มีบันทึกกล่าวว่า เอมิลี่ถึงแก่กรรมด้วยโรคโลหิตเป็นพิษ เช่นเดียวกับแม่ของบรัดเลย์ที่อเมริกา)
พอสิ้นเมีย บรัดเลย์ไม่อาจจมอยู่กับความเศร้าได้นาน ต้องหอบลูกๆ 5 คน กลับอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2390 และที่อเมริกานี่เอง เขาพบรักใหม่กับญาติห่าง ๆ ของเอมิลี่ รอยซ์ ชื่อ “ซาราห์ แบลชลี่ย์” จึงตัดสินใจแต่งงานกับเธอ แล้วพาเดินทางกลับมาสู่ประเทศสยามอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2392 ครั้งนี้ ปลัดเลมีบุตรกับซาราห์อีก 5 คน เป็นชาย 2 หญิง 3 คน
บรัดเลย์สิ้นชีวิตด้วยโรคฝีในท้อง (วัณโรค) เมื่ออายุได้ 69 ปี ในปีพุทธศักราช 2416 บรัดเลย์เดินทางเข้ามาสู่สยามโดยเส้นทางลำน้ำเจ้าพระยา และวาระสุดท้าย ศพของท่านก็ถูกฝังไว้นิรันดร์ ณ สุสานโปรเตสแตนต์ ยานนาวา ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (บัดนี้ ยังปรากฏอยู่ และบุตรสาวคนเล็กของบรัดเลย์ที่ชื่อ “ไอรีน” ก็มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านละแวกบางกอกใหญ่ ที่บรรดาทหารเรือในละแวกนั้นเรียกเธอว่า “แหม่มหลิน” กลายเป็นชื่อจีนไปเลย) ซึ่งถือว่าเป็น “บรัดเลย์คนสุดท้าย”
คงจะต้องพูดถึงด้านงานที่บรัดเลย์ได้สร้างไว้ให้คนไทยหลายๆอย่าง ท่านเป็นคนแรกที่บุกเบิกความรู้ความคิดใหม่ๆ ถือเป็นคนสำคัญในสังคมไทยคนหนึ่งในยุคนั้น ที่มีความสำเร็จงดงามน่าสรรเสริญ เว้นภารกิจเดียวที่ท่านไม่ประสบความสำเร็จ คือการเผยแพร่ศาสนา เพราะตลอดชีวิตของบรัดเลย์เขาโน้มน้าวให้คนเข้านับถือศาสนาเป็นคริสเตียนได้เพียง 10 คน ขณะที่ผลงานอื่นๆ รุ่งโรจน์งดงาม
ในทางการแพทย์ ท่านเป็นผู้นำในการผ่าตัด การถอนฟัน การรักษาต้อกระจก (ที่ชาวบองกอกในยุคนั้นเป็นกันมาก) การทำเซรุ่มปลูกฝีป้องกันไขทรพิษ (ฝีดาษ) การทำคลอดแบบตะวันตก (ซึ่งแตกต่างจากการทำคลอดแบบไทย ที่ใช้หมอตำแยเป็นคนทำคลอด) และได้แต่งหนังสือคู่มือมารดา ที่เรียกว่า “ครรภ์รักษา” ไว้เป็นความรู้ทางสูตินารีเวช ที่ยังใช้มาจนทุกวันนี้ ในหลักสูตรกุมารแพทย์ของไทย ในหลายสถาบันการแพทย์
ในประวัติศาสตร์การผ่าตัดครั้งแรกของไทยบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2378 ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยการผ่าเอาก้อนเนื้องอกที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งในขณะที่สมัยนั้นยังไม่มียาสลบ แต่การผ่าตัดที่อื้อฉาวที่สุด ซึ้งทำให้คนทั่วไปรู้จักการผ่าตัดคือ
เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2379 งานเฉลิมฉลองวัดประยูรวงศ์ศาวาส ซึ้งสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ บรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ได้สร้างขึ้น ผู้จัดงานต้องการที่จะให้เป็นงานใหญ่ จึงขอยืมปืนใหญ่มา 1 กระบอก เพื่อใช้จุดไฟพะเนียง โดยการเอาโคนกระบอกฝังลงดิน ให้ปลายชี้ขึ้น และอัดดินปืนเข้าไปให้แน่นหวังจะให้เป็นไปพะเนียงที่ยิ่งใหญ่ แต่พอจุดไฟ ปืนใหญ่ก็แตกออก เพราะอัดดินปืนไว้แน่น สะเก็ดกระบอกปืนปลิวว่อน ทำให้คนที่อยู่ใกล้ตายทันที 8 คน และมีผู้บาดเจ็บมากมาย หมอบรัดเลย์ซึ่งเปิดคลีนิคที่อยู่ใกล้เคียงราว 250 เมตร ถูกเรียกตัวมาทันที
คนที่บาดเจ็บเล็กน้อยก็ใช้วิธีใส่ยา แต่ที่เป็นแผลฉกรรจ์ฉีกขาด หมอบรัดเลย์ และคณะแพทย์มิชันนารีลงความเห็นว่าจะต้องตัดแขนและขาทิ้ง คนไทยยุคนั้นไม่เชื่อว่าถ้าถูกตัดแขนและขาออกจะรอดชีวิตได้ แต่มีพระสงฆ์ใจเด็ดรูปหนึ่ง ยอมให้หมอบรัดเลย์ตัดแขน ทั้งๆที่ตอนนั้นยังไม่มียาสลบและยาชา
ในการผ่าตัดครั้งนั้น มีผู้คนมากมาที่เฝ้าดูเหตุการณ์ การผ่าตัดด้วยความตื่นเต้น ก็ทำให้บรรดามิชชันนารีเองก็ตื่นเช่นกัน เพราะถ้าตัดแขนแล้วพระเกิดตายขึ้นมา ก็จะทำให้พวกตนเสียชื่อเสียง ปรากฎว่าพระภิกษุรูปนั้นรอดชีวิต แม้นจะต้องเสียแขนข้างหนึ่งไป รวมทั้งคณะอื่นๆที่ยอมให้มิชชันนารีรักษาก็รอดทุกคน
เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้การแพทย์สมัยใหม่ของมิชชันนารีได้รับการเลื่องลือเป็นอันมาก และทำให้หมอบรัดเลย์ ได้รับการยกย่องในหมู่คนไทยทั่วไป
ในทางสังคม ท่านเป็นผู้บุกเบิกการพิมพ์ของไทย ได้ทำหนังสือพิมพ์ที่มีผลสำคัญ คือหนังสือจดหมายเหตุที่เรียกว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” เมื่อมีงานวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสยาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงออกประกาศมิให้ราษฎรเชื่อฟัง เรื่องที่ตีพิมพ์ในฝรั่ง ทำให้เกิดศัพท์คำว่า “หนังสือพิมพ์” ขณะเดียวกัน เพื่อแถลงข่าวของรัฐบาลเป็นการตอบโต้ จึงมีหนังสือพิมพ์ที่ออกมาเป็น หนังสือพิมพ์ฉบับรากฐานของไทยฉบับแรก (โดยรัฐบาล) มีชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” (ยังคงมีสืบเนื่องกันมานับจากสมัยรัชกาลที่ 4)
การทำหนังสือพิมพ์ของบรัดเลย์ในยุคนั้น ท่านสั่งหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยเข้ามา ตั้งแต่แท่นพิมพ์ที่แพพำนักปากคลองบางกอกใหญ่ โดยใช้หมึกดำทาพิมพ์ แล้วใช้มือหมุนลูกกลิ้งออกมาเป็นแผ่นๆคล้ายใบปลิว มีเรื่องราวเกี่ยวกับข่าว และโฆษณาบ้างเล็กน้อย รวมทั้งบทความวิจารณ์รัฐบาล (บางทีก็รุนแรง) ด้วย
บ้านหมอบรัดเลย์
หนังสือบางกอกรีคอร์เดอร์ในยุคหลังทำเป็นเล่ม เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ ความคิด เป็นปากเสียงแทนราษฎร ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (ราชธิปไตย) จุดจบของหนังสือพิมพ์ของบรัดเลย์ มิใช่ถูกรัฐบาลสยามควบคุม หากเกิดจากการทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐบาลสยาม จากการล่วงละเมิดของกงสุลฝรั่งที่มีชื่อว่า “นายโอบาเรต์” (ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายยากาแรต) จึงกงสุลฝรั่งเศสฟ้อง และยากจะชนะคดี เพราะฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างยิ่งในยุคนั้น รัฐบาลสยามเกรงว่า ฝรั่งเศสจะหาเรื่องลุกลามไปสู่เรื่องอื่นๆ จึงมีพระราชกระแส (ของรัชกาลที่ 4) ห้ามขุนนางไทยไปเบิกความเป็นพยานจำเลย ผลทำให้บรัดเลย์แพ้คดีและถูกศาลบังคับให้ชดใช้สินไหมแก่นายยากาแรต เป็นเงินจำนวนมาก บรัดเลย์ต้องขายทรัพย์สินบางส่วน และอาศัยเงินที่ฝรั่งผู้รักความเป็นธรรมช่วยกันบริจาคช่วยเหลือ ซึ่งในบรรดาผู้ช่วยชำระเงินค่าสินไหมครั้งนั้นที่ไม่เปิดเผยนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวนมากพอสมควรให้แก่บรัดเลย์ด้วย
ความจริงนั้นบรัดเลย์ได้มีโอกาสคบหากับบรรดาเจ้านายและขุนนางสยามมาก่อนเข้าสู่บางกอก ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์มาเป็นลำดับ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานความช่วยเหลือบรัดเลย์ในด้านต่างๆ เว้นแต่เพียงในการเผยแพร่ศาสนา และในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรัดเลย์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าถวายความรู้ภาษาอังกฤษต่อพระองค์ด้วย และในทางกลับกัน ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณหลายประการ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้พระราชทานที่ดินให้อยู่เปล่า ที่ในสวนบางกอกใหญ่ และได้พระทานเงินจำนวนหนึ่งช่วยในพิธีฝังศพบรัดเลย์ด้วย
และแม้ท่านจะสิ้นชีวิตไป 200 ปีกว่าแล้ว ท่านก็ยังได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงนำงานสร้างสรรค์ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ของท่านบรัดเลย์ กลับมาพิมพ์เผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง จึงนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ขอจงทรงพระเจริญ
ที่มา: เรื่องเล่าชาวเมืองสยาม
http://storyofsiam.blogspot.com/p/blog-page_02.html
ปล. ตอนเด็กเคยอ่านคำว่า หมอบรัดเลย์ เป็น หมอบ ลัดเลย์ น่ะค่ะ นึกว่าเป็นตำแหน่งนำหน้าเหมือนท่านเซอร์