“มณีจันทร์..ลูกลองบอกพ่อสิว่า
ครั้งหนึ่งหอไอเฟลเคยอยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยา”
ทวิภพ เวอร์ชั่นของสุรพงษ์ พินิจค้า ที่ใช้รายละเอียดทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในยุครัตนโกสินทร์ช่วงสมัย ร.4 ซึ่งเราพยายามหาพื้นที่ใกล้เคียงในหนังมากที่สุด บางจุดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา..อยากให้อ่านรีวิวแล้วนึกถึงคำพูดของตัวละครในหนังตามไปด้วยจะได้อินเข้าไปอีก เลื่อนอ่านได้เลย
“หล่อนชื่อมณีจันทร์ขอรับ..อยู่ๆก็มีคนพบหล่อนที่นี่ หล่อนยืนยันว่าเป็นชาวสยามเกิดที่ฝั่งธนบุรี หล่อนใช้คำว่าฝั่งธนฯขอรับ”
ในหนังตอนต้นเรื่องมณีจันทร์ตื่นมาโผล่ที่บ้านหมอบรัดเลย์ ก่อนที่จะวิ่งหนีออกมาผงะกับพระปรางค์วัดอรุณฯ ซึ่งในความจริงบ้านพักและโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ อยู่ใกล้ๆกับ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ในเขตพระราชวังเดิม..และแต่ก่อนพื้นที่วัดอรุณฯก็ถือว่าอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรีด้วย บ้านหมอบรัดเลย์ ตอนนี้ไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว ส่วนพื้นที่ตั้งปัจจุบันเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ
วัดอรุณฯ ปรากฎในหนังหลายครั้งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ที่อยู่คงทนต่อกาลเวลา ปัจจุบันองค์พระปรางค์ได้รับการบูรณะใหม่เป็นสีขาวใกล้เคียงกับภาพในหนัง ตรงชั้น2ของพระปรางค์จะมองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาและวิวฝั่งพระนคร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ปิดเวลา18.00น. นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม50บาท คนไทยเข้าฟรี
“ลองจิจูดที่ 0 องศา ในเวลานั้นอยู่ที่หอดูเวลาของชาวสยาม
...สร้างเสร็จก่อนหอนาฬิกาบิ๊กเบน2ปี บางกอกมีนไทม์ เท่มั้ยล่ะ??”
ในทวิภพ กล่าวถึงทฤษฎีลองจิจูดที่ 0 องศา ว่าสยามมีเวลาใช้เองก่อนที่จะมีเวลามาตรฐานโลก พระอภิเนาว์นิเวศน์ เป็นหมู่ราชมณเฑียร สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 4 มี พระที่นั่งภูวดลทัศไนย เป็นหอนาฬิกาที่สร้างขึ้นตรงตามเวลามาตรฐานโลก จากการคำนวนทางวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ 4 ต่อมาถูกรื้อในสมัยรัชกาลที่5 ภาพถ่ายหอนาฬิกาที่เราถ่ายมานี้อยู่ในสวนเจ้าเชตุ ตรงข้ามวัดโพธิ์ มีความคล้ายกับหอภูวดลฯ ข้างๆมีหอกลองไว้สำหรับตีบอกเวลาและเหตุต่างๆที่สำคัญ
“ถนนใหม่ใกล้วังหลวง เกิดขึ้นพร้อมกับโลกใหม่ เตรียมรับมือกับพวกมาใหม่
การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่การสูญเสียนะพ่อเทพ ตรองดูด้วยปัญญาให้ดีเถอะ”
สมัยก่อนสนามไชยเป็นถนนที่ประชาชนมาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ที่จะเสด็จฯ ออกมหาสมาคมที่บริเวณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เป็นหนึ่งในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ในรัชกาลที่ 4 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบันไม่โดนรื้อ จากถนนสนามไชย เดินตรงไปเรื่อยๆจะตัดกับถนนราชดำเนิน ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น กระทรวงกลาโหม สวนสราญรมย์ ศาลหลักเมือง
“ในสมัยของฉัน ชาวสยามอ่านออกเขียนได้ทุกคนเจ้าค่ะ
..ชาวสยามอ่านออกเขียนได้ เจ้าเพ้อถึงอนาคตอีกแล้ว ทุกคนฉลาดหมดใช่ไหม บ้านเมืองคงวุ่นวายกัน
”
ในหนังมีพูดถึงหอหนังสือซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับในวังหลวง คลังแห่งปัญญาที่ตั้งอยู่ในหอดูเวลาของชาวสยาม ปัจจุบันแม้จะถูกรื้อไปพร้อมกับหอนาฬิกาแล้ว...แต่เรายังโชคดีที่ระหว่างทางเดินไปถนนราชดำเนิน มี หอสมุดเมืองกรุงเทพฯ ที่ใครๆก็สามารถเข้าไปอ่านได้ เพียงแค่สแกนบัตรประจำตัวประชาชน ข้างในแบ่งออกเป็น 4 ชั้น มีห้องฉายภาพยนตร์ ห้องนิทรรศการ ห้องค้นคว้า บรรยากาศเงียบคนไม่เยอะ มีห้องสำหรับเด็กด้วย เปิดให้บริการจนถึงเวลา 21.00น. สามารถทำเรื่องยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ด้วย
ฝากติดตามและดูรีวิวท่องเที่ยวอื่นๆที่เพจ
https://www.facebook.com/Alonereview/
เดินทางข้ามเวลาตามรอยหนัง ทวิภพ | The Siam Renaissance
ครั้งหนึ่งหอไอเฟลเคยอยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยา”
ทวิภพ เวอร์ชั่นของสุรพงษ์ พินิจค้า ที่ใช้รายละเอียดทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในยุครัตนโกสินทร์ช่วงสมัย ร.4 ซึ่งเราพยายามหาพื้นที่ใกล้เคียงในหนังมากที่สุด บางจุดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา..อยากให้อ่านรีวิวแล้วนึกถึงคำพูดของตัวละครในหนังตามไปด้วยจะได้อินเข้าไปอีก เลื่อนอ่านได้เลย
“หล่อนชื่อมณีจันทร์ขอรับ..อยู่ๆก็มีคนพบหล่อนที่นี่ หล่อนยืนยันว่าเป็นชาวสยามเกิดที่ฝั่งธนบุรี หล่อนใช้คำว่าฝั่งธนฯขอรับ”
ในหนังตอนต้นเรื่องมณีจันทร์ตื่นมาโผล่ที่บ้านหมอบรัดเลย์ ก่อนที่จะวิ่งหนีออกมาผงะกับพระปรางค์วัดอรุณฯ ซึ่งในความจริงบ้านพักและโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ อยู่ใกล้ๆกับ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ในเขตพระราชวังเดิม..และแต่ก่อนพื้นที่วัดอรุณฯก็ถือว่าอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรีด้วย บ้านหมอบรัดเลย์ ตอนนี้ไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว ส่วนพื้นที่ตั้งปัจจุบันเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ
วัดอรุณฯ ปรากฎในหนังหลายครั้งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ที่อยู่คงทนต่อกาลเวลา ปัจจุบันองค์พระปรางค์ได้รับการบูรณะใหม่เป็นสีขาวใกล้เคียงกับภาพในหนัง ตรงชั้น2ของพระปรางค์จะมองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาและวิวฝั่งพระนคร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ปิดเวลา18.00น. นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม50บาท คนไทยเข้าฟรี
...สร้างเสร็จก่อนหอนาฬิกาบิ๊กเบน2ปี บางกอกมีนไทม์ เท่มั้ยล่ะ??”
ในทวิภพ กล่าวถึงทฤษฎีลองจิจูดที่ 0 องศา ว่าสยามมีเวลาใช้เองก่อนที่จะมีเวลามาตรฐานโลก พระอภิเนาว์นิเวศน์ เป็นหมู่ราชมณเฑียร สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 4 มี พระที่นั่งภูวดลทัศไนย เป็นหอนาฬิกาที่สร้างขึ้นตรงตามเวลามาตรฐานโลก จากการคำนวนทางวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ 4 ต่อมาถูกรื้อในสมัยรัชกาลที่5 ภาพถ่ายหอนาฬิกาที่เราถ่ายมานี้อยู่ในสวนเจ้าเชตุ ตรงข้ามวัดโพธิ์ มีความคล้ายกับหอภูวดลฯ ข้างๆมีหอกลองไว้สำหรับตีบอกเวลาและเหตุต่างๆที่สำคัญ
การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่การสูญเสียนะพ่อเทพ ตรองดูด้วยปัญญาให้ดีเถอะ”
สมัยก่อนสนามไชยเป็นถนนที่ประชาชนมาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ที่จะเสด็จฯ ออกมหาสมาคมที่บริเวณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เป็นหนึ่งในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ในรัชกาลที่ 4 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบันไม่โดนรื้อ จากถนนสนามไชย เดินตรงไปเรื่อยๆจะตัดกับถนนราชดำเนิน ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น กระทรวงกลาโหม สวนสราญรมย์ ศาลหลักเมือง
“ในสมัยของฉัน ชาวสยามอ่านออกเขียนได้ทุกคนเจ้าค่ะ
..ชาวสยามอ่านออกเขียนได้ เจ้าเพ้อถึงอนาคตอีกแล้ว ทุกคนฉลาดหมดใช่ไหม บ้านเมืองคงวุ่นวายกัน”
ในหนังมีพูดถึงหอหนังสือซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับในวังหลวง คลังแห่งปัญญาที่ตั้งอยู่ในหอดูเวลาของชาวสยาม ปัจจุบันแม้จะถูกรื้อไปพร้อมกับหอนาฬิกาแล้ว...แต่เรายังโชคดีที่ระหว่างทางเดินไปถนนราชดำเนิน มี หอสมุดเมืองกรุงเทพฯ ที่ใครๆก็สามารถเข้าไปอ่านได้ เพียงแค่สแกนบัตรประจำตัวประชาชน ข้างในแบ่งออกเป็น 4 ชั้น มีห้องฉายภาพยนตร์ ห้องนิทรรศการ ห้องค้นคว้า บรรยากาศเงียบคนไม่เยอะ มีห้องสำหรับเด็กด้วย เปิดให้บริการจนถึงเวลา 21.00น. สามารถทำเรื่องยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ด้วย
ฝากติดตามและดูรีวิวท่องเที่ยวอื่นๆที่เพจ
https://www.facebook.com/Alonereview/