ในช่วงเวลาที่กำลังรอซับตอนที่ 4 อยากเขียนอะไรซักนิดนึงถึงละครเรื่องนี้ HERO จากปี 2001 - 2014 จะว่าในช่วงที่เป็นภาคพิเศษ หรือ ภาค movie ก็ไม่ถึงขั้นเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรมากนะ แต่พอดู HERO 2014 สามสี่ตอนแรกก็รู้สึกว่า อ้อ นี่สินะ ศาสตร์และศิลป์ของการทำซีรีย์ญี่ปุ่น ไม่ใช่ว่าเรื่องอื่นไม่มีนะ แต่เรื่องนี้เป็นการสะท้อน การชี้นำ การสร้างสรรค์สังคม in everyday life ประชาชนคนเดินดินธรรมดานี่แหละ ไม่ใช่ super hero ไม่ใช่ยากจนข่นแค้น ไม่ต้องแซ่บ ร้าย ๆ แรง ๆ คือเล่าเรื่อง "คน" คนที่เราพบเจอเขาตามถนนหนทางนี่ล่ะ และ รู้สึกด้วยว่าความคมคายของบทนั้นเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
HERO นับแต่ก่อนแต่เก่านั้นตอกย้ำความคิดอยู่ข้อหนึ่ง คือ ผู้ที่เป็น HERO ไม่จำเป็นต้องเก่งเว่อร์ ดีเว่อร์ เทพเว่อร์ หรือ มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งเว่อร์ ๆ HERO จะเป็นใครก็ได้อาจจะเป็นฉันอาจจะเป็นเธอ แต่ที่แน่ ๆ คือ เป็นคนที่ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างสุดความสามารถ จุดแข็งแรงของเรื่องอยู่ตรงนี้ HERO เลือกเล่าเรื่องผ่านอัยการเด็กแนวที่ไม่มีอะไรเข้ากันกับอัยการที่เรารู้จักกันดีเลย อัยการจบมหาลัยดัง ตานี่เรียนกศน.มาต่อกฎหมาย อัยการใส่สูท หมอนี่ใส่ยีนส์ อัยการนั่งโต๊ะ หมอนี่เดินคุ้ยหลักฐานเป็นว่าเล่น ซึ่งเป็นความกล้า และ ความแปลกใหม่อย่างหนึ่งในยุคนั้น (ในกาลต่อมา เราจึงเจอทั้งหมอสนามเด็กแนว เจ้าของร้านอาหารซึ่งเป็นนักดนตรีร็อค แม้กระทั่งสาวพั๊งค์ที่ผันตัวไปเป็นแอร์ฯ)
และจากความแปลกก็กลายเป็นความ "ทึ่ง" ทั้งของผู้คนในสำนักงาน และ คนดู เพราะอัยการนุ่งยีนส์ใส่เสื้อยืดคนนี้นี่แหละโชว์อะไรที่คาดไม่ถึงกับคณะทำงานสำนักงานอัยการกลางโตเกียว และ จากความทึ่งอันนั้น "ไฟ" ของการทำงานก็ลุกโชนขึ้นมาอีกรอบ เรียกว่า "คุริว" ปลุกความเป็น HERO ในตัวใครหลาย ๆ คนในสำนักงานอัยการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แต่กระนั้น "คุริว" ก็ยังไม่ใช่คนที่ถูกขานนามว่าเก่งเลิศเลอเพอเฟ็คในสำนักงานอยู่ดี จริง ๆ ที่สุดแล้ว ... จะสังเกตได้เลยว่าแทบไม่รู้สึกว่ามีการเปรียบเทียบนะว่า "ใคร" ทำงาน "เก่ง" กว่าใคร เมื่องานสำเร็จลุล่วงไปได้ก็เพราะความร่วมมือ ถึงปากจะบ่นนู่นนี่ แต่มือก็ทำ ถึงปากจะบอกว่าจะไปทำผม ไม่ได้เจอลูกมาหลายวันแล้ว แต่ถามว่าอยู่ออฟฟิศไหม ? ก็อยู่ ถึงจะจิกกัดกันได้ทุกเบรค และ แอบกอสสิปกันในห้องน้ำ หรือ เม้าท์มอยว่าคนนั้นคนนี้ได้หน้า ... แต่มีใครคิดอาฆาตจริงจังกับมันไหม ? ก็เปล่า เพราะต่างคนต่างทำหน้าที่เต็มความสามารถและผลงานที่ออกมาสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ... สิ่งนี้ คือ ความเปลี่ยนแปลงที่ "คุริว" นำติดตัวจากอาโอโมริสู่สำนักงานอัยการกลางโตเกียว จากเกาะอิชิกากิไปถึงการสืบคดีที่เกาหลี
ในปีล่าสุดนี้ "คุริว โคเฮย์" หวนกลับมาที่สำนักงานอัยการกลางโตเกียวอีกครั้ง และ คุณฟุคุดะ ก็มีกลวิธีการเล่าเรื่องที่ไม่ทิ้งกลิ่นอายของ HERO ที่มี office sacasm เล็ก ๆ บรรยากาศยังเหมือนเดิม แต่ลุ่มลึกต่างจากเดิม HERO จริง ๆ แล้วจะว่าไปถือเป็นความสมบูร์ในการทำละครอาชีพ+คอเมดี้จิกกัด เล่าเรื่องหนักสาหัสให้เป็นความขำขัน ดึงคนดูสู่ความทึ่งในอัยการเด็กแนวขาโจ๋คนนี้ ซึ่งคิมุระ ทาคุยะ ถ่ายทอดความเป็น "คุริว" ได้ดีมาก "คุริว" ก็ยังคงเป็นคุริวแม้สิบกว่าปีผ่านไป อย่างไรก็ตาม "ความแหวก" ของคุริวที่เคยเป็นจุดขาย มันกลายเป็นการเล่าเรื่องที่ "เก่า" แล้วล่ะ เนื่องจากคาแร็คเตอร์ชนิดเดียวกันนี้ผุดขึ้นมาในละครหลากหลายเรื่องมาก ๆ
ซึ่งคุณฟุคุดะ ยาสึชิ อาศัยความแข็งแรงของคาแร็คเตอร์คุริวนี้ให้เป็นประโยชน์ เราว่านี่คือเหตุผลหนึ่งที่ไม่ใช้ทีมอัยการเก่าแสดง เพราะ คนเหล่านั้น "รู้จัก" คุริวเป็นอย่างดี แต่ก็ทิ้งเชื้อคนเก่าไว้บ้างเอาไว้ปูพื้นเชื่อมต่อกับคาแร็คเตอร์เดิมที่คนคิดถึง (กอสสิปลากไส้ และ affiar ในที่ทำงานยังตรึงใจนะ sacasm มาก ๆ) เมื่อวางกลวิธีไว้เช่นนี้คนดูรุ่นใหม่สามารถ "ทึ่ง" ไปกับความเป็น "คุริว" พร้อมกับทีมอัยการใหม่ และ คนดูรุ่นเก่าก็พร้อมที่จะตบเข่าฉาดแล้วบอกว่า "ไหมล่ะ ..... นี่ล่ะตัวพ่อขนานแท้และดั้งเดิม คุริ โคเฮย์ ไงล่ะ รู้ไว้ซะนะพวกเธอว์"
นอกจากนั้นสิ่งที่น่าประทับใจอีกประการหนึ่งที่เห็นในสองสามตอนแรกนี้ แน่นอนว่าหลักการยังคงเหมือนเดิม คดีไม่มีเล็กไม่มีใหญ่ และ ใคร ๆ ก็เป็น HERO ได้ everyday life HERO ทำนองนั้น หากสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือความเฉียบคมในบท การเติบโตของคุริว .... คือก่อนหน้านั้นก็ไม่ใช่ว่าเด็กน้อยหรืออะไร แต่มันยังหลุด ๆ ความห้าว HERO สายบู๊อยู่พอสมควร แต่มาวันนี้ คุริว Calm and Collect มากขึ้น เป็นบทที่เติบโตไปตามอายุคนเล่น รวมถึงวัยวุฒิและประสบการณ์ที่ตัวละครผ่านมาก็ 10 กว่าปีนี่นะ คุริววันนี้รู้จักใช้ความนิ่ง รู้จักที่จะยื่นมือเข้าสอดอย่างแนบเนียนในบางเหตุการณ์ แต่ไม่เพียงเท่านั้น .... เรื่องราวที่ผ่านสายตาคุริวไปไกลกว่าการผดุงความยุติธรรมในสังคม การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือ สิ่งใด ๆ ซึ่งอยู่ภายนอก
ในวันนี้ HERO สื่อให้มีการมองย้อนเข้าไปในพื้นฐานที่สำคัญที่สุด คือ ปัจเจกบุคคล ย้ำเตือนไม่ใช่เฉพาะผู้บังคับใช้กฎหมายเท่านั้นแต่รวมถึงผู้กระทำความผิดให้มองย้อนเข้าไปในตัวเอง เราหลงลืมคุณค่าอะไรบางอย่างไปหรือเปล่า ? เราละเลยเพิกเฉยกับการกระทำของตัวเองไปหรือเปล่า ? สิ่งเหล่านี้สื่อสารผ่านบทสนทนาปลายเปิดที่คมคายให้คนดูกลับไปคิดตีความ ไม่ใช่คำพูดสวย ๆ เก๋ ๆ ออกจะ realistic ด้วยซ้ำ หมายถึงว่าเป็นสิ่งที่เราอ่านอยู่ในข่าวทุกเมื่อเชื่อวัน แต่เมื่อดูในละครที่ทำออกมาในลักษณะจำลองความจริง (ไม่แฟนตาซี) มันก็สร้าง impact อะไรได้บางอย่างนะ เหมือนเรารู้อยู่แล้วล่ะ หลายอย่าง แต่ .... เราตระหนักถึงความร้ายแรงของมันจริงหรือไม่ ?
ปกติทั่วไปแล้วถ้าพูดถึงละครพร้อมสาระคนดี๊คนดีก็จะฟังหน้าเบื่อ หรือ หากสะท้อนสังคมก็จับด้านมืดตีแผ่สมจริงให้อึ่งทึ่งเสียวกันไป คือไปในแนวทางสุดโต่งกันทั้งหมดน่ะนะ ซึ่งส่วนตัวแล้วอยากเห็นพัฒนาการทางบทของไทยแบบเรื่อง HERO นี่บ้าง หมายถึงว่า เราไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งได้รึเปล่า เล่าเรื่องหนักให้ขำแต่สาระยังอยู่ เล่าเรื่องคนธรรมดาพลิกแง่มุมบางอย่างขึ้นมาด้วยบทสนทนาปลายเปิดจะเป็นไปได้ไหม (เอ๊ะ ดาราดัง ๆ เค้าจะรับเล่นบทแบบนี้ไหมนะ ไม่ค่อยแน่ใจ) คือ อยากเห็น การสะท้อนสังคม จรรโลงสังคม ชี้นำสังคม สร้างสรรค์สังคม อยู่ในเรื่องเดียวกัน แบบที่ไม่ต้องรอให้เห็นตอนจบเรื่องประมาณนั้น อย่าง HERO นี่ ... ในตอนเดียวกัน สะท้อน จรรโลง ชี้นำ สร้างสรรค์ มาครบ เพราะหยอดเป็นระยะ ๆ ทิ้งไว้ตรงบทสนทนา ทิ้งไว้ระหว่างสีหน้าท่าทางของตัวละคร เอ๊ะ .... ตัวละครตัวนี้พูดมามันถูกไหมหว่า ? ทำไมตัวละครอีกตัวในฉากเดียวกันทำหน้าอย่างนั้นนะ เขารู้สึกอะไรกับคำพูดนั้นรึเปล่า ?
สรุปแล้ว 13 ปีผ่านมาดู HERO เป็นระยะ ๆ 2001 2006 2007 2014 พัฒนการมาเรื่อย ๆ และ มาลุ่มลึกในเรื่องการมองย้อนเข้าไปในตัวคนในปี 2014 นี้ จากความขำแบบ black comedy มาถึง calm and collect style ทั้งละคร HERO และ คุริว โคเฮย์ ในปี 2014 ติดตามรอคุริว และ อามามิยะ ไมโกะ ต่อไป
(ซีรีย์ญี่ปุ่น) HERO 2014 : ที่เห็นและเป็นไป พัฒนาการของบทละคร HERO .... Calm Collect and Kuryu Kohei
HERO นับแต่ก่อนแต่เก่านั้นตอกย้ำความคิดอยู่ข้อหนึ่ง คือ ผู้ที่เป็น HERO ไม่จำเป็นต้องเก่งเว่อร์ ดีเว่อร์ เทพเว่อร์ หรือ มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งเว่อร์ ๆ HERO จะเป็นใครก็ได้อาจจะเป็นฉันอาจจะเป็นเธอ แต่ที่แน่ ๆ คือ เป็นคนที่ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างสุดความสามารถ จุดแข็งแรงของเรื่องอยู่ตรงนี้ HERO เลือกเล่าเรื่องผ่านอัยการเด็กแนวที่ไม่มีอะไรเข้ากันกับอัยการที่เรารู้จักกันดีเลย อัยการจบมหาลัยดัง ตานี่เรียนกศน.มาต่อกฎหมาย อัยการใส่สูท หมอนี่ใส่ยีนส์ อัยการนั่งโต๊ะ หมอนี่เดินคุ้ยหลักฐานเป็นว่าเล่น ซึ่งเป็นความกล้า และ ความแปลกใหม่อย่างหนึ่งในยุคนั้น (ในกาลต่อมา เราจึงเจอทั้งหมอสนามเด็กแนว เจ้าของร้านอาหารซึ่งเป็นนักดนตรีร็อค แม้กระทั่งสาวพั๊งค์ที่ผันตัวไปเป็นแอร์ฯ)
และจากความแปลกก็กลายเป็นความ "ทึ่ง" ทั้งของผู้คนในสำนักงาน และ คนดู เพราะอัยการนุ่งยีนส์ใส่เสื้อยืดคนนี้นี่แหละโชว์อะไรที่คาดไม่ถึงกับคณะทำงานสำนักงานอัยการกลางโตเกียว และ จากความทึ่งอันนั้น "ไฟ" ของการทำงานก็ลุกโชนขึ้นมาอีกรอบ เรียกว่า "คุริว" ปลุกความเป็น HERO ในตัวใครหลาย ๆ คนในสำนักงานอัยการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แต่กระนั้น "คุริว" ก็ยังไม่ใช่คนที่ถูกขานนามว่าเก่งเลิศเลอเพอเฟ็คในสำนักงานอยู่ดี จริง ๆ ที่สุดแล้ว ... จะสังเกตได้เลยว่าแทบไม่รู้สึกว่ามีการเปรียบเทียบนะว่า "ใคร" ทำงาน "เก่ง" กว่าใคร เมื่องานสำเร็จลุล่วงไปได้ก็เพราะความร่วมมือ ถึงปากจะบ่นนู่นนี่ แต่มือก็ทำ ถึงปากจะบอกว่าจะไปทำผม ไม่ได้เจอลูกมาหลายวันแล้ว แต่ถามว่าอยู่ออฟฟิศไหม ? ก็อยู่ ถึงจะจิกกัดกันได้ทุกเบรค และ แอบกอสสิปกันในห้องน้ำ หรือ เม้าท์มอยว่าคนนั้นคนนี้ได้หน้า ... แต่มีใครคิดอาฆาตจริงจังกับมันไหม ? ก็เปล่า เพราะต่างคนต่างทำหน้าที่เต็มความสามารถและผลงานที่ออกมาสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ... สิ่งนี้ คือ ความเปลี่ยนแปลงที่ "คุริว" นำติดตัวจากอาโอโมริสู่สำนักงานอัยการกลางโตเกียว จากเกาะอิชิกากิไปถึงการสืบคดีที่เกาหลี
ในปีล่าสุดนี้ "คุริว โคเฮย์" หวนกลับมาที่สำนักงานอัยการกลางโตเกียวอีกครั้ง และ คุณฟุคุดะ ก็มีกลวิธีการเล่าเรื่องที่ไม่ทิ้งกลิ่นอายของ HERO ที่มี office sacasm เล็ก ๆ บรรยากาศยังเหมือนเดิม แต่ลุ่มลึกต่างจากเดิม HERO จริง ๆ แล้วจะว่าไปถือเป็นความสมบูร์ในการทำละครอาชีพ+คอเมดี้จิกกัด เล่าเรื่องหนักสาหัสให้เป็นความขำขัน ดึงคนดูสู่ความทึ่งในอัยการเด็กแนวขาโจ๋คนนี้ ซึ่งคิมุระ ทาคุยะ ถ่ายทอดความเป็น "คุริว" ได้ดีมาก "คุริว" ก็ยังคงเป็นคุริวแม้สิบกว่าปีผ่านไป อย่างไรก็ตาม "ความแหวก" ของคุริวที่เคยเป็นจุดขาย มันกลายเป็นการเล่าเรื่องที่ "เก่า" แล้วล่ะ เนื่องจากคาแร็คเตอร์ชนิดเดียวกันนี้ผุดขึ้นมาในละครหลากหลายเรื่องมาก ๆ
ซึ่งคุณฟุคุดะ ยาสึชิ อาศัยความแข็งแรงของคาแร็คเตอร์คุริวนี้ให้เป็นประโยชน์ เราว่านี่คือเหตุผลหนึ่งที่ไม่ใช้ทีมอัยการเก่าแสดง เพราะ คนเหล่านั้น "รู้จัก" คุริวเป็นอย่างดี แต่ก็ทิ้งเชื้อคนเก่าไว้บ้างเอาไว้ปูพื้นเชื่อมต่อกับคาแร็คเตอร์เดิมที่คนคิดถึง (กอสสิปลากไส้ และ affiar ในที่ทำงานยังตรึงใจนะ sacasm มาก ๆ) เมื่อวางกลวิธีไว้เช่นนี้คนดูรุ่นใหม่สามารถ "ทึ่ง" ไปกับความเป็น "คุริว" พร้อมกับทีมอัยการใหม่ และ คนดูรุ่นเก่าก็พร้อมที่จะตบเข่าฉาดแล้วบอกว่า "ไหมล่ะ ..... นี่ล่ะตัวพ่อขนานแท้และดั้งเดิม คุริ โคเฮย์ ไงล่ะ รู้ไว้ซะนะพวกเธอว์"
นอกจากนั้นสิ่งที่น่าประทับใจอีกประการหนึ่งที่เห็นในสองสามตอนแรกนี้ แน่นอนว่าหลักการยังคงเหมือนเดิม คดีไม่มีเล็กไม่มีใหญ่ และ ใคร ๆ ก็เป็น HERO ได้ everyday life HERO ทำนองนั้น หากสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือความเฉียบคมในบท การเติบโตของคุริว .... คือก่อนหน้านั้นก็ไม่ใช่ว่าเด็กน้อยหรืออะไร แต่มันยังหลุด ๆ ความห้าว HERO สายบู๊อยู่พอสมควร แต่มาวันนี้ คุริว Calm and Collect มากขึ้น เป็นบทที่เติบโตไปตามอายุคนเล่น รวมถึงวัยวุฒิและประสบการณ์ที่ตัวละครผ่านมาก็ 10 กว่าปีนี่นะ คุริววันนี้รู้จักใช้ความนิ่ง รู้จักที่จะยื่นมือเข้าสอดอย่างแนบเนียนในบางเหตุการณ์ แต่ไม่เพียงเท่านั้น .... เรื่องราวที่ผ่านสายตาคุริวไปไกลกว่าการผดุงความยุติธรรมในสังคม การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือ สิ่งใด ๆ ซึ่งอยู่ภายนอก
ในวันนี้ HERO สื่อให้มีการมองย้อนเข้าไปในพื้นฐานที่สำคัญที่สุด คือ ปัจเจกบุคคล ย้ำเตือนไม่ใช่เฉพาะผู้บังคับใช้กฎหมายเท่านั้นแต่รวมถึงผู้กระทำความผิดให้มองย้อนเข้าไปในตัวเอง เราหลงลืมคุณค่าอะไรบางอย่างไปหรือเปล่า ? เราละเลยเพิกเฉยกับการกระทำของตัวเองไปหรือเปล่า ? สิ่งเหล่านี้สื่อสารผ่านบทสนทนาปลายเปิดที่คมคายให้คนดูกลับไปคิดตีความ ไม่ใช่คำพูดสวย ๆ เก๋ ๆ ออกจะ realistic ด้วยซ้ำ หมายถึงว่าเป็นสิ่งที่เราอ่านอยู่ในข่าวทุกเมื่อเชื่อวัน แต่เมื่อดูในละครที่ทำออกมาในลักษณะจำลองความจริง (ไม่แฟนตาซี) มันก็สร้าง impact อะไรได้บางอย่างนะ เหมือนเรารู้อยู่แล้วล่ะ หลายอย่าง แต่ .... เราตระหนักถึงความร้ายแรงของมันจริงหรือไม่ ?
ปกติทั่วไปแล้วถ้าพูดถึงละครพร้อมสาระคนดี๊คนดีก็จะฟังหน้าเบื่อ หรือ หากสะท้อนสังคมก็จับด้านมืดตีแผ่สมจริงให้อึ่งทึ่งเสียวกันไป คือไปในแนวทางสุดโต่งกันทั้งหมดน่ะนะ ซึ่งส่วนตัวแล้วอยากเห็นพัฒนาการทางบทของไทยแบบเรื่อง HERO นี่บ้าง หมายถึงว่า เราไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งได้รึเปล่า เล่าเรื่องหนักให้ขำแต่สาระยังอยู่ เล่าเรื่องคนธรรมดาพลิกแง่มุมบางอย่างขึ้นมาด้วยบทสนทนาปลายเปิดจะเป็นไปได้ไหม (เอ๊ะ ดาราดัง ๆ เค้าจะรับเล่นบทแบบนี้ไหมนะ ไม่ค่อยแน่ใจ) คือ อยากเห็น การสะท้อนสังคม จรรโลงสังคม ชี้นำสังคม สร้างสรรค์สังคม อยู่ในเรื่องเดียวกัน แบบที่ไม่ต้องรอให้เห็นตอนจบเรื่องประมาณนั้น อย่าง HERO นี่ ... ในตอนเดียวกัน สะท้อน จรรโลง ชี้นำ สร้างสรรค์ มาครบ เพราะหยอดเป็นระยะ ๆ ทิ้งไว้ตรงบทสนทนา ทิ้งไว้ระหว่างสีหน้าท่าทางของตัวละคร เอ๊ะ .... ตัวละครตัวนี้พูดมามันถูกไหมหว่า ? ทำไมตัวละครอีกตัวในฉากเดียวกันทำหน้าอย่างนั้นนะ เขารู้สึกอะไรกับคำพูดนั้นรึเปล่า ?
สรุปแล้ว 13 ปีผ่านมาดู HERO เป็นระยะ ๆ 2001 2006 2007 2014 พัฒนการมาเรื่อย ๆ และ มาลุ่มลึกในเรื่องการมองย้อนเข้าไปในตัวคนในปี 2014 นี้ จากความขำแบบ black comedy มาถึง calm and collect style ทั้งละคร HERO และ คุริว โคเฮย์ ในปี 2014 ติดตามรอคุริว และ อามามิยะ ไมโกะ ต่อไป