ในชีวิตของพวกเราทุกๆคน ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมต้องเจอกับสภาวะปัญหาต่างๆมากมายอยู่เรื่อยๆตลอดชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก เดือดร้อน เผาผลาญทั้งจิตใจและร่างกาย ในกรณีที่ยังไม่มีสติปัญญาหรือปัจจัยเงื่อนไขเพียงพอที่จะขจัดความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็จำเป็นต้องควักความอดทนออกมาใช้ต่อสู้ไปก่อน ไม่งั้นก็จะล้มเหลว พ่ายแพ้
การใช้ความอดทน ปกติใครๆก็ไม่ชอบ เพราะเหมือนกับเอากายและใจไปอยู่ในกองไฟแท้ๆ แต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ หลีกเลี่ยงไม่ได้
ความอดทน หรือ ขันติ เป็นบารมีหนึ่งในบารมี ๑๐ ด้วย
พวกเราที่เป็นนักปฏิบัติธรรมส่วนมาก ก็เป็นบุคคลประเภทเนยยะ แทบไม่มีที่เป็น อุคติตัญญู หรือ วิปจิตัญญู ซึ่งจะบรรลุธรรมกันได้ง่ายๆ ดังนั้น เมื่อฝึกปฏิบัติธรรม สำหรับคนเอาจริงเอาจัง ก็ต้องใช้ความอดทนกันมากๆกันทุกๆคน ไม่ว่าจะทนเดินนานๆ นั่งนานๆ หรืออดอาหาร อดนอน ต่างๆนานา
ไม่มีเจตสิกหรืออาการของจิตที่เรียกว่า ขันติเจตสิก เพราะความอดทนเกิดจากการทำงานร่วมกันของเจตสิกหลายๆตัว ดังนั้น การฝึกความอดทนจึงค่อนข้างยาก
ในการต่อสู้ หรือการแข่งขัน หรือการทำงานยากๆซึ่งมีปัญหาและอุปสรรคมากกมาย ... ใครที่อดทนได้มากกว่า ดีกว่า ย่อมชนะ และประสบความสำเร็จในที่สุด
คำถามก็คือ แล้วจะทำยังไง ให้การฝึกความอดทน มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทนได้มากขึ้น แต่ทนได้ง่ายขึ้น ความทุกข์น้อยลง สามารถทนทุกข์มากๆได้แบบเหนือกว่าปกติ หรือเหนือกว่าคนธรรมดาทั่วๆไปได้เยอะขึ้น ??
คำตอบ..เท็คนิควิธีการฝึกความอดทน ให้มีประสิทธิภาพมากๆขึ้น ไม่ว่าจะต่อสู้กับความทุกข์ทางกายหรือทางใจหรือทั้งสองอย่าง ... ทำดังนี้ คือ ..
ขณะที่กำลังต่อสู้กับความทุกข์แบบตรงๆ ซึ่งๆหน้า แบบแลกหมัดกัน ตาต่อตาฟันต่อฟัน ใครดีใครอยู่ นั้น ...
ให้กำหนดจิตเพ่งมาที่ตัวเฉยๆ กลางๆ เพ่งกำหนดจี้แน่วแน่ตรงจุดนี้อย่าลดละ แบบเดียวกับการฝึกสมาธิ นั่นเอง ซึ่งถ้ากำหนดจี้ดีๆ ถูกจังหวะ บางทีจิตอาจจะรวมวูบลงเป็นสมาธิไปเลยก็ได้ สบายไปเลย ไม่ต้องทนอะไรอีก ...แต่ถ้าจิตยังไม่รวม ก็พยายามกำหนดจี้ตรงจุดที่รู้สึกเฉยๆกลางๆนี้ไว้ตลอด อย่าลดละเด็ดขาด ..การกำหนดจี้ไว้แบบนั้น จะทำให้รู้สึกว่า ทนได้ดีขึ้น ทนได้มากกว่าเดิมเยอะ และรู้สึกเสมือนความทุกข์เบาบางลงไปมาก รู้สึกทนได้สบายกว่าเดิมเยอะ ทำให้เราสามารถขยาย หรือยกระดับเพดานของความอดทนได้สูงขึ้นไปอีกมาก นั่นคือ ความสำเร็จของกิจกรรมหรืองานนั้นๆ มีโอกาสจะสำเร็จได้ดีมากขึ้น ไวขึ้นกว่าเดิม
เช่น สมมุติขณะกำลังนั่งสมาธิ นั่งไปนานๆ จิตยังไม่สงบ จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนอย่างยิ่ง เริ่มปวดร้อนที่ขาก่อน แล้วจะค่อยๆขยายแผ่ไปทั่วตัว นานๆไปจะยิ่งรู้สึกเหมือนไปนั่งอยู่กลางกองไฟและยิ่งร้อนๆขึ้น จนทนไม่ไหว จะต้องลุก หรือต้องขยับเปลี่ยนท่า ซึ่งจะทำให้การนั่งสะดุดหยุดลงแค่นั้น ..แต่ถ้าใช้เท็คนิคที่ว่านั้นไปต่อสู้ คือ ขณะที่กำลังปวดแสบร้อนอยู่นั้น ก็ไม่ต้องขยับ ไม่ต้องลุก ให้กำหนดจี้มาที่ตัวรู้ หรือที่จิตเรา จี้ไปที่ความรู้สึก กลางๆ เฉยๆ ที่ว่านั่นแหละ ... ซึ่งตอนนั้นความปวดแสบปวดร้อนก็ยังคงเป็นไปเรื่อยๆ แต่เราก็กำหนดจี้มาที่ตัวเฉยๆกลางๆ ไปเรื่อยๆไม่ลดละเหมือนัน ... ต่อสู้กันแบบซึ่งหน้ากับความทุกข์นั้น เมื่อผ่านไปสักพักหนึ่ง ลองสังเกตดีๆ ก็จะเห็นว่า ความปวดแสบปวดร้อนนั้น ไม่เพิ่มขึ้น และจะลดลงๆ เราก็จะสบายขึ้นกว่าเดิมเยอะ ทำให้ขยายช่วงเวลาการนั่งได้นานๆขึ้น ความกลัวต่อความปวดแสบปวดร้อนตอนนั่งจะน้อยลงหรือหมดไป ความเชื่อมั่นในตนเองจะมากขึ้นๆ ไม่ค่อยกลัวทุกข์กลัวยากหรือกลัวความเจ็บไข้ได้ป่วยใดๆอีก การนั่งสมาธิครั้งต่อๆไป ก็จะนานๆขึ้น จิตจะเป็นสมาธิแน่นๆขึ้น วันใดวันหนึ่งในอนาคตไม่นานนัก คงจะได้เห็นจิตรวมเต็มๆสักครั้ง
ในการต่อสู้ ..คนที่มีปัญญามากกว่า บางทีจะแพ้คนที่อดทนกว่า แม้จะมีปัญญาจะน้อยกว่า
ถ้าใครเคยฝึกแบบนี้มาก่อนแล้ว คงเข้าใจดี แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคย ต่อไปถ้าเจอโอกาสที่ต้องใช้ความอดทน ก็ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ลองดู
เท็คนิคการฝึกความอดทนให้มีเพดานสูงขึ้นหรือทะลุเพดานไปได้ หรือให้อดทนได้ง่ายกว่าเดิมอึดได้นานกว่าเดิม ทุกข์น้อยกว่าเดิม
การใช้ความอดทน ปกติใครๆก็ไม่ชอบ เพราะเหมือนกับเอากายและใจไปอยู่ในกองไฟแท้ๆ แต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ หลีกเลี่ยงไม่ได้
ความอดทน หรือ ขันติ เป็นบารมีหนึ่งในบารมี ๑๐ ด้วย
พวกเราที่เป็นนักปฏิบัติธรรมส่วนมาก ก็เป็นบุคคลประเภทเนยยะ แทบไม่มีที่เป็น อุคติตัญญู หรือ วิปจิตัญญู ซึ่งจะบรรลุธรรมกันได้ง่ายๆ ดังนั้น เมื่อฝึกปฏิบัติธรรม สำหรับคนเอาจริงเอาจัง ก็ต้องใช้ความอดทนกันมากๆกันทุกๆคน ไม่ว่าจะทนเดินนานๆ นั่งนานๆ หรืออดอาหาร อดนอน ต่างๆนานา
ไม่มีเจตสิกหรืออาการของจิตที่เรียกว่า ขันติเจตสิก เพราะความอดทนเกิดจากการทำงานร่วมกันของเจตสิกหลายๆตัว ดังนั้น การฝึกความอดทนจึงค่อนข้างยาก
ในการต่อสู้ หรือการแข่งขัน หรือการทำงานยากๆซึ่งมีปัญหาและอุปสรรคมากกมาย ... ใครที่อดทนได้มากกว่า ดีกว่า ย่อมชนะ และประสบความสำเร็จในที่สุด
คำถามก็คือ แล้วจะทำยังไง ให้การฝึกความอดทน มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทนได้มากขึ้น แต่ทนได้ง่ายขึ้น ความทุกข์น้อยลง สามารถทนทุกข์มากๆได้แบบเหนือกว่าปกติ หรือเหนือกว่าคนธรรมดาทั่วๆไปได้เยอะขึ้น ??
คำตอบ..เท็คนิควิธีการฝึกความอดทน ให้มีประสิทธิภาพมากๆขึ้น ไม่ว่าจะต่อสู้กับความทุกข์ทางกายหรือทางใจหรือทั้งสองอย่าง ... ทำดังนี้ คือ ..
ขณะที่กำลังต่อสู้กับความทุกข์แบบตรงๆ ซึ่งๆหน้า แบบแลกหมัดกัน ตาต่อตาฟันต่อฟัน ใครดีใครอยู่ นั้น ...
ให้กำหนดจิตเพ่งมาที่ตัวเฉยๆ กลางๆ เพ่งกำหนดจี้แน่วแน่ตรงจุดนี้อย่าลดละ แบบเดียวกับการฝึกสมาธิ นั่นเอง ซึ่งถ้ากำหนดจี้ดีๆ ถูกจังหวะ บางทีจิตอาจจะรวมวูบลงเป็นสมาธิไปเลยก็ได้ สบายไปเลย ไม่ต้องทนอะไรอีก ...แต่ถ้าจิตยังไม่รวม ก็พยายามกำหนดจี้ตรงจุดที่รู้สึกเฉยๆกลางๆนี้ไว้ตลอด อย่าลดละเด็ดขาด ..การกำหนดจี้ไว้แบบนั้น จะทำให้รู้สึกว่า ทนได้ดีขึ้น ทนได้มากกว่าเดิมเยอะ และรู้สึกเสมือนความทุกข์เบาบางลงไปมาก รู้สึกทนได้สบายกว่าเดิมเยอะ ทำให้เราสามารถขยาย หรือยกระดับเพดานของความอดทนได้สูงขึ้นไปอีกมาก นั่นคือ ความสำเร็จของกิจกรรมหรืองานนั้นๆ มีโอกาสจะสำเร็จได้ดีมากขึ้น ไวขึ้นกว่าเดิม
เช่น สมมุติขณะกำลังนั่งสมาธิ นั่งไปนานๆ จิตยังไม่สงบ จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนอย่างยิ่ง เริ่มปวดร้อนที่ขาก่อน แล้วจะค่อยๆขยายแผ่ไปทั่วตัว นานๆไปจะยิ่งรู้สึกเหมือนไปนั่งอยู่กลางกองไฟและยิ่งร้อนๆขึ้น จนทนไม่ไหว จะต้องลุก หรือต้องขยับเปลี่ยนท่า ซึ่งจะทำให้การนั่งสะดุดหยุดลงแค่นั้น ..แต่ถ้าใช้เท็คนิคที่ว่านั้นไปต่อสู้ คือ ขณะที่กำลังปวดแสบร้อนอยู่นั้น ก็ไม่ต้องขยับ ไม่ต้องลุก ให้กำหนดจี้มาที่ตัวรู้ หรือที่จิตเรา จี้ไปที่ความรู้สึก กลางๆ เฉยๆ ที่ว่านั่นแหละ ... ซึ่งตอนนั้นความปวดแสบปวดร้อนก็ยังคงเป็นไปเรื่อยๆ แต่เราก็กำหนดจี้มาที่ตัวเฉยๆกลางๆ ไปเรื่อยๆไม่ลดละเหมือนัน ... ต่อสู้กันแบบซึ่งหน้ากับความทุกข์นั้น เมื่อผ่านไปสักพักหนึ่ง ลองสังเกตดีๆ ก็จะเห็นว่า ความปวดแสบปวดร้อนนั้น ไม่เพิ่มขึ้น และจะลดลงๆ เราก็จะสบายขึ้นกว่าเดิมเยอะ ทำให้ขยายช่วงเวลาการนั่งได้นานๆขึ้น ความกลัวต่อความปวดแสบปวดร้อนตอนนั่งจะน้อยลงหรือหมดไป ความเชื่อมั่นในตนเองจะมากขึ้นๆ ไม่ค่อยกลัวทุกข์กลัวยากหรือกลัวความเจ็บไข้ได้ป่วยใดๆอีก การนั่งสมาธิครั้งต่อๆไป ก็จะนานๆขึ้น จิตจะเป็นสมาธิแน่นๆขึ้น วันใดวันหนึ่งในอนาคตไม่นานนัก คงจะได้เห็นจิตรวมเต็มๆสักครั้ง
ในการต่อสู้ ..คนที่มีปัญญามากกว่า บางทีจะแพ้คนที่อดทนกว่า แม้จะมีปัญญาจะน้อยกว่า
ถ้าใครเคยฝึกแบบนี้มาก่อนแล้ว คงเข้าใจดี แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคย ต่อไปถ้าเจอโอกาสที่ต้องใช้ความอดทน ก็ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ลองดู