สังเกตกันไหมละ? ในองค์ทั้ง 8 ของอริยมรรค...ท่านแยกส่วนไว้แล้ว
- องค์ที่ 7 คือ สัมมาสติ
- องค์ที่ 8 คือ สัมมาสมาธิ
การฝึก แม้จะสัมพันธ์ไปด้วยกัน แต่มุ่งเน้นแยกส่วนกัน
- สัมมาสติ มุ่งเน้นไปที่การฝึกสติ ซึ่งมี 6 บรรพ...อานาปานสติ เป็น 1 ใน 6 นั้น ... นั่นคือ การฝึกกำหนดลมหายใจ เป้าหมายสำคัญคือ เพื่อให้ได้สติ ไม่ใช่มุ่งเพื่อจะได้สมาธิ ก็เพราะลมมันไม่มีจุดจับแน่นอน เคลื่อนไหวตลอดเวลา แล้วจะไปจับให้แน่วนิ่งแน่นสงบในจุดเดียวได้ไงกัน ?... วิธีฝึกสัมมาสติอีก 5 บรรพ ก็แบบเดียวกัน จะได้สมาธิอย่างมากก็แค่ อุปจารสมาธิ เท่านั้น ไม่อาจจะได้ถึงอัปปนาสมาธิได้ ... จึงเกิดปัญหากันเรื่อยๆ ที่การฝึกสัมมาสติ แทบจะไม่เคยมีใครได้จิตรวมสงบลงถึงอัปปนาสมาธิเลย จนเกิดความเข้าใจผิดขึ้นในกลุ่มคนเหล่านี้ว่า ในยุคนี้ ไม่มีใครจะสามารถทำจิตได้ถึงอัปปนาฯ หรือ ฌาน อีกแล้ว เพราะคนที่ฝึกสติ เข้าใจผิดไปว่า จะได้ผลคือได้สมาธิแน่วแน่ ..แต่ฝึกไปๆ แม้จะได้สติดีมากๆ แต่จิตไม่รวมลงอัปปนาฯซะที ได้แค่อุปจาระฯ เท่านั้น (ซึ่ง โดยประสบการณ์ส่วนตัว ผมก็เคยเจอมาแล้ว...ฝึกจนได้สติดีมากๆ แม้กระพริบตากี่ครั้งก็รู้ทันหมด แต่เจอปัญหาคือ หาทางให้จิตรวมลงอัปปนาฯ ไม่ได้เลย..ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร) ... พวกที่มุ่งเน้นฝึกแต่สติ มากๆ เข้มข้น จึงควรหายสงสัยซะทีว่า ทำไมไม่เคยได้จิตรวมถึงอัปปนาฯ ซะที
- แต่ถ้าจะมุ่งเอาสมาธิ ก็มุ่งฝึกสมาธิ คือ กำหนดจิตให้นิ่งแน่วที่จุดเดียวไม่ขยับเปลี่ยนจุดให้แน่วนิ่งไปนานๆ จนกระทั่งจิตค่อยๆสงบลงๆ จนได้จิตรวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ(หรือฌาน) นี่คือการฝึกแบบพื้นฐาน แบบฌานฤาษี ซึ่งใช้บัญญัติเป็นอารมณ์.../
แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิในองค์ของโลกุตตรอริยมรรค เพื่อบรรลุมรรคผล ต้องใช้รูปนามเป็นอารมณ์ ซึ่งก็คือรูปนามที่ปรุงแต่งละเอียดยิบๆยับๆไวๆมากๆในจิต เป็นอารมณ์(สิ่งที่ถูกรู้โดยจิต)
- แต่ต้องตระหนักว่า ไม่ว่าเราฝึกเน้นไปที่อันไหนก็ตาม ไม่ว่า สติ หรือ สมาธิ หรือ อื่นๆก็ตาม ขณะนั้น เจตสิกดีๆและกลางรวมทั้ง 38 เจตสิก จะทำงานร่วมไปพร้อมด้วยกันเสมอ คือ โสภณเจตสิก 25 และ อัญญสมานาเจตสิก 13 จะออกมาทำงานไปพร้อมๆกันหมด เพียงแต่กำลังจะแตกต่างกันบ้าง ตามแต่จุดประสงค์ของการฝึก ..ถ้าฝึกเน้นที่สมาธิ ตัวเอกัคคตาเจตสิก จะมีกำลังมากๆขึ้น เรื่อยๆ จนได้จิตรวม ...ถ้าฝึกเน้นที่สติ ตัวสติเจตสิก จะมีกำลังมากๆๆขึ้น จนจิตมีความตื่นอย่างดีมาก รู้เท่าทันได้ทั่วถึงดีมาก
฿฿ ในองค์อริยมรรคท่านแจกแจงแยกส่วน เป็นสัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ เพื่อมุ่งเน้นในการฝึกที่ต่างกันแม้จะสัมพันธ์กัน ก็ตาม ฿฿
- องค์ที่ 8 คือ สัมมาสมาธิ
- แต่ถ้าจะมุ่งเอาสมาธิ ก็มุ่งฝึกสมาธิ คือ กำหนดจิตให้นิ่งแน่วที่จุดเดียวไม่ขยับเปลี่ยนจุดให้แน่วนิ่งไปนานๆ จนกระทั่งจิตค่อยๆสงบลงๆ จนได้จิตรวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ(หรือฌาน) นี่คือการฝึกแบบพื้นฐาน แบบฌานฤาษี ซึ่งใช้บัญญัติเป็นอารมณ์.../ แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิในองค์ของโลกุตตรอริยมรรค เพื่อบรรลุมรรคผล ต้องใช้รูปนามเป็นอารมณ์ ซึ่งก็คือรูปนามที่ปรุงแต่งละเอียดยิบๆยับๆไวๆมากๆในจิต เป็นอารมณ์(สิ่งที่ถูกรู้โดยจิต)
- แต่ต้องตระหนักว่า ไม่ว่าเราฝึกเน้นไปที่อันไหนก็ตาม ไม่ว่า สติ หรือ สมาธิ หรือ อื่นๆก็ตาม ขณะนั้น เจตสิกดีๆและกลางรวมทั้ง 38 เจตสิก จะทำงานร่วมไปพร้อมด้วยกันเสมอ คือ โสภณเจตสิก 25 และ อัญญสมานาเจตสิก 13 จะออกมาทำงานไปพร้อมๆกันหมด เพียงแต่กำลังจะแตกต่างกันบ้าง ตามแต่จุดประสงค์ของการฝึก ..ถ้าฝึกเน้นที่สมาธิ ตัวเอกัคคตาเจตสิก จะมีกำลังมากๆขึ้น เรื่อยๆ จนได้จิตรวม ...ถ้าฝึกเน้นที่สติ ตัวสติเจตสิก จะมีกำลังมากๆๆขึ้น จนจิตมีความตื่นอย่างดีมาก รู้เท่าทันได้ทั่วถึงดีมาก