i-mobile 3GX ตอนนี้ ได้หยุดกิจกรรมทางการตลาดทั้งหมดแล้ว เชื่อ TOT นำไปใช้งานกับคลื่น 2.3 GHz ที่มีอยู่ ทำ 4G LTE

i-mobile 3GX ตอนนี้ว่า ได้หยุดกิจกรรมทางการตลาดทั้งหมดแล้ว เชื่อ TOT นำไปใช้งานกับคลื่น 2.3 GHz ที่มีอยู่ อาจจะเป็นการลงทุนเครือข่าย 4G LTE สมาร์ทโฟนจะทยอยเข้ามาทำตลาดอีกไม่ต่ำกว่า 10 รุ่น และ
ประเด็นหลัก



       นายธนานันท์ วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการทำธุรกิจในกลุ่มสามารถ ไอ-โมบาย ในช่วงครึ่งปีหลังว่าจะเน้นไปที่สมาร์ทโฟนซึ่งรองรับการชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลกว่า 90% ด้วยรุ่นใหม่ๆ ที่จะทยอยเข้ามาทำตลาดอีกไม่ต่ำกว่า 10 รุ่น และที่สำคัญจะมีรุ่นที่รองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE เข้ามาทำตลาดด้วย
   
       “หลังจากเริ่มทำตลาดสมาร์ทโฟนดีทีวีมาระยะหนึ่ง ถือว่าการตอบรับของตลาดค่อนข้างดี เพียงแต่ด้วยข้อจำกัดในแง่ของพื้นที่ให้บริการทีวีดิจิตอลที่ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ทำให้ยังไม่สามารถกระจายสินค้าไปยังทั่วประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ทางไอ-โมบายได้มีการปรับเป้ายอดขายจากเดิมที่คาดไว้ราว 4.3 ล้านเครื่อง ขึ้นมาเป็นราว 5 ล้านเครื่องจากกระแสตอบรับดังกล่าว”
   
      นายธนานันท์ กล่าวถึงสามารถ ไอ-โมบาย 3GX ตอนนี้ว่า ได้หยุดกิจกรรมทางการตลาดทั้งหมดแล้ว แต่ก็ยังมีฐานลูกค้าที่ใช้งานอยู่ราว 5 แสนราย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้งานดาต้าเป็นหลัก ส่วนการที่จะตัดสินใจทำตลาดนี้ต่อหรือไม่ยังต้องรอดูความชัดเจนจากรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้น และยังกล่าวไปถึงกรณีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ผ่านมาด้วยว่า ถ้าทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่ามีความผิดจริง ก็น่าจะต้องมีการหาทางออกให้ชัดเจน โดยกำหนดให้โอเปอเรเตอร์ที่ประมูลได้ใบอนุญาตต้องทำอะไรก็ว่าไปอาจจะใช้วิธีการปรับราคาเพิ่มเข้าไปให้เทียบเท่ากับตลาดโลก
   
       “เมื่อได้เงินมาก็จัดสรรให้ทางทีโอที นำไปใช้งานกับคลื่น 2.3 GHz ที่มีอยู่ อาจจะเป็นการลงทุนเครือข่าย 4G LTE เพื่อให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศจากเงินที่ปรับจากผู้เข้าร่วมประมูลที่ผิดก็ได้ ให้กลายเป็นเครือข่ายของประชาชนชาวไทย ปูพรมติดตั้งสถานีฐานตามสถานที่ราชการ ก็ได้ครอบคลุมแล้วส่วนหนึ่ง ถ้ากลัวว่าลงทุนแล้วไม่มีผู้ใช้งาน ก็ให้ข้าราชการหันมาใช้งานคลื่นของทีโอทีก่อนก็ได้”
   
       สิ่งที่ทีโอทีต้องทำคือ การก้าวไปข้างหน้า ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ และที่สำคัญคือต้องเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค




______________________________




ไอ-โมบายยอดพุ่ง รับทีวีดิจิตอล !!!




   
       เมื่อไอ-โม บาย เดินหน้าเต็มตัวกับสมาร์ทโฟนดูทีวีดิจิตอล (i-Mobile DTV) ที่ปัจจุบันถือเป็นผู้จำหน่ายรายแรก และรายเดียวในประเทศไทย ส่งผลให้คาดการณ์ว่า รายได้ของสามารถ ไอ-โมบาย ในสิ้นปีนี้ น่าจะทะลุหลัก 1 หมื่นล้านบาทได้ ด้วยจำนวนเครื่องกว่า 5 ล้านเครื่องในตลาด
   
       นายธนานันท์ วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการทำธุรกิจในกลุ่มสามารถ ไอ-โมบาย ในช่วงครึ่งปีหลังว่าจะเน้นไปที่สมาร์ทโฟนซึ่งรองรับการชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลกว่า 90% ด้วยรุ่นใหม่ๆ ที่จะทยอยเข้ามาทำตลาดอีกไม่ต่ำกว่า 10 รุ่น และที่สำคัญจะมีรุ่นที่รองรับการเชื่อมต่อ 4G LTE เข้ามาทำตลาดด้วย
   
       “หลังจากเริ่มทำตลาดสมาร์ทโฟนดีทีวีมาระยะหนึ่ง ถือว่าการตอบรับของตลาดค่อนข้างดี เพียงแต่ด้วยข้อจำกัดในแง่ของพื้นที่ให้บริการทีวีดิจิตอลที่ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ทำให้ยังไม่สามารถกระจายสินค้าไปยังทั่วประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ทางไอ-โมบายได้มีการปรับเป้ายอดขายจากเดิมที่คาดไว้ราว 4.3 ล้านเครื่อง ขึ้นมาเป็นราว 5 ล้านเครื่องจากกระแสตอบรับดังกล่าว”
   
   


   
       โดยปัจจุบัน ไอ-โมบาย เริ่มทำตลาดสมาร์ทโฟนดีทีวีมาประมาณ 3 เดือน ซึ่งเริ่มจำหน่ายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดที่รองรับการชมทีวีดิจิตอลก่อน แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการเพิ่มจุดส่งสัญญาณที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทางไอ-โมบาย ก็พร้อมที่จะขยายพื้นที่จำหน่ายสินค้าไปยังจุดที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงตลาดได้กว้างขึ้นด้วย
   
       ในกรณีที่ลูกค้าซื้อไปแล้วอยู่ในพื้นที่ ซึ่งไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ ทางไอ-โมบาย ก็พร้อมที่จะรับสินค้าคืน หรือถ้าลูกค้าต้องการนำไปใช้ก่อนเพื่อรอให้ใช้งานได้ ตามกำหนดของ กสทช. ที่จะให้ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด หรือ 50% ของประชากรภายในสิ้นปีนี้
   
       “ชิปเซตที่ใช้รับสัญญาณทีวีดิจิตอลภายในสมาร์ทโฟน จริงๆ รองรับทั้งมาตรฐาน DVB-T และ DVB-T2 ทำให้ ไอ-โมบาย มีโอกาสที่จะขยายตลาดไปในประเทศที่เพิ่งเริ่มนำระบบนี้มาใช้ด้วยเช่นเดียวกัน แต่ในอนาคตอาจจะปรับเปลี่ยนมาใช้ชิปเซ็ตที่รองรับเฉพาะ DVB-T2 เพียงอย่างเดียว เพราะจะช่วยให้ประหยัดแบตเตอรี่มากขึ้น”
   
       สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไปคือ ในแง่ของการปรับปรุงดีไซน์ให้ดูทันสมัยนิยมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ก็จะมีในส่วนของแท็บเล็ต ที่ปัจจุบันจำหน่ายเฉพาะรุ่นที่เชื่อมต่อ Wi-Fi เท่านั้น ในอนาตก็จะมีรุ่นที่รองรับซิมการ์ดเพิ่มเข้ามา เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้า
   
       ทั้งนี้ ปัจจัยที่นายธนานันท์ มองว่า สำคัญต่อการเติบโตภายในธุรกิจของทีวีดิจิตอล คือ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตไปต้องมีคอนเทนต์ที่สามารถทำให้ผู้ชมติดตามชมกันได้ ซึ่งถ้ามีคอนเทนต์ที่มีคุณภาพแล้ว ช่องทางในการรับชมอย่างสมาร์ทโฟนก็จะเติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
   
       อย่างไรก็ตาม จากสภาพของตลาดสมาร์ทโฟนในปัจจุบันช่วงระดับราคาสินค้าที่ขายดีจะอยู่ราว 3,000-4,000 บาท โดยในช่วงที่ผ่านมา สามารถจำหน่ายสมาร์ทโฟนได้ราว 3 แสนเครื่องต่อเดือน ในขณะเดียวกัน ก็จะมีฟีเจอร์โฟนภายใต้ซีรีส์ Zaa ที่สามารถจำหน่ายสู่ท้องตลาดเดือนละ 4 แสนเครื่อง โดยรวมๆ แล้วในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ไอ-โมบายขายโทรศัพท์มือถือไปแล้วราว 2.3-2.4 ล้านเครื่อง ในจำนวนนี้เป็นมือถือที่ดูดิจิตอลทีวีราว 1-2 แสนเครื่องเท่านั้น
   
       “จากการที่โอเปอเรเตอร์กำลังไล่เปลี่ยนเครื่องให้ลูกค้าหันมาใช้งาน 3G ทำให้มีโอกาสที่จะขายสมาร์ทโฟนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนความร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ น่าจะไม่เกิดขึ้นเพราะข้อกำหนดที่ค่อนข้างมีปัญหา และปัจจุบันสินค้าที่วางจำหน่ายก็แทบไม่พอแล้ว”
   
       ***กล่องต้องเด่น
   
       อีกหนึ่งความนิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน นอกจากประสิทธิภาพทั่วไปของสมาร์ทโฟนแล้ว ยังอยู่ที่ความคมชัดของกล้องด้วย ซึ่งทางไอ-โมบาย ได้เตรียมสมาร์ทโฟนรุ่นที่จะออกวางจำหน่ายในช่วงปลายปี ว่า จะมีกล้องความละเอียด 20 ล้านพิกเซล ที่ใช้เซ็นเซอร์ตัวเดียวกับโซนี่เข้ามาทำตลาด รวมไปถึงกล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล แต่ใช้ f1.8 ที่ช่วยให้ถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของกล้องหน้าก็เช่นเดียวกัน สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ของไอ-โมบาย จะมีกล้องหน้าความละเอียดอยู่ที่ราว 5-8 ล้านพิกเซล
   
       “กล้องถือเป็นอีกชิ้นส่วนอุปกรณ์หนึ่งที่ทางไอ-โมบายให้ความสำคัญในการคัดสรร เพื่อเข้ามาประกอบออกมาเป็นสมาร์ทโฟน ซึ่งถ้าเทียบกับเครื่องในท้องตลาดระดับราคาเดียวกัน หรือแม้แต่เครื่องแบรนด์จีนที่พยายามเข้ามาทำตลาด กล้องของไอ-โมบายจะต้องดีกว่า”
   
       อย่างในซีรีส์ i-Style ที่ระดับราคาประมาณ 4,000 บาท ก็จะมีรุ่นใหม่ที่หน้าจอ 5 นิ้ว และใช้กล้องเซ็นเซอร์ตัวเดียวกับใน HTC One ที่ความละเอียด 4 ล้านพิกเซล และมีจุดเด่นในเรื่องการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ซึ่งกับความละเอียดที่ได้ถือว่าพอกับการแสดงผลบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ แต่ถ้านำไปลงพีซีก็อาจจะไม่ละเอียดเท่าที่ควร
   
   


   
       “การใช้งานกล้องบนสมาร์ทโฟน ผู้บริโภคบางรายเน้นแค่การแชร์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือส่งให้เพื่อนดูในมือถือ จึงไม่จำเป็นต้องละเอียดมากนัก แต่เน้นที่คุณภาพของรูปมากกว่า ซึ่งแม้ว่าความละเอียดจะต่ำแต่คุณภาพสูง ก็จะช่วยลดเวลาในการส่งไฟล์ให้ได้รวดเร็วขึ้น”
   
       ขณะที่ในตลาดสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ของไอ-โมบาย จะมีซีรีส์อย่าง IQ X คอยทำตลาดอยู่ ชูความโดดเด่นทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ และดีไซน์ของเครื่อง ซึ่งผลตอบรับในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างดี และกลายเป็นรุ่นที่ทำให้ราคาเฉลี่ยสมาร์ทโฟนของไอ-โมบายเพิ่มสูงขึ้นด้วย
   
       ***ไม่กังวลแบรนด์จีน
   
       สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้คือ แบรนด์จีนเริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อตลาดไทยมากยิ่งขึ้น แต่กับไอ-โมบายแล้ว เหมือนเป็นการเปลี่ยนคู่แข่งมากกว่าจากรายเดิมในตลาดเป็นรายใหม่ เพราะจริงๆ แล้วต่างใช้โรงงานผลิตเดียวกัน แต่มีวิธีคิดต่างกัน หลายรายอาจจะเน้นส่วนประกอบราคาถูกลง เพื่อนำมาขายในราคาที่ต่ำกว่า ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพ และบริการหลังการขายก็จะอยู่ได้ในตลาดนี้
   
       ดังจะเห็นได้จากปัจจุบัน ถ้าเทียบหน่วยประมวลผลที่ใช้งานกันระหว่างแบรนด์จีน และไอ-โมบาย จะเห็นว่า ในระดับราคาที่ใกล้เคียงกัน ตัวเครื่องของไอ-โมบาย จะมีสเปกที่ดีกว่า แต่สมาร์ทโฟนแบรนด์จีน จะเน้นราคาถูก และประสิทธิภาพการใช้งานไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
   
       “จุดที่แบรนด์จีนไม่มีในตลาดไทยคือ ดีลเลอร์ที่เข็มแข็ง และพาร์ตเนอร์ที่ดี ประกอบกับความเชื่อมั่นในแบรนด์ของผู้บริโภค ทำให้สุดท้ายก็จะทยอยหายไปจากตลาดเหมือนเดิม”
   
       ***MVNO รอความชัดเจน เสนอทางรอดทีโอที
   
       นายธนานันท์ กล่าวถึงสามารถ ไอ-โมบาย 3GX ตอนนี้ว่า ได้หยุดกิจกรรมทางการตลาดทั้งหมดแล้ว แต่ก็ยังมีฐานลูกค้าที่ใช้งานอยู่ราว 5 แสนราย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้งานดาต้าเป็นหลัก ส่วนการที่จะตัดสินใจทำตลาดนี้ต่อหรือไม่ยังต้องรอดูความชัดเจนจากรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้น และยังกล่าวไปถึงกรณีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ผ่านมาด้วยว่า ถ้าทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่ามีความผิดจริง ก็น่าจะต้องมีการหาทางออกให้ชัดเจน โดยกำหนดให้โอเปอเรเตอร์ที่ประมูลได้ใบอนุญาตต้องทำอะไรก็ว่าไปอาจจะใช้วิธีการปรับราคาเพิ่มเข้าไปให้เทียบเท่ากับตลาดโลก
   
       “เมื่อได้เงินมาก็จัดสรรให้ทางทีโอที นำไปใช้งานกับคลื่น 2.3 GHz ที่มีอยู่ อาจจะเป็นการลงทุนเครือข่าย 4G LTE เพื่อให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศจากเงินที่ปรับจากผู้เข้าร่วมประมูลที่ผิดก็ได้ ให้กลายเป็นเครือข่ายของประชาชนชาวไทย ปูพรมติดตั้งสถานีฐานตามสถานที่ราชการ ก็ได้ครอบคลุมแล้วส่วนหนึ่ง ถ้ากลัวว่าลงทุนแล้วไม่มีผู้ใช้งาน ก็ให้ข้าราชการหันมาใช้งานคลื่นของทีโอทีก่อนก็ได้”
   
       สิ่งที่ทีโอทีต้องทำคือ การก้าวไปข้างหน้า ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ และที่สำคัญคือต้องเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000087115
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่