TRUE เปิดสงครามอาณาจักรบรอดแบนด์ไร้สายและมีสาย( สู้ AIS TOT CAT )เปิดงบลงทุน 4.3 หมื่นล้านบาท ใน 2 ปีข้างหน้า 3G 4G FTTx

TRUE เปิดสงครามอาณาจักรบรอดแบนด์ไร้สายและมีสาย ( สู้ AIS TOT CAT ) เปิดงบลงทุน 4.3 หมื่นล้านบาท ใน 2 ปีข้างหน้า ( ลงทุนขยายเครือข่าย 3G 4G โดย 4G ใช้ 2100 จำนวน 10 MHz ) FTTx คลุม 10 ล้านครัวเรือน
ประเด็นหลัก



       ในเวลาเดียวกัน กลุ่มทรูยังมองไปถึงการขยาย 4G ที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีโมบายอินเทอร์เน็ตที่เร็วที่สุดในปัจจุบัน ด้วยการเร่งขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยปัจจุบันทรูได้มีการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz และ 2.1 GHz ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด 928 อำเภอ 7,394 ตำบล และ 67,615 หมู่บ้าน บริการ WiFi 105,721 จุด และ 4G LTE ครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และใจกลางเมืองอีก 14 จังหวัด จาก 2,000 สถานีฐาน
     
       คิดเป็นสถานีฐานรวมทั้งหมด จะมีสถานีฐาน 3G ความถี่ 2.1 GHz จำนวน 5,000 สถานี และ 4G ความถี่ 2.1 GHz จำนวน 2,000 สถานี ส่วนสถานีฐาน 850 MHz ที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ 14,000 สถานี ทำให้รวมเป็น 21,000 สถานี ครอบคลุม 97% ของประชากร ทำให้แผนการลงทุน ขยายเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 4G อีก 1 หมื่นล้าน เพื่อทำให้ภายในไม่ถึง 6 เดือนข้างหน้าจะครอบคลุมประชากร 60% ในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และครอบคลุม 80% ของประชากร ภายในไตรมาสที่ 2 จากปัจจุบันที่ 4G ครอบคลุมประมาณ 25%
     
       'ในการลงทุนขยายเครือข่ายโทรศัพท์ในครั้งนี้ ในทางเทคนิคแล้วแยกลำบากว่าเป็น 3G หรือ 4G จำนวนเท่าใด เพราะในหนึ่งสถานีฐานแค่เพิ่มการ์ดก็สามารถให้บริการได้ทั้งคู่แล้ว ให้มองว่าเป็นการลงทุนทั้ง 3G และ 4G พร้อมๆกัน เพียงแต่แบ่งคลื่น 2.1 GHz จำนวน 10 MHz มาให้บริการ 4G'


      อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในปี 2558 ปริมาณโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 4G จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7 ล้านเครื่อง และจะมีผู้ใช้บริการ 4G ราว 50% เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายคือการเป็นผู้นำของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือทั้ง 3G และ 4G
     
       'ถ้ามองการแข่งขันการให้บริการโทรศัพท์มือถือที่เป็น 3G ทรูเชื่อมั่นว่าตอนนี้เป็นผู้นำอยู่ แต่ถ้ารวมการให้บริการ 2G ด้วยก็จะเป็นไปในอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะฐานลูกค้าที่ใช้มือถือในประเทศไทยปัจจุบันกว่า 70% ยังคงใช้ 2G'


นอกจากนี้ยังลงทุนขยายขยายเครือข่ายไฟเบอร์ถึงบ้าน (เอฟทีทีเอ็กซ์) จำนวน 33,000 ล้านบาท ที่มีความเร็วสูงสุดถึง 10 Gbps ซึ่งจะครอบคุลมประชากรจำนวน 10 ล้านครัวเรือนทั้งในส่วนของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงขยายตัวเพิ่มขึ้น และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดลูกค้าทรูออนไลน์เพิ่มขึ้น


______________________________







'ศุภชัย' ลั่นยึดเบอร์ 1บรอดแบนด์



นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

        กลุ่มทรูเปิดงบลงทุน 4.3 หมื่นล้านบาท ใน 2 ปีข้างหน้า หวังขยายโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมพร้อมรักษาความเป็นผู้นำในส่วนของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบมีสายและแบบไร้สายบนโทรศัพท์มือถือ เปิดทางร่วมพาร์ทเนอร์ในการขยายการให้บริการไม่ทับซ้อนเพื่ออนาคตของประเทศ
     
       นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ากลุ่มทรูมองไปถึงการเติบโตของตลาดในปัจจุบัน พร้อมไปกับการมีนโยบายในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย จึงได้มีการลงทุน 3.3 หมื่นล้านบาท เพื่อวางโครงข่าย Fiberoptic หรือ เคเบิลใยแก้ว ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
     
       'ก่อนหน้านี้ทรูถือเป็นรายแรกที่นำ 3G มาให้บริการเชิงพาณิชย์ทั่วประเทศให้แก่ประเทศไทย และยังเป็นผู้ให้บริการ 4G รายแรก ครอบคลุมพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 14 จังหวัด ในขณะเดียวกันก็เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบมีสายในส่วนของ FTTx ภายใต้เทคโนโลยี Docsis ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และมีแผนจะขยายโครงข่ายต่อเนื่อง'
     
       นายศุภชัย มองว่า ปัจจุบันตลาดกำลังมีการปรับเปลี่ยน และแปรสภาพอย่างรวดเร็ว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากสังคม ส่งผลให้ยุคของพีซีกำลังจะหมดไป กลายเป็นโทรศัพท์มือถืออย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตที่อยู่ข้างกายของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
     
       'การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต การทำงาน ส่งผลให้ผู้บริโภคกำลังก้าวเข้าสู่ โมบาย คัลเจอร์ (Mobile Culture) โดยผู้บริโภคได้มีการปรับตัวไปแล้ว ก่อนองค์กรส่วนใหญ่เสียด้วยซ้ำไป จากการสื่อสารผ่านระบบแชท การใช้งานไลน์ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก ในขณะที่องค์กรยังสื่อสารผ่านระบบอีเมล'
     
       โดยสัดส่วนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในปัจจุบันจะอยู่ที่ราว 30% เท่านั้น แต่คาดว่าในอนาคตภายในระยะเวลาไม่นานนี้ สมาร์ทโฟนจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคทั้งหมด ภายใต้แรงผลักดันที่มีความจำเป็นอย่างสูงเลยคือโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางข้อมูลจากทั่วโลกมาสู่ AEC
     
       สิ่งที่จะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อไปในมุมของเทคโนโลยีภายใต้การให้บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง คือ การให้บริการคลาวด์ เพราะเมื่อมีการเก็บข้อมูลเข้ามาอยู่ในมือถือ ข้อมูลส่วนตัว ภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลเกี่ยวข้องกับบริษัท ก็จะส่งต่อขึ้นไปเก็บไว้ในคลาวด์ทั้งหมด
     
       'เมื่อมีการนำข้อมูลทั้งหลายเข้าไปเก็บไว้ในคลาวด์ ก็จะทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีอย่างบิ๊กดาต้ามาใช้ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ และนำมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคต่อไป'
     
       ย้อนกลับมาดูในเรื่องของการลงทุนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแบบมีสายที่ปัจจุบันกลุ่มทรูมี เทคโนโลยีบรอดแบนด์แบบมีสาย 3 ชนิดด้วยกันคือ xDSL, Docsis (Fiber Cable และ FTTx ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้จะมุ่งก้าวเข้าสู่ FTTx อย่างเต็มตัว เพื่อให้ความเร็วในการใช้บริการได้สูงสุด 10 Gbps แต่ปัจจุบันด้วยขีดจำกัดของโมเด็มสำหรับใช้ภายในบ้าน ของผู้บริโภคทั่วไปจะอยู่ที่ 1 Gbps

'ศุภชัย' ลั่นยึดเบอร์ 1บรอดแบนด์

        นายศุภชัย กล่าวต่อว่า ภายใน 2 ปีข้างหน้า หรือปี 2559 บริการบรอดแบนด์ FTTx จะครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 90% หรือ 4.2 ล้านครัวเรือน ภายใต้ประชากรราว 15 ล้านคน และพื้นที่ต่างจังหวัดอีก 4 ล้านครัวเรือน ไม่นับกับส่วนที่มีการลงทุนไปก่อนหน้านี้ 2 ล้านครัวเรือน ทำให้ในปี 2559 การให้บริการอินเทอร์เน็ตของกลุ่มทรูจะครอบคลุม 10 ล้านครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปัจจุบัน ทำให้คาดว่าการลงทุน ดังกล่าวจะกระตุ้นตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยรวมให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดลูกค้าทรูออนไลน์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็น 70% จากส่วนแบ่งตลาดปัจจุบัน 65%
     
       ในเวลาเดียวกัน กลุ่มทรูยังมองไปถึงการขยาย 4G ที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีโมบายอินเทอร์เน็ตที่เร็วที่สุดในปัจจุบัน ด้วยการเร่งขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยปัจจุบันทรูได้มีการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz และ 2.1 GHz ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด 928 อำเภอ 7,394 ตำบล และ 67,615 หมู่บ้าน บริการ WiFi 105,721 จุด และ 4G LTE ครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และใจกลางเมืองอีก 14 จังหวัด จาก 2,000 สถานีฐาน
     
       คิดเป็นสถานีฐานรวมทั้งหมด จะมีสถานีฐาน 3G ความถี่ 2.1 GHz จำนวน 5,000 สถานี และ 4G ความถี่ 2.1 GHz จำนวน 2,000 สถานี ส่วนสถานีฐาน 850 MHz ที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ 14,000 สถานี ทำให้รวมเป็น 21,000 สถานี ครอบคลุม 97% ของประชากร ทำให้แผนการลงทุน ขยายเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 4G อีก 1 หมื่นล้าน เพื่อทำให้ภายในไม่ถึง 6 เดือนข้างหน้าจะครอบคลุมประชากร 60% ในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และครอบคลุม 80% ของประชากร ภายในไตรมาสที่ 2 จากปัจจุบันที่ 4G ครอบคลุมประมาณ 25%
     
       'ในการลงทุนขยายเครือข่ายโทรศัพท์ในครั้งนี้ ในทางเทคนิคแล้วแยกลำบากว่าเป็น 3G หรือ 4G จำนวนเท่าใด เพราะในหนึ่งสถานีฐานแค่เพิ่มการ์ดก็สามารถให้บริการได้ทั้งคู่แล้ว ให้มองว่าเป็นการลงทุนทั้ง 3G และ 4G พร้อมๆกัน เพียงแต่แบ่งคลื่น 2.1 GHz จำนวน 10 MHz มาให้บริการ 4G'
     
       นายศุภชัย ให้ข้อมูลเสริมว่า ที่สำคัญคือการลงทุนในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ของบริษัทตั้งแต่ก่อตั้งมา เช่นเดียวกับการเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นคอนเวอร์เจนซ์ ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้ถือเป็นการลงทุนที่ภาคภูมิใจมากที่สุด มากกว่าตอนเริ่มลงทุน 3G เพราะเป็นการลงทุนที่ทำให้มีส่วนอย่างแท้จริงในการพลิก หรือ เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ก้าวกระโดดไปอีกครั้งหนึ่ง
     
       'การลงทุนโครงสร้าง ทั้งแบบมีสาย และไร้สาย จะนำมาซึ่งศักยภาพในการแข่งขัน และเปิดโอกาสให้นักลงทุนในต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ที่สำคัญคือ เป็นก้าวแรกที่จะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอลระดับภูมิภาค'
     
       ทั้งนี้ในส่วนของผู้ใช้บริการ 4G ปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้ 4G อยู่ราว 8 แสนราย และคาดว่าจนถึงสิ้นปีนี้น่าจะเพิ่มเป็น 1 ล้านราย จากตลาดรวมประมาณ 3 ล้านเครื่อง เนื่องจากตลาดยังไม่ได้รับการเรียนรู้ถึงเทคโนโลยีมากเท่าที่ควร
     
       'ในปีนี้จากโมเดลของ สมาร์ทโฟนที่จะเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยเชื่อว่ารุ่นใหม่ๆกว่าครึ่งจะรองรับการใช้งาน 4G และกลายมาเป็นตัวเร่งสำคัญในอุตสาหกรรมก้าวขึ้นไปสู่การให้บริการ 4G อย่างรวดเร็ว'
     
       อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในปี 2558 ปริมาณโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 4G จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7 ล้านเครื่อง และจะมีผู้ใช้บริการ 4G ราว 50% เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายคือการเป็นผู้นำของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือทั้ง 3G และ 4G
     
       'ถ้ามองการแข่งขันการให้บริการโทรศัพท์มือถือที่เป็น 3G ทรูเชื่อมั่นว่าตอนนี้เป็นผู้นำอยู่ แต่ถ้ารวมการให้บริการ 2G ด้วยก็จะเป็นไปในอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะฐานลูกค้าที่ใช้มือถือในประเทศไทยปัจจุบันกว่า 70% ยังคงใช้ 2G'
     
       สำหรับการลงทุนใน ครั้งนี้ถือเป็นการลงทุนของ ทรู คอร์ปอเรชัน ทั้งหมด แต่ในอนาคตจะมีการนำในส่วนของ Passive Infrastructure ราว 40 - 50% ออฟโหลดไปอยู่ที่ TrueGIF ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ได้ใช้ในการแข่งขัน




        *** เปิดทางพันธมิตร ลดความซับซ้อนขยายโครงข่าย
     
       นายศุภชัย มองถึงโอกาสในการร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง บริษัท ทีโอที ที่กำลังมองหาพันธมิตรใน 6 กลุ่มธุรกิจ หรือบริษัท กสท โทรคมนาคมว่า กลุ่มทรูสามารถร่วมมือได้หมด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของธุรกิจบรอดแบนด์แบบมีสาย ถ้ามีการแบ่งพื้นที่การลงทุนก็จะช่วยสร้างความครอบคลุมให้ทั่วประเทศได้เร็วขึ้น
     
       'ในเรื่องของความร่วมมือต้องมีการวางแผนร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการแชร์โครงสร้างพื้นฐาน ถ้าทีโอทีมีการตั้งระบบขึ้นมาแชร์การใช้โครงข่าย ก็จะช่วยลดต้นทุนในระยะยาวได้ ไม่ให้เกิดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนกัน'
     
       ทั้งนี้ 6 กลุ่มธุรกิจที่ทีโอที แบ่งไว้ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานดำเนินธุรกิจให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ด้วยการให้เช่าเคเบิลใยแก้วนำแสง ให้บริการความยาวคลื่น และวงจรสื่อสัญญาณด้วยการรับประกันคุณภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงปลอดภัย ตามข้อตกลงการให้บริการ โดยสามารถใช้เชื่อมโยงทุกระดับ ยกเว้นส่วนต่อไปหาลูกค้าปลายทางตามอาคาร บ้านพัก เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีบริการให้เช่าที่ดินและพื้นที่อาคารชุมสายระดับจังหวัดและระดับภาค รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ระบบการกำลังและระบบปรับอากาศ เป็นต้น
     
       กลุ่มที่ 2 กลุ่มเสาโทรคมนาคม ดำเนินธุรกิจให้บริการเช่าใช้พื้นที่สำหรับติดตั้งสายส่งสัญญาณ จานรับส่งสัญญาณโทรคมนาคมและอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง อาณาบริเวณเดียวกันที่ใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณสื่อสารโทรคมนาคม โทรทัศน์ และวิทยุ ภายใต้สัญญาเช่าระยะยาว กลุ่มที่ 3 กลุ่มอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ดำเนินธุรกิจให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ประกอบด้วยบริการต่างๆ ดังนี้ วงจรเช่าระหว่างประเทศ และบริการ Thaila
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่