ในเมื่อพื้นฐานของคณิตศาสตร์เกิดจากการใช้งานสิ่งที่เป็นอนิยาม แล้วจะเอาความเที่ยงตรงและความแน่นอนมาจากไหนครับ
เอาแค่คำว่า "จุด" คำเดียวก็ทำให้เกิดปฎิทรรศน์ (paradox) มากมายแล้ว
ศาสตร์อื่นที่เอาคณิตศาสตร์ไปใช้ เช่น ฟิสิกส์ ก็ย่อมเกิดปัญหามั่วนิ่มตามไปด้วยใช่หรือเปล่า
การวัดปริมาณธรรมดาๆ เช่นความยาวนั้นควรถือว่าไม่มีความหมายใช่หรือเปล่าครับ การวัดความยาวสองครั้งไม่มีทางเท่ากันได้
ในเมื่อความยาวคือระยะทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง แต่ทันทีที่เรากำหนดจุดขึ้นมา มันก็ย่อมมีจุดที่เล็กว่านั้น
และเมื่อจะกำหนดจุดใหม่ มันก็จะมีจุดที่เล็กขึ้นไปอีก
แล้วตกลงเราจะวัดความยาวจากไหนไปไหนล่ะ ในเมื่อเราบอกว่าไม่ได้ว่า"จุด"ที่จริงแท้และเที่ยงตรงแน่นอนนั้นอยู่ที่ไหน?
อันนี้ไม่ต้องพูดถึงหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์กก็บอกได้ทันทีเลยใช่ไหมครับว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติมีแต่ความไม่แน่นอน
คำถามแบบนี้น่าจะทำนองเดียวกับ "ในเมื่อจุดไม่มีขนาด แต่ทำไมเส้นมีขนาด ในเมื่อเส้นเกิดจากจุดมารวมกัน?"
หรือ"ทำไม 0.999... เท่ากับ 1"
พอเปลี่ยนไปพูดถึงการเคลื่อนที่ อันนี้ก็เป็นอนิยามอีก
เหมือนปฏิทรรศน์ของซีโน (Zeno) ซึ่งอะคิลลิสวิ่งแข่งกับเต่าที่นำหน้าอยู่ ผมคิดไม่ออกว่าปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไร
เพราะตามหลักตรรกะอะคิลลิสไม่มีทางวิ่งทันเต่าวิ่งได้
เหมือนลิมิตที่เข้าสู่ศูนย์ จุดที่อะคิลลิสวิ่งทันเต่าพอดีควรเป็นอนิยาม บอกไม่ได้ว่าจุดไหน เมื่อไหร่ และมีสถานะเป็นอย่างไร
คณิตศาสตร์อยู่บนความไม่เที่ยงตรงและไม่แน่นอน พูดแบบนี้ได้เปล่า
เอาแค่คำว่า "จุด" คำเดียวก็ทำให้เกิดปฎิทรรศน์ (paradox) มากมายแล้ว
ศาสตร์อื่นที่เอาคณิตศาสตร์ไปใช้ เช่น ฟิสิกส์ ก็ย่อมเกิดปัญหามั่วนิ่มตามไปด้วยใช่หรือเปล่า
การวัดปริมาณธรรมดาๆ เช่นความยาวนั้นควรถือว่าไม่มีความหมายใช่หรือเปล่าครับ การวัดความยาวสองครั้งไม่มีทางเท่ากันได้
ในเมื่อความยาวคือระยะทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง แต่ทันทีที่เรากำหนดจุดขึ้นมา มันก็ย่อมมีจุดที่เล็กว่านั้น
และเมื่อจะกำหนดจุดใหม่ มันก็จะมีจุดที่เล็กขึ้นไปอีก
แล้วตกลงเราจะวัดความยาวจากไหนไปไหนล่ะ ในเมื่อเราบอกว่าไม่ได้ว่า"จุด"ที่จริงแท้และเที่ยงตรงแน่นอนนั้นอยู่ที่ไหน?
อันนี้ไม่ต้องพูดถึงหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์กก็บอกได้ทันทีเลยใช่ไหมครับว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติมีแต่ความไม่แน่นอน
คำถามแบบนี้น่าจะทำนองเดียวกับ "ในเมื่อจุดไม่มีขนาด แต่ทำไมเส้นมีขนาด ในเมื่อเส้นเกิดจากจุดมารวมกัน?"
หรือ"ทำไม 0.999... เท่ากับ 1"
พอเปลี่ยนไปพูดถึงการเคลื่อนที่ อันนี้ก็เป็นอนิยามอีก
เหมือนปฏิทรรศน์ของซีโน (Zeno) ซึ่งอะคิลลิสวิ่งแข่งกับเต่าที่นำหน้าอยู่ ผมคิดไม่ออกว่าปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไร
เพราะตามหลักตรรกะอะคิลลิสไม่มีทางวิ่งทันเต่าวิ่งได้
เหมือนลิมิตที่เข้าสู่ศูนย์ จุดที่อะคิลลิสวิ่งทันเต่าพอดีควรเป็นอนิยาม บอกไม่ได้ว่าจุดไหน เมื่อไหร่ และมีสถานะเป็นอย่างไร