เรอเน่ เดกาตนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์สุดหล่อของผม ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งวิชาปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
เดกาตเคยกล่าวไว้ว่า
"Sense perception is sense deception" การรับรู้ทางประสาทสัมผัสก็คือการรับรู้ที่หลอกลวง ขยายความได้ว่าประสาทสัมผัสของเรานั้นอาจจะได้ให้ค่า สิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริง เราต้องคอยระวัง
เราจะรับรู้สิ่งต่างๆจากโลกทางกายภาพหรือ Physical world ได้อย่างไร ?
เราจะรับรู้สิ่งต่างๆได้ด้วย ประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ทั้ง 5 สื่งนี้ทำให้เรารับรู้ มีประสพการณ์กับโลกทางกายภาพนี้
นอกจากมันทำให้เรารับรู้สิ่งต่างๆแล้ว มันยังทำให้เราเพลิดเพลินใจไปกับมันจนบางคนก็ติดใจหลงไหล ตาชอบดูของสวยๆงามๆ หูก็ชอบฟังเพลงไพเราะเพราะพริ้ง ลิ้นก็ชอบไปหาของอร่อยมากิน กินมากๆก็กลายเป็นหมี
แต่ก็ตามที่ท่านเดกาตบอก ประสาทสัมผัสของมนุษย์บางทีมันก็หลอกเรา สิ่งที่เราเห็นอาจจะผิดเพี้ยนจากความจริง
ตัวอย่างที่โด่งดังก็เช่นภาพนี้ คุณคิดว่าช่อง A และ B มีสีเดียวกันหรือคนละสี?
เป็นภาพที่โด่งดัง กังขาหลายต่อหลายคน เพราะตาของเราบอกว่าช่อง A กับ B นั้นคนละสีกันชัดๆ ถามใครก็บอกว่าคนละสี แต่เมื่อลองทดสอบโดยใช้โปรแกรม paint แล้ว มันคือสีเดียวกันจริงๆ หรือจะลองพิสูจน์โดยการลากเส้นก็ได้
ในเมื่อประสาทสัมผัสที่เราใช้กันทุกวันบางทีมันก็หลอกเราแล้ว แล้วเราจะทำอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรจึงสร้างอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้มาวัดสิ่งต่างให้แม่นยำมากขึ้น
เช่น เราสร้างกล้องโทรทัศน์ไว้ส่องดูสิ่งที่อยู่ไกลๆ ดูดวงดาว ที่เราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เราสร้างกล้องจุลทรรศน์เอาไว้ส่องสิ่งต่างๆที่มันเล็กจิ๋ว เปิดโลกขนาดเล็กที่ดวงตาของมนุษย์ไม่เคยเห็นมาก่อน
เราสร้างอุปกรณ์ต่างๆมากมาย แต่อุปกรณ์เหล่านี้บางชิ้นก็เป็นแค่การขยายขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ให้เพิ่มขึ้นเท่านั้น
มันยังมีบางสิ่งซ่อนอยู่ปู่คาล ซาแกนบอกเอาไว้....
เช่นในโลก ซึ่งถือเป็นกรอบอ้างอิงเฉื่อย (inertial frame of reference) เวลาเราวัดความเร็วของสิ่งต่างๆที่เคลื่อนที่ในโลก แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วเท่าใด โลกนั้นเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วเท่าไหร่ หรือระบบสุริยะจักรวาลของเราหมุนรอบกาแลคซีทางช้างเผือกด้วยความเร็วเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้ประสาทสัมผัสไม่อาจสังเกตเห็นได้
โห แล้วแบบนี้เราพลาดอะไรไปบ้าง มีโลกอะไรซ่อนอยู่อีกบ้างที่เราไม่อาจสังเกตเห็นได้
ยังมีอีกมากเลยครับ เช่นแสงที่เราเห็น ถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในย่านความถี่เล็กๆที่เราเรียกว่า visible light ยังมีอีกหลายสิ่งที่เรามองไม่เห็น เช่นเรามองไม่เห็นคลื่นวิทยุ FM เรามองไม่เห็นแสง UV สิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นแค่ย่านความถี่เล็กๆ
เราพลาดอะไรไปหลายอย่างเลย
แต่ความจริงที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยประสาทสัมผัสนี้ เราจะใช้เครื่องมืออีกอย่างหนึ่ง หนึ่งในการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาตินั่นก็คือ
คณิตศาสตร์
เราค้นหาความจริงด้วยการศึกษา ทดลอง แต่หลายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ สามารถนำคณิตศาสตร์มาเข้าถึงความจริงต่างๆเหล่านี้ ดังที่เดวิด ฮิลเบิร์ตสุดยอดนักคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 19และ20 ได้เคยกล่าวเอาไว้ในปี 1900 ในการประชุมสัมมนาของนักคณิตศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
"คณิตศาสตร์คือฐานรากของความรู้ที่แม่นยำทั้งหมดในการศึกษาปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ"
กระทู้นี้เราจะมารู้จักกับ Bertrand's box paradox เพื่อเป็นตัวอย่างว่าความจริงบางอย่างไม่อาจใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ได้ ถึงแม้จะลองนึกตรึกตรองก็อาจผิดพลาดได้ การใช้สามัญสำนึกลองคิดเอาบางทีก็ผิด ต้องอาศัยคณิตศาสตร์เท่านั่นเพื่อเข้าถึงความจริงเหล่านี้
-----------------------------
เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ ถ้าชอบช่วยกดบวก กดถูกใจด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
- จขกท. สุดหล่อ
==คณิตศาสตร์และการค้นหาความจริง อย่าเชื่อประสาทสัมผัส จงเชื่อในคณิตศาสตร์ มารู้จักกับ Bertrand's box paradox กันเถอะ==
เรอเน่ เดกาตนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์สุดหล่อของผม ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งวิชาปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
เดกาตเคยกล่าวไว้ว่า "Sense perception is sense deception" การรับรู้ทางประสาทสัมผัสก็คือการรับรู้ที่หลอกลวง ขยายความได้ว่าประสาทสัมผัสของเรานั้นอาจจะได้ให้ค่า สิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริง เราต้องคอยระวัง
เราจะรับรู้สิ่งต่างๆจากโลกทางกายภาพหรือ Physical world ได้อย่างไร ?
เราจะรับรู้สิ่งต่างๆได้ด้วย ประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ทั้ง 5 สื่งนี้ทำให้เรารับรู้ มีประสพการณ์กับโลกทางกายภาพนี้
นอกจากมันทำให้เรารับรู้สิ่งต่างๆแล้ว มันยังทำให้เราเพลิดเพลินใจไปกับมันจนบางคนก็ติดใจหลงไหล ตาชอบดูของสวยๆงามๆ หูก็ชอบฟังเพลงไพเราะเพราะพริ้ง ลิ้นก็ชอบไปหาของอร่อยมากิน กินมากๆก็กลายเป็นหมี
แต่ก็ตามที่ท่านเดกาตบอก ประสาทสัมผัสของมนุษย์บางทีมันก็หลอกเรา สิ่งที่เราเห็นอาจจะผิดเพี้ยนจากความจริง
ตัวอย่างที่โด่งดังก็เช่นภาพนี้ คุณคิดว่าช่อง A และ B มีสีเดียวกันหรือคนละสี?
เป็นภาพที่โด่งดัง กังขาหลายต่อหลายคน เพราะตาของเราบอกว่าช่อง A กับ B นั้นคนละสีกันชัดๆ ถามใครก็บอกว่าคนละสี แต่เมื่อลองทดสอบโดยใช้โปรแกรม paint แล้ว มันคือสีเดียวกันจริงๆ หรือจะลองพิสูจน์โดยการลากเส้นก็ได้
ในเมื่อประสาทสัมผัสที่เราใช้กันทุกวันบางทีมันก็หลอกเราแล้ว แล้วเราจะทำอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรจึงสร้างอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้มาวัดสิ่งต่างให้แม่นยำมากขึ้น
เช่น เราสร้างกล้องโทรทัศน์ไว้ส่องดูสิ่งที่อยู่ไกลๆ ดูดวงดาว ที่เราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เราสร้างกล้องจุลทรรศน์เอาไว้ส่องสิ่งต่างๆที่มันเล็กจิ๋ว เปิดโลกขนาดเล็กที่ดวงตาของมนุษย์ไม่เคยเห็นมาก่อน
เราสร้างอุปกรณ์ต่างๆมากมาย แต่อุปกรณ์เหล่านี้บางชิ้นก็เป็นแค่การขยายขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ให้เพิ่มขึ้นเท่านั้น
มันยังมีบางสิ่งซ่อนอยู่ปู่คาล ซาแกนบอกเอาไว้....
เช่นในโลก ซึ่งถือเป็นกรอบอ้างอิงเฉื่อย (inertial frame of reference) เวลาเราวัดความเร็วของสิ่งต่างๆที่เคลื่อนที่ในโลก แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วเท่าใด โลกนั้นเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วเท่าไหร่ หรือระบบสุริยะจักรวาลของเราหมุนรอบกาแลคซีทางช้างเผือกด้วยความเร็วเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้ประสาทสัมผัสไม่อาจสังเกตเห็นได้
โห แล้วแบบนี้เราพลาดอะไรไปบ้าง มีโลกอะไรซ่อนอยู่อีกบ้างที่เราไม่อาจสังเกตเห็นได้
ยังมีอีกมากเลยครับ เช่นแสงที่เราเห็น ถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในย่านความถี่เล็กๆที่เราเรียกว่า visible light ยังมีอีกหลายสิ่งที่เรามองไม่เห็น เช่นเรามองไม่เห็นคลื่นวิทยุ FM เรามองไม่เห็นแสง UV สิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นแค่ย่านความถี่เล็กๆ
เราพลาดอะไรไปหลายอย่างเลย
แต่ความจริงที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยประสาทสัมผัสนี้ เราจะใช้เครื่องมืออีกอย่างหนึ่ง หนึ่งในการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาตินั่นก็คือ คณิตศาสตร์
เราค้นหาความจริงด้วยการศึกษา ทดลอง แต่หลายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ สามารถนำคณิตศาสตร์มาเข้าถึงความจริงต่างๆเหล่านี้ ดังที่เดวิด ฮิลเบิร์ตสุดยอดนักคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 19และ20 ได้เคยกล่าวเอาไว้ในปี 1900 ในการประชุมสัมมนาของนักคณิตศาสตร์ตอนหนึ่งว่า "คณิตศาสตร์คือฐานรากของความรู้ที่แม่นยำทั้งหมดในการศึกษาปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ"
กระทู้นี้เราจะมารู้จักกับ Bertrand's box paradox เพื่อเป็นตัวอย่างว่าความจริงบางอย่างไม่อาจใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ได้ ถึงแม้จะลองนึกตรึกตรองก็อาจผิดพลาดได้ การใช้สามัญสำนึกลองคิดเอาบางทีก็ผิด ต้องอาศัยคณิตศาสตร์เท่านั่นเพื่อเข้าถึงความจริงเหล่านี้
-----------------------------
เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ ถ้าชอบช่วยกดบวก กดถูกใจด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
- จขกท. สุดหล่อ