Dark Tales of London:
มือมาร (The Hand of Glory)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บทนำ : http://ppantip.com/topic/32052994
ตอนที่ 1 : http://ppantip.com/topic/32071542
ตอนที่ 2 : http://ppantip.com/topic/32113866
ตอนที่ 3 : http://ppantip.com/topic/32161547
ตอนที่ 4 : http://ppantip.com/topic/32210478
ตอนจบ : http://ppantip.com/topic/32260401
ทวิฆาต (The Man Who Died Twice)
บทนำ :
http://ppantip.com/topic/32351131
-----------------------------------------------------------------------------------------------
(1)
เซนต์เจมส์พาร์ก, ลอนดอน, 20 มกราคม 1889
อาชญากรรมไม่เคยเลือกวัน เวลา และสถานที่ คือ สิ่งที่ข้าพเจ้าตระหนักดีมาตลอดระยะเวลาร่วมยี่สิบปี นับแต่เริ่มทำอาชีพตำรวจเป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นครั้งที่เริ่มเป็นพลตระเวนสังกัดตำรวจภูธรภูมิภาคนอร์ทไรดิ้งและยอร์ก จนถึงบัดนี้ที่ข้าพเจ้าเป็นสารวัตรสืบสวนสังกัดกองบัญชาการกลางตำรวจนครบาล หรือ สก็อตแลนด์ยาร์ด ในกรุงลอนดอน
ด้วยการงานของตำรวจที่ยากจะเลือกวันหยุดได้ ทำให้แมรี่ ภรรยาผู้ล่วงลับของข้าพเจ้าต้องไปโบสถ์ตามลำพังในวันอาทิตย์อยู่บ่อยครั้ง หรือร้ายกว่านั้น คือ ข้าพเจ้าอาจถูกตามตัวออกไปจากโบสถ์กลางคัน และปล่อยให้หล่อนเดินทางกลับบ้านเพียงคนเดียว โดยที่หล่อนก็ไม่รู้ชัดว่า ข้าพเจ้าจะกลับไปรับประทานอาหารกับหล่อนได้มื้อไหน แต่กระนั้น หล่อนก็ไม่เคยบ่นว่าหรือแสดงอาการหงุดหงิดกับข้าพเจ้า และมีความอดทนกับข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก ซึ่งนั่นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดอยู่ไม่น้อยที่มีเวลาให้หล่อนน้อยลง หากข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ชายที่โชคดีที่สุดที่มีหล่อนเป็นคู่ชีวิต
เพราะแมรี่ ข้าพเจ้าจึงกระตือรือร้นจะหาเวลาว่างเพื่ออยู่กับหล่อน พาหล่อนไปเที่ยวบ้าง พยายามทำหน้าที่ของสามีที่ดีเพื่อตอบแทนความดีของหล่อน แต่เมื่อหล่อนตายจากและข้าพเจ้าย้ายเข้ามาอยู่ในลอนดอน ข้าพเจ้าก็ไม่เหลือเหตุผลในการขวนขวายหาเวลาว่างให้ตนเองอีก สิ่งที่ข้าพเจ้าเหลืออยู่มีเพียงงานอย่างเดียวเท่านั้น แม้จะมีเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาที่สนิทสนมกัน แต่เราต่างก็อยากมีช่วงเวลาส่วนตัวเป็นของตนเองเสียมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อต้องทำคดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่ไวท์ชาเพิลภายใต้ความกดดันมาตลอดระยะเวลาครึ่งปีที่ผ่านมา โดยไม่มีวี่แววว่าจะคลี่คลายได้เมื่อใด
ในเวลาว่าง หากไม่ไปอ่านหรือยืมหนังสือที่ห้องสมุด ไปเดินเล่น หรือเล่นกีฬา ข้าพเจ้าก็ไม่คิดอยากไปไหน นานครั้งจึงจะออกไปรับประทานอาหารค่ำหรือไปดูมหรสพกับเพื่อนที่สนิทสนมกันสักหนหนึ่ง พวกสโมสรสำหรับสุภาพบุรุษต่าง ๆ ไม่เคยอยู่ในความคิดของข้าพเจ้า เพราะรู้สึกว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว สโมสรเหล่านี้เป็นที่พบปะสังสรรค์ของคนในสังคมชั้นสูงเสียมากกว่าชนชั้นกลางอย่างข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปร่วมงานเลี้ยงบ้างก็เฉพาะเวลาที่ต้องติดตามผู้บังคับบัญชา หรือไปตามมารยาทเพราะได้รับเชิญเท่านั้น แต่ดูเหมือนว่า ชีวิตซ้ำซากของข้าพเจ้าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เมื่อได้รู้จักกับ ดร. โทเบียส ฟอล์กเนอร์นี่เอง
เนื่องจากวันนี้เป็นวันอาทิตย์ และคดีที่พินชินสตรีทไม่ใช่คดีที่ซับซ้อน การชันสูตรศพของหญิงผู้เคราะห์ร้ายจึงใช้เวลาไม่นานนัก หลังจากตรวจศพและสรุปสาเหตุการตายของหล่อนได้แล้ว จ่ามัสเกรฟก็ขอตัวรีบกลับไปพบคู่หมั้นของเขาทันที ข้าพเจ้าซึ่งเป็นคนตัวเปล่าก็ไม่มีแผนการอะไรอีก แต่แล้ว ดร. ฟอล์กเนอร์ก็ทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจ เมื่อเขาถามว่า ข้าพเจ้าว่างอยู่หรือไม่ และชวนข้าพเจ้าไปเดินเล่นในสวนสาธารณะสักแห่งหลังรับประทานอาหารกลางวัน
นั่นเป็นเรื่องแปลก เพราะก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเห็นเขามีอาการเจ็บขาและท่าทางไม่สะดวกกับการยืนหรือเดินนัก แต่เขากลับเลือกที่จะใช้เวลาว่างในวันอาทิตย์ไปกับการเดินเล่นท่ามกลางหิมะที่เริ่มละลาย แม้จะไม่ค่อยเข้าใจนัก หากข้าพเจ้าก็ตอบรับคำชวนนั้นโดยดี
หลังอาหารกลางวันในย่านสแตรนด์ ดร. ฟอล์กเนอร์และข้าพเจ้าก็พาตัวเองมาจนถึงสวนสาธารณะเซนต์เจมส์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากที่ทำงานของข้าพเจ้า คือ กองบัญชาการกลางตำรวจนครบาลที่ไวท์ฮอลล์นัก และเป็นสถานที่ซึ่งข้าพเจ้ามักจะมาเดินเล่นเพื่อผ่อนคลายจากการงานเป็นประจำ
เราเดินมาหยุดยืนที่มุมหนึ่งของทะเลสาบกลางสวนฝั่งติดกับฮอร์สการ์ดส์พาเรด
(1) ซึ่งเป็นมุมที่ข้าพเจ้าชอบที่สุดมุมหนึ่ง เพราะไม่เพียงแต่เป็นจุดที่สามารถมองตรงไปยังพระราชวังบักกิ้งแฮมจากระยะไกลได้ชัดเจนที่สุดอย่างเดียว หากการได้เห็นพื้นที่สีเขียวและผืนน้ำ ทำให้ข้าพเจ้าซึ่งเกิดในหมู่บ้านริมทะเลทางตอนเหนือของยอร์กเชียร์รู้สึกอุ่นใจเหมือนได้ใกล้ชิดกับถิ่นที่จากมา ทั้งเสียงของกิ่งวิลโลว์ที่ทอดโน้มลงสัมผัสผิวน้ำยามต้องสายลมยังเป็นเหมือนเสียงคลื่นทะเลที่ข้าพเจ้าคุ้นเคยมาทั้งชีวิต แม้เวลานี้ต้นไม้จะทิ้งใบไปหมดแล้ว แต่น้ำแข็งและหิมะที่ยังหลงเหลือและเกาะค้างตามกิ่งก้านเหล่านั้นก็ดูงามไปอีกแบบหนึ่ง
“คุณหมอไม่เป็นไรแล้วแน่หรือ” ข้าพเจ้าถามเพื่อความแน่ใจ เพราะเราใช้เวลาในการเดินมาที่นี่นานมากพอสมควร แต่ดูเหมือนว่าหลังจากออกจากโรงพยาบาลมาแล้ว เขาแทบจะไม่แสดงความยากลำบากในการเคลื่อนไหวเท่าที่ข้าพเจ้าเห็นก่อนหน้านี้
“ฤทธิ์ของมอร์ฟีน
(2) ยังอยู่ได้อีกหลายชั่วโมงครับ ไม่เป็นไร” เขาตอบราวกับเรื่องที่พูดเป็นเรื่องดินฟ้าอากาศ
นี่เองกระมัง คือ สาเหตุที่เขาขอตัวเข้าไปทำธุระในห้องทำงานและให้ข้าพเจ้ารอเขาข้างนอกสักครู่หนึ่ง ก่อนที่เขาจะตามออกมา แม้จะเข้าใจถึงความจำเป็นของเขา แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าคาดไม่ถึง
ดร. ฟอล์กเนอร์ยิ้มน้อย ๆ ให้ข้าพเจ้า “ไม่ต้องตกใจไป ผมไม่ได้ใช้มันบ่อยนัก”
“ลูกปืนที่อยู่ในขานั่น ผ่าออกไม่ได้เลยจริง ๆ หรือ”
เขาไม่ได้ตอบคำถามที่ข้าพเจ้าหลุดปากออกไป และดูเหมือนคำถามด้วยความสงสัยใคร่รู้ของข้าพเจ้าข้อนั้นจะสะกิดความรู้สึกบางอย่างของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยเขานิ่งเงียบไปชั่วขณะ และนั่งมองลมหายใจของตนเองกระทบอากาศหนาวเย็นที่ล้อมรับตัวเราอยู่จนกลายเป็นไอสีขาวลอยอยู่ในอากาศอยู่อย่างครุ่นคิด
“ขออภัยผมเถอะ คุณหมอ”
“มิได้ครับ สารวัตร ไม่ต้องขอโทษหรอก” เขาบอก “ที่ผ่ากระสุนออกมาไม่ได้ เนื่องจากทางเข้าของแผลอยู่ด้านหลังเข่า กระสุนฝังอยู่ในตำแหน่งที่ผ่าออกได้ยาก เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ถ้าพลาด ผมอาจเสียเลือดจนตาย พิการ หรือติดเชื้อจนต้องตัดขาทิ้งทีหลัง ซึ่งวิธีรักษาที่ง่ายที่สุด คือ ตัดขาข้างซ้ายเหนือเข่าออกเสียให้หมดเรื่องไป แต่ผลก็อาจไม่ต่างกัน เพราะในเวลานั้น ผมจะเสียเลือดมาก และขาดน้ำถึงตายได้ ทางเลือกสุดท้ายที่มีอยู่ คือ ปล่อยไว้อย่างนั้น…”
“คุณพระช่วย” ข้าพเจ้าอุทานหลังจากได้ทราบคำตอบจากปากเขา แต่คนเล่ากลับเป็นฝ่ายที่ยังใจเย็น และยิ้มปลอบราวกับว่าสิ่งที่ตนประสบมานั้นไม่ใช่เรื่องหนักหนาอันควรต้องเป็นห่วงแต่อย่างใด
ดร. ฟอล์กเนอร์นั่งลงบนม้านั่งยาว พาดไม้เท้าไว้กับที่วางแขน และลูบเข่าข้างที่เจ็บด้วยอาการคิดคำนึง “สารวัตรอยู่ลอนดอน คงได้ติดตามข่าวการรบที่อาบูเคลียในซูดานเมื่อสักสี่หรือห้าปีก่อนอยู่บ้างกระมัง”
ข้าพเจ้าพยักหน้ารับ และนั่งลงข้างเขา “แน่นอน การรบครั้งนั้นเป็นที่กล่าวขวัญกันมากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางไปช่วยนายพลกอร์ดอนที่กรุงคาทูม และการจัดกองทหารที่ใช้อูฐเป็นพาหนะขึ้น”
การสู้รบที่อาบูเคลียที่เขากล่าวถึง เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมาห์ดิสต์ซึ่งมีชนวนเหตุมาจากความพยายามของชาวซูดานในการที่จะขับไล่ผู้ปกครองชาวอียิปต์ออกไปจากประเทศ โดยโมฮัมเม็ด อาห์เม็ดรวบรวมกำลังผู้ศรัทธาออกทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ขับไล่เคดิฟแห่งอียิปต์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองซูดานออกไป แม้นายกรัฐมนตรีวิลเลียม แกลดสโตนคิดจะวางมือจากแทรกแซงกิจการของอียิปต์และซูดาน แต่เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว ศักดิ์ศรีของจักรวรรดิอังกฤษในฐานะเจ้าอาณานิคมกลายเป็นเรื่องหนักหนาเกินกว่าจะละวางได้
ถึงรัฐบาลของเราจะหลีกเลี่ยงการใช้กำลังเข้าจัดการปัญหาของอียิปต์และซูดาน โดยบอกผ่านทางเคดิฟให้ออกคำสั่งให้ผู้ว่าการชาร์ลส์ กอร์ดอนพาคนของอังกฤษออกไปจากซูดานเสีย แต่นายพลกอร์ดอนก็วางเฉย รัฐบาลอังกฤษจึงจำต้องยอมให้นายพลกอร์ดอนดำเนินการต่อ และได้แต่หวังว่า เขาจะเข้าถึงกรุงคาทูมและพาคนของอังกฤษออกจากพื้นที่ได้โดยไม่มีความสูญเสีย แต่เมื่อไปถึงกรุงคาทูมแล้ว เขากลับตกอยู่ในวงล้อม ทางหนีที่เหลืออยู่เพียงทางเดียว คือ แม่น้ำไนล์ ก็เชี่ยวกรากและมีอุปสรรคกีดขวางจำนวนมาก ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับทางการอังกฤษในอียิปต์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เรียกได้ว่าแทบถูกตัดขาดไปเกือบทั้งหมด
ต่อให้นายกรัฐมนตรีแกลดสโตนไม่อยากเข้าแทรกแซง แต่ประชาชนที่คอยติดตามข่าววีรกรรมของนายพลกอร์ดอนมาตลอดไม่พอใจกับการไม่เข้าไปช่วยเหลือคนตน ทั้งสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียก็ทรงมีพระราชดำริในทำนองเดียวกัน ทำให้เขาจำต้องส่งกองกำลังสำรวจ
(3) ไปยังกรุงคาทูม เพื่อนำตัวนายพลกอร์ดอนออกมาให้ได้ ซึ่งในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็มองเห็นความจำเป็นดังกล่าวอยู่ แม้ว่าจะเห็นว่านายพลกอร์ดอนไม่ควรพาตนเองเข้าไปเสี่ยงตั้งแต่แรก แต่ก็ยังมีคนของอังกฤษคนอื่น ๆ และชาวต่างชาติอีกมากที่ยังติดค้างอยู่ในนั้นที่ควรได้รับการช่วยเหลือ
ลอร์ดโวลส์ลีย์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกองกำลังสำรวจในพื้นที่ซูดานได้เลือกใช้เส้นทางเข้ายังกรุงคาทูมผ่านแม่น้ำไนล์ เพราะแม้จะไกลกว่า แต่ก็เสี่ยงกับการปะทะน้อยกว่า ถึงกระนั้นก็ยังประสบปัญหาในการเดินทางในเส้นทางดังกล่าว เพราะจำเป็นต้องใช้เรือกลไฟซึ่งต้องต่อขึ้นใหม่ เนื่องจากถูกกดดันด้วยความคาดหวังของประชาชนชาวอังกฤษ ที่ต้องการให้เข้าไปช่วยเหลือนายพลกอร์ดอนออกมาให้ได้ ลอร์ดโวลส์ลีย์จึงจัดกองกำลังผสมเคลื่อนที่เร็ว ให้เข้าไปถึงพื้นที่เป้าหมายไปก่อน โดยจัดตั้งหน่วยทหารซึ่งใช้อูฐเป็นพาหนะขึ้น โดยดึงเอากำลังทหารราบและทหารม้าจากหน่วยต่าง ๆ เข้าปฏิบัติการ ข่าวหน่วยทหารที่ใช้อูฐเป็นพาหนะ
(4) เป็นที่กล่าวขวัญในบรรดาผู้ที่คอยติดตามข่าวอยู่ในลอนดอนด้วยความตื่นเต้นและอัศจรรย์ใจกันเป็นอันมาก
ระหว่างที่ลอร์ดโวลส์ลีย์ควบคุมการต่อเรือ เซอร์เฮอร์เบิร์ต สจ๊วร์ตก็ได้นำกองทหารเดินทางล่วงหน้าไปทางทะเลทราย โดยมีกำลังสนับสนุนจากกองพลน้อยซัสเซ็กส์
(5) และทหารม้าฮุสซาร์หน่วยที่สิบเก้า
(6) ซึ่งปฏิบัติการในซูดานจนคุ้นเคยกับพื้นที่ตามมาสมทบ
-----------------------------------------------------------------
(1) Horse Guards Parade ลานสวนสนามหน้า Palace of Whitehall ใช้เป็นสถานที่ในการจัดสวนสนามและพระราชพิธีต่าง ๆ สถานที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียง เช่น สำนักงานสก็อตแลนด์ยาร์ดเดิม Horse Guard Building (ป้จจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ทหารม้ารักษาพระองค์ หรือ Household Cavalry Museum) เป็นต้น แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพอังกฤษด้วย
(2) ในสมัยนั้น มอร์ฟีน โคเคน และฝิ่น เป็นสิ่งที่ซื้อขายได้อย่างถูกกฎหมาย
(3) expeditionary force
(4) Camel Corps
(5) Sussex Regiment
(6) The 19th Hussars (ในปัจจุบัน คือ 19th Roya Hussars - Queen Alexandra’s Own)
(มีต่อนะคะ)
Dark Tales of London: ทวิฆาต (The Man Who Died Twice) - ตอนที่ 1
มือมาร (The Hand of Glory)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทวิฆาต (The Man Who Died Twice)
บทนำ : http://ppantip.com/topic/32351131
(1)
อาชญากรรมไม่เคยเลือกวัน เวลา และสถานที่ คือ สิ่งที่ข้าพเจ้าตระหนักดีมาตลอดระยะเวลาร่วมยี่สิบปี นับแต่เริ่มทำอาชีพตำรวจเป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นครั้งที่เริ่มเป็นพลตระเวนสังกัดตำรวจภูธรภูมิภาคนอร์ทไรดิ้งและยอร์ก จนถึงบัดนี้ที่ข้าพเจ้าเป็นสารวัตรสืบสวนสังกัดกองบัญชาการกลางตำรวจนครบาล หรือ สก็อตแลนด์ยาร์ด ในกรุงลอนดอน
ด้วยการงานของตำรวจที่ยากจะเลือกวันหยุดได้ ทำให้แมรี่ ภรรยาผู้ล่วงลับของข้าพเจ้าต้องไปโบสถ์ตามลำพังในวันอาทิตย์อยู่บ่อยครั้ง หรือร้ายกว่านั้น คือ ข้าพเจ้าอาจถูกตามตัวออกไปจากโบสถ์กลางคัน และปล่อยให้หล่อนเดินทางกลับบ้านเพียงคนเดียว โดยที่หล่อนก็ไม่รู้ชัดว่า ข้าพเจ้าจะกลับไปรับประทานอาหารกับหล่อนได้มื้อไหน แต่กระนั้น หล่อนก็ไม่เคยบ่นว่าหรือแสดงอาการหงุดหงิดกับข้าพเจ้า และมีความอดทนกับข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก ซึ่งนั่นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดอยู่ไม่น้อยที่มีเวลาให้หล่อนน้อยลง หากข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ชายที่โชคดีที่สุดที่มีหล่อนเป็นคู่ชีวิต
เพราะแมรี่ ข้าพเจ้าจึงกระตือรือร้นจะหาเวลาว่างเพื่ออยู่กับหล่อน พาหล่อนไปเที่ยวบ้าง พยายามทำหน้าที่ของสามีที่ดีเพื่อตอบแทนความดีของหล่อน แต่เมื่อหล่อนตายจากและข้าพเจ้าย้ายเข้ามาอยู่ในลอนดอน ข้าพเจ้าก็ไม่เหลือเหตุผลในการขวนขวายหาเวลาว่างให้ตนเองอีก สิ่งที่ข้าพเจ้าเหลืออยู่มีเพียงงานอย่างเดียวเท่านั้น แม้จะมีเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาที่สนิทสนมกัน แต่เราต่างก็อยากมีช่วงเวลาส่วนตัวเป็นของตนเองเสียมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อต้องทำคดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่ไวท์ชาเพิลภายใต้ความกดดันมาตลอดระยะเวลาครึ่งปีที่ผ่านมา โดยไม่มีวี่แววว่าจะคลี่คลายได้เมื่อใด
ในเวลาว่าง หากไม่ไปอ่านหรือยืมหนังสือที่ห้องสมุด ไปเดินเล่น หรือเล่นกีฬา ข้าพเจ้าก็ไม่คิดอยากไปไหน นานครั้งจึงจะออกไปรับประทานอาหารค่ำหรือไปดูมหรสพกับเพื่อนที่สนิทสนมกันสักหนหนึ่ง พวกสโมสรสำหรับสุภาพบุรุษต่าง ๆ ไม่เคยอยู่ในความคิดของข้าพเจ้า เพราะรู้สึกว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว สโมสรเหล่านี้เป็นที่พบปะสังสรรค์ของคนในสังคมชั้นสูงเสียมากกว่าชนชั้นกลางอย่างข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปร่วมงานเลี้ยงบ้างก็เฉพาะเวลาที่ต้องติดตามผู้บังคับบัญชา หรือไปตามมารยาทเพราะได้รับเชิญเท่านั้น แต่ดูเหมือนว่า ชีวิตซ้ำซากของข้าพเจ้าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เมื่อได้รู้จักกับ ดร. โทเบียส ฟอล์กเนอร์นี่เอง
เนื่องจากวันนี้เป็นวันอาทิตย์ และคดีที่พินชินสตรีทไม่ใช่คดีที่ซับซ้อน การชันสูตรศพของหญิงผู้เคราะห์ร้ายจึงใช้เวลาไม่นานนัก หลังจากตรวจศพและสรุปสาเหตุการตายของหล่อนได้แล้ว จ่ามัสเกรฟก็ขอตัวรีบกลับไปพบคู่หมั้นของเขาทันที ข้าพเจ้าซึ่งเป็นคนตัวเปล่าก็ไม่มีแผนการอะไรอีก แต่แล้ว ดร. ฟอล์กเนอร์ก็ทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจ เมื่อเขาถามว่า ข้าพเจ้าว่างอยู่หรือไม่ และชวนข้าพเจ้าไปเดินเล่นในสวนสาธารณะสักแห่งหลังรับประทานอาหารกลางวัน
นั่นเป็นเรื่องแปลก เพราะก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเห็นเขามีอาการเจ็บขาและท่าทางไม่สะดวกกับการยืนหรือเดินนัก แต่เขากลับเลือกที่จะใช้เวลาว่างในวันอาทิตย์ไปกับการเดินเล่นท่ามกลางหิมะที่เริ่มละลาย แม้จะไม่ค่อยเข้าใจนัก หากข้าพเจ้าก็ตอบรับคำชวนนั้นโดยดี
หลังอาหารกลางวันในย่านสแตรนด์ ดร. ฟอล์กเนอร์และข้าพเจ้าก็พาตัวเองมาจนถึงสวนสาธารณะเซนต์เจมส์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากที่ทำงานของข้าพเจ้า คือ กองบัญชาการกลางตำรวจนครบาลที่ไวท์ฮอลล์นัก และเป็นสถานที่ซึ่งข้าพเจ้ามักจะมาเดินเล่นเพื่อผ่อนคลายจากการงานเป็นประจำ
เราเดินมาหยุดยืนที่มุมหนึ่งของทะเลสาบกลางสวนฝั่งติดกับฮอร์สการ์ดส์พาเรด (1) ซึ่งเป็นมุมที่ข้าพเจ้าชอบที่สุดมุมหนึ่ง เพราะไม่เพียงแต่เป็นจุดที่สามารถมองตรงไปยังพระราชวังบักกิ้งแฮมจากระยะไกลได้ชัดเจนที่สุดอย่างเดียว หากการได้เห็นพื้นที่สีเขียวและผืนน้ำ ทำให้ข้าพเจ้าซึ่งเกิดในหมู่บ้านริมทะเลทางตอนเหนือของยอร์กเชียร์รู้สึกอุ่นใจเหมือนได้ใกล้ชิดกับถิ่นที่จากมา ทั้งเสียงของกิ่งวิลโลว์ที่ทอดโน้มลงสัมผัสผิวน้ำยามต้องสายลมยังเป็นเหมือนเสียงคลื่นทะเลที่ข้าพเจ้าคุ้นเคยมาทั้งชีวิต แม้เวลานี้ต้นไม้จะทิ้งใบไปหมดแล้ว แต่น้ำแข็งและหิมะที่ยังหลงเหลือและเกาะค้างตามกิ่งก้านเหล่านั้นก็ดูงามไปอีกแบบหนึ่ง
“คุณหมอไม่เป็นไรแล้วแน่หรือ” ข้าพเจ้าถามเพื่อความแน่ใจ เพราะเราใช้เวลาในการเดินมาที่นี่นานมากพอสมควร แต่ดูเหมือนว่าหลังจากออกจากโรงพยาบาลมาแล้ว เขาแทบจะไม่แสดงความยากลำบากในการเคลื่อนไหวเท่าที่ข้าพเจ้าเห็นก่อนหน้านี้
“ฤทธิ์ของมอร์ฟีน (2) ยังอยู่ได้อีกหลายชั่วโมงครับ ไม่เป็นไร” เขาตอบราวกับเรื่องที่พูดเป็นเรื่องดินฟ้าอากาศ
นี่เองกระมัง คือ สาเหตุที่เขาขอตัวเข้าไปทำธุระในห้องทำงานและให้ข้าพเจ้ารอเขาข้างนอกสักครู่หนึ่ง ก่อนที่เขาจะตามออกมา แม้จะเข้าใจถึงความจำเป็นของเขา แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าคาดไม่ถึง
ดร. ฟอล์กเนอร์ยิ้มน้อย ๆ ให้ข้าพเจ้า “ไม่ต้องตกใจไป ผมไม่ได้ใช้มันบ่อยนัก”
“ลูกปืนที่อยู่ในขานั่น ผ่าออกไม่ได้เลยจริง ๆ หรือ”
เขาไม่ได้ตอบคำถามที่ข้าพเจ้าหลุดปากออกไป และดูเหมือนคำถามด้วยความสงสัยใคร่รู้ของข้าพเจ้าข้อนั้นจะสะกิดความรู้สึกบางอย่างของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยเขานิ่งเงียบไปชั่วขณะ และนั่งมองลมหายใจของตนเองกระทบอากาศหนาวเย็นที่ล้อมรับตัวเราอยู่จนกลายเป็นไอสีขาวลอยอยู่ในอากาศอยู่อย่างครุ่นคิด
“ขออภัยผมเถอะ คุณหมอ”
“มิได้ครับ สารวัตร ไม่ต้องขอโทษหรอก” เขาบอก “ที่ผ่ากระสุนออกมาไม่ได้ เนื่องจากทางเข้าของแผลอยู่ด้านหลังเข่า กระสุนฝังอยู่ในตำแหน่งที่ผ่าออกได้ยาก เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ถ้าพลาด ผมอาจเสียเลือดจนตาย พิการ หรือติดเชื้อจนต้องตัดขาทิ้งทีหลัง ซึ่งวิธีรักษาที่ง่ายที่สุด คือ ตัดขาข้างซ้ายเหนือเข่าออกเสียให้หมดเรื่องไป แต่ผลก็อาจไม่ต่างกัน เพราะในเวลานั้น ผมจะเสียเลือดมาก และขาดน้ำถึงตายได้ ทางเลือกสุดท้ายที่มีอยู่ คือ ปล่อยไว้อย่างนั้น…”
“คุณพระช่วย” ข้าพเจ้าอุทานหลังจากได้ทราบคำตอบจากปากเขา แต่คนเล่ากลับเป็นฝ่ายที่ยังใจเย็น และยิ้มปลอบราวกับว่าสิ่งที่ตนประสบมานั้นไม่ใช่เรื่องหนักหนาอันควรต้องเป็นห่วงแต่อย่างใด
ดร. ฟอล์กเนอร์นั่งลงบนม้านั่งยาว พาดไม้เท้าไว้กับที่วางแขน และลูบเข่าข้างที่เจ็บด้วยอาการคิดคำนึง “สารวัตรอยู่ลอนดอน คงได้ติดตามข่าวการรบที่อาบูเคลียในซูดานเมื่อสักสี่หรือห้าปีก่อนอยู่บ้างกระมัง”
ข้าพเจ้าพยักหน้ารับ และนั่งลงข้างเขา “แน่นอน การรบครั้งนั้นเป็นที่กล่าวขวัญกันมากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางไปช่วยนายพลกอร์ดอนที่กรุงคาทูม และการจัดกองทหารที่ใช้อูฐเป็นพาหนะขึ้น”
การสู้รบที่อาบูเคลียที่เขากล่าวถึง เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมาห์ดิสต์ซึ่งมีชนวนเหตุมาจากความพยายามของชาวซูดานในการที่จะขับไล่ผู้ปกครองชาวอียิปต์ออกไปจากประเทศ โดยโมฮัมเม็ด อาห์เม็ดรวบรวมกำลังผู้ศรัทธาออกทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ขับไล่เคดิฟแห่งอียิปต์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองซูดานออกไป แม้นายกรัฐมนตรีวิลเลียม แกลดสโตนคิดจะวางมือจากแทรกแซงกิจการของอียิปต์และซูดาน แต่เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว ศักดิ์ศรีของจักรวรรดิอังกฤษในฐานะเจ้าอาณานิคมกลายเป็นเรื่องหนักหนาเกินกว่าจะละวางได้
ถึงรัฐบาลของเราจะหลีกเลี่ยงการใช้กำลังเข้าจัดการปัญหาของอียิปต์และซูดาน โดยบอกผ่านทางเคดิฟให้ออกคำสั่งให้ผู้ว่าการชาร์ลส์ กอร์ดอนพาคนของอังกฤษออกไปจากซูดานเสีย แต่นายพลกอร์ดอนก็วางเฉย รัฐบาลอังกฤษจึงจำต้องยอมให้นายพลกอร์ดอนดำเนินการต่อ และได้แต่หวังว่า เขาจะเข้าถึงกรุงคาทูมและพาคนของอังกฤษออกจากพื้นที่ได้โดยไม่มีความสูญเสีย แต่เมื่อไปถึงกรุงคาทูมแล้ว เขากลับตกอยู่ในวงล้อม ทางหนีที่เหลืออยู่เพียงทางเดียว คือ แม่น้ำไนล์ ก็เชี่ยวกรากและมีอุปสรรคกีดขวางจำนวนมาก ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับทางการอังกฤษในอียิปต์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เรียกได้ว่าแทบถูกตัดขาดไปเกือบทั้งหมด
ต่อให้นายกรัฐมนตรีแกลดสโตนไม่อยากเข้าแทรกแซง แต่ประชาชนที่คอยติดตามข่าววีรกรรมของนายพลกอร์ดอนมาตลอดไม่พอใจกับการไม่เข้าไปช่วยเหลือคนตน ทั้งสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียก็ทรงมีพระราชดำริในทำนองเดียวกัน ทำให้เขาจำต้องส่งกองกำลังสำรวจ (3) ไปยังกรุงคาทูม เพื่อนำตัวนายพลกอร์ดอนออกมาให้ได้ ซึ่งในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็มองเห็นความจำเป็นดังกล่าวอยู่ แม้ว่าจะเห็นว่านายพลกอร์ดอนไม่ควรพาตนเองเข้าไปเสี่ยงตั้งแต่แรก แต่ก็ยังมีคนของอังกฤษคนอื่น ๆ และชาวต่างชาติอีกมากที่ยังติดค้างอยู่ในนั้นที่ควรได้รับการช่วยเหลือ
ลอร์ดโวลส์ลีย์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกองกำลังสำรวจในพื้นที่ซูดานได้เลือกใช้เส้นทางเข้ายังกรุงคาทูมผ่านแม่น้ำไนล์ เพราะแม้จะไกลกว่า แต่ก็เสี่ยงกับการปะทะน้อยกว่า ถึงกระนั้นก็ยังประสบปัญหาในการเดินทางในเส้นทางดังกล่าว เพราะจำเป็นต้องใช้เรือกลไฟซึ่งต้องต่อขึ้นใหม่ เนื่องจากถูกกดดันด้วยความคาดหวังของประชาชนชาวอังกฤษ ที่ต้องการให้เข้าไปช่วยเหลือนายพลกอร์ดอนออกมาให้ได้ ลอร์ดโวลส์ลีย์จึงจัดกองกำลังผสมเคลื่อนที่เร็ว ให้เข้าไปถึงพื้นที่เป้าหมายไปก่อน โดยจัดตั้งหน่วยทหารซึ่งใช้อูฐเป็นพาหนะขึ้น โดยดึงเอากำลังทหารราบและทหารม้าจากหน่วยต่าง ๆ เข้าปฏิบัติการ ข่าวหน่วยทหารที่ใช้อูฐเป็นพาหนะ (4) เป็นที่กล่าวขวัญในบรรดาผู้ที่คอยติดตามข่าวอยู่ในลอนดอนด้วยความตื่นเต้นและอัศจรรย์ใจกันเป็นอันมาก
ระหว่างที่ลอร์ดโวลส์ลีย์ควบคุมการต่อเรือ เซอร์เฮอร์เบิร์ต สจ๊วร์ตก็ได้นำกองทหารเดินทางล่วงหน้าไปทางทะเลทราย โดยมีกำลังสนับสนุนจากกองพลน้อยซัสเซ็กส์ (5) และทหารม้าฮุสซาร์หน่วยที่สิบเก้า (6) ซึ่งปฏิบัติการในซูดานจนคุ้นเคยกับพื้นที่ตามมาสมทบ
-----------------------------------------------------------------
(1) Horse Guards Parade ลานสวนสนามหน้า Palace of Whitehall ใช้เป็นสถานที่ในการจัดสวนสนามและพระราชพิธีต่าง ๆ สถานที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียง เช่น สำนักงานสก็อตแลนด์ยาร์ดเดิม Horse Guard Building (ป้จจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ทหารม้ารักษาพระองค์ หรือ Household Cavalry Museum) เป็นต้น แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพอังกฤษด้วย
(2) ในสมัยนั้น มอร์ฟีน โคเคน และฝิ่น เป็นสิ่งที่ซื้อขายได้อย่างถูกกฎหมาย
(3) expeditionary force
(4) Camel Corps
(5) Sussex Regiment
(6) The 19th Hussars (ในปัจจุบัน คือ 19th Roya Hussars - Queen Alexandra’s Own)
(มีต่อนะคะ)