มันรวมๆ มา หลายเหตุการ อาทิ
เมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเสนอจะเลี้ยงมื้อนั้น แม้มันจะไม่ใช่โอกาสพิเศษก็ตาม
หลายๆ คนก็จะออกแนว " มื้อนี้ฟรี กินไม่ต้องยั้ง สั่งได้ตามใจ " แล้วก็มักจะสั่งมาจำนวนมากกว่าปรกติ มากๆ
ที่พอเปรียบเทียบได้ เพราะทานด้วยกันประจำ หลายๆครั้ง ไม่มีการถามคนรอบข้างว่า ทานกันได้ไหม แพ้อะไรกันไหม
นึกจะสั่งก็สั่งเลยที่ตัวเองชอบ เปิดเมนูชี้กันเลย แต่ก็อัดกันจนหมดนะ ที่พูดว่าอัดนี่เพราะมีพักครึ่งด้วย
ขอไปเดินสูบบุหรี่ก่อน เดี๋ยวมากินใหม่
บางครั้ง ชวนคนที่เราไม่สนิทไปด้วย เรามารู้ ก็ตอนที่อยู่ที่ร้านแล้ว ( นัดสถานที่ แล้วตามไปเจอกัน )
สั่งเครื่องื่มแอลกอฮอล์ มีเสียงสนับสนุนว่า ขวดสองขวด ไม่เป็นไรหรอกน่า
- จริงๆ เราต้องคำนึงถึงใจ และ กระเป๋าคนเลี้ยงหรือเปล่า เพราะเราไม่ควรเป็นผู้รับฝ่ายเดียว
ควรจะตอบแทนคนเลี้ยงบ้าง ในวาระอื่นๆ ใช่ไหมคะ ซึ่ง So far ก็ยังไม่มีใคร offer กลับ ยกเว้นลูกค้า
ซึ่งอันนี้ไม่ได้ Serious
- เราไม่เคย mind ที่จะจ่าย เพียงแต่ว่า มันทำให้เกิดคำถามว่า Are you really that desparate?
บางครั้งคิดไปถึงว่า เค้าทานไม่พอมาจากที่บ้านหรือเปล่าแล้วมื้อนี้เค้าอิ่มไหมนะ หวังว่าเค้าคงจะ Happy ก็ Fair enough
- เราไปทานกับใคร เราจะไม่ค่อยสั่งมาก เพราะไอ้อะไรที่แพงๆ ก็ทานเบื่อแล้ว ฟัวกราส์นี่เราเอามาผัดกระเพราเล่นด้วยซ้ำ
แต่มันออกมาเละนะ 555 แฟนเอามาให้จากฝรั่งเศส เราเบื่ออาหารง่ายมากๆ และจริงๆ เราออกจะ Half มังสวิรัส ซะด้วย คือ
ผักต้องมากกว่า 80 เปอเซนต์ ในแต่ละมื้อ และเราก็มักจะเลี้ยงคนที่เลี้ยงเรากลับเสมอ ไม่ว่าจะนานแค่ไหน
- มันคือ การ Take advantage หรือเปล่า เพราะเราไม่เคยทำให้คนที่เราไปด้วย ต้องรู้สึก Awkward
ขอขยายความนิด ส่วนมาก พวกที่เราเลี้ยงก็คือ รุ่นน้อง มันมักจะเป็นเวลาแบบว่า เราไปต่างประเทศนานแล้ว
กลับมาเจอพวกเค้า ก็สังสรรค์กัน ตอนมื้อกลางวัน อะไรอย่างนี้แหละ ซึ่งมันก็ร้านอาหารธรรมดาๆ ตามห้าง
เราไม่ได้ Expect ให้พวกเค้าเลี้ยงเรากลับตามโรงแรมแพงๆ หรอกน่า เราเข้าใจ
เรื่องที่สอง
การใส่ซองนี่คือ สมมติว่า ข้างบ้านมีงานแต่ง แล้ว Lets say ว่า บ้านเรามี ห้าคน บางครั้ง จำนวนซองที่ให้มาคือ มักจะเกินมาซองสองซอง
บอกเราตอนแจกซองว่า เผื่อบ้านแฟนเราด้วย เผื่อเค้ามาไม่ได้ ( ระดับความสนิทต่อแฟนเราคือ เจอหน้า และ สวัสดี เท่านั้น )
เค้าไม่ได้ให้กันบ้านละซองหรือคะ อันนี้ งง เพราะบ้านเรายังไม่มีงานแต่ง มีแต่งานฉลองเรียนจบของน้องสาว
ซึ่งก็จะประมาณว่า ใส่สองร้อย ( ให้เอง ) แล้วมาทั้งบ้าน ซึ่งหลายๆ คนเราก็ไม่ได้รู้จัก นอกจากสวัสดี
นอกเหนือจากนั้นยังตักกับข้าวกลับ ซึ่ง บางคนที่รู้จักกันจริงๆ ก็ยังมาไม่ถึง ไม่ทราบว่ากับข้าวเหลือพอหรือเปล่า
เพราะเรากลับก่อน
เรื่องที่สาม
การทานอาหารโดยไม่ใช้ช้อนกลาง เคี้ยวแจ๊บๆ ๆ แล้วก็แคะฟันแบบเปิดเผยนี่ เราเข้าใจว่า ทำได้เฉพาะที่บ้าน ( อย่างอนุโลม )
แต่เมื่อก้าวออกจากบ้านปุ้ป ความสามารถในการเข้าสังคมต้องมาก่อน เราเข้าใจถูกใช่ไหม มันไม่ได้ยากมากซะจนจะต้องมาอธิบาย
Traditional English food manner ที่มันมีอะไรเยอะแยะไปหมด เราคิดว่าเรื่องช้อนกลางนี้คือ Basic ที่ทุกบ้านสอน
และโรงเรียนก็สอนด้วย เด็กๆ ก็วิชาคหกรรม ป ห้า ป หก โตหน่อยก็วิชาสังคม หรือไม่ก็ วิชางานบ้าน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ
เรื่องที่สี่
หลายๆ ครั้งมักมีปัญหา เวลาไปทานบุฟเฟต์ ไม่ว่าจะ หัวละ ร้อยสามสิบเก้าบาท หรือ หัวละ พันอัพ
ไม่เข้าใจว่าจะตักเผื่อกันทำไม เมื่ออาหารเหลือ ก็เป็นที่น่าเสียดาย ยังไม่เคยเจอปรับ แต่เคยเจอมอง
พอติงเพื่อนก็มักได้คำตอบอยู่สองสามอย่าง นานๆกินที ตักให้คุ้มสิ, กุ้งมันแพง เอากุ้งก่อน, นี่มันบุฟเฟ เค้าเติมเรื่อยๆ
เค้าไม่มาสนใจเชคหรอก, กลัวจะไม่พอกินกัน
เรื่องที่ห้า
เมื่อถึงมื้อที่ควรจะแชร์ มักได้คำอ้างเสมอ ว่า ไม่ได้พกเงินมานะ เงินสดไม่พอนะ ( ทั้งๆ ที่ยอดบิลหาร บางที ก็แค่ ร้อยสองร้อยบาท )
หรือไม่ก็ เงียบ ใครอวุโส จ่าย อิ่มก่อน แล้วขอตัวไปจับกลุ่มคุยกันตามสวนก็มี ( คราวนั้น ทานกันในร้าน )
หรือไม่ก็ พูดให้ได้ยินเห็นๆ เลยว่า ก็ให้ XXX ( ชื่อของต่างชาติ แล้วแต่ว่าจะเป็นใคร ณ เวลานั้น ) จ่ายสิ แลกเป็นเงินไทยไม่เท่าไหร่
เราคนไทยเงินน้อยกว่าเค้านะ เงินเดือนเค้าเท่ากับเราตั้งหลายเดือน
หรือไม่ก็ บางที ยอมหาร แต่เถียงกันให้เห็นๆ เลย เช่น สมมติว่า คนละ 125 แล้วมีคนจ่าย 140 ก็เถียงกันว่า เออ อย่าลืมทอนกุนะ ( พวกเค้าคุยกันเอง )
ทีนี้ หลายๆ ครั้งมันฟังดูน่าเกลียด บางครั้งเถียงต่อหน้าลูกค้าบ้าง เพื่อเงิน สิบบาทยี่สิบบาท
พ้นร้านไปแล้ว จึงได้คำตอบว่า สิบบาทยี่สิบบาทก็เงินนะพี่
แปลว่า เงินเราเอาออกไม่ได้ แต่ถ้าเงินเขาจ่ายใช้ได้ตามใจ ????
เราเองไม่ใช่ผู้ดีอะไรหรอก ตอนเด็กๆ บ้านเราจนจะตาย แต่แม่เราสอนเรื่องมารยาทเวลาจะต้องไปทานข้างนอก
เช่นที่โบสถ์ เราเองไม่ได้มีโอกาสเดินเข้าอะไรที่มันธรรมดาๆ อย่าง KFC บ่อยๆ หรอกนะ นับครั้งได้เลย น้อยกว่าสิบครั้งแน่ๆ จน อายุ 17 18
เงินไป รร บางวันไม่พอ น้องเรางี่เง่า ก็ต้องให้น้องครบ ไม่งั้นมันจะงอน แล้วแม่จะปวดหัว
งานแต่งตามโรงแรม หรือ ร้านอาหารนี่ ไม่ต้องคิดเลย ญาติเราก็ไม่ได้มีเงิน พ่อแม่เราจะพาไปเองน่ะเหรอ ไม่มีทาง
ดังนั้น เราว่า มารยาท เริ่มจากประตูบ้าน นะ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องสอน อันที่จริง บางเหตุการณ์ ก็ไม่รุ้จะพูดยังไงด้วย
กลัวคนได้ฟังจะอาย หรือกลายเป็นว่าเราทำเค้าขายหน้าไป ซึ่งเราไม่ได้ต้องการทำให้ใครอับอายเลย
เพื่อนต่างชาติของเราให้ความเห็นว่า การมีใจคิดเผื่อคนอื่น คือ พื้นฐานที่ดี ของสังคมที่ไม่เห็นแก่ได้
เพราะเค้าก็อยู่ในเหตุการณ์เดียวกับเราหลายๆ ครั้ง
แล้วก็คิดเหมือนกันเราว่า บางสถานการณ์ เราโดน Take advantage หรือเปล่า
หรือเพราะว่า การที่ เป็นคนแบบนี้ จึงทำให้เป็นคนแบบนี้ และจะไม่มีอะไรเปลี่ยนจากทัศนคติแบบนี้
ใครเคยเจอแบบเรามั่ง
มารยาทบนโต๊ะอาหาร ควรเป็นอย่างไรแน่ หรือเราคิดมากไป
เมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเสนอจะเลี้ยงมื้อนั้น แม้มันจะไม่ใช่โอกาสพิเศษก็ตาม
หลายๆ คนก็จะออกแนว " มื้อนี้ฟรี กินไม่ต้องยั้ง สั่งได้ตามใจ " แล้วก็มักจะสั่งมาจำนวนมากกว่าปรกติ มากๆ
ที่พอเปรียบเทียบได้ เพราะทานด้วยกันประจำ หลายๆครั้ง ไม่มีการถามคนรอบข้างว่า ทานกันได้ไหม แพ้อะไรกันไหม
นึกจะสั่งก็สั่งเลยที่ตัวเองชอบ เปิดเมนูชี้กันเลย แต่ก็อัดกันจนหมดนะ ที่พูดว่าอัดนี่เพราะมีพักครึ่งด้วย
ขอไปเดินสูบบุหรี่ก่อน เดี๋ยวมากินใหม่
บางครั้ง ชวนคนที่เราไม่สนิทไปด้วย เรามารู้ ก็ตอนที่อยู่ที่ร้านแล้ว ( นัดสถานที่ แล้วตามไปเจอกัน )
สั่งเครื่องื่มแอลกอฮอล์ มีเสียงสนับสนุนว่า ขวดสองขวด ไม่เป็นไรหรอกน่า
- จริงๆ เราต้องคำนึงถึงใจ และ กระเป๋าคนเลี้ยงหรือเปล่า เพราะเราไม่ควรเป็นผู้รับฝ่ายเดียว
ควรจะตอบแทนคนเลี้ยงบ้าง ในวาระอื่นๆ ใช่ไหมคะ ซึ่ง So far ก็ยังไม่มีใคร offer กลับ ยกเว้นลูกค้า
ซึ่งอันนี้ไม่ได้ Serious
- เราไม่เคย mind ที่จะจ่าย เพียงแต่ว่า มันทำให้เกิดคำถามว่า Are you really that desparate?
บางครั้งคิดไปถึงว่า เค้าทานไม่พอมาจากที่บ้านหรือเปล่าแล้วมื้อนี้เค้าอิ่มไหมนะ หวังว่าเค้าคงจะ Happy ก็ Fair enough
- เราไปทานกับใคร เราจะไม่ค่อยสั่งมาก เพราะไอ้อะไรที่แพงๆ ก็ทานเบื่อแล้ว ฟัวกราส์นี่เราเอามาผัดกระเพราเล่นด้วยซ้ำ
แต่มันออกมาเละนะ 555 แฟนเอามาให้จากฝรั่งเศส เราเบื่ออาหารง่ายมากๆ และจริงๆ เราออกจะ Half มังสวิรัส ซะด้วย คือ
ผักต้องมากกว่า 80 เปอเซนต์ ในแต่ละมื้อ และเราก็มักจะเลี้ยงคนที่เลี้ยงเรากลับเสมอ ไม่ว่าจะนานแค่ไหน
- มันคือ การ Take advantage หรือเปล่า เพราะเราไม่เคยทำให้คนที่เราไปด้วย ต้องรู้สึก Awkward
ขอขยายความนิด ส่วนมาก พวกที่เราเลี้ยงก็คือ รุ่นน้อง มันมักจะเป็นเวลาแบบว่า เราไปต่างประเทศนานแล้ว
กลับมาเจอพวกเค้า ก็สังสรรค์กัน ตอนมื้อกลางวัน อะไรอย่างนี้แหละ ซึ่งมันก็ร้านอาหารธรรมดาๆ ตามห้าง
เราไม่ได้ Expect ให้พวกเค้าเลี้ยงเรากลับตามโรงแรมแพงๆ หรอกน่า เราเข้าใจ
เรื่องที่สอง
การใส่ซองนี่คือ สมมติว่า ข้างบ้านมีงานแต่ง แล้ว Lets say ว่า บ้านเรามี ห้าคน บางครั้ง จำนวนซองที่ให้มาคือ มักจะเกินมาซองสองซอง
บอกเราตอนแจกซองว่า เผื่อบ้านแฟนเราด้วย เผื่อเค้ามาไม่ได้ ( ระดับความสนิทต่อแฟนเราคือ เจอหน้า และ สวัสดี เท่านั้น )
เค้าไม่ได้ให้กันบ้านละซองหรือคะ อันนี้ งง เพราะบ้านเรายังไม่มีงานแต่ง มีแต่งานฉลองเรียนจบของน้องสาว
ซึ่งก็จะประมาณว่า ใส่สองร้อย ( ให้เอง ) แล้วมาทั้งบ้าน ซึ่งหลายๆ คนเราก็ไม่ได้รู้จัก นอกจากสวัสดี
นอกเหนือจากนั้นยังตักกับข้าวกลับ ซึ่ง บางคนที่รู้จักกันจริงๆ ก็ยังมาไม่ถึง ไม่ทราบว่ากับข้าวเหลือพอหรือเปล่า
เพราะเรากลับก่อน
เรื่องที่สาม
การทานอาหารโดยไม่ใช้ช้อนกลาง เคี้ยวแจ๊บๆ ๆ แล้วก็แคะฟันแบบเปิดเผยนี่ เราเข้าใจว่า ทำได้เฉพาะที่บ้าน ( อย่างอนุโลม )
แต่เมื่อก้าวออกจากบ้านปุ้ป ความสามารถในการเข้าสังคมต้องมาก่อน เราเข้าใจถูกใช่ไหม มันไม่ได้ยากมากซะจนจะต้องมาอธิบาย
Traditional English food manner ที่มันมีอะไรเยอะแยะไปหมด เราคิดว่าเรื่องช้อนกลางนี้คือ Basic ที่ทุกบ้านสอน
และโรงเรียนก็สอนด้วย เด็กๆ ก็วิชาคหกรรม ป ห้า ป หก โตหน่อยก็วิชาสังคม หรือไม่ก็ วิชางานบ้าน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ
เรื่องที่สี่
หลายๆ ครั้งมักมีปัญหา เวลาไปทานบุฟเฟต์ ไม่ว่าจะ หัวละ ร้อยสามสิบเก้าบาท หรือ หัวละ พันอัพ
ไม่เข้าใจว่าจะตักเผื่อกันทำไม เมื่ออาหารเหลือ ก็เป็นที่น่าเสียดาย ยังไม่เคยเจอปรับ แต่เคยเจอมอง
พอติงเพื่อนก็มักได้คำตอบอยู่สองสามอย่าง นานๆกินที ตักให้คุ้มสิ, กุ้งมันแพง เอากุ้งก่อน, นี่มันบุฟเฟ เค้าเติมเรื่อยๆ
เค้าไม่มาสนใจเชคหรอก, กลัวจะไม่พอกินกัน
เรื่องที่ห้า
เมื่อถึงมื้อที่ควรจะแชร์ มักได้คำอ้างเสมอ ว่า ไม่ได้พกเงินมานะ เงินสดไม่พอนะ ( ทั้งๆ ที่ยอดบิลหาร บางที ก็แค่ ร้อยสองร้อยบาท )
หรือไม่ก็ เงียบ ใครอวุโส จ่าย อิ่มก่อน แล้วขอตัวไปจับกลุ่มคุยกันตามสวนก็มี ( คราวนั้น ทานกันในร้าน )
หรือไม่ก็ พูดให้ได้ยินเห็นๆ เลยว่า ก็ให้ XXX ( ชื่อของต่างชาติ แล้วแต่ว่าจะเป็นใคร ณ เวลานั้น ) จ่ายสิ แลกเป็นเงินไทยไม่เท่าไหร่
เราคนไทยเงินน้อยกว่าเค้านะ เงินเดือนเค้าเท่ากับเราตั้งหลายเดือน
หรือไม่ก็ บางที ยอมหาร แต่เถียงกันให้เห็นๆ เลย เช่น สมมติว่า คนละ 125 แล้วมีคนจ่าย 140 ก็เถียงกันว่า เออ อย่าลืมทอนกุนะ ( พวกเค้าคุยกันเอง )
ทีนี้ หลายๆ ครั้งมันฟังดูน่าเกลียด บางครั้งเถียงต่อหน้าลูกค้าบ้าง เพื่อเงิน สิบบาทยี่สิบบาท
พ้นร้านไปแล้ว จึงได้คำตอบว่า สิบบาทยี่สิบบาทก็เงินนะพี่
แปลว่า เงินเราเอาออกไม่ได้ แต่ถ้าเงินเขาจ่ายใช้ได้ตามใจ ????
เราเองไม่ใช่ผู้ดีอะไรหรอก ตอนเด็กๆ บ้านเราจนจะตาย แต่แม่เราสอนเรื่องมารยาทเวลาจะต้องไปทานข้างนอก
เช่นที่โบสถ์ เราเองไม่ได้มีโอกาสเดินเข้าอะไรที่มันธรรมดาๆ อย่าง KFC บ่อยๆ หรอกนะ นับครั้งได้เลย น้อยกว่าสิบครั้งแน่ๆ จน อายุ 17 18
เงินไป รร บางวันไม่พอ น้องเรางี่เง่า ก็ต้องให้น้องครบ ไม่งั้นมันจะงอน แล้วแม่จะปวดหัว
งานแต่งตามโรงแรม หรือ ร้านอาหารนี่ ไม่ต้องคิดเลย ญาติเราก็ไม่ได้มีเงิน พ่อแม่เราจะพาไปเองน่ะเหรอ ไม่มีทาง
ดังนั้น เราว่า มารยาท เริ่มจากประตูบ้าน นะ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องสอน อันที่จริง บางเหตุการณ์ ก็ไม่รุ้จะพูดยังไงด้วย
กลัวคนได้ฟังจะอาย หรือกลายเป็นว่าเราทำเค้าขายหน้าไป ซึ่งเราไม่ได้ต้องการทำให้ใครอับอายเลย
เพื่อนต่างชาติของเราให้ความเห็นว่า การมีใจคิดเผื่อคนอื่น คือ พื้นฐานที่ดี ของสังคมที่ไม่เห็นแก่ได้
เพราะเค้าก็อยู่ในเหตุการณ์เดียวกับเราหลายๆ ครั้ง
แล้วก็คิดเหมือนกันเราว่า บางสถานการณ์ เราโดน Take advantage หรือเปล่า
หรือเพราะว่า การที่ เป็นคนแบบนี้ จึงทำให้เป็นคนแบบนี้ และจะไม่มีอะไรเปลี่ยนจากทัศนคติแบบนี้
ใครเคยเจอแบบเรามั่ง