ความหมายของคำว่า"ความเป็นธรรม"และ"ความยุติธรรม"นั้น เป็นนามธรรมอย่างยิ่ง มีผู้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย แต่ไม่ว่าคำนิยามจะกล่าวว่าอย่างไร ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า ประชาชนส่วนใหญ่ "เห็นว่า" เป็นอย่างไร
ยกตัวอย่างเช่น ปพพ. มาตรา ๑๓๗ บัญญัติว่า "ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุ มีรูปร่าง" ถ้ายึดตามกฎหมาย ศาลก็ต้องพิพากษาว่า การลักกระแสไฟฟ้ามิใช่การลักทรัพย์ เพราะกระแสไฟฟ้าไม่ใช่วัตถุ ไม่มีรูปร่าง แต่ถ้าศาลพิพากษาแบบนั้น สังคมก็คงโกลาหลวุ่นวาย เพราะคนก็จะแห่กันลักกระแสไฟฟ้า ใครที่ไม่ได้ลัก ก็จะรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะต้องเสียเงินซื้อกระแสไฟฟ้า
หรือในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้" หมายความว่า จะออกกฎหมาย เอาผิดย้อนหลังไม่ได้ ถ้าเกิดรัฐบาลเห็นว่า บทบัญญัตินี้ มีเฉพาะในประมวลกฎหมายอาญา มิได้ปรากฏในประมวลรัษฎากร จึงสามารถออกกฎหมายย้อนหลัง เพื่อเก็บภาษีเพิ่มได้ ดังนี้ บ้านเมืองก็คงจะโกลาหล จราจล วุ่นวายอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้น ไม่เพียงแต่ศาล ผู้พิพากษา หรือตุลาการเท่านั้น แต่ผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่าย ทั้งตำรวจ,อัยการ,องค์กรอิสระ จักต้องดำเนินการ หรือพิพากษา ให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วย ประเทศชาติจึงจะปรองดอง สามัคคี และสงบสุข
ไม่ว่าท่านจะเป็นคนดีหรือไม่ ไม่ว่าท่านจะมีเป้าหมายที่ดีขนาดไหน แต่ถ้าท่านมุ่งแต่เป้าหมาย โดยไม่คำนึงถึงวิธีการว่าชอบธรรม, ยุติธรรมหรือไม่ สังคมคงจะไม่สามารถยอมรับได้ว่า ท่านเป็นคนดี
กฎหมายกับความเป็นธรรมและความยุติธรรม
ยกตัวอย่างเช่น ปพพ. มาตรา ๑๓๗ บัญญัติว่า "ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุ มีรูปร่าง" ถ้ายึดตามกฎหมาย ศาลก็ต้องพิพากษาว่า การลักกระแสไฟฟ้ามิใช่การลักทรัพย์ เพราะกระแสไฟฟ้าไม่ใช่วัตถุ ไม่มีรูปร่าง แต่ถ้าศาลพิพากษาแบบนั้น สังคมก็คงโกลาหลวุ่นวาย เพราะคนก็จะแห่กันลักกระแสไฟฟ้า ใครที่ไม่ได้ลัก ก็จะรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะต้องเสียเงินซื้อกระแสไฟฟ้า
หรือในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้" หมายความว่า จะออกกฎหมาย เอาผิดย้อนหลังไม่ได้ ถ้าเกิดรัฐบาลเห็นว่า บทบัญญัตินี้ มีเฉพาะในประมวลกฎหมายอาญา มิได้ปรากฏในประมวลรัษฎากร จึงสามารถออกกฎหมายย้อนหลัง เพื่อเก็บภาษีเพิ่มได้ ดังนี้ บ้านเมืองก็คงจะโกลาหล จราจล วุ่นวายอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้น ไม่เพียงแต่ศาล ผู้พิพากษา หรือตุลาการเท่านั้น แต่ผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่าย ทั้งตำรวจ,อัยการ,องค์กรอิสระ จักต้องดำเนินการ หรือพิพากษา ให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วย ประเทศชาติจึงจะปรองดอง สามัคคี และสงบสุข
ไม่ว่าท่านจะเป็นคนดีหรือไม่ ไม่ว่าท่านจะมีเป้าหมายที่ดีขนาดไหน แต่ถ้าท่านมุ่งแต่เป้าหมาย โดยไม่คำนึงถึงวิธีการว่าชอบธรรม, ยุติธรรมหรือไม่ สังคมคงจะไม่สามารถยอมรับได้ว่า ท่านเป็นคนดี