การเอาธนบัตรมาเผาทิ้ง ก็มีความผิดต้องถูกลงโทษ ต่อให้เป็นเงินตัวเองก็เถอะ.. เคยอ่านเจอตั้งแต่ตอนเด็ก ไม่รู้ว่าจริงป่าว

การเอาธนบัตรมาเผาทิ้ง ก็มีความผิดต้องถูกลงโทษ ต่อให้เป็นเงินตัวเองก็เถอะ.. เคยอ่านเจอตั้งแต่ตอนเด็ก  แต่ไม่รู่ใช่ป่าว


ธนบัตรถือเป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง ใครครอบครองอยู่ก็ถือเป็นเจ้าของ ซึ่งหากผู้ใดนำธนบัตรของบุคคลอื่นมาเผาหรือฉีกทำลายก็จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่สองกรณี คือ
๑) หากเป็นกรณีการลักเอาธนบัตรของคนอื่นมาก็จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔ แต่หากไม่ใช่ทรัพย์ของคนอื่นเป็นของตนเองก็ไม่ผิดฐานลักทรัพย์ (หากเป็นกรณีเงินของพ่อแม่ก็ยังมีความผิดแต่เนื่องจากตามมาตรา ๗๑ วรรคสอง บัญญัติให้การลักทรัพย์ที่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการี แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ )

๒) กรณีเดียวกันการลักทรัพย์ของคนอื่นมาแล้วนำไปเผาหรือฉีกทำลายอย่างอื่นๆ ก็จะมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ อีกบทหนึ่ง ทั้งนี้ ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้
ตามคำถาม ๆ ว่า เป็นธนบัตรเป็นของตนเอง จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ดังกล่าว แต่จะเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ขอรับ
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาว่าไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ก็ควรพิจารณาความผิดตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆ ด้วยว่า จะมีความผิดหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องคือพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑


ตามมาตรา ๖ บัญญัติ ความหมาย “เงินตรา” ไว้ว่า ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ และธนบัตร ประกอบมาตรา ๙ บัญญัติ “ห้ามมิให้ผู้ใดทำ จำหน่าย ใช้ หรือนำออกให้ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใดๆ แทนเงินตรา เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี”

แต่ไม่มีมาตราใดในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.๒๕๐๑ ที่บัญญัติว่า ผู้ใดเผาหรือฉีกทำลายธนบัตร ต้องระวางโทษจำคุกแต่อย่างใด แม้ตามหมวด ๔ แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันนี้ ก็ระบุบทกำหนดโทษไว้เพียงในกรณีตามมาตรา ๙ และกรณีของธนาคารที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.บ. เท่านั้น มิได้มีการกล่าวถึงความผิดในกรณีการฉีกทำลายหรือเผาธนบัตรด้วยแต่อย่างใด
ดังนั้น เมื่อตามพระราชบัญญัติเงินตรา ไม่ได้บัญญัติถึงโทษในการฉีกทำลายหรือเผาธนบัตรไว้ ก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่