ก่อนการ
ประกาศปลดพนักงาน 18,000 ตำแหน่งภายในปีหน้า ที่งานสัมมนาแห่งหนึ่ง สัตยา นาเดลลา ซีอีโอไมโครซอฟท์ ได้พูดถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร โดยเกริ่นว่าถึงบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดพีซีกว่าร้อยละ 90 แต่หากนับอุปกรณ์ทุกประเภทแล้วบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 14 เท่านั้น (เข้าใจว่านับที่แพลตฟอร์ม Windows) บริษัทจึงมีงานอีกมากที่ต้องทำ แต่ก่อนเขาจะเริ่มกลยุทธ์อะไรใหม่ๆ ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรก่อน โดยบริษัทต้องมีสถานที่ที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้ และการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นจากหัวใจของบริษัท ดังนั้นความท้าทายสำคัญ ณ วันนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงการทำงานหลักๆ ของบริษัทนั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่นาเดลลายกตัวอย่าง คือ ในอดีตแต่ละทีมเชื่อว่าต้องปกป้องโค้ดในโครงการที่ดำเนินอยู่ไม่ให้คนภายนอกรับรู้ แต่เขาสั่งว่าต่อไปแต่ละทีมสามารถแบ่งปันโค้ดระหว่างกันได้แล้ว เพื่อทำให้บริษัทเกิด "โอเพนซอร์สภายในองค์กร" (ใครก็ได้สามารถใช้โค้ดของทีมอื่นได้) นอกจากนั้นเขาอยากให้มีพนักงานสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์สนอกบริษัท อาทิ Hadoop มากกว่านี้
เขายอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องยาก เพราะบริษัทเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง จึงทำให้พนักงานมีแนวโน้มที่ไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไร ดังนั้นพนักงานจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการที่จะละทิ้งการยึดติดเหล่านั้นและยินดี (embrace) กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ที่มา:
Business Insider ผ่าน
Blognone
Satya Nadella บอก ภารกิจแรกคือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไมโครซอฟท์ให้ได้
ก่อนการประกาศปลดพนักงาน 18,000 ตำแหน่งภายในปีหน้า ที่งานสัมมนาแห่งหนึ่ง สัตยา นาเดลลา ซีอีโอไมโครซอฟท์ ได้พูดถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร โดยเกริ่นว่าถึงบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดพีซีกว่าร้อยละ 90 แต่หากนับอุปกรณ์ทุกประเภทแล้วบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 14 เท่านั้น (เข้าใจว่านับที่แพลตฟอร์ม Windows) บริษัทจึงมีงานอีกมากที่ต้องทำ แต่ก่อนเขาจะเริ่มกลยุทธ์อะไรใหม่ๆ ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรก่อน โดยบริษัทต้องมีสถานที่ที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้ และการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นจากหัวใจของบริษัท ดังนั้นความท้าทายสำคัญ ณ วันนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงการทำงานหลักๆ ของบริษัทนั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่นาเดลลายกตัวอย่าง คือ ในอดีตแต่ละทีมเชื่อว่าต้องปกป้องโค้ดในโครงการที่ดำเนินอยู่ไม่ให้คนภายนอกรับรู้ แต่เขาสั่งว่าต่อไปแต่ละทีมสามารถแบ่งปันโค้ดระหว่างกันได้แล้ว เพื่อทำให้บริษัทเกิด "โอเพนซอร์สภายในองค์กร" (ใครก็ได้สามารถใช้โค้ดของทีมอื่นได้) นอกจากนั้นเขาอยากให้มีพนักงานสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์สนอกบริษัท อาทิ Hadoop มากกว่านี้
เขายอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องยาก เพราะบริษัทเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง จึงทำให้พนักงานมีแนวโน้มที่ไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไร ดังนั้นพนักงานจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการที่จะละทิ้งการยึดติดเหล่านั้นและยินดี (embrace) กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ที่มา: Business Insider ผ่าน Blognone