ประวัติพระไตรปิฎก
ปรากฏว่า พอพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพาน พระเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์จำนวน 500 องค์ ก็ทำสังคายนากัน วิธีสังคายนาก็คือ ผู้หนึ่งตั้งคำถาม อีกผู้หนึ่งตอบ เมื่อรับรองกัน เห็นพ้องกันแล้ว ก็จดไว้ต่อไป เช่นจาก เล่ม 7 หน้า 312 (พระไตรปิฎกฉบับหลวงของกรมการศาสนา)
ในด้านพระวินัย ท่านพระกัสสปถาม ท่านพระอุบาลีตอบ
ก. ปฐมปาราชิก ทรงบัญญัติที่ไหน
อ. เมืองเวสาลี
ก. ทรงปรารภใคร
อ. พระสุทินนกลันทบุตร
ก. เรื่องอะไร
อ. เรื่องเมถุนธรรม
แล้วถาม วัตถุ, นิพพาน, บุคคล บัญญัติ, อนุบัญญัติ, อาบัติ, อนาบัติ, ฯลฯ ในด้านพระสูตร ท่านพระกัสสปถาม ท่านพระอานน์ตอบ
ก. พรหมชาลสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสที่ไหน
อ. ในพระตำหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ในระหว่างกรุงราชคฤห์ และเมืองนาลันทาต่อกัน
ก. ทรงปรารภใคร
อ. สุปนิยปริพาชก และพรหมทุตตมานพ
ต่อไปนี้จึงได้ถามถึงนิทานและบุคคล
การสังคายนาครั้งนี้คงจะสมบูรณ์ที่สุดเพราะตัวบุคคลยังอยู่เป็นส่วนมาก
การสังคายนาครั้งที่ 2 ทำหลังจากพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว 100 ปีเป็นการตัดสินว่า ภิกษุลัชชีบุตรละเมิด พระวินัย 10 ข้อนั้นถูกหรือผิด เรียกว่าแจง 700 เพราะมีพระอรหันต์ร่วม 700 องค์
ขุนวิจิตรมาตรา ค้นไว้ใน หนังสือ "หลักไทย" หน้า 251 ถึง 263 ว่าการสังคายนาครั้งที่ 3 ทำในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แล้วส่งสมณทูต คือ พระโสณะกับพระอุตตระ มาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ที่เมืองนครปฐม นครหลวงของแคว้นทวารราวดีของละว้าในสมัยนั้น ส่วนการบันทึก เป็นตัวอักษร ทำเมื่อ พ.ศ. 433 ในการสังคายนาครั้งที่ 5 ที่ลังกา ซึ่งหลังจากนี้ มีพระพุทธโฆษาจารย์ ไปแปลมาเป็นภาษามคธ พระองค์นี้ กล่าวกันว่า เป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ (พ.ศ. 956)
การสังคายนา ครั้งหลัง ๆ นี้ไม่มีตัวบุคคล ยืนยันว่า อะไรผิดอะไรถูก จริงหรือไม่จริง ดังนั้น จึงเข้าใจว่าไม่มีใคร กล้าแตะของเดิม จะแตะก็เป็นการตัดออก คือ ตัดที่เห็นว่า ไม่ใช่ คำสอนออก เพราะได้ความว่า ทางศาสนาพราหมณ์ แต่งปลอมแปลงเข้ามา เพื่อทำลายพระพุทธศานา แต่การตัดนี้ ก็คงจะไม่ตัดกันส่งเดช จะสังคายนาทีไรก็ตัดทุกที เพราะฉะนั้น พระไตรปิฎกน่าจะมีแต่ขาดไม่มีเกิน
การตัดก็ไม่ใช่ตัดกันส่งเดชท่านมีหลักให้ไว้ใน เล่ม 21 หน้า 195 ว่า "ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะ เหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียง ในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัยบท และพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ ในพระสูตรสอบสวนกันได้ พระวินัยในข้อนี้ พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี่เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ เจ้าแน่แท้"
ประวัติของพระไตรปิฎก มีมาเช่นนี้ แต่จะใช้ยืนยันถูกต้องทันทียังไม่ได้ ควรต้องดูจากลักษณะอื่นอีก
วิธีเขียนพระไตรปิฎก
คนเป็นอันมาก ที่กล่าวโทษ พระไตรปิฎกว่า คลาดเคลื่อน แต่งเติม ฯลฯ นั้นปรากฏว่า เป็นคนที่ไม่เคยอ่าน พระไตรปิฎกเลย บางคนเหมาเอาว่า พระไตรปิฎกมีแต่นิทานชาดก มีสัตว์พูดได้ ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งนั้น คนประเภทนี้ถ้าพูดกันตามตรรกวิทยาของพระพุทธเจ้าแล้ว หมดสิทธิ ไม่มีสิทธิ์ ที่จะพูดเรื่องพระไตรปิฎกทีเดียว เพราะท่านจะถามดังนี้
เคยเห็นพระไตรปิฎกหรือ ?
เคยอ่านพระไตรปิฎกหรือ ?
อ่านพระไตรปิฎกแล้วเข้าใจหรือ ?
ถ้าหากท่านตอบว่า "ไม่" คำเดียว ท่านก็จะสำทับทีเดียว ว่า ถ้าเช่นนั้น ก็อย่าพูด โดยเฉพาะในเรื่อง การแต่งเติมนี้จะต้องถูกถาม อย่างแน่นอนว่า "ท่านรู้ว่า เป็นความจริง ไม่เป็นอย่างอื่นหรือ ท่านไม่ได้คิดเอา ตามความเห็นหรือ ตรึกตรองตามอาการหรือ ?" เสร็จ !
สำหรับผู้ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎก สมควรจะทราบไว้ในที่นี้ว่า
พระไตรปิฎกบันทึกเรื่อง แบบประวัติศาสตร์ แต่ละเอียดกว่า
กล่าวคือ อ้างสถานที่ อ้างบุคคล ที่เกี่ยวข้อง และอ้างคำพูดว่า ใครพูดว่าอะไร คือ เป็นคำพูด ของคนนั้น ๆ ไม่ใช่ อ้างใจความเป็นร้อยแก้วทำความกว้าง ๆ แต่อ้างไว้เป็นคำพูดที่บุคคลนั้น ๆ พูดจริง ๆ ทีเดียว เช่น
"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล้วภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาส แสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์สดับแล้ว เป็นผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคง อยู่เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคล ยังยึดมั่น ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่น จึงหลุดพ้น จากมาร ฯ
ดังนี้เป็นต้น
ส่วนชาดกนั้น เป็นเรื่อง ที่ทรงเล่าประกอบ เวลาแสดงธรรม โดยมักจะเริ่มต้นว่า "เรื่องเคยมีมาแล้ว..." แล้วท่าน ก็เล่าไป
คำถามเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
คำถาม พระไตรปิฎกมีการแต่งเติม
คำตอบ นั่นเป็นเรื่อง ที่คนรุ่นหลังสันนิษฐานเอาเอง ไม่ใช่ว่ารู้มาจริง ๆ ว่าเป็นเช่นนั้น
ถ้ารู้จริง จะต้องตอบได้ว่า ตรงไหนแต่งใหม่ ใครเป็นคนแต่ง แต่งตั้งแต่เมื่อใด เช่นนี้ เป็นต้น
พระพุทธศานา ในเมืองไทย เป็นลัทธิเถรวาท หรือหีนยาน ยึดมั่นตามคำสั่งสอนดั้งเดิม ของพระพุทธเจ้า ลัทธิอื่น ถือเอาตามที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่า บัญญัติ (ศีล) ที่เล็กน้อยล้มเลิกเสียก็ได้ ลัทธิมหายาน ล้มเลิกไปเสียบ้าง ลัทธิอื่นล้มเลิกไปเสียบ้าง ผลที่สุดภิกษุในญี่ปุ่นมีเมียได้ ในเมื่อทรงบัญญัติว่า การเสพกามทำให้ภิกษุ เป็นปาราชิก ลัทธิหีนยาน ของเราเห็นว่า เมื่อพระอานนท์ ไม่ได้ทูลถาม ไว้ว่า ข้อไหนเล็กน้อย ข้อไหนไม่เล็กน้อย ถ้าแก้ไปก็อาจจะผิดจึงไม่แก้ ถือตามเดิมทุกประการ
การแก้พระบัญญัติ หมายถึง ล้มเลิกไป ไม่ใช่บัญญัติ ขึ้นใหม่ การบัญญัติขึ้นใหม่ หรือ การแต่งขึ้นใหม่นี้ ค้านกับ "วิญญาณ" ของลัทธิหีนยาน นอกจากนั้น ยังเป็นการผิดที่เรียกว่า "กล่าวตู่พระพุทธเจ้า" ด้วย
การกล่าวตู่นี้ย่อมร่วมไปถึง อธรรมวาที ซึ่งจะยกเฉพาะที่สำคัญมากล่าว คือ
พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ นำมากล่าวว่า ตรัสไว้
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ นำมากล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ นำมากล่าวว่า ไม่ได้บัญญัติไว้
พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ นำมากล่าวว่า ทรงบัญญัติไว้
กรรมนี้ ใครทำเข้า ในพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม 5 หน้า 312 บ่งว่า เป็น
ฝ่ายอธรรมวาที เล่ม 6 หน้า 371 กล่าวว่า เป็นเหตุ แห่งการวิวาท และเป็นรากแห่งอกุศล เล่ม 7 หน้า 171 กล่าวว่า เป็นเหตุแห่ง สังฆเภท (โทษของการสังฆเภท คือ ปาราชิก)
เล่ม 12 หน้า 216 "เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมากด้วย ทิฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่ว แล้วกรรมนั้นแล จักมีแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน" พูดง่าย ๆ คือ ตกนรก
คำว่า "นรก" คนธรรมดา มีความรู้สึก เหมือนติดคุก ซึ่งคงจ มีความสบายบ้างพอสมควร บางคนถึงกับอยากจะลองว่า นรกเป็นยังไง อยากลองดูสักที แต่สำหรับภิกษุผู้มีการศึกษาก็ทราบว่า นรกมีไฟเผาตลอด เวลาและ 1 วัน 1 คืน ของอายุนรก ขุมต้น ก็เท่ากับ 9 ล้านปี ของมนุษย์แล้ว ไม่ใช่ของที่ควรล้อเล่น พระ พุทธเจ้าเอง ทรงตรัสว่า ท่านไม่ทรงเห็นว่าอะไร จะเป็นศัตรูของพระนิพพาน เท่ากับนรกเลย
คนที่ไปเกิด ในอบายภูมิ หรือตกนรกนั้นจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากนักหนา ท่านเปรียบเทียบไว้ในพระไตรปิฎกว่า โอกาสของผู้ตกในอบายภูมิ ที่จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์นั้น ให้เปรียบว่า เราเอาห่วงลอยไปในมหาสมุทร ใน 500 ปีให้เต่าตาบอดตัวหนึ่งโผล่ขึ้นมาจากน้ำครึ่งหนึ่ง
ถ้าโผล่ตรงกลางห่วงได้เมื่อไรนั่นแหละ คือ โอกาสที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์
พระที่ท่านบวช ตลอดชีวิต ด้วยความเลื่อมใส (ในสมัยโบราณ) ท่านหวังพระนิพพาน ท่านย่อมไม่อยากตกนรกแน่นอน โดยเฉพาะ ในลัทธิหีนยานด้วย พูดตาม ภาษาปัจจุบันแล้ว การที่พระภิกษุเหล่านี้ จะมีเจตนาดัดแปลงแต่งเติมพระไตรปิฎกนั้นไม่มีทาง (นอกจากเราจะคิดลงโทษท่านไปเอง)
เรื่องหญ้าปากคอก ที่น่าจะมองเห็นเพิ่มเติม จากที่กล่าวมาแล้ว ก็คือ การตกแต่ง ดัดแปลง พระไตรปิฎก นั้นคือ การพูดโกหกผิดศีลข้อ 5 (มุสาวาทาเวรมณี) อย่างตรงเป๋ง
ลองคิดดูต่อไป การแก้พระไตรปิฎกนั้น ไม่ใช่ใครอยากจะแก้ ก็แก้เอาตามใจ แต่ต้องแก้ในการทำสังคายนา ซึ่งมีพระภิกษุชั้นเยี่ยม นับร้อยรูปประชุมกัน ทำและเห็น พ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะเห็นได้ชัดว่า การที่พระชั้นดี มาย่อมร่วมกัน ทำผิดศีล มุสาวาท โดยไม่มีองค์ไหนค้านเลย แม้แต่องค์เดียวนั้น เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อทีเดียว
เหตุผลประการที่สำคัญที่เรามักจะหาว่า พวกพระแก้ไขดัดแปลง พระไตรปิฎก ก็คงจะมีว่า แก้เพื่อผลประโยชน์ ของพวกพระเอง ซึ่งศัพท์ทางพระ ท่านเรียกว่า "เพื่อลาภสักการะ" นั่นเอง ข้อนี้ก็เป็นความเห็นที่ เอาโทษไปใส่ให้ท่าน อีกเช่นกัน เพราะพระชั้นสูง (ขนาดที่ได้รับนิมนต์ ไปทำสังคายนา) นั้นย่อมมี ความรู้ว่า พระบัญญัติบทปาราชิก (ขาดจากความเป็นพระ) สองข้อ (ใน 4 ข้อ ) คือ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีอยู่จริง และการลักขโมย นั้นมีฐานมาจากการกระทำ เพื่อเหตุแห่งท้องทั้งสิ้น ทรงสรัสว่า
เหตุใดพวกเธอจึง... เพื่อสาเหตุแห่งท้องเล่า
และ ทรงประณามว่า การกระทำ เพื่อสาเหตุ แห่งท้องนั้น มีค่าเท่ากับ เป็นมหาโจรปล้นชาวบ้าน การที่พระชั้นสูง จำนวนเป็นร้อย ๆ รูป ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจ จะทำการแก้ไข แต่งเติม พระไตรปิฎก เพื่อเห็นแก่ ลาภสักการะ (สาเหตุ ที่ทรงบัญญัติให้เป็นปราชิก) โดยพร้อมเพรียงกันนั้น เราย่อมทราบอยู่เองว่า น่าจะเป็นไปได้ หรือน่าจะเป็นไปไม่ได้
คำถาม ถึงไม่มีการแก้ไขดัดแปลง โดยเจตนา ความคลาดเคลื่อน โดยธรรมชาติ ก็ควรจะมีอยู่ เพราะมนุษย์ ย่อมไม่สามารถจำได้ถี่ถ้วนเช่นนั้น
คำตอบ ยอมรับว่า ความคลาดเคลื่อน ย่อมมีอยู่บ้างแต่ไม่ควรจะคลาดเคลื่อนในใจความหรือหลักสำคัญ
ข้อสันนิษฐาน อย่างหนึ่งที่ว่า ต้องสืบต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยการทรงจำก็คือ "สมัยนั้น ยังไม่มีตัวหนังสือใช้"
ข้อสันนิษฐานนี้ เป็นไปได้อย่างมาก ในความคิดของนักปราชญ์สมัยนี้ แต่ก็เป็นข้อสันนิษฐานที่ผิด เพราะความจริงในสมัยนั้น มีตัวหนังสือใช้อยู่แล้ว
เล่ม 9 หน้า 95 " สมัยนั้นแล อัมพัฏฐมานพศิษย์ของพราหมณ์ โปกขรสาติ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ 5"
เล่ม 3 หน้า 247 "เรียนหนังสือ 1 เรียนวิชาท่องจำ 1 เรียนวิชา เพื่อประสงค์คุ้มครองตัว 1 ไม่ต้องอาบัติ"
ดังนั้น จึงควรสรุปได้ว่า สมัยนั้น คนท่องจำได้เก่งกว่าสมัยนี้มาก ซึ่งตรงกับหลายแห่ง ในพระไตรปิฎก ซึ่ง พระพุทธเจ้าทรงกำชับ ให้จำพระธรรมไว้เสมอ และทรงสรรเสริญ ผู้สามารถทรงจำพระธรรมด้วย
เล่ม 11 หน้า 328 "เธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้วคล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดี ด้วยความเห็น"
เล่ม 13 หน้า 422 "จงทรงจำธรรมเจดีย์ไว้" เช่นนี้มีอยู่ตลอดทาง
เล่ม 7 หน้า 245
"ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ปรารถนาจะโจษผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะเป็นที่ สั่งสมสุตะหรือหนอธรรมเหล่าใดนั้น ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่"
พยานบุคคล ในเรื่องความจำนี้ คือ ท่านพระอานนท์ จำได้หมด 84,000 พระธรรมขันธ์ (และองค์อื่นที่ไม่ได้บ่งไว้ ก็คงจะจำได้เป็นธรรมดา)
เล่ม 5 หน้า 30 กล่าวถึงพระโสณะสวดพระสูตรทั้งหลาย อันมีอยู่ในอัฏฐวรรค จนหมดสิ้นในคืนเดียวพระพุทธ เจ้าตรัสถามว่า บวชมาได้กี่พรรษา ทูลตอบว่า บวชพระมาพรรษาเดียว ดังนี้เป็นต้น
เมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว ก็ควรจะนึกออก ถึงความจริง ที่เห็นได้ชัดแจ้งข้อหนึ่งว่า พระสูตรที่ท่องจำกันนี้ ไม่ใช่มารวบรวมจารึกลงใหม่ในภายหลัง อันนั้นเป็นผลจากการค้นคว้าสอบสวน หากแต่ได้มีอยู่แล้ว ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่
เล่ม 19 หน้า 461 "ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใด ที่พระตถาคต ตรัสไว้ แล้วอันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึง พระสูตร เหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่"
(มีต่อ)
แบ่งกันอ่าน.. พระไตรปิฏกมีการแต่งเติมจริงหรือ(ค้นคว้าโดยมรว.เสริมศุขสวัสดิ์)ก
ปรากฏว่า พอพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพาน พระเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์จำนวน 500 องค์ ก็ทำสังคายนากัน วิธีสังคายนาก็คือ ผู้หนึ่งตั้งคำถาม อีกผู้หนึ่งตอบ เมื่อรับรองกัน เห็นพ้องกันแล้ว ก็จดไว้ต่อไป เช่นจาก เล่ม 7 หน้า 312 (พระไตรปิฎกฉบับหลวงของกรมการศาสนา)
ในด้านพระวินัย ท่านพระกัสสปถาม ท่านพระอุบาลีตอบ
ก. ปฐมปาราชิก ทรงบัญญัติที่ไหน
อ. เมืองเวสาลี
ก. ทรงปรารภใคร
อ. พระสุทินนกลันทบุตร
ก. เรื่องอะไร
อ. เรื่องเมถุนธรรม
แล้วถาม วัตถุ, นิพพาน, บุคคล บัญญัติ, อนุบัญญัติ, อาบัติ, อนาบัติ, ฯลฯ ในด้านพระสูตร ท่านพระกัสสปถาม ท่านพระอานน์ตอบ
ก. พรหมชาลสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสที่ไหน
อ. ในพระตำหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ในระหว่างกรุงราชคฤห์ และเมืองนาลันทาต่อกัน
ก. ทรงปรารภใคร
อ. สุปนิยปริพาชก และพรหมทุตตมานพ
ต่อไปนี้จึงได้ถามถึงนิทานและบุคคล
การสังคายนาครั้งนี้คงจะสมบูรณ์ที่สุดเพราะตัวบุคคลยังอยู่เป็นส่วนมาก
การสังคายนาครั้งที่ 2 ทำหลังจากพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว 100 ปีเป็นการตัดสินว่า ภิกษุลัชชีบุตรละเมิด พระวินัย 10 ข้อนั้นถูกหรือผิด เรียกว่าแจง 700 เพราะมีพระอรหันต์ร่วม 700 องค์
ขุนวิจิตรมาตรา ค้นไว้ใน หนังสือ "หลักไทย" หน้า 251 ถึง 263 ว่าการสังคายนาครั้งที่ 3 ทำในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แล้วส่งสมณทูต คือ พระโสณะกับพระอุตตระ มาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ที่เมืองนครปฐม นครหลวงของแคว้นทวารราวดีของละว้าในสมัยนั้น ส่วนการบันทึก เป็นตัวอักษร ทำเมื่อ พ.ศ. 433 ในการสังคายนาครั้งที่ 5 ที่ลังกา ซึ่งหลังจากนี้ มีพระพุทธโฆษาจารย์ ไปแปลมาเป็นภาษามคธ พระองค์นี้ กล่าวกันว่า เป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ (พ.ศ. 956)
การสังคายนา ครั้งหลัง ๆ นี้ไม่มีตัวบุคคล ยืนยันว่า อะไรผิดอะไรถูก จริงหรือไม่จริง ดังนั้น จึงเข้าใจว่าไม่มีใคร กล้าแตะของเดิม จะแตะก็เป็นการตัดออก คือ ตัดที่เห็นว่า ไม่ใช่ คำสอนออก เพราะได้ความว่า ทางศาสนาพราหมณ์ แต่งปลอมแปลงเข้ามา เพื่อทำลายพระพุทธศานา แต่การตัดนี้ ก็คงจะไม่ตัดกันส่งเดช จะสังคายนาทีไรก็ตัดทุกที เพราะฉะนั้น พระไตรปิฎกน่าจะมีแต่ขาดไม่มีเกิน
การตัดก็ไม่ใช่ตัดกันส่งเดชท่านมีหลักให้ไว้ใน เล่ม 21 หน้า 195 ว่า "ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะ เหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียง ในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัยบท และพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ ในพระสูตรสอบสวนกันได้ พระวินัยในข้อนี้ พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี่เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ เจ้าแน่แท้"
ประวัติของพระไตรปิฎก มีมาเช่นนี้ แต่จะใช้ยืนยันถูกต้องทันทียังไม่ได้ ควรต้องดูจากลักษณะอื่นอีก
วิธีเขียนพระไตรปิฎก
คนเป็นอันมาก ที่กล่าวโทษ พระไตรปิฎกว่า คลาดเคลื่อน แต่งเติม ฯลฯ นั้นปรากฏว่า เป็นคนที่ไม่เคยอ่าน พระไตรปิฎกเลย บางคนเหมาเอาว่า พระไตรปิฎกมีแต่นิทานชาดก มีสัตว์พูดได้ ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งนั้น คนประเภทนี้ถ้าพูดกันตามตรรกวิทยาของพระพุทธเจ้าแล้ว หมดสิทธิ ไม่มีสิทธิ์ ที่จะพูดเรื่องพระไตรปิฎกทีเดียว เพราะท่านจะถามดังนี้
เคยเห็นพระไตรปิฎกหรือ ?
เคยอ่านพระไตรปิฎกหรือ ?
อ่านพระไตรปิฎกแล้วเข้าใจหรือ ?
ถ้าหากท่านตอบว่า "ไม่" คำเดียว ท่านก็จะสำทับทีเดียว ว่า ถ้าเช่นนั้น ก็อย่าพูด โดยเฉพาะในเรื่อง การแต่งเติมนี้จะต้องถูกถาม อย่างแน่นอนว่า "ท่านรู้ว่า เป็นความจริง ไม่เป็นอย่างอื่นหรือ ท่านไม่ได้คิดเอา ตามความเห็นหรือ ตรึกตรองตามอาการหรือ ?" เสร็จ !
สำหรับผู้ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎก สมควรจะทราบไว้ในที่นี้ว่า
พระไตรปิฎกบันทึกเรื่อง แบบประวัติศาสตร์ แต่ละเอียดกว่า
กล่าวคือ อ้างสถานที่ อ้างบุคคล ที่เกี่ยวข้อง และอ้างคำพูดว่า ใครพูดว่าอะไร คือ เป็นคำพูด ของคนนั้น ๆ ไม่ใช่ อ้างใจความเป็นร้อยแก้วทำความกว้าง ๆ แต่อ้างไว้เป็นคำพูดที่บุคคลนั้น ๆ พูดจริง ๆ ทีเดียว เช่น
"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล้วภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาส แสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์สดับแล้ว เป็นผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคง อยู่เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคล ยังยึดมั่น ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่น จึงหลุดพ้น จากมาร ฯ
ดังนี้เป็นต้น
ส่วนชาดกนั้น เป็นเรื่อง ที่ทรงเล่าประกอบ เวลาแสดงธรรม โดยมักจะเริ่มต้นว่า "เรื่องเคยมีมาแล้ว..." แล้วท่าน ก็เล่าไป
คำถามเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
คำถาม พระไตรปิฎกมีการแต่งเติม
คำตอบ นั่นเป็นเรื่อง ที่คนรุ่นหลังสันนิษฐานเอาเอง ไม่ใช่ว่ารู้มาจริง ๆ ว่าเป็นเช่นนั้น
ถ้ารู้จริง จะต้องตอบได้ว่า ตรงไหนแต่งใหม่ ใครเป็นคนแต่ง แต่งตั้งแต่เมื่อใด เช่นนี้ เป็นต้น
พระพุทธศานา ในเมืองไทย เป็นลัทธิเถรวาท หรือหีนยาน ยึดมั่นตามคำสั่งสอนดั้งเดิม ของพระพุทธเจ้า ลัทธิอื่น ถือเอาตามที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่า บัญญัติ (ศีล) ที่เล็กน้อยล้มเลิกเสียก็ได้ ลัทธิมหายาน ล้มเลิกไปเสียบ้าง ลัทธิอื่นล้มเลิกไปเสียบ้าง ผลที่สุดภิกษุในญี่ปุ่นมีเมียได้ ในเมื่อทรงบัญญัติว่า การเสพกามทำให้ภิกษุ เป็นปาราชิก ลัทธิหีนยาน ของเราเห็นว่า เมื่อพระอานนท์ ไม่ได้ทูลถาม ไว้ว่า ข้อไหนเล็กน้อย ข้อไหนไม่เล็กน้อย ถ้าแก้ไปก็อาจจะผิดจึงไม่แก้ ถือตามเดิมทุกประการ
การแก้พระบัญญัติ หมายถึง ล้มเลิกไป ไม่ใช่บัญญัติ ขึ้นใหม่ การบัญญัติขึ้นใหม่ หรือ การแต่งขึ้นใหม่นี้ ค้านกับ "วิญญาณ" ของลัทธิหีนยาน นอกจากนั้น ยังเป็นการผิดที่เรียกว่า "กล่าวตู่พระพุทธเจ้า" ด้วย
การกล่าวตู่นี้ย่อมร่วมไปถึง อธรรมวาที ซึ่งจะยกเฉพาะที่สำคัญมากล่าว คือ
พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ นำมากล่าวว่า ตรัสไว้
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ นำมากล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ นำมากล่าวว่า ไม่ได้บัญญัติไว้
พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ นำมากล่าวว่า ทรงบัญญัติไว้
กรรมนี้ ใครทำเข้า ในพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม 5 หน้า 312 บ่งว่า เป็น
ฝ่ายอธรรมวาที เล่ม 6 หน้า 371 กล่าวว่า เป็นเหตุ แห่งการวิวาท และเป็นรากแห่งอกุศล เล่ม 7 หน้า 171 กล่าวว่า เป็นเหตุแห่ง สังฆเภท (โทษของการสังฆเภท คือ ปาราชิก)
เล่ม 12 หน้า 216 "เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมากด้วย ทิฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่ว แล้วกรรมนั้นแล จักมีแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน" พูดง่าย ๆ คือ ตกนรก
คำว่า "นรก" คนธรรมดา มีความรู้สึก เหมือนติดคุก ซึ่งคงจ มีความสบายบ้างพอสมควร บางคนถึงกับอยากจะลองว่า นรกเป็นยังไง อยากลองดูสักที แต่สำหรับภิกษุผู้มีการศึกษาก็ทราบว่า นรกมีไฟเผาตลอด เวลาและ 1 วัน 1 คืน ของอายุนรก ขุมต้น ก็เท่ากับ 9 ล้านปี ของมนุษย์แล้ว ไม่ใช่ของที่ควรล้อเล่น พระ พุทธเจ้าเอง ทรงตรัสว่า ท่านไม่ทรงเห็นว่าอะไร จะเป็นศัตรูของพระนิพพาน เท่ากับนรกเลย
คนที่ไปเกิด ในอบายภูมิ หรือตกนรกนั้นจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากนักหนา ท่านเปรียบเทียบไว้ในพระไตรปิฎกว่า โอกาสของผู้ตกในอบายภูมิ ที่จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์นั้น ให้เปรียบว่า เราเอาห่วงลอยไปในมหาสมุทร ใน 500 ปีให้เต่าตาบอดตัวหนึ่งโผล่ขึ้นมาจากน้ำครึ่งหนึ่ง
ถ้าโผล่ตรงกลางห่วงได้เมื่อไรนั่นแหละ คือ โอกาสที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์
พระที่ท่านบวช ตลอดชีวิต ด้วยความเลื่อมใส (ในสมัยโบราณ) ท่านหวังพระนิพพาน ท่านย่อมไม่อยากตกนรกแน่นอน โดยเฉพาะ ในลัทธิหีนยานด้วย พูดตาม ภาษาปัจจุบันแล้ว การที่พระภิกษุเหล่านี้ จะมีเจตนาดัดแปลงแต่งเติมพระไตรปิฎกนั้นไม่มีทาง (นอกจากเราจะคิดลงโทษท่านไปเอง)
เรื่องหญ้าปากคอก ที่น่าจะมองเห็นเพิ่มเติม จากที่กล่าวมาแล้ว ก็คือ การตกแต่ง ดัดแปลง พระไตรปิฎก นั้นคือ การพูดโกหกผิดศีลข้อ 5 (มุสาวาทาเวรมณี) อย่างตรงเป๋ง
ลองคิดดูต่อไป การแก้พระไตรปิฎกนั้น ไม่ใช่ใครอยากจะแก้ ก็แก้เอาตามใจ แต่ต้องแก้ในการทำสังคายนา ซึ่งมีพระภิกษุชั้นเยี่ยม นับร้อยรูปประชุมกัน ทำและเห็น พ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะเห็นได้ชัดว่า การที่พระชั้นดี มาย่อมร่วมกัน ทำผิดศีล มุสาวาท โดยไม่มีองค์ไหนค้านเลย แม้แต่องค์เดียวนั้น เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อทีเดียว
เหตุผลประการที่สำคัญที่เรามักจะหาว่า พวกพระแก้ไขดัดแปลง พระไตรปิฎก ก็คงจะมีว่า แก้เพื่อผลประโยชน์ ของพวกพระเอง ซึ่งศัพท์ทางพระ ท่านเรียกว่า "เพื่อลาภสักการะ" นั่นเอง ข้อนี้ก็เป็นความเห็นที่ เอาโทษไปใส่ให้ท่าน อีกเช่นกัน เพราะพระชั้นสูง (ขนาดที่ได้รับนิมนต์ ไปทำสังคายนา) นั้นย่อมมี ความรู้ว่า พระบัญญัติบทปาราชิก (ขาดจากความเป็นพระ) สองข้อ (ใน 4 ข้อ ) คือ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีอยู่จริง และการลักขโมย นั้นมีฐานมาจากการกระทำ เพื่อเหตุแห่งท้องทั้งสิ้น ทรงสรัสว่า
เหตุใดพวกเธอจึง... เพื่อสาเหตุแห่งท้องเล่า
และ ทรงประณามว่า การกระทำ เพื่อสาเหตุ แห่งท้องนั้น มีค่าเท่ากับ เป็นมหาโจรปล้นชาวบ้าน การที่พระชั้นสูง จำนวนเป็นร้อย ๆ รูป ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจ จะทำการแก้ไข แต่งเติม พระไตรปิฎก เพื่อเห็นแก่ ลาภสักการะ (สาเหตุ ที่ทรงบัญญัติให้เป็นปราชิก) โดยพร้อมเพรียงกันนั้น เราย่อมทราบอยู่เองว่า น่าจะเป็นไปได้ หรือน่าจะเป็นไปไม่ได้
คำถาม ถึงไม่มีการแก้ไขดัดแปลง โดยเจตนา ความคลาดเคลื่อน โดยธรรมชาติ ก็ควรจะมีอยู่ เพราะมนุษย์ ย่อมไม่สามารถจำได้ถี่ถ้วนเช่นนั้น
คำตอบ ยอมรับว่า ความคลาดเคลื่อน ย่อมมีอยู่บ้างแต่ไม่ควรจะคลาดเคลื่อนในใจความหรือหลักสำคัญ
ข้อสันนิษฐาน อย่างหนึ่งที่ว่า ต้องสืบต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยการทรงจำก็คือ "สมัยนั้น ยังไม่มีตัวหนังสือใช้"
ข้อสันนิษฐานนี้ เป็นไปได้อย่างมาก ในความคิดของนักปราชญ์สมัยนี้ แต่ก็เป็นข้อสันนิษฐานที่ผิด เพราะความจริงในสมัยนั้น มีตัวหนังสือใช้อยู่แล้ว
เล่ม 9 หน้า 95 " สมัยนั้นแล อัมพัฏฐมานพศิษย์ของพราหมณ์ โปกขรสาติ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ 5"
เล่ม 3 หน้า 247 "เรียนหนังสือ 1 เรียนวิชาท่องจำ 1 เรียนวิชา เพื่อประสงค์คุ้มครองตัว 1 ไม่ต้องอาบัติ"
ดังนั้น จึงควรสรุปได้ว่า สมัยนั้น คนท่องจำได้เก่งกว่าสมัยนี้มาก ซึ่งตรงกับหลายแห่ง ในพระไตรปิฎก ซึ่ง พระพุทธเจ้าทรงกำชับ ให้จำพระธรรมไว้เสมอ และทรงสรรเสริญ ผู้สามารถทรงจำพระธรรมด้วย
เล่ม 11 หน้า 328 "เธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้วคล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดี ด้วยความเห็น"
เล่ม 13 หน้า 422 "จงทรงจำธรรมเจดีย์ไว้" เช่นนี้มีอยู่ตลอดทาง
เล่ม 7 หน้า 245
"ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ปรารถนาจะโจษผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะเป็นที่ สั่งสมสุตะหรือหนอธรรมเหล่าใดนั้น ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่"
พยานบุคคล ในเรื่องความจำนี้ คือ ท่านพระอานนท์ จำได้หมด 84,000 พระธรรมขันธ์ (และองค์อื่นที่ไม่ได้บ่งไว้ ก็คงจะจำได้เป็นธรรมดา)
เล่ม 5 หน้า 30 กล่าวถึงพระโสณะสวดพระสูตรทั้งหลาย อันมีอยู่ในอัฏฐวรรค จนหมดสิ้นในคืนเดียวพระพุทธ เจ้าตรัสถามว่า บวชมาได้กี่พรรษา ทูลตอบว่า บวชพระมาพรรษาเดียว ดังนี้เป็นต้น
เมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว ก็ควรจะนึกออก ถึงความจริง ที่เห็นได้ชัดแจ้งข้อหนึ่งว่า พระสูตรที่ท่องจำกันนี้ ไม่ใช่มารวบรวมจารึกลงใหม่ในภายหลัง อันนั้นเป็นผลจากการค้นคว้าสอบสวน หากแต่ได้มีอยู่แล้ว ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่
เล่ม 19 หน้า 461 "ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใด ที่พระตถาคต ตรัสไว้ แล้วอันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึง พระสูตร เหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่"
(มีต่อ)