ความเป็นมาของพุทธศาสนานิกายเถรวาท
การแพร่กระจายของพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำปฐมสังคายนา ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี[3]
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97
พระไตรปิฎก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระไตรปิฎก (บาลี: Tipiṭaka; สันสกฤต: त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า[1] ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ
พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณี
พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ที่แสดงแกบุคคลต่างชั้นวรรณะและการศึกษา ต่างกรรมต่างวาระกัน มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยพระอภิธรรมหรือปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูง อธิบายด้วยหลักวิชาล้วน ๆ โดยไม่อ้างอิงเหตุการณ์และบุคคล
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในยุคแรกเรียกว่าพระธรรมวินัย จนกระทั่งการสังคายนาครั้ง 3 จึงแยกเนื้อที่เกี่ยวกับปรมัตถธรรมออกมาเป็นอีกหมวดหนึ่งเรียกว่าพระอภิธรรมปิฎก
ในศาสนาพุทธยุคแรก แต่ละนิกายต่างมีคัมภีร์เป็นของตนเอง บางนิกายมี 5 ปิฎก บางนิกายมี 7 ปิฎก[2] แต่พระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันมีเพียงพระไตรปิฎกภาษาบาลีของฝ่ายเถรวาท[3]
ในปัจจุบันคำว่าพระไตรปิฎก ใช้หมายถึงคัมภีร์ในศาสนาพุทธโดยรวม ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 3 สารบบ ได้แก่[4]
พระไตรปิฎกภาษาบาลี ใช้ในนิกายเถรวาท
พระไตรปิฎกภาษาจีน ใช้ในนิกายมหายาน
พระไตรปิฎกภาษาทิเบต ใช้ในศาสนาพุทธแบบทิเบต
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81
พุทธศาสนานิกายเถรวาทยึดถือพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นสำคัญ
ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยอยู่หลายฉบับ
อาจแตกต่างกันทางด้านภาษาบ้างเล็กน้อย แต่เนื่อหายังคงเดิม
ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงการเวียนว่ายตายเกิด
นรก สวรรค์ ภพภูมิต่างๆ ทั้งเทวดา พรหม อรูปพรหม
กุศล อกุศล อานิสงค์ของทาน
ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา
กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้
และอีกมากมายล้วนมีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก
สำหรับผู้ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏกภาษาบาลี
ไม่ยึดถือพระไตรปิฎก กล่าวหาว่าพระไตรปิฎกมีการปลอมปน
แสดงถึงความไม่เคารพในพระไตรปิฎกบาลี(แปลไทย)
และยังถือว่าเป็นการพยายามที่จะทำลายพระไตรปิฎกบาลี
ด้วยการตัดออก ดัดแปลง แต่งเติมด้วยทิฐิตน
ก็ไม่ควรที่จะเรียกตนเองว่านับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ถ้ามั่นใจว่าสิ่งที่ตนเองเข้าใจถูกต้อง ก็สามารถตั้งพุทธศาสนานิกายใหม่
และทำการร่างพระไตรปิฎกที่ตนเห็นว่าถูกต้อง เพื่อเผยแผ่คำสอนทึ่คิดว่าถูกต้องได้
อย่าแอบแฝงตัวอยู่ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่คอยทำลายพระไตรปิฎกบาลี
ที่ผ่านการปฐมสังคายนาโดยพระเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์สาวกจำนวน 500 รูป
และสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง เพื่อสืบทอดพระไตรปิฎกบาลีให้ถูกต้องตรงมากที่สุด
ควรที่จะมีความละอายแก่ใจบ้าง
พุทธศาสนานิกายเถรวาท
การแพร่กระจายของพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำปฐมสังคายนา ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี[3]
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97
พระไตรปิฎก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระไตรปิฎก (บาลี: Tipiṭaka; สันสกฤต: त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า[1] ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ
พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณี
พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ที่แสดงแกบุคคลต่างชั้นวรรณะและการศึกษา ต่างกรรมต่างวาระกัน มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยพระอภิธรรมหรือปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูง อธิบายด้วยหลักวิชาล้วน ๆ โดยไม่อ้างอิงเหตุการณ์และบุคคล
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในยุคแรกเรียกว่าพระธรรมวินัย จนกระทั่งการสังคายนาครั้ง 3 จึงแยกเนื้อที่เกี่ยวกับปรมัตถธรรมออกมาเป็นอีกหมวดหนึ่งเรียกว่าพระอภิธรรมปิฎก
ในศาสนาพุทธยุคแรก แต่ละนิกายต่างมีคัมภีร์เป็นของตนเอง บางนิกายมี 5 ปิฎก บางนิกายมี 7 ปิฎก[2] แต่พระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันมีเพียงพระไตรปิฎกภาษาบาลีของฝ่ายเถรวาท[3]
ในปัจจุบันคำว่าพระไตรปิฎก ใช้หมายถึงคัมภีร์ในศาสนาพุทธโดยรวม ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 3 สารบบ ได้แก่[4]
พระไตรปิฎกภาษาบาลี ใช้ในนิกายเถรวาท
พระไตรปิฎกภาษาจีน ใช้ในนิกายมหายาน
พระไตรปิฎกภาษาทิเบต ใช้ในศาสนาพุทธแบบทิเบต
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81
พุทธศาสนานิกายเถรวาทยึดถือพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นสำคัญ
ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยอยู่หลายฉบับ
อาจแตกต่างกันทางด้านภาษาบ้างเล็กน้อย แต่เนื่อหายังคงเดิม
ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงการเวียนว่ายตายเกิด
นรก สวรรค์ ภพภูมิต่างๆ ทั้งเทวดา พรหม อรูปพรหม
กุศล อกุศล อานิสงค์ของทาน
ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา
กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้
และอีกมากมายล้วนมีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก
สำหรับผู้ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏกภาษาบาลี
ไม่ยึดถือพระไตรปิฎก กล่าวหาว่าพระไตรปิฎกมีการปลอมปน
แสดงถึงความไม่เคารพในพระไตรปิฎกบาลี(แปลไทย)
และยังถือว่าเป็นการพยายามที่จะทำลายพระไตรปิฎกบาลี
ด้วยการตัดออก ดัดแปลง แต่งเติมด้วยทิฐิตน
ก็ไม่ควรที่จะเรียกตนเองว่านับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ถ้ามั่นใจว่าสิ่งที่ตนเองเข้าใจถูกต้อง ก็สามารถตั้งพุทธศาสนานิกายใหม่
และทำการร่างพระไตรปิฎกที่ตนเห็นว่าถูกต้อง เพื่อเผยแผ่คำสอนทึ่คิดว่าถูกต้องได้
อย่าแอบแฝงตัวอยู่ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่คอยทำลายพระไตรปิฎกบาลี
ที่ผ่านการปฐมสังคายนาโดยพระเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์สาวกจำนวน 500 รูป
และสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง เพื่อสืบทอดพระไตรปิฎกบาลีให้ถูกต้องตรงมากที่สุด
ควรที่จะมีความละอายแก่ใจบ้าง