พระพุทธโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านทรงเตือนให้เรา
ละความชั่ว ประพฤติความดี
เมื่อละความชั่ว ประพฤติความดีแล้ว ที่สุดก็ทรงสอนให้ละสิ่งทั้งสองนี้ไปเสียด้วย
ฉะนั้น วันนี้จึงจะขอให้คติในเรื่องทางสายกลางคือให้ละให้ได้ หรือหลีกให้พ้นจากสิ่งทั้งสองนั้น
ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งบุญ ทั้งบาปที่ เป็นสุข เป็นทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้แหละ
ความดีใจ ความเสียใจ มันก็เกิดจากพ่อแม่เดียวกันคือตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง
ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว
เช่น ได้ลาภยศสรรเสริญได้มาแล้ว
ก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริง ๆ
เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจว่า มันจะสูญเสียไป กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละเป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ
....บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริง ๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก นี่หมายความว่า
ถึงจะสุขก็จริง แต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย แต่เราก็ไม่รู้จัก
เหมือนกันกับว่าเราจับงู ถึงแม้ว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้
ฉะนั้น เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาท่านตรัสรู้แล้วท่านประกาศศาสนานั้น
เบื้องแรก ท่านยกทางทั้งสองขึ้นมาว่าเลยคือ
กามสุขัลลิกานุโยโค และ
อัตตกิลมถานุโยโค
ทางทั้งสองอย่างนี้ เป็นทางที่ลุ่มหลง เป็นทางที่พวกเสพกามหลงติดอยู่ ซึ่งย่อมไม่ได้รับความสงบระงับ
เป็นหนทางที่วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร
สมเด็จพระบรมศาสดา ท่านทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในทางทั้งสอง ไม่เห็นทางสายกลางของธรรมะ
ท่านจึงทรงยกทางทั้งสองขึ้นมา
แสดงให้เห็นโทษในทางทั้งสองนั้น
ถึงเช่นนั้นพวกเราทั้งหลายก็ยังพากันติดพากันปรารถอยู่ร่ำไป
ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ทางทั้งสองอย่างนั้นเป็นทางที่ลุ่มหลง ไม่ใช่ทางของสมณะ คือไม่ใช่ทางที่สงบระงับ
อัตตกิลมถานุโยโคและกามสุขัลลิกานุโยโคก็คือ ทางตึงและทางหย่อนนั่นเอง ถ้าเราน้อมเข้ามาพิจารณาให้เห็นในปัจจุบัน
ทางตึงก็คือความโกรธ อันเป็นทางเศร้าหมอง ท่านเรียกอัตตกิลมถานุโยโค เดินไปแล้วก็เป็นทุกข์ลำบาก
กามสุขัลลิกานุโยโคก็คือ ความดีใจ ความพอใจ ความดีใจนี้ก็เป็นทางไม่สงบ ทางทุกข์ก็เป็นทางไม่สงบ
เราจะเห็นได้ว่าสมเด็จพระบรมศาสดาท่านว่า เมื่อได้เห็นความสุขแล้วให้พิจารณาความสุขนั้น ท่านไม่ให้ ติดอยู่ในความสุข
คือ
ท่านให้วางทั้งสุขและทุกข์ การวางทั้งสองได้นี้เป็นสัมมาปฏิปทา ท่านเรียกว่าเป็น
ทางสายกลาง
คำว่า
"ทางสายกลาง" ไม่ได้หมายถึงในด้านกาย และวาจาของเรา
แต่หมายถึงในด้านจิตใจ เมื่อถูกอารมณ์มากระทบ ถ้าอารมณ์ที่ไม่ถูกใจมากระทบกระทั่ง ก็ทำให้วุ่นวาย
ถ้าจิตวุ่นวายหวั่นไหวเช่นนี้ ก็ไม่ใช่หนทาง เมื่ออารมณ์ที่ดีใจเกิดขึ้นมาแล้วก็ดีอกดีใจ ติดแน่นอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยโค
อันนี้ก็ไม่ใช่หนทาง
มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข
ความจริงสุขนั้น ก็คือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง
ส่วนทุกข์ก็คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่าย ๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข
เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา
ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงูมันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน
ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี
อันนี้ในวงวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
ดังนั้นความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทาง
---------
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก
http://www.ajahnchah.org/thai/The_Middle_Way_Within.php
หลวงปู่ชา สุภัทโท อธิบายเรื่อง "ทางสายกลาง"
เมื่อละความชั่ว ประพฤติความดีแล้ว ที่สุดก็ทรงสอนให้ละสิ่งทั้งสองนี้ไปเสียด้วย
ฉะนั้น วันนี้จึงจะขอให้คติในเรื่องทางสายกลางคือให้ละให้ได้ หรือหลีกให้พ้นจากสิ่งทั้งสองนั้น
ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งบุญ ทั้งบาปที่ เป็นสุข เป็นทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้แหละ
ความดีใจ ความเสียใจ มันก็เกิดจากพ่อแม่เดียวกันคือตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง
ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว
เช่น ได้ลาภยศสรรเสริญได้มาแล้ว ก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริง ๆ
เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจว่า มันจะสูญเสียไป กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละเป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ
....บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริง ๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก นี่หมายความว่า ถึงจะสุขก็จริง แต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย แต่เราก็ไม่รู้จัก
เหมือนกันกับว่าเราจับงู ถึงแม้ว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้
ฉะนั้น เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาท่านตรัสรู้แล้วท่านประกาศศาสนานั้น
เบื้องแรก ท่านยกทางทั้งสองขึ้นมาว่าเลยคือ กามสุขัลลิกานุโยโค และ อัตตกิลมถานุโยโค
ทางทั้งสองอย่างนี้ เป็นทางที่ลุ่มหลง เป็นทางที่พวกเสพกามหลงติดอยู่ ซึ่งย่อมไม่ได้รับความสงบระงับ
เป็นหนทางที่วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร
สมเด็จพระบรมศาสดา ท่านทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในทางทั้งสอง ไม่เห็นทางสายกลางของธรรมะ
ท่านจึงทรงยกทางทั้งสองขึ้นมาแสดงให้เห็นโทษในทางทั้งสองนั้น
ถึงเช่นนั้นพวกเราทั้งหลายก็ยังพากันติดพากันปรารถอยู่ร่ำไป
ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ทางทั้งสองอย่างนั้นเป็นทางที่ลุ่มหลง ไม่ใช่ทางของสมณะ คือไม่ใช่ทางที่สงบระงับ
อัตตกิลมถานุโยโคและกามสุขัลลิกานุโยโคก็คือ ทางตึงและทางหย่อนนั่นเอง ถ้าเราน้อมเข้ามาพิจารณาให้เห็นในปัจจุบัน
ทางตึงก็คือความโกรธ อันเป็นทางเศร้าหมอง ท่านเรียกอัตตกิลมถานุโยโค เดินไปแล้วก็เป็นทุกข์ลำบาก
กามสุขัลลิกานุโยโคก็คือ ความดีใจ ความพอใจ ความดีใจนี้ก็เป็นทางไม่สงบ ทางทุกข์ก็เป็นทางไม่สงบ
เราจะเห็นได้ว่าสมเด็จพระบรมศาสดาท่านว่า เมื่อได้เห็นความสุขแล้วให้พิจารณาความสุขนั้น ท่านไม่ให้ ติดอยู่ในความสุข
คือ ท่านให้วางทั้งสุขและทุกข์ การวางทั้งสองได้นี้เป็นสัมมาปฏิปทา ท่านเรียกว่าเป็น ทางสายกลาง
คำว่า "ทางสายกลาง" ไม่ได้หมายถึงในด้านกาย และวาจาของเรา
แต่หมายถึงในด้านจิตใจ เมื่อถูกอารมณ์มากระทบ ถ้าอารมณ์ที่ไม่ถูกใจมากระทบกระทั่ง ก็ทำให้วุ่นวาย
ถ้าจิตวุ่นวายหวั่นไหวเช่นนี้ ก็ไม่ใช่หนทาง เมื่ออารมณ์ที่ดีใจเกิดขึ้นมาแล้วก็ดีอกดีใจ ติดแน่นอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยโค
อันนี้ก็ไม่ใช่หนทาง
มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ความจริงสุขนั้น ก็คือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง
ส่วนทุกข์ก็คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่าย ๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข
เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา
ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงูมันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน
ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี อันนี้ในวงวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
ดังนั้นความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทาง
---------
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก
http://www.ajahnchah.org/thai/The_Middle_Way_Within.php