หลังจาก คสช. สั่งยกเลิกทั้ง จำนำข้าว และ ประกันราคาข้าว แต่เปลี่ยนเป็นให้ความรู้เกษตรกร ลดทุนการผลิต และอาจจะรื้อระบบสหกรณ์กลับมา โดยส่วนตัวผมค่อนข้างจะเห็นด้วยกับวิธีนี้เพราะไม่แทรกแซงกลไกตลาด รัฐไม่ต้องเสียเงินจำนวน และสอนให้ชาวนารู้จักพัฒนาตัวเองครับ
ผมเคยไปฟัง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พูดในเวทีสัมมนาแห่งหนึ่ง ช่วงนึงมีการพูดถึงเรื่องผลผลิตต่อไร่ของข้าวไทยที่ต่ำมาก (เฉลี่ยรวมทั้งประเทศครับ อาจจะมีชาวนาบางคนได้เกิน 800-900 กิโลกรัม) ต่ำเกือบเป็นที่โหล่ใน ASEAN ประมาณ 450 กิโลกรัม/ไร่ และมีการเปรียบเทียบกับผลผลิตของชาติอื่นใน ASEAN ที่ได้กัน 800 กว่า 900 กว่า บ้าง ซึ่งถ้าเทียบกันได้แค่ประมาณ 50% ของชาติอื่น สาเหตุที่มีการพูดถึงคือ การทำนาที่พึ่งฟ้าฝนมากเกินไป อยู่นอกเขตชลประทานทำให้ผลผลิตต่ำ
อีกท่านนึงคุณสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง พูดถึงการทำนาร่วมกันของชาวนาท้องถิ่น คือทุกวันนี้ชาวนารายย่อยทำนาคนละ 10-20 ไร่ และมีการกั้นคันนาทำให้เสียพื้นที่เพาะปลูกไป 30% และขาด economies of scale เพราะต่างคนต่างลงทุน ถ้าเอาคันนาออกจะได้พื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 30% ทันที และต้นทุนการผลิตจะลดลง เพราะสามารถใช้เครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ ร่วมกันได้
ปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดด มีองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ (จำชื่อไม่ได้ครับ) ออกมาแนะนำว่าไทยควรปลูกข้าวเหลือปีละ 2 ครั้ง เพื่อตัดวงจรเพลี้ยกระโดดตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง การปลูกข้าวปีละ 3 ครั้งทำให้เพลี้ยกระโดดระบาด
สำหรับผมด้วยข้อมูลที่มี ขอสรุปวิธีช่วยชาวนาดังนี้ครับ
1. ให้นักวิชาการเกษตรที่มีอยู่ทั่วประเทศออกให้ความรู้ในการทำนาที่ถูกต้อง อาจจะเป็นการจัดอบรมหรือลงเยี่ยมชาวนาท้องถิ่นผ่านทางผู้นำชุมชน
2. จัดแปลงนาสาธิตที่ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เพื่อยืนยันความถูกต้องของแนวความคิดที่จะไปสอนชาวนา (ผมเคยคุยกับเพื่อนที่เป็นลูกชาวนา เพื่อนผมบอกว่าชาวนารุ่นพ่อแม่มักไม่ค่อยฟังหรือรับความรู้ใหม่ๆ จากรุ่นลูก และมักบอกว่า ปลูกข้าวมาตั้งแต่หนุ่มยันแก่ แกจะมารู้ดีกว่าชั้นได้อย่างไร)
3. ใช้ระบบนารวม เอาคันดินออกเพื่อเพิ่มพื้นที่การผลิต ใครลงแรงปลูกข้าวก็จ่ายค่าแรงกันไป ต้นทุนการผลิตเจ้าของที่ดินจ่ายตามสัดส่วนที่ดิน ผลผลิตที่ได้แบ่งตามสัดส่วนเช่นกัน ผลที่คาดจะได้คือลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น
4. สนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตในระยะยาว
5. ลดการปลูกข้าวเหลือ 2 ครั้ง/ปี เพื่อตัดวงจรเพลี้ยกระโดด และให้ดินได้พัก อาจจะส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลผลิตในระยะสั้นเพื่อเพิ่มรายได้ และปรับปรุงดิน
6. เนื่องจากการปลูกข้าวใช้น้ำมาก ควรขุดคลองชลประทานเพิ่มเพื่อสนับสนุนการทำนา พื้นที่นอกเขตควรสนับสนุนให้ปลูกข้าวน้อยลงและหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน
7. จัดตั้งสหกรณ์เพื่อสนับสนุนด้านการเงินดอกเบี้ยต่ำให้แก่ชาวนา
ข้อมูลที่ได้เกิดจากการศึกษาด้วยตนเอง ผิดถูกอย่างไรขอความเห็นและคำแนะนำจากทุกท่านด้วยครับ ยิ่งเป็นผู้รู้ยิ่งดีครับ ผมไม่ใช่นักวิชาการเกษตรหรือชาวนา แต่อยากเห็นชาวนาไทยลืมตาอ้าปากต้วยตัวเองได้ซักที เผื่อคนมีอำนาจวาสนาเห็นว่ามีประโยชน์เอาไปปฏิบัติ ประโยชน์จะได้ตกกับชาวนาครับ
ขอแท็ก การศึกษา และ วิทยาศาสตร์ เพราะต้องการความรู้ทางวิชาการ ขอแท็ก การบริหารจัดการ เศรษฐศาสตร์ และการเมือง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และเศรษฐศาสตร์มหภาคครับ
มาคิดวิธีช่วยชาวนากันครับ
ผมเคยไปฟัง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พูดในเวทีสัมมนาแห่งหนึ่ง ช่วงนึงมีการพูดถึงเรื่องผลผลิตต่อไร่ของข้าวไทยที่ต่ำมาก (เฉลี่ยรวมทั้งประเทศครับ อาจจะมีชาวนาบางคนได้เกิน 800-900 กิโลกรัม) ต่ำเกือบเป็นที่โหล่ใน ASEAN ประมาณ 450 กิโลกรัม/ไร่ และมีการเปรียบเทียบกับผลผลิตของชาติอื่นใน ASEAN ที่ได้กัน 800 กว่า 900 กว่า บ้าง ซึ่งถ้าเทียบกันได้แค่ประมาณ 50% ของชาติอื่น สาเหตุที่มีการพูดถึงคือ การทำนาที่พึ่งฟ้าฝนมากเกินไป อยู่นอกเขตชลประทานทำให้ผลผลิตต่ำ
อีกท่านนึงคุณสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง พูดถึงการทำนาร่วมกันของชาวนาท้องถิ่น คือทุกวันนี้ชาวนารายย่อยทำนาคนละ 10-20 ไร่ และมีการกั้นคันนาทำให้เสียพื้นที่เพาะปลูกไป 30% และขาด economies of scale เพราะต่างคนต่างลงทุน ถ้าเอาคันนาออกจะได้พื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 30% ทันที และต้นทุนการผลิตจะลดลง เพราะสามารถใช้เครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ ร่วมกันได้
ปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดด มีองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ (จำชื่อไม่ได้ครับ) ออกมาแนะนำว่าไทยควรปลูกข้าวเหลือปีละ 2 ครั้ง เพื่อตัดวงจรเพลี้ยกระโดดตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง การปลูกข้าวปีละ 3 ครั้งทำให้เพลี้ยกระโดดระบาด
สำหรับผมด้วยข้อมูลที่มี ขอสรุปวิธีช่วยชาวนาดังนี้ครับ
1. ให้นักวิชาการเกษตรที่มีอยู่ทั่วประเทศออกให้ความรู้ในการทำนาที่ถูกต้อง อาจจะเป็นการจัดอบรมหรือลงเยี่ยมชาวนาท้องถิ่นผ่านทางผู้นำชุมชน
2. จัดแปลงนาสาธิตที่ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เพื่อยืนยันความถูกต้องของแนวความคิดที่จะไปสอนชาวนา (ผมเคยคุยกับเพื่อนที่เป็นลูกชาวนา เพื่อนผมบอกว่าชาวนารุ่นพ่อแม่มักไม่ค่อยฟังหรือรับความรู้ใหม่ๆ จากรุ่นลูก และมักบอกว่า ปลูกข้าวมาตั้งแต่หนุ่มยันแก่ แกจะมารู้ดีกว่าชั้นได้อย่างไร)
3. ใช้ระบบนารวม เอาคันดินออกเพื่อเพิ่มพื้นที่การผลิต ใครลงแรงปลูกข้าวก็จ่ายค่าแรงกันไป ต้นทุนการผลิตเจ้าของที่ดินจ่ายตามสัดส่วนที่ดิน ผลผลิตที่ได้แบ่งตามสัดส่วนเช่นกัน ผลที่คาดจะได้คือลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น
4. สนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตในระยะยาว
5. ลดการปลูกข้าวเหลือ 2 ครั้ง/ปี เพื่อตัดวงจรเพลี้ยกระโดด และให้ดินได้พัก อาจจะส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลผลิตในระยะสั้นเพื่อเพิ่มรายได้ และปรับปรุงดิน
6. เนื่องจากการปลูกข้าวใช้น้ำมาก ควรขุดคลองชลประทานเพิ่มเพื่อสนับสนุนการทำนา พื้นที่นอกเขตควรสนับสนุนให้ปลูกข้าวน้อยลงและหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน
7. จัดตั้งสหกรณ์เพื่อสนับสนุนด้านการเงินดอกเบี้ยต่ำให้แก่ชาวนา
ข้อมูลที่ได้เกิดจากการศึกษาด้วยตนเอง ผิดถูกอย่างไรขอความเห็นและคำแนะนำจากทุกท่านด้วยครับ ยิ่งเป็นผู้รู้ยิ่งดีครับ ผมไม่ใช่นักวิชาการเกษตรหรือชาวนา แต่อยากเห็นชาวนาไทยลืมตาอ้าปากต้วยตัวเองได้ซักที เผื่อคนมีอำนาจวาสนาเห็นว่ามีประโยชน์เอาไปปฏิบัติ ประโยชน์จะได้ตกกับชาวนาครับ
ขอแท็ก การศึกษา และ วิทยาศาสตร์ เพราะต้องการความรู้ทางวิชาการ ขอแท็ก การบริหารจัดการ เศรษฐศาสตร์ และการเมือง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และเศรษฐศาสตร์มหภาคครับ