การทดลองในแมวที่แชร์ๆกันช่วงนี้ มีใครไปหาเบื้องหลังมั้ยคะ ว่าทำไปทำไม? (เราไปหาคำตอบมาแล้วค่ะ)

คือช่วงนี้ เห็นระบาดทางอินเตอร์เน็ตกับรูปน้องแมว ฝังเหล็กบนศีรษะ ซึ่งแชร์ๆในเพจคนรักสัตว์ แล้วคนก่นด่านักวิทยาศาสตร์ซะเสียชาติเกิดไปเลยค่ะ

*** รายละเอียดขั้นตอนการขอทดลองขั้นพื้นฐาน คุณ Beauty&stupid เขียนไว้ได้ดีมากๆละเอียดมากๆ เชิญอ่านได้ในคห.ที่ 173 เลยค่ะ***

รูปที่มา ใส่สปอยล์นะคะ กันตกใจกัน ภาพไม่น่าดูเท่าไหร่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เพิ่มเติม => ที่แชร์ๆว่าแมวชื่อ Double Trouble อะไรนี้เอามาจากไหนเนี่ย คือที่อ่านงานของแลบนี้ เรียกเป็นตัวเลขค่ะ ตามนี้


เราเองก็เป็นนักวิจัย ทางการแพทย์ เห็นมามาก ทำมาก็มาก เราอาจไม่คร่ำหวอดมาก แต่ก็อยู่วงการวิจัยมาหลายปี เราลองเอาคำถามที่เราเคยโดน และนี่คือความคิดของเรา ถ้ามีท่านใดคิดต่างต้องการแย้ง แก้ไข หรือเพิ่มเติมใดๆ ยินดีมากๆค่ะ รับฟังความคิดเห็นทุกท่านค่ะ

"ทำไมต้องทำในสัตว์ทดลอง?"
=> อยากแจ้งว่าจริงๆการทดลองมีทำในสิ่งอื่นด้วยเช่น ทำในเซลล์เพาะเลี้ยง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บางอย่างไม่สามารถใช้เพียงเซลล์ได้ค่ะ เราต้องการทดลองในระบบที่ใกล้เคียงสิ่งมีชีวิตมากที่สุด ส่วนมาก จะใช้ทั้งสองอย่างควบคู่กันไป

"ทำไมวิธีถึงทารุณโหดร้าย ใช้วิธีอื่นไม่ได้เหรอ"
=> วิธีการทดลองทุกอย่างต้องผ่านการ ขออนุมัติหน่วยจริยธรรมในการทดลอง ซึ่งไม่ได้ของ่ายๆเลยค่ะ เราต้องเขียนไปว่าทำเพื่ออะไร ทำไมต้องใช้สัตว์ จำนวนเท่าไหร่ ผลที่ได้คุ้มค่ากับชีวิตที่ต้องเสียไปหรือไม่ อย่างไร การทดลองเป็นวิธีที่ดีที่สุด และสัตว์ทดลองเจ็บปวดน้อยที่สุดหรือไม่

ช่วงชี้แจงแถลงไข

"ใครทดลอง"
การทดลองดำเนินแล้วควบคุมโดย Prof.Tom Yin, Department of Neuroscience, University of Wisconsin-Madison. ซึ่งทำเกี่ยวกับเรื่องการได้ยินและสมองค่ะ
   
วัตถุประสงค์ของแลบเค้าคือ
        ความสามารถในระบุตำแหน่งด้วยเสียงเป็นหนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญของระบบการได้ยิน ซึ่งในผู้ล่าและผู้ถูกล่าสามารถระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำว่าเสียงมาจากที่ไหนโดยใช้การฟัง (มนุษย์ยังระบุไม่ได้แม่นยำขนาดนี้) กลไกของการระบุตำแหน่งด้วยเสียงที่เป็นที่สนใจอย่างมากต่อ นักจิตวิทยาฟิสิกส์ (psychophysicists), นักกายวิภาคศาสตร์ (anatomists) และ นักสรีรวิทยา (Physiologists) ในการศึกษาระบบการได้ยินนี้
       เพื่อที่จะเข้าใจการทำงานของวงจรระบบประสาทที่แปลเสียงเพื่อที่จะระบุตำแหน่ง และการตอบสนองด้านพฤติกรรมต่างๆ เพื่อศึกษาการระบุตำแหน่งขณะตื่นตัว และพฤติกรรมของสัตว์

"ทำไมใช้น้องแมว"
ที่ใช้แมวเนื่องจาก แมว เป็นหนึ่งในสัตว์ทดลองที่ดีมากๆ ในการทดลองเรื่องการได้ยิน เพราะว่า แมวมีระบบการฟังที่ดีมากๆเนื่องจากเป็นผู้ล่า และยังมีความคล้ายคลึงกับของมนุษย์

*** น้องแมวที่ใช้ => เป็น domestic cat (แมวบ้าน) "จริง" ค่ะ
*** การเลือกแมว => จะเลือกตามความเฟรนด์ลี่ของแมว นี่ก็ "จริง" ค่ะ [Ref: Populin L.C. and Yin C.T., 1998]
*** การทดลองนึงจะใช้แมว => 3-5 ตัว ค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าได้กี่งานวิจัย [Ref: Populin L.C. and Yin C.T., 1998, Tollin D.J. et al., 2013, Yin C.T. et al., 2013]
*** การผ่าตัด => ตอนผ่ามีการวางยาสลบ และมีเครื่องช่วยหายใจค่ะ ไม่มีการตื่นมาระหว่างผ่าแน่นอนค่ะ เพราะมีการดูแลโดยผู้ผ่าตัด และสามารถวางยาเพิ่มในโดสที่ไม่อันตราย เช่นเดียวกับการผ่าตัดในมนุษย์ค่ะ
*** การดูแลหลังผ่า => มีการให้ยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบอย่างต่อเนื้องหลังผ่าค่ะ  

แก้ข่าวเรื่องให้อาหารเป็นรางวัล เราบอกในเม้นท์ล่างๆซักอันว่าไม่ได้ทำ ขออภัยค่ะ เราอ่านไม่หมดเอง งานตีพิมพ์มีเยอะมากเพิ่งเจอวันนี้เอง เป็นงานปี 2013 ศึกษาเรื่องพฤติกรรม ได้อาหารเป็นรางวัลจริงๆค่ะ (การศึกษาแบบ food reward เป็นการศึกษามาตราฐานค่ะ ทำกันโดยแพร่หลาย ลองหาอ่านเรื่องน้องหมา parlov ดูค่ะ) แต่น้องแมวจะถูกจำกัดการเข้าถึงอาหาร (ให้ แต่ไม่ได้แบบบุฟเฟต์เติมตลอดแบบปกติ 5 วันต่อสัปดาห์) และน้องแมวจะได้รับการตรวจเช็คน้ำหนักตลอดค่ะ ว่าไม่ลดไปเกิน 15% ของน้ำหนักตัวขณะเริ่มการทดลอง

"ทำเพื่ออะไร"
ดร.หยินศึกษาเพื่อเข้าใจระบบการทำงานของการฟังและสมองค่ะ เนื่องจากเวลาเราได้ยินเสียง เสียงจะผ่านตัวกลางต่างๆ และแปรสัญญาณเข้าไปในสมองหลายๆส่วนเพื่อให้ เราเข้าใจ แปรความ เก็บ หรือตอบสนองออกมาได้ เพราะฉะนั้นเป็นระบบที่ซับซ้อนมากๆค่ะ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เข้าใจอย่างแน่ชัด ดร.ผสมผสานการศึกษาทางด้าน การทำงานสรีรวิทยาทางไฟฟ้า (electrophysiology => แปลเป็นไทยยากมาก), กายวิภาคศาสตร์ และการศึกษาพฤติกรรม ที่แลบนี้ศึกษา การทำงานของสมองในการรับสัญญาณจากสองหูเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการฟัง การได้ยินค่ะ

ซึ่งความเข้าใจนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการรักษา หรือเพิ่มคุณภาพชีวิตต่อคนที่มีปัญหาเรื่องการได้ยินค่ะ

"มีการดูแลสัตว์อย่างเหมาะสมหรือไม่"
ในการทดลองนี้ใช้จำนวนน้องแมวไม่ถึง 12 ตัวค่ะ  ใช้น้อยที่สุด และสุขภาพ ความเป็นอยู่ ได้รับการดูแลจากสัตว์แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ น้องแมวทดลองได้ถูกทดลองโดยใช้วิธีที่ลดความเจ็บปวดให้มากที่สุดค่ะ การผ่าตัดฝังอิเล็กโทรด ทำตอนวางยาสลบ เหมือนที่ทำในมนุษย์ มีการตรวจสอบการติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ จากการตรวจสอบ ไม่มีน้องแมวทดลองได้รับความทรมานจากการที่ไม่ได้รักษาการติดเชื้อ หรือความเจ็บปวดค่ะ

มีคนร้องเรียนไปให้ทาง The National Institutes of Health (NIH) และ Office of Laboratory Animal Welfare (OLAW)  ตรวจสอบการทดลอง และผลการตรวจสอบคือ

"ไม่มีความผิดในการดำเนินการทดลองในสัตว์ที่ผิดระเบียบการทำการทดลองในสัตว์ทดลองแต่อย่างใด"

      **การได้ยินเสียงไม่ใช่จบแค่หูค่ะ เสียงเข้าหูซึ่งเป็นแค่ตัวกลางส่งสัญญาณเข้าสมอง กลั่นกรอง และแปรผล เรื่องผู้ปัญหาด้านการได้ยินมีหลายแบบค่ะ มีทั้งจากผิดปกติที่หู ทำให้ไม่ส่งสัญญาณไปที่สมอง ทั้งหูปกติสัญญาณไปแต่ไม่แปรผล ทั้งฟังได้ยิน เข้าใจ แต่ตอบสนองไม่ได้ก็มีค่ะ ความรุนแรงมีหลายระดับมากๆ การศึกษาก็เป็นฟั่นเฟืองนึงของการศึกษากลไกนี่ค่ะ
  การทำงานของสมองเป็นที่ซับซ้อนที่สุด เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ที่โคตรจะง่อยทางกายภาพ สามารถมายืนเกร๋ๆต้องจุดบนของห่วงโซ่อาหารได้ บัดนี้เรายังไม่ฉลาดพอที่จะเข้าใจได้ทั้งหมด

พูดถึงการพัฒนายา และวัคซีน อันนั้นเป็นจุดที่ปลายมากๆค่ะ คือถ้าเราไม่เข้าใจว่าส่วนนี้ ระบบนี้ทำงานยังไง กลไกเป็นอย่างไร เราก็ไม่ทราบว่าโรคเป็นอย่างไร เกิดได้อย่างไร รักษาอย่างไร ยาบางตัวใช้เวลามากกว่า 50 ปี กว่าจะออกมาให้เรากินได้แบบชิวๆได้นะคะ ไม่ง่ายเลย


งานนี้อาจยังไม่ถึงยอดที่จะไปออกมายาเป็น แต่ก็เป็นฟั่นเฟืองอันแรกๆที่สามารถต่อยอดไปได้อย่างมหาศาลค่ะ วันนี้อาจยังไม่เห็น ถ้าเรามองย้อนไปราว 50 ปีก่อนๆ จะเห็นภาพได้ชัดขึ้นค่ะ

ชักยาว คือเราอ่านมากจาก http://speakingofresearch.com/2013/10/08/animal-welfare-inspectors-clear-uw-madison-cat-research-of-peta-allegations-important-hearing-research-continues/
ยาว แอบแปลมึนๆ ถ้าผิดตรงไหน ไม่ครบอย่างไร บอกให้แก้ได้เลยนะคะ

งานตีพิมพ์ในวารสารล่าสุดของแลบนี้ค่ะ
http://link.springer.com/article/10.1007/s10162-013-0401-4
http://jn.physiology.org/content/110/7/1600.short

สรุป เราเองก็เป็นนักวิทยาศาสตร์สาขาเดียวกะด้านบนนี้เลยค่ะ ส่วนมากนะคะ ที่เราได้พบและพูดคุย ทุกคนก็จะมีอุดมการณ์การตัวเอง อย่างเรา วิจัยเพื่อค้นหาการรักษาผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลาย เพราะว่าเราได้มีโอกาสเจอผู้ป่วยที่อายุน้อยมากๆ แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้นอกจากที่หน้า ซึ่งมันทรมานกว่าตายอีกนะคะ เราอยากเป็นส่วนนึงที่ช่วยในการพัฒนาการรักษานี้

ความเป็นจริงคือ มันเป็นสิ่งที่โหดร้ายมั้ย ใช่ค่ะ มันโหดร้าย แต่มันเป็นความจริงที่มนุษย์ได้อยู่ส่วนบนของห่วงโซ่อาหาร เราทานสัตว์ และจุดประสงค์การมีอยู่คือเพื่อดำรงเผ่าพันธ์ุ นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราทำเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ค่ะ

ความเป็นจริงคือ ความเจริญ ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยในชีวิต ที่มีอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็มานักวิทยาศาสตร์ที่ลงมือทำนี่ล่ะ

ขอร้องก่อนที่จะด่า สาป แช่ง ไล่ให้ไปตาย รบกวนฉุกคิดนิดนึงว่าเราทำไปเพื่อใคร และเพื่ออะไรกันค่ะ

ขอมุมเล็กๆในใจ เข้าใจนักวิจัยตัวเล็กๆอุดมการณ์แรงกล้าด้วยค่ะ แอบพลีชีพเล็กๆ ฮือๆๆ

**ถ้ามีข้อข้องใจในขั้นตอนการทดลองถามได้ค่ะ เราพอทราบ**

***แก้คำผิดค่ะ+เพิ่มข้อมูล นี่เราอ่านวารสารงานวิจัยมากกว่าตอนทำงานตัวเองนี่นะเนี่ย อ.เรารู้คงบ่นงุบ 555+++



****มีคนถามมาค่ะ ว่าศึกษาแล้วได้อะไร ไหนยา ไหนวิธีการรักษา****

จะยกตัวอย่างคร่าวๆนะคะ

คนเราเป็นไข้ เป็นได้ยังไงไม่มีใครรู้เนอะ เราก็ศึกษาวิจัยๆ ทำไมตัวร้อน ทำไมปวดหัว ทำไมอาการแย่ลง มันไม่ได้ง่ายๆใช่มั้ยค่ะ การตอบสนองด้วยอาการตัวร้อนที่มันรวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน การตอบสนองต่อสมอง ไปสู่การทำงานของเส้นประสาทส่วนปลายไปที่ผิวหนัง

จากนั้น มีอีกฝั่งคงพ้นพบเออ พืชนี้ลดอาหารตัวร้อนได้ แต่ทำไมล่ะ อะไรในพืชมาลดได้ ศึกษาจะสกัดสาร A จากพืชได้

จากนั้นก็ศึกษาว่าทำไมสาร A ลดไข้ได้ล่ะ มีกลไลอย่างไร เพื่อความปลอดภัยในการใช้ต่อมนุษย์ค่ะ

จากนั้นก็สารA ที่ได้สามารถนำมาเป็นยาได้มั้ย สกัดอย่างไร มีผลข้างเคียงอย่างไร

ยาพาราเซตามอล แผงละไม่กี่บาทที่เราซื้อกันง่ายๆ

"สารเริ่มสกัดได้ปี 1873 ค่ะ  นำขายได้จริงปี 1955 ค่ะ"

โดยขั้นตอนระหว่างกลางผ่านการศึกษาเป็นพันๆ หมื่นๆการศึกษาค่ะ ไม่ใช่ว่า ศึกษางานเดียว แล้วได้ผลลัพธ์เลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ยาที่พวกคุณกินแต่ละตัว กว่าจะออกมาช่วยเหลือคุณ ช่วยเหลือคนที่คุณรักนั้น ต้องผ่านทดลองต่างๆมากมายกับสัตว์ ซึ่งกระทำภายใต้ความรุนแรงที่น้อยที่สุด ตามหลักจริยธรรมการวิจัย

แต่เทียบไม่ได้เลยกับกลไกของโรคต่างๆ ที่กว่าจะออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ให้เหล่า "งานวิจัยยา" สามารถสร้างมาได้  ต้องใช้หลายงานวิจัย โต้เถียงกันไปมาสารพัด กว่าจะออกมาเป็นโรคที่เรารู้จักทุกวันนี้ เมื่อก่อนแทบเรียกได้ว่าเป็นแล้วลาโลกได้เลยครับ ผมทราบดีครับระหว่างวิจัยมันต้องแลกด้วยการเสียสละของสัตว์เหล่านั้นเยอะ และสัตว์เหล่านั้นเลือกไม่ได้ อาจจะมองว่าเป็นความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ด้วยกันก็ได้ ที่ต้องการดำรงค์รักษาเผ่าพันธุ์  

ผมเห็นด้วยกับคำว่าห่วงโซ่อาหาร โลกชีววิทยามันไม่ได้สวยงามแบบที่เห็น ถ้าไม่มีงานวิจัยเหล่านี้เลย คุณยังคงใช้ชีวิตภายใต้ภยันตรายรอบตัวทั้งทางกายภาพ และทางโรค คุณจะตายเมื่อไหร่ก็ได้ ยังไม่นับโอกาสที่คุณจะโดนสัตว์อื่นทำร้าย ชีวิตคุณจะแทบแขวนอยู่บนเส้นด้าย เพราะด้วยละกำลังและอวัยวะต่างๆของเรา สู้สัตว์อื่นไม่ได้เลย ที่มีขนาดเทียบเท่าหรือใหญ่กว่า เรามีแต่สมองที่จะดำรงค์รักษาเผ่าพันธุ์  

ผมเป็นคนหนึ่งที่รักแมวมาก ผมเห็นแล้วก็ต้องปิดทันทีครับ แต่ผมเข้าใจว่า ทำไมถึงต้องทำ มันก็น่านึกแค้นใจครับว่า ทำไมถึงไม่มีวิธีศึกษาวิจัยที่ปราศจากการคร่าชีวิต มันไม่มีครับ มีแล้วใครจะไม่อยากทำ ผมถามคำเดียวครับ บุญบาปมีจริง นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นรับบาปไปเท่าไหร่แล้ว เขารู้สึกผิดรึป่าวที่ต้องมานั่งทำแบบนี้สัตว์ทดลอง แต่ทั้งหมดทั้งปวงมันแลกมากับประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ครับ มนุษย์คนอื่นที่มีโอกาสสร้างบุญ ละเว้นบาปได้ แต่เขาทำไม่ได้ ยอมสร้างบาป เพื่อประโยชน์ของพวกเรา  

หยุด และคิดให้รอบด้านครับ อย่าใช้เพียงแต่อารมณ์ความรักเข้าตัดสิน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
ลองไปดูโรงฆ่าสัตว์ดีกว่ามั้ย หรือตลาดสดตอนเช้าๆ ช่วงตี4ตี5โซนขายหมูก็ได้ไม่เห็นมีใครมาโพสว่าไรนะ เพราะหมูไม่น่ารักเหมือนแมวไง หรือเอากุ้งเต้นมะ สดดี ดีด เด้งกันมันส์ อุ้บบส์ ลืม กุ้งมันไม่น่ารักนี่

ไม่มีไรมากกกกกกก บอกแค่ว่ามนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์ที่เห็นแก่ตัววววว เห็นแก่ตัวมากโด้ยยยยยย ไม่มีใครเกินโด้ยยยยย (โลกความจริงไม่สวยงามครับ)

อุ้ยยแปป มดขึ้นขนม บี้มดแปป... เห้ยๆๆ ยุงกัด ตบๆๆ
ความคิดเห็นที่ 6
ผมว่ามันอยู่ที่เจตนา และวัตถุประสงค์ที่ทำ ถ้าวิจัยเพื่อคิดค้นวิวัฒนการในการรักษาโรคผมมองว่าไม่ผิด

แต่ถ้าทำเพื่อสนองความต้องการบางอย่าง เช่น ฆ่าสัตว์เพื่อเอาขนมาทำเสื้อขนสัตว์ หรือ จับปลาฉลาม

มาตัดครีบเพื่อเอามาทำหูฉลาม ผมว่าแบบนี้ไม่ควร
ความคิดเห็นที่ 43
เห็นผีเสื้อ ติดใยแมงมุม...

เมื่อคุณเอื้อมมือไปช่วยผีเสื้อให้หลุดไป ... คุณกำลังฆ่าแมงมุม!

เพียงเพราะแมงมุม  ไม่น่ารัก!

หนูทดลอง ถูก dose สารเคมีนู่นนี่นั่น ทดสอบว่าสารไหนทำให้เป็นมะเร็ง เพื่อมนุษย์จะได้หลีกเลี่ยง
แล้วก็ปล่อยหนูให้เป็นมะเร็งตายไป วันๆนึงไม่รู้มีกี่สิบกี่ร้อยตัว ..... แต่มันไม่น่ารักไง! มันเลยไม่มีกระทู้เป็นของตัวเอง
ความคิดเห็นที่ 12
ประสาทหูเทียม คนที่ลงชื่อต่อต้าน จะอาสาลงชื่อเอาตัวเองเป็นผู้ถูกทดลองผ่าตัด และฝังประสามหูเทียมมั้ยครับ ผมเชื่อว่าไม่มีมนุษย์หน้าไหนยอมให้ผ่าตัดตัวเองแน่นอนครับ จึงจำเป็นต้องทำกับสัตว์ทดลอง

ประสาทหูเทียมช่วยผู้คนหูหนวกถาวรมากมายให้กลับมาได้ยินอีกครั้ง แล้วคุณๆ ท่านๆ ที่ลงชื่อต่อต้าน อีกเสียอย่างนั้น

วันหนึ่งถ้าท่านหูดับไป อย่าได้มาลงชื่อขอผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมกันนะครับ จะได้แฟร์กับการวิจัยด้วย
ความคิดเห็นที่ 5
หมู วัว เป็ด ไก่  ฆ่าโหดกว่านี้อีกครับ  ก็เห็นยังกินกัน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่