[๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณสัญญา ๓ ประการ อันภิกษุเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์
สมณสัญญา ๓ ประการเป็นไฉน คือ
สมณสัญญาว่า
เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑
ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑
มรรยาทอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์
ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุเป็นผู้มีปกติทำติดต่อเป็นนิตย์
เป็นผู้มีความประพฤติติดต่อเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ไม่โลภมาก ๑
เป็นผู้ไม่พยาบาท ๑
เป็นผู้ไม่ถือตัว ๑
เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ๑
เป็นผู้มีการพิจารณาในปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า
ปัจจัยเหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้ แล้วจึงบริโภค ๑
เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการนี้ให้บริบูรณ์ ฯ
จบสูตรที่ ๑
------------
ตติยปัณณาสก์
สมณสัญญาวรรคที่ ๑
สมณสัญญาสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๔๘๑๑ - ๔๘๒๖. หน้าที่ ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=4811&Z=4826&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=101
สมณสัญญา
สมณสัญญา ๓ ประการ อันภิกษุเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์
สมณสัญญา ๓ ประการเป็นไฉน คือ
สมณสัญญาว่า
เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑
ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑
มรรยาทอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์
ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุเป็นผู้มีปกติทำติดต่อเป็นนิตย์
เป็นผู้มีความประพฤติติดต่อเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ไม่โลภมาก ๑
เป็นผู้ไม่พยาบาท ๑
เป็นผู้ไม่ถือตัว ๑
เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ๑
เป็นผู้มีการพิจารณาในปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า
ปัจจัยเหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้ แล้วจึงบริโภค ๑
เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการนี้ให้บริบูรณ์ ฯ
จบสูตรที่ ๑
------------
ตติยปัณณาสก์
สมณสัญญาวรรคที่ ๑
สมณสัญญาสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๔๘๑๑ - ๔๘๒๖. หน้าที่ ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=4811&Z=4826&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=101