เมื่อพิจารณาความตายด้วยเหตุผลจากความเป็นจริงแล้ว ความตายก็จะตรงข้ามกับความมีชีวิต คือ...
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการมองเห็น เมื่อตายก็จะไม่มีการมองเห็น
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้ยิน เมื่อตายก็จะไม่มีการได้ยิน
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้กลิ่น เมื่อตายก็จะไม่มีการได้กลิ่น
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้รู้รส เมื่อตายก็จะไม่มีการได้รู้รส
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้รู้สัมผัสทางกาย เมื่อตายก็จะไม่มีการได้รู้สัมผัสทางกาย
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้รู้สัมผ้สทางใจ เมื่อตายก็จะไม่มีการได้รู้สัมผัสทางใจ
นี่คือเหตุผลตามความเป็นจริงของทุกชีวิตในเรื่องความตาย ซึ่งความมีชีวิตก็คือการมีจิตใจที่สามารถรับรู้ รู้สึก จดจำ และปรุงแต่งคิดนึกได้ แต่เมื่อไม่มีชีวิตก็คือไม่มีการรับรู้ รู้สึก จดจำ และปรุงแต่งคิดนึกได้ ซึ่งนี่คือความจริงที่ใครๆก็ยอมรับ แต่เมื่อมีความเชื่อเรื่องจิตเป็นอัตตา (ตัวตนอมตะ ที่เวียนว่ายตาย-เกิดทางร่างกาย) เข้ามา จึงทำให้เกิดความเห็นที่ตรงข้ามกับเหตุผลและความจริงขึ้นมา คือเชื่อกันว่า แม้ร่างกายจะตาย แต่จิตจะไม่ตาย คือจิตที่สามารถรับรู้ รู้สึก จดจำ และปรุงแต่งคิดนึกได้นี้บางคนก็เชื่อว่า มันสามารถออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วเพื่อไปเกิดในร่างกายใหม่ได้ หรือบางคนก็เชื่อว่า มันสามารถที่จะดับหายไปในร่างกายที่ตายแล้ว และเกิดขึ้นมาเหมือนเดิมได้ในร่างกายใหม่ (แต่ความทรงจำเก่าจะหายไป?) ซึ่งความเชื่อนี้มันเข้ากันได้กับความรู้สึกของเราที่รู้สึกว่ามันต้องมีเราอยู่อย่างชั่วนิรันดรหรือเป็นอมตะ ดังนั้นความเชื่อนี้จึงเป็นที่ยอมรับของคนธรรมดาๆทั่วไป (ที่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม) แม้มันจะตรงข้ามกับเหตุผลและความเป็นจริงก็ตาม
ความเชื่อนั้นยังไม่ใช่ปัญญาที่จะนำมาใช้ดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้ ดังนั้นถ้าใครยังมีความเชื่อเช่นนี้ครอบงำสติปัญญาอยู่ ถึงแม้จะศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างมากมายก็ไม่สามารถเข้าใจและเห็นแจ้งได้ เพราะมีควาเห็นผิดว่าจิตเป็นอัตตา (ซึ่งเป็นสังโยชน์ตัวแรกที่ต้องทำลายก่อนจึงจะมีความเห็นที่ถูกต้องได้) จะต้องมีความเห็นที่ถูกต้องว่า จิตเป็นอนัตตา เท่านั้น จึงจะศึกษาแล้วเข้าใจตลอดจนเห็นแจ้งในคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้าได้ (ถ้าเข้าใจเรื่องจิตเป็นอนัตตาแล้วก็จะเข้าใจได้ว่า ไม่มีตัวเราที่จะเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายได้ อย่างความเชื่อที่ว่าจิตเป็นอัตตา)
ความตาย ตรงข้ามกับ ความมีชีวิต
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการมองเห็น เมื่อตายก็จะไม่มีการมองเห็น
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้ยิน เมื่อตายก็จะไม่มีการได้ยิน
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้กลิ่น เมื่อตายก็จะไม่มีการได้กลิ่น
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้รู้รส เมื่อตายก็จะไม่มีการได้รู้รส
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้รู้สัมผัสทางกาย เมื่อตายก็จะไม่มีการได้รู้สัมผัสทางกาย
เมื่อมีชีวิตก็จะมีการได้รู้สัมผ้สทางใจ เมื่อตายก็จะไม่มีการได้รู้สัมผัสทางใจ
นี่คือเหตุผลตามความเป็นจริงของทุกชีวิตในเรื่องความตาย ซึ่งความมีชีวิตก็คือการมีจิตใจที่สามารถรับรู้ รู้สึก จดจำ และปรุงแต่งคิดนึกได้ แต่เมื่อไม่มีชีวิตก็คือไม่มีการรับรู้ รู้สึก จดจำ และปรุงแต่งคิดนึกได้ ซึ่งนี่คือความจริงที่ใครๆก็ยอมรับ แต่เมื่อมีความเชื่อเรื่องจิตเป็นอัตตา (ตัวตนอมตะ ที่เวียนว่ายตาย-เกิดทางร่างกาย) เข้ามา จึงทำให้เกิดความเห็นที่ตรงข้ามกับเหตุผลและความจริงขึ้นมา คือเชื่อกันว่า แม้ร่างกายจะตาย แต่จิตจะไม่ตาย คือจิตที่สามารถรับรู้ รู้สึก จดจำ และปรุงแต่งคิดนึกได้นี้บางคนก็เชื่อว่า มันสามารถออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วเพื่อไปเกิดในร่างกายใหม่ได้ หรือบางคนก็เชื่อว่า มันสามารถที่จะดับหายไปในร่างกายที่ตายแล้ว และเกิดขึ้นมาเหมือนเดิมได้ในร่างกายใหม่ (แต่ความทรงจำเก่าจะหายไป?) ซึ่งความเชื่อนี้มันเข้ากันได้กับความรู้สึกของเราที่รู้สึกว่ามันต้องมีเราอยู่อย่างชั่วนิรันดรหรือเป็นอมตะ ดังนั้นความเชื่อนี้จึงเป็นที่ยอมรับของคนธรรมดาๆทั่วไป (ที่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม) แม้มันจะตรงข้ามกับเหตุผลและความเป็นจริงก็ตาม
ความเชื่อนั้นยังไม่ใช่ปัญญาที่จะนำมาใช้ดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้ ดังนั้นถ้าใครยังมีความเชื่อเช่นนี้ครอบงำสติปัญญาอยู่ ถึงแม้จะศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างมากมายก็ไม่สามารถเข้าใจและเห็นแจ้งได้ เพราะมีควาเห็นผิดว่าจิตเป็นอัตตา (ซึ่งเป็นสังโยชน์ตัวแรกที่ต้องทำลายก่อนจึงจะมีความเห็นที่ถูกต้องได้) จะต้องมีความเห็นที่ถูกต้องว่า จิตเป็นอนัตตา เท่านั้น จึงจะศึกษาแล้วเข้าใจตลอดจนเห็นแจ้งในคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้าได้ (ถ้าเข้าใจเรื่องจิตเป็นอนัตตาแล้วก็จะเข้าใจได้ว่า ไม่มีตัวเราที่จะเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายได้ อย่างความเชื่อที่ว่าจิตเป็นอัตตา)