หัวใจของอริยสัจ ๔ คือ ความเข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ (คือร่างกายกับจิตใจ) เป็นอนัตตา (คือไม่ใช่ตัวตนที่เป็นเรา)
อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา หรือไม่ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่ตัวเรา คือ ทั้งร่างกายและจิตใจที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรา-ของเรานี้ แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ตัวเรา-ของเราจริงเลย (เพราะมันเป็นเพียงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยเท่านั้น)
ความเข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตานี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย เพราะมันมีเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์มารองรับ แต่มันขัดแย้งหรือตรงข้ามกับความรู้สึกของจิตมนุษย์ธรรมดาทั้วไปที่รู้สึกว่ามีตนเองอยู่จริง (ความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่จริงนี้มาจากอวิชชาหรือความรู้ผิดว่ามีตัวเราที่คอยกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่จริงอยู่เสมอ) จึงทำให้คนทั่วไปไม่ยอมรับ เมื่อไม่ยอมรับจึงทำให้ไม่เข้าใจเหตุผลที่ว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาได้ อย่างที่เป็นอยู่โดยทั่วไป
เมื่อไม่เข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ก็จะทำให้ไม่เข้าใจหลักอริยัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง คือหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน โดยใช้ปัญญา (คือความเข้าใจอย่างถูกต้องว่าแท้จริงมันไม่มีตัวเราอยู่จริง หรือความเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา) กับสมาธิ (จิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น อ่อนโยน) มาทำงานร่วมกัน โดยมีศีล (ความปกติของจิต) เป็นพื้นฐาน แต่เมื่อไม่เข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา จึงเท่ากับไม่มีปัญญา (คือเกิดความเข้าใจผิดว่ามีตัวเราอยู่จริงหรือเข้าใจผิดว่าจิตเป็นอัตตาที่เวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายได้) เมื่อไม่มีปัญญา ถึงแม้จะมีสมาธิและศีล ก็ดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันไม่ได้ เพราะขาดปัญญา (องค์ประกอบของมรรคไม่ครบ ๘)
อีกทั้งยังจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า "หลักอริยสัจ ๔ นี้เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์หรือนิพพานเมื่อตายไปแล้วหรืออีกหมื่นชาติแสนชาติอย่างที่เชื่อกันอยู่ในปัจจุบัน จึงทำให้ชาวพุทธที่เข้าใจผิดเช่นนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า (คือดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันไม่ได้ จะมีก็เพียงทำให้อุ่นใจได้บ้าง เพราะเชื่อว่าจะได้นิพพานต่อเมื่อตายไปแล้วอีกหมื่นชาติแสนชาติเท่านั้น)
อนัตตาเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจไม่ได้ เพราะมันขัดแย้งกับความรู้สึกว่ามีตนเองเป็นอัตตา
อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา หรือไม่ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่ตัวเรา คือ ทั้งร่างกายและจิตใจที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรา-ของเรานี้ แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ตัวเรา-ของเราจริงเลย (เพราะมันเป็นเพียงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยเท่านั้น)
ความเข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตานี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย เพราะมันมีเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์มารองรับ แต่มันขัดแย้งหรือตรงข้ามกับความรู้สึกของจิตมนุษย์ธรรมดาทั้วไปที่รู้สึกว่ามีตนเองอยู่จริง (ความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่จริงนี้มาจากอวิชชาหรือความรู้ผิดว่ามีตัวเราที่คอยกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่จริงอยู่เสมอ) จึงทำให้คนทั่วไปไม่ยอมรับ เมื่อไม่ยอมรับจึงทำให้ไม่เข้าใจเหตุผลที่ว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาได้ อย่างที่เป็นอยู่โดยทั่วไป
เมื่อไม่เข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ก็จะทำให้ไม่เข้าใจหลักอริยัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง คือหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน โดยใช้ปัญญา (คือความเข้าใจอย่างถูกต้องว่าแท้จริงมันไม่มีตัวเราอยู่จริง หรือความเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา) กับสมาธิ (จิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น อ่อนโยน) มาทำงานร่วมกัน โดยมีศีล (ความปกติของจิต) เป็นพื้นฐาน แต่เมื่อไม่เข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา จึงเท่ากับไม่มีปัญญา (คือเกิดความเข้าใจผิดว่ามีตัวเราอยู่จริงหรือเข้าใจผิดว่าจิตเป็นอัตตาที่เวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายได้) เมื่อไม่มีปัญญา ถึงแม้จะมีสมาธิและศีล ก็ดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันไม่ได้ เพราะขาดปัญญา (องค์ประกอบของมรรคไม่ครบ ๘)
อีกทั้งยังจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า "หลักอริยสัจ ๔ นี้เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์หรือนิพพานเมื่อตายไปแล้วหรืออีกหมื่นชาติแสนชาติอย่างที่เชื่อกันอยู่ในปัจจุบัน จึงทำให้ชาวพุทธที่เข้าใจผิดเช่นนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า (คือดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันไม่ได้ จะมีก็เพียงทำให้อุ่นใจได้บ้าง เพราะเชื่อว่าจะได้นิพพานต่อเมื่อตายไปแล้วอีกหมื่นชาติแสนชาติเท่านั้น)