จริง ๆ ผมก็รออ่านรายงานฉบับนี้มานานพอสมควร แต่เห็นทางกรมการค้าภายใน เพิ่งเอาขึ้นหน้าเวป เมื่อไม่กี่วันนี้ (ก่อนประกาศอัยการศึก) ก็เลยไม่ได้ยกมาตั้งกระทู้
แต่วันนี้เห็นว่า ทาง คสช.จะจ่ายเงินค่าข้าวให้ชาวนาแล้วในสัปดาห์หน้า ก็เลยอยากยกเนื้อหาของผลการประชุม มาสนทนา ในช่วงที่กระทู้ในราชดำเนิน มีความไม่ค่อยปกติ คือเรื่องที่คนสนใจมาก ตั้งกระทู้มาก มักจะมีคนได้อ่านไม่มากนัก เพราะจะโดนลบไปก่อน
http://www.dit.go.th/contentdetail.asp?typeid=16&catid=1120309&ID=5138
ขอตัดรายงานมาเลยแล้วกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จริง ๆ ในรายงานมีหลายส่วนที่น่าสนใจ แต่ขอยกตัวเลขสองตัวที่มีในรายงานมาเท่านั้น
อันแรก เป็นตัวเลขต้นทุนค่าข้าวของรัฐบาล เพราะในรายงานเขียนชัดเจนว่า ถ้าหากข้าว 2.977 ล้านตันไม่หาย คำนวณตามราคาต้นทุนข้าวสาร จะขาดทุนน้อยไป 74,336 ล้านบาท หรือก็คือ ต้นทุนข้าวสารของรัฐบาลอยู่ที่ 24,970 บาท
อีกตัวนึง เป็นการสรุปตัวเลขการระบายข้าวสาร ตั้งแต่ต้น จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 ว่า ระบายไปได้ทั้งสิ้น 18.16 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 226,499 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตันละ 12,472 บาท
คิดง่าย ๆ ก็คือ ที่ผ่านมา รัฐบาลขายข้าวที่มีต้นทุน เกือบ 25,000 บาท ไปในราคาเฉลี่ยไม่ถึง 12,500 บาท หรือคิดตัวเลขกลม ๆ ก็คือ ขายขาดทุนครึ่งนึง
ซึ่งที่ผ่านมา ข้าวทั้งหมดที่รัฐบาลรับจำนำมา 5 รอบการผลิต มีมูลค่ารวมกัน 880,000 ล้านบาท
ถ้าหากข้าวทั้งหมดอยู่ครบ และไม่มีเสื่อมคุณภาพ เมื่อขายจนหมดคิดง่าย ๆ ก็คือต้องขาดทุน 440,000 ล้านบาทแล้ว
แต่ถ้าสมมติข้าว 3 ล้านตันที่ว่า หายไปจริง ก็จะได้เงินน้อยไป (หรือก็คือขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก) ประมาณ 37,000 ล้านบาท
แล้วจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก ที่เพิ่มไปตามเวลา
รวมทั้งหมด ยังไงก็ถึง 500,000 ล้านบาทแน่ ๆ
ถึงแม้เรื่องดูเหมือนเก่าไปหน่อย แต่ผมว่าตรงนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ควรยอมรับว่า โครงการที่มีแผนการใช้เงินไม่เกินห้าแสนล้านบาท บริหารจัดการแบบลูกเศรษฐีทำธุรกิจแบบล้างผลาญ ก็สามารถทำให้ขาดทุนจนหมด แล้วยังต้องหาเงินมาตามใช้หนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ยังไม่จ่ายอีก โดยที่ชาวนาทั้งประเทศ ได้ประโยชน์ไม่ถึงหนึ่งในสี่ และที่ได้ประโยชน์มาก ๆ ก็เป็นชาวนาที่ทำนาจำนวนมากด้วย
เพื่อให้รัฐบาลชุดต่อ ๆ ไป เป็นบทเรียนการทำโครงการช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้อย่างจริงจัง ไม่ใช่คิดว่ามีเงิน แล้วหว่านเงินก็พอ
เงินหว่านไปแล้ว นอกจากไม่งอกเงย ยังเป็นภาระกับรัฐบาลต่อ ๆ ไป ที่ต้องมารับภาระการใช้หนี้ก้อนนี้
ทำให้ความสามารถในการทำโครงการช่วยเหลือในอนาคต ลดลงไปด้วย
เพราะจากเงินห้าแสนล้านบาท ที่ผลาญไป ทำให้รัฐบาลต้องใช้หนี้เกือบปีละแสนล้านไปอีก 6-7 ปี ซึ่งหมายความว่า ถ้าหากยกการใช้หนี้มีความสำคัญอันดับแรก ต้องรอเงินเหลือจากใช้หนี้ ค่อยกำหนดนโยบายความช่วยเหลือได้
จากที่จะมีเงินช่วยได้ปีละเป็นแสนล้าน ก็เหลือแค่ สองสามหมื่นล้านเท่านั้น
ก็ทำให้ชาวนายิ่งลำบากหนักไปกว่าเดิมอีก
ผลการประชุม กขช ครั้ง 3/2557 วันที่ 9 เมษายน 2557
แต่วันนี้เห็นว่า ทาง คสช.จะจ่ายเงินค่าข้าวให้ชาวนาแล้วในสัปดาห์หน้า ก็เลยอยากยกเนื้อหาของผลการประชุม มาสนทนา ในช่วงที่กระทู้ในราชดำเนิน มีความไม่ค่อยปกติ คือเรื่องที่คนสนใจมาก ตั้งกระทู้มาก มักจะมีคนได้อ่านไม่มากนัก เพราะจะโดนลบไปก่อน
http://www.dit.go.th/contentdetail.asp?typeid=16&catid=1120309&ID=5138
ขอตัดรายงานมาเลยแล้วกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จริง ๆ ในรายงานมีหลายส่วนที่น่าสนใจ แต่ขอยกตัวเลขสองตัวที่มีในรายงานมาเท่านั้น
อันแรก เป็นตัวเลขต้นทุนค่าข้าวของรัฐบาล เพราะในรายงานเขียนชัดเจนว่า ถ้าหากข้าว 2.977 ล้านตันไม่หาย คำนวณตามราคาต้นทุนข้าวสาร จะขาดทุนน้อยไป 74,336 ล้านบาท หรือก็คือ ต้นทุนข้าวสารของรัฐบาลอยู่ที่ 24,970 บาท
อีกตัวนึง เป็นการสรุปตัวเลขการระบายข้าวสาร ตั้งแต่ต้น จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 ว่า ระบายไปได้ทั้งสิ้น 18.16 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 226,499 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตันละ 12,472 บาท
คิดง่าย ๆ ก็คือ ที่ผ่านมา รัฐบาลขายข้าวที่มีต้นทุน เกือบ 25,000 บาท ไปในราคาเฉลี่ยไม่ถึง 12,500 บาท หรือคิดตัวเลขกลม ๆ ก็คือ ขายขาดทุนครึ่งนึง
ซึ่งที่ผ่านมา ข้าวทั้งหมดที่รัฐบาลรับจำนำมา 5 รอบการผลิต มีมูลค่ารวมกัน 880,000 ล้านบาท
ถ้าหากข้าวทั้งหมดอยู่ครบ และไม่มีเสื่อมคุณภาพ เมื่อขายจนหมดคิดง่าย ๆ ก็คือต้องขาดทุน 440,000 ล้านบาทแล้ว
แต่ถ้าสมมติข้าว 3 ล้านตันที่ว่า หายไปจริง ก็จะได้เงินน้อยไป (หรือก็คือขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก) ประมาณ 37,000 ล้านบาท
แล้วจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก ที่เพิ่มไปตามเวลา
รวมทั้งหมด ยังไงก็ถึง 500,000 ล้านบาทแน่ ๆ
ถึงแม้เรื่องดูเหมือนเก่าไปหน่อย แต่ผมว่าตรงนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ควรยอมรับว่า โครงการที่มีแผนการใช้เงินไม่เกินห้าแสนล้านบาท บริหารจัดการแบบลูกเศรษฐีทำธุรกิจแบบล้างผลาญ ก็สามารถทำให้ขาดทุนจนหมด แล้วยังต้องหาเงินมาตามใช้หนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ยังไม่จ่ายอีก โดยที่ชาวนาทั้งประเทศ ได้ประโยชน์ไม่ถึงหนึ่งในสี่ และที่ได้ประโยชน์มาก ๆ ก็เป็นชาวนาที่ทำนาจำนวนมากด้วย
เพื่อให้รัฐบาลชุดต่อ ๆ ไป เป็นบทเรียนการทำโครงการช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้อย่างจริงจัง ไม่ใช่คิดว่ามีเงิน แล้วหว่านเงินก็พอ
เงินหว่านไปแล้ว นอกจากไม่งอกเงย ยังเป็นภาระกับรัฐบาลต่อ ๆ ไป ที่ต้องมารับภาระการใช้หนี้ก้อนนี้
ทำให้ความสามารถในการทำโครงการช่วยเหลือในอนาคต ลดลงไปด้วย
เพราะจากเงินห้าแสนล้านบาท ที่ผลาญไป ทำให้รัฐบาลต้องใช้หนี้เกือบปีละแสนล้านไปอีก 6-7 ปี ซึ่งหมายความว่า ถ้าหากยกการใช้หนี้มีความสำคัญอันดับแรก ต้องรอเงินเหลือจากใช้หนี้ ค่อยกำหนดนโยบายความช่วยเหลือได้
จากที่จะมีเงินช่วยได้ปีละเป็นแสนล้าน ก็เหลือแค่ สองสามหมื่นล้านเท่านั้น
ก็ทำให้ชาวนายิ่งลำบากหนักไปกว่าเดิมอีก