หนี้เสียเช่าซื้อรถพุ่งไม่หยุด เครดิตบูโรจับตา “อีวีจีน” เสี่ยงสูง
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 - 06:47 น.
เครดิตบูโรชี้ปัญหาหนี้เสียเช่าซื้อรถยังไม่สงบ ตัวเลขหนี้ค้างชำระยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งสัญญาณกลุ่ม “อีวีจีน” อนาคตเสี่ยงเจอภาวะหนี้เสียสูง ชี้ค่ายรถจีนรุกหนัก-ทำตลาดสไตล์ดุดันชิงมาร์เก็ตแชร์ เผยหลายรายหารือสมัครสมาชิกเครดิตบูโร จับตาแบรนด์จีนเข้ามาปล่อยสินเชื่อหนุนการทำตลาด หลังแบงก์เข้มปล่อยกู้ ส.อ.ท.เผยตัวเลขยอดขายรถในประเทศ 10 เดือนแรกร่วงเหลือ 6.45 แสนคัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลัง ได้ประกาศนโยบายแก้ปัญหาหนี้ประชาชนเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแผนจัดการทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ได้รวมหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้สหกรณ์บางส่วน พบว่าหนี้ครัวเรือนไทย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ที่ 17.62 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 90.6% ของจีดีพี
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากฐานข้อมูลสถาบันการเงินและผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร 135 ราย พบว่าในไตรมาส 3/2566 ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ระดับ 1.05 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/66 เล็กน้อย ซึ่งอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ดี พบว่าตัวเลขหนี้เสียที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้จากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1 ล้านล้านบาทเช่นกัน เนื่องจากมาตรการสนับสนุนการแก้หนี้ของ ธปท. กำลังจะสิ้นสุดลงในสิ้นปี 2566 ทำให้ขณะนี้สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์เรื่องการตั้งสำรอง เร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น จาก ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 9.8 แสนล้านบาท
ค้างผ่อนรถ-บ้านเพิ่มขึ้น
นายสุรพลกล่าวว่า ที่น่าจับตาก็คือ ตัวเลขหนี้เสียสินเชื่อรถยนต์ หรือเช่าซื้อรถที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่นเดียวกับตัวเลขสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) คือ กลุ่มลูกหนี้มีการค้างชำระแต่ไม่ถึง 90 วันของสินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ 2.13 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 17.5% จากยอดสินเชื่อ SM ทั้งหมดอยู่ที่ราว 5 แสนล้านบาท สะท้อนว่าประชาชนมีปัญหาเรื่องการค้างชำระการผ่อนค่างวดรถค่อนข้างมาก
“กรณีของสินเชื่อรถยนต์ตัวเลขหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ก็ไม่ได้ช่วยกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ เพราะส่วนใหญ่ก็จะผ่อน 4-5 ปี เมื่อผ่อนไม่ไหวจะมาขอยืดหนี้การผ่อนชำระก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะอายุการใช้งานของรถยนต์ก็เหลือน้อยลง จะยืดอายุการผ่อนไปอีก สถาบันการเงินก็คงรับไม่ได้ ซึ่งต่างกับสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัยที่มูลค่าทรัพย์เพิ่มขึ้น”
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสินเชื่อบ้านที่มีการค้างชำระแต่ไม่เกิน 90 วัน ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน มาอยู่ที่ประมาณ 1.37 แสนล้านบาท
จับตาอีวีจีนเสี่ยงหนี้เสีย
นายสุรพลกล่าวว่า นอกจากนี้กลุ่มที่มองว่าจะมีปัญหาหนี้เสียตามมาในอนาคตคือ รถอีวีจีน เพราะปัจจุบันตัวยอดขายรถอีวีก็มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และการทำตลาดสไตล์ดุดันเพื่อที่จะช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์ ประกอบกับรถอีวีกรณีมีปัญหาหรือเกิดอุบัติเหตุ “loan to value” มูลค่าของรถหลังมีปัญหาเกิดขึ้นจะลดลงค่อนข้างมาก ผู้ปล่อยกู้ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นและมากกว่ารถประเภทอื่น
และที่ผ่านมามีค่ายรถอีวีจีนหลายราย ก็เข้ามาสอบถามข้อมูลการเป็นสมาชิกกับเครดิตบูโร แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจเข้ามาเป็นสมาชิก สะท้อนถึงการเตรียมพร้อมที่จะเข้ามาปล่อยสินเชื่อกับลูกค้า โดยคาดว่าค่ายรถจีนหลายรายมีแผนจะเข้ามาบุกทำตลาดสินเชื่อรถยนต์โดยตรง
ซึ่งน่าจะมีแหล่งเงินทุนจากจีนเข้ามาสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อ เพื่อสนับสนุนการขายรถอีวีแบรนด์ของตนให้ง่ายขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้า เพราะปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทยค่อนข้างมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ หลังจากต้องแบกรับตัวเลขหนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้น
ราคาอีวีจีนมือสองลงแรง
สอดคล้องกับนายวิสิทธิ์ พึ่งพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด และในฐานะประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ได้ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มรถยนต์ค่ายจีนทั้งระบบ ยอมรับว่ามีสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการเช่าซื้อบางรายไม่ปล่อยสินเชื่อให้บางยี่ห้อจริง
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประเด็นในเรื่องของราคารถอีวีจีนที่ตกลงค่อนข้างเร็ว โดยหากดูราคารถที่ตกลงจะเฉลี่ยอยู่ที่ 40-50% จากราคารถเฉลี่ย 6 แสนบาทต่อคัน หากเป็นรถมือสอง จะเหลือราคาราว 2-3 แสนบาท ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายให้กับสถาบันการเงินได้ ทำให้เกิดการชะลอหรือไม่ปล่อยสินเชื่อในกลุ่มรถยนต์ดังกล่าว
ขณะที่บางส่วนที่ยังคงปล่อยสินเชื่อ แต่อาจจะมีเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อที่มากกว่ารถยนต์ประเภทอื่น เช่น พิจารณาการวางวงเงินดาวน์ กลุ่มอาชีพและความมั่นคงทางรายได้ของลูกค้า รวมถึงประวัติการชำระหนี้จากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ โดยจะมีการโฟกัสการปล่อยสินเชื่อมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นรถยนต์ด้วย
10 เดือนขายรถ 6.45 แสนคัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีปัญหาหนี้เสียเช่าซื้อรถที่เพิ่มขึ้น ก็ทำให้สถาบันการเงินทั้งหลายมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์มากขึ้น ซึ่งก็เป็นปัญหาสำคัญของผู้จำหน่ายรถยนต์ และทำให้ตัวยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวลง โดยล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ประกาศตัวเลขยอดรถยนต์ในประเทศเดือนตุลาคม 2566 มีจำนวน 58,963 คัน ลดลง 5.03% จากเดือนก่อนหน้า และลดลง 8.75% จากเดือนเดียวกันปีก่อน และภาพรวม 10 เดือนแรกของปี (มกราคม-ตุลาคม 2566) ยอดขายรถยนต์ในประเทศอยู่ที่ 645,833 คัน ลดลง 7.51% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565
ขณะที่ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2566 พบว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้า (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง) อยู่ที่ 57,632 คัน เติบโตถึง 718% เทียบกับช่วง 10 เดือนของปี 2565 ที่มียอดจดทะเบียนเพียง 7,046 คัน โดย ณ 31ตุลาคม 2566 มียอดจดทะเบียนรถอีวีสะสมอยู่ที่ 70,927 คัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/finance/news-1446284
หนี้เสียเช่าซื้อรถพุ่งไม่หยุด เครดิตบูโรจับตา “อีวีจีน” เสี่ยงสูง

หนี้เสียเช่าซื้อรถพุ่งไม่หยุด เครดิตบูโรจับตา “อีวีจีน” เสี่ยงสูง
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 - 06:47 น.
เครดิตบูโรชี้ปัญหาหนี้เสียเช่าซื้อรถยังไม่สงบ ตัวเลขหนี้ค้างชำระยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งสัญญาณกลุ่ม “อีวีจีน” อนาคตเสี่ยงเจอภาวะหนี้เสียสูง ชี้ค่ายรถจีนรุกหนัก-ทำตลาดสไตล์ดุดันชิงมาร์เก็ตแชร์ เผยหลายรายหารือสมัครสมาชิกเครดิตบูโร จับตาแบรนด์จีนเข้ามาปล่อยสินเชื่อหนุนการทำตลาด หลังแบงก์เข้มปล่อยกู้ ส.อ.ท.เผยตัวเลขยอดขายรถในประเทศ 10 เดือนแรกร่วงเหลือ 6.45 แสนคัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลัง ได้ประกาศนโยบายแก้ปัญหาหนี้ประชาชนเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแผนจัดการทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ได้รวมหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้สหกรณ์บางส่วน พบว่าหนี้ครัวเรือนไทย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ที่ 17.62 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 90.6% ของจีดีพี
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากฐานข้อมูลสถาบันการเงินและผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร 135 ราย พบว่าในไตรมาส 3/2566 ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ระดับ 1.05 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/66 เล็กน้อย ซึ่งอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ดี พบว่าตัวเลขหนี้เสียที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้จากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1 ล้านล้านบาทเช่นกัน เนื่องจากมาตรการสนับสนุนการแก้หนี้ของ ธปท. กำลังจะสิ้นสุดลงในสิ้นปี 2566 ทำให้ขณะนี้สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์เรื่องการตั้งสำรอง เร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น จาก ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 9.8 แสนล้านบาท
ค้างผ่อนรถ-บ้านเพิ่มขึ้น
นายสุรพลกล่าวว่า ที่น่าจับตาก็คือ ตัวเลขหนี้เสียสินเชื่อรถยนต์ หรือเช่าซื้อรถที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่นเดียวกับตัวเลขสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) คือ กลุ่มลูกหนี้มีการค้างชำระแต่ไม่ถึง 90 วันของสินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ 2.13 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 17.5% จากยอดสินเชื่อ SM ทั้งหมดอยู่ที่ราว 5 แสนล้านบาท สะท้อนว่าประชาชนมีปัญหาเรื่องการค้างชำระการผ่อนค่างวดรถค่อนข้างมาก
“กรณีของสินเชื่อรถยนต์ตัวเลขหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ก็ไม่ได้ช่วยกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ เพราะส่วนใหญ่ก็จะผ่อน 4-5 ปี เมื่อผ่อนไม่ไหวจะมาขอยืดหนี้การผ่อนชำระก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะอายุการใช้งานของรถยนต์ก็เหลือน้อยลง จะยืดอายุการผ่อนไปอีก สถาบันการเงินก็คงรับไม่ได้ ซึ่งต่างกับสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัยที่มูลค่าทรัพย์เพิ่มขึ้น”
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสินเชื่อบ้านที่มีการค้างชำระแต่ไม่เกิน 90 วัน ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน มาอยู่ที่ประมาณ 1.37 แสนล้านบาท
จับตาอีวีจีนเสี่ยงหนี้เสีย
นายสุรพลกล่าวว่า นอกจากนี้กลุ่มที่มองว่าจะมีปัญหาหนี้เสียตามมาในอนาคตคือ รถอีวีจีน เพราะปัจจุบันตัวยอดขายรถอีวีก็มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และการทำตลาดสไตล์ดุดันเพื่อที่จะช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์ ประกอบกับรถอีวีกรณีมีปัญหาหรือเกิดอุบัติเหตุ “loan to value” มูลค่าของรถหลังมีปัญหาเกิดขึ้นจะลดลงค่อนข้างมาก ผู้ปล่อยกู้ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นและมากกว่ารถประเภทอื่น
และที่ผ่านมามีค่ายรถอีวีจีนหลายราย ก็เข้ามาสอบถามข้อมูลการเป็นสมาชิกกับเครดิตบูโร แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจเข้ามาเป็นสมาชิก สะท้อนถึงการเตรียมพร้อมที่จะเข้ามาปล่อยสินเชื่อกับลูกค้า โดยคาดว่าค่ายรถจีนหลายรายมีแผนจะเข้ามาบุกทำตลาดสินเชื่อรถยนต์โดยตรง
ซึ่งน่าจะมีแหล่งเงินทุนจากจีนเข้ามาสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อ เพื่อสนับสนุนการขายรถอีวีแบรนด์ของตนให้ง่ายขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้า เพราะปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทยค่อนข้างมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ หลังจากต้องแบกรับตัวเลขหนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้น
ราคาอีวีจีนมือสองลงแรง
สอดคล้องกับนายวิสิทธิ์ พึ่งพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด และในฐานะประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ได้ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มรถยนต์ค่ายจีนทั้งระบบ ยอมรับว่ามีสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการเช่าซื้อบางรายไม่ปล่อยสินเชื่อให้บางยี่ห้อจริง
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประเด็นในเรื่องของราคารถอีวีจีนที่ตกลงค่อนข้างเร็ว โดยหากดูราคารถที่ตกลงจะเฉลี่ยอยู่ที่ 40-50% จากราคารถเฉลี่ย 6 แสนบาทต่อคัน หากเป็นรถมือสอง จะเหลือราคาราว 2-3 แสนบาท ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายให้กับสถาบันการเงินได้ ทำให้เกิดการชะลอหรือไม่ปล่อยสินเชื่อในกลุ่มรถยนต์ดังกล่าว
ขณะที่บางส่วนที่ยังคงปล่อยสินเชื่อ แต่อาจจะมีเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อที่มากกว่ารถยนต์ประเภทอื่น เช่น พิจารณาการวางวงเงินดาวน์ กลุ่มอาชีพและความมั่นคงทางรายได้ของลูกค้า รวมถึงประวัติการชำระหนี้จากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ โดยจะมีการโฟกัสการปล่อยสินเชื่อมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นรถยนต์ด้วย
10 เดือนขายรถ 6.45 แสนคัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีปัญหาหนี้เสียเช่าซื้อรถที่เพิ่มขึ้น ก็ทำให้สถาบันการเงินทั้งหลายมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์มากขึ้น ซึ่งก็เป็นปัญหาสำคัญของผู้จำหน่ายรถยนต์ และทำให้ตัวยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวลง โดยล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ประกาศตัวเลขยอดรถยนต์ในประเทศเดือนตุลาคม 2566 มีจำนวน 58,963 คัน ลดลง 5.03% จากเดือนก่อนหน้า และลดลง 8.75% จากเดือนเดียวกันปีก่อน และภาพรวม 10 เดือนแรกของปี (มกราคม-ตุลาคม 2566) ยอดขายรถยนต์ในประเทศอยู่ที่ 645,833 คัน ลดลง 7.51% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565
ขณะที่ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2566 พบว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้า (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง) อยู่ที่ 57,632 คัน เติบโตถึง 718% เทียบกับช่วง 10 เดือนของปี 2565 ที่มียอดจดทะเบียนเพียง 7,046 คัน โดย ณ 31ตุลาคม 2566 มียอดจดทะเบียนรถอีวีสะสมอยู่ที่ 70,927 คัน
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/finance/news-1446284