ไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันพืชกับไขมันอิ่มตัวในน้ำมันหมู,มะพร้าว อันไหนร้ายกว่ากันครับ

...เรื่องราวที่ผมจะพูดในวันนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดิมที่เคยพูดไว้ แต่ที่ต้องพูดเพราะรายละเอียดเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่ท่านคงไม่ทราบมาก่อน และคงไม่มีหน่วยงานไหนกล้าที่จะมาบอกท่าน เพราะอะไรคงต้องไปคิดกันเอาเอง

ความจริงชนวนเรื่องนี้นั้น เกิดจากการที่ผมค้างคาใจจากที่ได้ไปคุยกับผู้บริหารเขตภาษีเจริญท่านหนึ่ง ที่ ม.ธรรมศาสตร์รังสิต ตอนนั้นไม่ได้คุยอะไรมากเพราะมีข้อมูลอยู่บ้างแล้ว แต่ที่ท่านคุยมานั้นมันเป็นรายละเอียด กรรมวิธีการผลิตน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีทุกชนิดที่เราใช้รับประทานกันทุกวัน ผมฟังแล้วน่าตกใจ ทำไมเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่มนุษย์พึงทำแก่กันได้อย่างเลือดเย็น ทั้งส่วนของโรงงานผู้ผลิต ,หมอ,สาธารณสุข ,อย. ,กรมคุ้มครองผู้บริโภค คนพวกนี้ไม่มีใครเลยหรือที่รู้ความจริงและไม่มาบอกพวกเรา

ในวันนั้นผม ได้ข้อมูลที่น่ากลัว จนผมเริ่มจำอะไรไม่หมด คิดว่าจะกลับมาค้นหาอีก ก็พอสรุปก่อนว่า น้ำมันพืชที่เรากินใช้กันนั้น ผ่านอุณภูมิใช้แล้ว 200 กว่าองศา และ 100 กว่าองศา สองรอบทั้งหมด ผ่านกรด ผ่านสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพที่ไม่มีทางที่จะเอาออกได้ทั้งหมดจากกรรมวิธีการผลิต ในระดับอนุภาคนาโน ที่เขาเรียกสร้างภาพให้ดูดีว่า “น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี”

เมื่อมาถึงตรงนี้ ผมขอเริ่มนำ กรรมวิธีการผลิตน้ำมันพืชมาให้ท่านได้รับทราบกันว่า “น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี” มีกรรมวิธีอย่างไร จริงไหมที่ กระบวนการเหล่านี้แหละคือเหตุผลของ การทำให้คนไทยในปัจจุบัน 20-30 ปีมานี้ป่วยด้วยโรคไม่มีเชื่อโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับข้อกระดูกเสื่อม อัมพฤกอัมพาต เส้นเลือดในสมองแตก ฯลฯ

....สมมุติว่าเป็นน้ำมันถั่วเหลือง การเก็บเกี่ยว เริ่มจากการใช้ยาฆ่าหญ้าฉีดให้ใบร่วง เพื่อการเก็บเกี่ยวที่ง่าย แต่บางอย่างปลอดภัยในขั้นตอนนี้ เมื่อได้ถั่วเหลืองหรือเม็ดพืชที่ต้องการนำมาผลิตเป็นน้ำมัน ก็จะนำเมล็ดพืชมาผ่านความร้อน บดให้ละเอียด แล้วใช้น้ำมันเฮกเซน (จากปิโตเลี่ยม) ละลายเอาน้ำมันพืชออกมาแล้วคั้นแยกเอากากออกไป ก็จะได้น้ำมันพืชผสมเฮกเซนสีดำ และก็นำไปละเหยเอาเฮกเซนออกมาจากน้ำมันพืช (เพื่อนำเฮกเซนกลับมาใช้ใหม่) แต่เชื่อไหมว่ามันยังตกค้างอยู่อีกไม่มีทางออกไปได้หมด

เมื่อได้น้ำมันพืชออกมาแล้ว ทำไง ก็เอามาใส่กรด ฟอสฟอริก เพื่อกำจัดยางเหนียวๆ ยังนี่แค่เพิ่งเริ่มต้นเป็นกระบวนการสะสมสารเคมีในระดับอนุภาคชั้นที่สอง หลังผ่านชั้นสอง ก็เอาด่างโซดาไฟ เพื่อกำจัดกรดไขมันอิสระบางตัวออก จากนั้นเอาน้ำล้างออก เป็นไปได้ไหมที่น้ำจะล้างน้ำมันออกไปได้ (น้ำที่ใช้ล้างเอามาทำสบู่อีกที) หลังจากนั้นก็จะได้น้ำมันที่ผสมน้ำ จึงต้องแยกด้วยเครื่องเหวี่ยงเหมือนการโม่ปูนแต่เร็วกว่า เป็นการสลัดน้ำออก แต่ทำอย่างไรก็ไม่หมด ก็ต้องมาผ่านการต้มกลั่นเพื่อไล่ความชื้น ที่อุณภูมิ 220-230 องศาเซลล์เซียสในสภาวะสุญญากาศเพื่อมิให้น้ำมันมีสีเหลืองคล้ำ เพราะคงไม่มีใครอยากกิน เป็นน้ำมันใช้แล้วครั้งที่ 1 ผ่านขั้นตอนนี้แล้ว

ก็มาผ่านการฟอกสี ต้มครั้งที่สอง ที่อุณภูมิ 175 – 225 องศาเซลเซียส ฟอกสีด้วยอะไร ก็ฟอกด้วย ถ่านฟอกสี ให้น้ำมันขาวใส แล้วเติมก๊าซไนโตรเจนลงไป เพื่อไม่ให้เหม็นหืน แล้วเติมวิตามินอีสังเคราะห็ทดแทนวิตามินอีที่เสียไปจากกระบวนการการผลิต จึงนำมาบรรจุขวดขายให้พวกเรากินใช้กัน

น้ำมันที่ผ่านความร้อนสูง หรือใช้แล้วไม่ควรนำมาใช้อีกเพราะ ความร้อนจากการผลิตดังกล่าวได้เปลี่ยนโครงสร้างของกรดไขมันซิส(Cis Fatty Acid) เป็นทรานส์ ( Trans Fatty Acid )ตัวร้าย ร้อยละ 3-6 เปอร์เซ็น ทำลายสุขภาพก่อเกิดเป็นอนุมูลอิสระที่ เรียกว่าคาซิโนเจน

....ผมคงให้ข้อมูลท่านได้ประมาณนี้ ที่เหลือท่านตัดสินใจกันเอาเองว่าจะทำอย่างไรกับการกินอยู่ในปัจจุบัน เราควรหันกลับมาทานอาหารพื้นบ้านให้มากขึ้นไหม จากการใช้การ ต้ม ยำ แกงส้ม แกงเลียง ผักต้มผักสดจิ้มน้ำพริก การปิ้ง ย่าง อะไรประมาณนี้อย่างที่รุ่นปู่ย่าตาทวดเราเคยเป็นกันมา

กรรมวิธีการผลิตน้ำมันพืช เป็นอย่างนั้นจริงหรือ ช่วยกันตรวจสอบ ?

ดูข้อมูลประกอบ ตามความคิดเห็นด้วยครับ....

ภาพประกอบเป็นเพียงรูปประกอบสื่อที่ไม่เกี่ยวข้องตัวสินค้าของบริษัทใดๆ

คำเตือน ช่วยกันก็อปข้อความไว้ก่อนโดนลบ

ปล.
น้ำมันที่คุณกินได้ ?

น้ำมันมะพร้าวทั้งบีบเย็น ร้อน

น้ำมันหมู

น้ำมันมะกอก บีบเย็น (บีบร้อนไม่รู้)

นอกนั้นเลิกกินอันตราย

.....ไม่ต้องถาม ไม่มีคำอธิบาย หาข้อมูลเองมีคำตอบหมดแล้ว ควรตามโพสทุกวัน ทุกโพส เพราะบางเรื่องมันเกี่ยวข้องทั้งชีวิตของท่าน

copy มาจากเพจหนึ่งใน facebook ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่