.
แฉลบ ไปเจอบทความน่าสนใจจาก มติชนออนไลน์ เลยนั่งอ่านดูเห็นว่าน่าจสนใจเลยเก็บมาฝาก..
มีครบทุกรศ ตอบได้ทุกโจทย์ครับว่าทำไม ประชาธิปัตย์ถึงแพ้มาตลอด ยี่สิบปี และอาจจะไม่มีวันชนะอีกต่อไป
คุณ บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ วิเคราะห์ได้เฉียบขาดมาก
แมงแซ่บโปรดอ่านด้วยความระมัดระวังน่ะครับ เพราะ อาจมีอาการหัวใจวายโดยเฉียบพลัน
....ทำไมประชาธิปัตย์จึง..ไม่ ( มีวัน ) ชนะ ?.....
ในมุมมองของฝ่ายต่อต้านประชาธิปัตย์ คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นอาจเป็นดังนี้
เพราะประชาธิปัตย์ เล่นการเมือง แบบนักการเมืองโบราณ มองอะไรเป็นเกมการเมืองไปหมด
เพราะประชาธิปัตย์ก้าวไม่ข้ามทักษิณ เอะอะอะไรก็โยนขี้ให้ทักษิณและตระกูลชินวัตร
เพราะประชาธิปัตย์เปลี่ยนไป เคยต่อต้านเผด็จการทหารในอดีตอยู่พักหนึ่ง แต่ปัจจุบันกลับลำมาอิงแอบแนบชิดกับกองทัพ
เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรค อำมาตย์ มีจุดยืนอยู่ตรงข้ามกับประชาชนและระบอบประชาธิปไตย
ฯลฯ
ลองฟังมุมมองของผู้ที่ยังศรัทธาพรรคประชาธิปัตย์ดูบ้าง ตำตอบก็คงประมาณนี้กระมัง
ถ้าเป็น ปชป.สาย Hard Core เหตุผลอาจเป็นว่า
เพราะประชาธิปัตย์อุดมไปด้วย คนดี จึงพ่ายแพ้ คนเลว ในกระบวนการเลือกตั้ง
เพราะประชาธิปัตย์แพ้อำนาจเงิน ทักษิณมีเงินมากจนสามารถซื้อเสียงได้ทั่วทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน
ที่ Soft ลงมาหน่อยก็คงตอบว่า ...
เพราะประชาธิปัตย์ มีคนเก่ง (เช่น ดร.ศุภชัยฯ คุณอลงกรณ์ฯ หรือแม้แต่ปู่พิชัย ฯ) ก็จริง แต่ไม่เคยถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร
ทำไมประชาธิปัตย์จึงไม่ชนะสักที ... ทั้งที่ก็มีปัจเจกบุคคล คณะบุคคลและองค์กร (อิสระ) ต่างๆ อันล้วนทรงพลานุภาพในสังคมไทยคอยโอบอุ้มเอาใจช่วยอยู่อย่างมากมายก่ายกองยิ่ง จนผู้สนับสนุนเหล่านั้นพากันรู้สึกขัดเคืองและเอือมระอายิ่งนักแล้ว
ลงเลือกตั้งทีไร เป็นแพ้หลุดลุ่ยทุกที
แพ้ซ้ำซาก จนครั้งล่าสุดต้องยอมทิ้ง หลักการประชาธิปไตย ออกมาเลือกจุดยืน ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เสนอวิธีการ ปฏิวัติโดยมวลมหาประชาชน เพื่อให้ได้อำนาจรัฐมาอยู่ในมือ สถาปนาความเป็น รัฏฐาธิปัตย์ มีสิทธิขาดชี้ชะตาผู้คนทั้งแผ่นดิน ทำทีมโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส. จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แนวคิดนี้ถูกตั้งคำถามจากกระแสประชาธิปไตยทั้งในและนอกประเทศว่า มวลมหาประชาชน นั้น ยึดโยงอย่างไรกับประชาชนทั้งประเทศกว่า 60 ล้านคน ซ้ำร้ายเมื่อรัฐบาลยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งโดย กกต. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ขบวนการมวลมหาประชาชน ของนายสุเทพฯ ก็ยังได้เข้าขัดขวางไม่ให้การเลือกตั้งดำเนินไปได้อย่างชนิดเอาเป็นเอาตาย
มวลมหาประชาชน นี้คือใครกัน ลองวิเคราะห์แบบแฟร์ๆ ดูไหม ว่าประกอบด้วยคนลักษณะใดบ้างในสังคมไทย
1.กลุ่มคนเกลียดทักษิณ ถูกปลุกผีว่าทักษิณจะมาโกงกินประเทศ
2.ผู้รักและเทิดทูนสถาบัน ถูกป้อนข้อมูลว่าทักษิณจะมาล้มล้างสถาบัน (คนไทยที่รักและเทิดทูนสถาบันมีทั้งประเทศ ส่วนที่ไม่เชื่อข้อมูลการปลุกปั่นในเรื่องนี้ จึงไม่รวมอยู่ในข้อนี้)
3.ข้าราชการหัวโบราณ ผู้มีความสุขอยู่ใน Comfort Zone และเกลียดทักษิณที่มาปฏิรูประบบราชการ ทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้น
4.คนใต้ ส่วนหนึ่ง ซึ่งผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ประชาธิปัตย์
5.ฐานเสียงประชาธิปัตย์ที่จัดตั้งโดยหัวคะแนน (ซึ่งข้อนี้มีกันทุกพรรค)
6.อื่นๆ ตามแต่ท่านผู้อ่านจะเติมลงไป
คำถามคือ คนกลุ่มนี้สามารถเป็น Sample ที่มีคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Size) เพียงพอที่จะเป็นตัวแทน ประชากร-Population ของคนไทยทั้งประเทศในเชิงสถิติได้หรือไม่ และเหตุใดพรรคประชาธิปปัตย์จึงเลือกที่จะอิงแอบกับ Sampling Frame อันมีขนาดจำกัดคับแคบเช่นนี้แทนการแนบชิดกับประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
เพราะอิงแอบกับ กลุ่มใหญ่ ทีไรเป็นพบกับความพ่ายแพ้ทุกทีไปกระนั้นหรือ
อันที่จริง ผมเองก็เคยเป็นแฟนพรรคประชาธิปัตย์มานาน น่าจะยุคนายสุเทพเพิ่งเข้าการเมืองใหม่ๆ ตอนนั้นนายอภิสิทธิ์ คงจะยังเรียนมัธยมอยู่เลยกระมังครับ นักการเมืองน้ำดียุคนั้น ก็มี เช่น นายวีระ มุสิกพงศ์ ซึ่งเคยยิ่งใหญ่ในระดับเลขาธิการพรรคเลยทีเดียว จำได้ว่าตอนนายวีระ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยครั้งแรก นายชวนเรียกเขาว่า ท่านรัฐมนตรีวีระ ทุกคำ คนประชาธิปัตย์อภิปรายในสภาเก่ง ที่เป็นดาวเลยก็คือ นายสมัคร สุนทรเวช เงาเสียง ท่านสมัครคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง คนคุณภาพเหล่านี้
ล้วนอยู่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้กันหมด ยุคท้ายๆ ก็ยังมี อีดี้จวบ ประจวบ ไชยสาส์น สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนพดล ปัทมะ ฯลฯ
ประชาธิปัตย์เปลี่ยนไปมากยุคนายอภิสิทธิ์ เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
บทบาททางการเมืองทั้งในและนอกสภาออกทะเลแบบกู่ไม่กลับ ไม่ว่าจะเป็นนายบุญยอดนายชวนนท์ หรือนางรังสิมา การอภิปรายในสภาขาดเสน่ห์ ไม่มีเมตตาต่อกัน ไม่ชวนติดตามเหมือนนักการเมืองยุคก่อนอย่าง ธรรมนูญ เทียนเงิน ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และอีกหลายท่านที่ได้เอ่ยนามไปแล้วนั้น ความเละเทะของคนรุ่นใหม่ แม้ผู้หลักผู้ใหญ่อย่างนายพิชัย รัตตกุล จะได้ออกมาเตือนแต่ก็กลับถูกด่าแบบสาดเสียเทเสียจนแทบไม่เป็นผู้เป็นคน แปลกที่คนรุ่นเก่าอย่างนายชวนกลับให้ท้ายนายอภิสิทธิ์ จนทำให้พรรคเป๋ออกไปจาก หลักการประชาธิปไตย อย่างน่าอดสูยิ่ง
ประชาธิปัตย์กับแนวร่วมอันประกอบด้วย กปปส. และองค์กรอิสระ อาจชนะศึกการร่วมกัน ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในครั้งนี้ แต่นั่นก็เป็นเรื่อง ระยะสั้น เพราะการต่อสู้อันแท้จริง ไม่ได้อยู่ที่ ตระกูลชินวัตร กับ มวลมหาประชาชน หากอยู่ที่ ระบอบประชาธิปไตย กับ ระบอบเผด็จการซ่อนรูป ต่างหาก
โชคไม่ดีสำหรับประชาธิปัตย์ ที่ทักษิณเลือกยืนข้างระบอบประชาธิปไตย และเอาชนะประชาธิปัตย์ทุกครั้งบนกระบวนการเลือกตั้งอันเป็นที่ยอมรับของสากล
หากยึดกุมรัฏฐาธิปัตย์เอาไว้ได้ในครั้งนี้ วันหลังก็ต้องกลับมาเลือกตั้งใหม่อยู่ดี แล้วถ้าเกิดพ่ายแพ้อีกเล่า ประชาธิปัตย์มิต้องวิ่งโร่กลับไปหา ตัวช่วย ให้มาทำ ปฏิวัติ ปฏิรูป หรือ ปฏิ ... อะไรอีกหรือ
พรรคเก่าแก่พรรคนี้ จะไม่มีวันชนะอย่างยั่งยืนได้เลย ถ้าไม่กลับตัวกลับใจ กลับไปนั่งปฏิรูปตนเองในเชิงประชาธิปไตยอย่างขนานใหญ่ ดังที่นาย อลงกรณ์ ก็ได้พยายามขายความคิดไปหลายรอบแล้วนั้น
(ที่มา:มติชนรายวัน 12 พ.ค.2557)
................
.......มโหรีบรรเลง........
Damn It All : Gene Cotton
http://www.youtube.com/watch?v=mgYuBloYf9w
....ทำไมประชาธิปัตย์จึง..ไม่ ( มีวัน ) ชนะ ?.....
แฉลบ ไปเจอบทความน่าสนใจจาก มติชนออนไลน์ เลยนั่งอ่านดูเห็นว่าน่าจสนใจเลยเก็บมาฝาก..
มีครบทุกรศ ตอบได้ทุกโจทย์ครับว่าทำไม ประชาธิปัตย์ถึงแพ้มาตลอด ยี่สิบปี และอาจจะไม่มีวันชนะอีกต่อไป
คุณ บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ วิเคราะห์ได้เฉียบขาดมาก
แมงแซ่บโปรดอ่านด้วยความระมัดระวังน่ะครับ เพราะ อาจมีอาการหัวใจวายโดยเฉียบพลัน
....ทำไมประชาธิปัตย์จึง..ไม่ ( มีวัน ) ชนะ ?.....
ในมุมมองของฝ่ายต่อต้านประชาธิปัตย์ คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นอาจเป็นดังนี้
เพราะประชาธิปัตย์ เล่นการเมือง แบบนักการเมืองโบราณ มองอะไรเป็นเกมการเมืองไปหมด
เพราะประชาธิปัตย์ก้าวไม่ข้ามทักษิณ เอะอะอะไรก็โยนขี้ให้ทักษิณและตระกูลชินวัตร
เพราะประชาธิปัตย์เปลี่ยนไป เคยต่อต้านเผด็จการทหารในอดีตอยู่พักหนึ่ง แต่ปัจจุบันกลับลำมาอิงแอบแนบชิดกับกองทัพ
เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรค อำมาตย์ มีจุดยืนอยู่ตรงข้ามกับประชาชนและระบอบประชาธิปไตย
ฯลฯ
ลองฟังมุมมองของผู้ที่ยังศรัทธาพรรคประชาธิปัตย์ดูบ้าง ตำตอบก็คงประมาณนี้กระมัง
ถ้าเป็น ปชป.สาย Hard Core เหตุผลอาจเป็นว่า
เพราะประชาธิปัตย์อุดมไปด้วย คนดี จึงพ่ายแพ้ คนเลว ในกระบวนการเลือกตั้ง
เพราะประชาธิปัตย์แพ้อำนาจเงิน ทักษิณมีเงินมากจนสามารถซื้อเสียงได้ทั่วทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน
ที่ Soft ลงมาหน่อยก็คงตอบว่า ...
เพราะประชาธิปัตย์ มีคนเก่ง (เช่น ดร.ศุภชัยฯ คุณอลงกรณ์ฯ หรือแม้แต่ปู่พิชัย ฯ) ก็จริง แต่ไม่เคยถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร
ทำไมประชาธิปัตย์จึงไม่ชนะสักที ... ทั้งที่ก็มีปัจเจกบุคคล คณะบุคคลและองค์กร (อิสระ) ต่างๆ อันล้วนทรงพลานุภาพในสังคมไทยคอยโอบอุ้มเอาใจช่วยอยู่อย่างมากมายก่ายกองยิ่ง จนผู้สนับสนุนเหล่านั้นพากันรู้สึกขัดเคืองและเอือมระอายิ่งนักแล้ว
ลงเลือกตั้งทีไร เป็นแพ้หลุดลุ่ยทุกที
แพ้ซ้ำซาก จนครั้งล่าสุดต้องยอมทิ้ง หลักการประชาธิปไตย ออกมาเลือกจุดยืน ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เสนอวิธีการ ปฏิวัติโดยมวลมหาประชาชน เพื่อให้ได้อำนาจรัฐมาอยู่ในมือ สถาปนาความเป็น รัฏฐาธิปัตย์ มีสิทธิขาดชี้ชะตาผู้คนทั้งแผ่นดิน ทำทีมโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส. จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แนวคิดนี้ถูกตั้งคำถามจากกระแสประชาธิปไตยทั้งในและนอกประเทศว่า มวลมหาประชาชน นั้น ยึดโยงอย่างไรกับประชาชนทั้งประเทศกว่า 60 ล้านคน ซ้ำร้ายเมื่อรัฐบาลยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งโดย กกต. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ขบวนการมวลมหาประชาชน ของนายสุเทพฯ ก็ยังได้เข้าขัดขวางไม่ให้การเลือกตั้งดำเนินไปได้อย่างชนิดเอาเป็นเอาตาย
มวลมหาประชาชน นี้คือใครกัน ลองวิเคราะห์แบบแฟร์ๆ ดูไหม ว่าประกอบด้วยคนลักษณะใดบ้างในสังคมไทย
1.กลุ่มคนเกลียดทักษิณ ถูกปลุกผีว่าทักษิณจะมาโกงกินประเทศ
2.ผู้รักและเทิดทูนสถาบัน ถูกป้อนข้อมูลว่าทักษิณจะมาล้มล้างสถาบัน (คนไทยที่รักและเทิดทูนสถาบันมีทั้งประเทศ ส่วนที่ไม่เชื่อข้อมูลการปลุกปั่นในเรื่องนี้ จึงไม่รวมอยู่ในข้อนี้)
3.ข้าราชการหัวโบราณ ผู้มีความสุขอยู่ใน Comfort Zone และเกลียดทักษิณที่มาปฏิรูประบบราชการ ทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้น
4.คนใต้ ส่วนหนึ่ง ซึ่งผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ประชาธิปัตย์
5.ฐานเสียงประชาธิปัตย์ที่จัดตั้งโดยหัวคะแนน (ซึ่งข้อนี้มีกันทุกพรรค)
6.อื่นๆ ตามแต่ท่านผู้อ่านจะเติมลงไป
คำถามคือ คนกลุ่มนี้สามารถเป็น Sample ที่มีคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Size) เพียงพอที่จะเป็นตัวแทน ประชากร-Population ของคนไทยทั้งประเทศในเชิงสถิติได้หรือไม่ และเหตุใดพรรคประชาธิปปัตย์จึงเลือกที่จะอิงแอบกับ Sampling Frame อันมีขนาดจำกัดคับแคบเช่นนี้แทนการแนบชิดกับประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
เพราะอิงแอบกับ กลุ่มใหญ่ ทีไรเป็นพบกับความพ่ายแพ้ทุกทีไปกระนั้นหรือ
อันที่จริง ผมเองก็เคยเป็นแฟนพรรคประชาธิปัตย์มานาน น่าจะยุคนายสุเทพเพิ่งเข้าการเมืองใหม่ๆ ตอนนั้นนายอภิสิทธิ์ คงจะยังเรียนมัธยมอยู่เลยกระมังครับ นักการเมืองน้ำดียุคนั้น ก็มี เช่น นายวีระ มุสิกพงศ์ ซึ่งเคยยิ่งใหญ่ในระดับเลขาธิการพรรคเลยทีเดียว จำได้ว่าตอนนายวีระ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยครั้งแรก นายชวนเรียกเขาว่า ท่านรัฐมนตรีวีระ ทุกคำ คนประชาธิปัตย์อภิปรายในสภาเก่ง ที่เป็นดาวเลยก็คือ นายสมัคร สุนทรเวช เงาเสียง ท่านสมัครคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง คนคุณภาพเหล่านี้
ล้วนอยู่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้กันหมด ยุคท้ายๆ ก็ยังมี อีดี้จวบ ประจวบ ไชยสาส์น สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนพดล ปัทมะ ฯลฯ
ประชาธิปัตย์เปลี่ยนไปมากยุคนายอภิสิทธิ์ เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
บทบาททางการเมืองทั้งในและนอกสภาออกทะเลแบบกู่ไม่กลับ ไม่ว่าจะเป็นนายบุญยอดนายชวนนท์ หรือนางรังสิมา การอภิปรายในสภาขาดเสน่ห์ ไม่มีเมตตาต่อกัน ไม่ชวนติดตามเหมือนนักการเมืองยุคก่อนอย่าง ธรรมนูญ เทียนเงิน ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และอีกหลายท่านที่ได้เอ่ยนามไปแล้วนั้น ความเละเทะของคนรุ่นใหม่ แม้ผู้หลักผู้ใหญ่อย่างนายพิชัย รัตตกุล จะได้ออกมาเตือนแต่ก็กลับถูกด่าแบบสาดเสียเทเสียจนแทบไม่เป็นผู้เป็นคน แปลกที่คนรุ่นเก่าอย่างนายชวนกลับให้ท้ายนายอภิสิทธิ์ จนทำให้พรรคเป๋ออกไปจาก หลักการประชาธิปไตย อย่างน่าอดสูยิ่ง
ประชาธิปัตย์กับแนวร่วมอันประกอบด้วย กปปส. และองค์กรอิสระ อาจชนะศึกการร่วมกัน ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในครั้งนี้ แต่นั่นก็เป็นเรื่อง ระยะสั้น เพราะการต่อสู้อันแท้จริง ไม่ได้อยู่ที่ ตระกูลชินวัตร กับ มวลมหาประชาชน หากอยู่ที่ ระบอบประชาธิปไตย กับ ระบอบเผด็จการซ่อนรูป ต่างหาก
โชคไม่ดีสำหรับประชาธิปัตย์ ที่ทักษิณเลือกยืนข้างระบอบประชาธิปไตย และเอาชนะประชาธิปัตย์ทุกครั้งบนกระบวนการเลือกตั้งอันเป็นที่ยอมรับของสากล
หากยึดกุมรัฏฐาธิปัตย์เอาไว้ได้ในครั้งนี้ วันหลังก็ต้องกลับมาเลือกตั้งใหม่อยู่ดี แล้วถ้าเกิดพ่ายแพ้อีกเล่า ประชาธิปัตย์มิต้องวิ่งโร่กลับไปหา ตัวช่วย ให้มาทำ ปฏิวัติ ปฏิรูป หรือ ปฏิ ... อะไรอีกหรือ
พรรคเก่าแก่พรรคนี้ จะไม่มีวันชนะอย่างยั่งยืนได้เลย ถ้าไม่กลับตัวกลับใจ กลับไปนั่งปฏิรูปตนเองในเชิงประชาธิปไตยอย่างขนานใหญ่ ดังที่นาย อลงกรณ์ ก็ได้พยายามขายความคิดไปหลายรอบแล้วนั้น
(ที่มา:มติชนรายวัน 12 พ.ค.2557)
................
.......มโหรีบรรเลง........
Damn It All : Gene Cotton
http://www.youtube.com/watch?v=mgYuBloYf9w