ในเมืองเล็กๆ ดังกล่าวนี้ มีอาคารรูปแบบต่างๆ กันปลูกประชิดติดต่อกันไปหาที่ว่างได้ยาก อาคารเหล่านี้เป็นตำหนักที่ประทับของพระมเหสีเทวี และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่างๆ นอกจากนั้นยังมีเรือนที่อยู่ของเจ้าจอม มีเรือนแถวเป็นที่อยู่ของพนักงานชั้นผู้ใหญ่ และมีแถวเต็ง ซึ่งเป็นเรือนแถวยาวริมกำแพงพระราชวังชั้นใน เป็นที่อยู่ของ พนักงาน ข้าหลวง คุณเฒ่าแก่ ซึ่งมีความสำคัญน้อยที่สุด การที่พระราชฐานชั้นในเนืองแน่นไปด้วยตำหนัก และผู้คนจำนวนมากดังกล่าวนี้ ก็เนื่องด้วยในระบบการปกครองแบบสมบูรณาสิทธิราชย์ มีกฏมณเฑียรบาลกำหนอดไว้ว่า พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่างๆ จะออกมาประทับนอกพระราชวังไม่ได้ ฉะนั้นเมื่องเปลื่ยนรัชกาลพระราชธิดาในรัชกาลก่อนก็ยังต้องประทับในพระราชวังเรื่อยมา ยก เว้นแต่พระชนนีหรือเจ้าจอมมารดาของพระราชโอรสมีสิทธิที่จะขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตเสด็จออกไปประทับหรือไปอยู่กับพระราชโอรสที่ออกวังได้แล้ว ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่องโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้านายผู้หญิงที่วังหน้าหลายพระองค์ก็ได้เสด็จมาประทับที่พระราชฐานชั้นใน จึงทำให้มีเจ้านายฝ่ายในเพิ่มจำนวนขึ้น จนท้ายที่สุด รัชกาลที่ ๕ จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชวังสวนดุสิตขึ้นเป็นที่ประทับต่อไปตำหนักในเขตพระราชฐานชั้นใน
ตำหนักในเขตพระราชฐานชั้นในนี้ มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน บางตำหนักก็สูงใหญ่หลายชั้นตกแต่งโอ่อ่า บางตำหนักก็เล็กค่อนข้างจะเก่าและผุผัง ตำหนักแต่ละหลังก็มีบรรยากาศแตกต่างกัน บางตำหนักก็ขายขนม ขายน้ำอบแป้งร่ำ เครื่องหอม บางตำหนักก็เปิดเป็นห้างขายผ้าแพรพรรณและเครื่องใช้ บางตำหนักนิยมปลูกเครื่องหอม แล้วให้เด็กผู้หญิงข้าหลวงที่มีเวลาว่างหัดร้อยมาลัยในแบบต่างๆ หรือไม่ก็เก็บดอก จำปี จำปา มะลิ พุทธชาด กระดังงา ส่งไปฝากขายตามประตูวัง บางตำหนักก็โปรดเลี้ยงสุนัข บางตำหนักโปรดเลี้ยงแมว บางตำหนักโปรดเลี้ยงนก บางตำหนักโปรดการขุดบ่อ ก่อเขา จัดสวน ปลูกบัว ตำหนักที่เป็นชาวเมืองเพชรบุรีก็พูดสำเนียงชาวเพชรทั้งตำหนัก ที่มาจากปักษ์ใต้ก็พูดปักษ์ใต้ ที่แปลกกว่าคนอื่นก็คือ ตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ข้าหลวงนุ่งซิ่นไว้ผมมวย แต่งกายอย่างชาวเชียงใหม่ พูดภาษาเมืองเหนือ เป็นที่เดียวที่มีเมี่ยงแจกกินเป็นประจำการดูแลความเรียบร้อยในเขตพระราชฐานชั้นในในรัชกาลต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะโปรดฯ ให้พระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทรงทำหน้าที่ว่าราชการทั่วไปในพระราชฐานชั้นใน ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระศรีพัชราทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผองศรี พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงตั้ง " กรมโขลน" ขึ้น เพื่อดูแลความเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน จึงได้โปรดฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ กรมหลวงสมรรัตนสิริเชฐ ( พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา ) ทรงเป็นอธิบดีกรมโขลนมีราชการเป็นหญิงล้วน กรมโขลน นี้มีหน้าที่ราชการคล้ายตำรวจนครบาล คือ รักษาความสงบ มีกองรักษาการณ์อยู่ที่ศาลา ( เรียกว่า ศาลากรมโขลน หรือเรียกย่อๆ ว่า " ศาลา " ตั้งอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ) มียามประจำอยู่ตามสี่แยก หรือตามสถานการณ์เช่นประตูพระราชวัง ยามเหล่านี้ที่มียศเป็นจ่าเรียกว่า " จ่าโขลน" มีเครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าพื้น สวมเสื้อจีบแขนยาว แบบแขนกะรบอก ห่อผ้าพับข้างนอก บนแขนเสื้อจ่านั้นติดบั้งสี่บั้ง นอกจากนั้น กรมโขลนยังมีพนักงานทำหน้าที่อื่นๆ ด้วย กรณี ที่มีผู้กระทำความผิด ถ้าเป็นโทษสถานเบาก็ถูกคุมขังที่ศาลากรมโขลนนี้ แต่ถ้าเป็นโทษสถานหนักต้องถูกจำขังที่ที่คุมขังฝ่ายใน เรียกว่า ติดสนม (ติดคุก) ถ้าผู้ต้องรับพระราชอาญาเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ จะมีเครื่อง " สังขลิก " ( โซ่ตรวน ใช้ล่ามผู้มีเกียรติฝ่ายใน ) ที่พันธนาการจะหุ้มด้วยผ้าขาว แต่สำหรับคนธรรดาไม่มีหุ้มผ้า ผู้ดูแลในเรื่องนี้เรียกว่า นายหริดโขลนต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี ( พระองค์เจ้านภาพรประภา ) ทรงรับช่วงงานอธิบดีกรมโขลนสืบต่อมาจาก กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ จนเป็นที่รู้จักกันในนาม " เสด็จอธิบดี " จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ในปัจจุบันกรมโขลนนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่งยังมีเจ้าหน้าที่กองการในพระองค์ที่ปฏิบัติงานคล้ายคลึงกับของเดิม โดยจะดูแลความเรียบร้อยทั้งหมด ในอดีตนอกจากการดูแลความเรียบร้อยของพระราชวังแล้ว ในบางครั้งยังทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในสมัย รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ( พระองค์เจ้าหญิงบุตรี ) ทรงดูแลพนักงานทำธูปเทียน จัดดอกไม้ ร้อยดอกไม้ และทรงให้ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ( พระวิมาดาเธอ ) ทรงดูแลพนักงานเครื่องต้น ( อาหาร ) และทรงให้ ท้าววรจรรยาวาส ( เจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ ๔ ) ทำหน้าที่ดูแลเจ้าจอม และทรงให้ ท้าวทรงกันดาร ( เจ้าจอมมารดาหุ่นในรัชกาลที่ ๔ ) ดูและพระคลังใน ( เป็นที่สำหรับเก็บของที่ต้องใช้เป็นประจำและยังเก็บเครื่องใช้ไม้สอยประเภท เครื่องถ้วยต่างๆ )ระเบียบประเพณีและการดูแลความเรียบร้อย
ในเขตพระราชฐานชั้นในเขตพระราชฐานชั้นในเมื่องครั้งอดีต เปรียบเสมือนเมืองเล็ก ๆ จำเป็นต้องมีกฎระเบียบปฏิบัติ แต่กฎระเบียบนี้จะไม่เป็นกฎตายตัว สามารถเปลื่ยนแปลงได้ตามกาลสมัย และพระราชนิยม โดยเรียกกันว่า " ประเพณีวัง " โดยจะอธิบายคร่าว ๆ ดังนี้
การเข้าออกวัง
ในอดีตถ้าผู้ชายคนใดมีกิจธุระที่จำเป็นต้องเข้ามาในเขตพระราชฐานชั้นใน จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ กรมโขลน ควบคุมเข้าไปได้เฉพาะที่ ที่มีกิจธุระเท่านั้น ในปัจจุบันระเบียบนี้มิได้เข้มงวดเหมือนดังแต่ก่อน แต่ยังต้องคงมีเจ้าหน้าที่กองการในพระองค์ที่เป็นสตรีควบคุมไปด้วย
การเกิดในวัง
มีได้เฉพาะแต่พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์เท่านั้น โดยไม่มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ใดเลย ดังพระบรมราชกระแสของ รัชกาลที่ ๕ ครั้งดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงรับสั่งไว้ว่า " นอกจากเจ้าแผ่นดิน ลูกใครมาออกในวัง
... เมื่อฉันมีลูกก็รับสั่งให้เอาไปออกเสียนอกวัง " ถ้าสามัญชนคนใดมาคลอดลูกในพระราชวังชั้นใน ก็ต้องทำพิธี กลบบัตรสุมเพลิง ณ ที่ที่คลอดลูกเพราะถือว่าโลหิตตกในพระราชวัง นอกจากนั้นยังต้องมีละครสมโภชประตูพระราชวัง ในทั้ง ๔ ทิศ ด้วยเหตุนี้จึง ห้ามมิให้คนท้องเข้าในเขตพระราชฐานชั้นในนอก จากพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี พระมเหสีเทวี พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายในแล้ว สามัญชนจะเข้ามาตายใน พระราชวังไม่ได้ ถ้ามีเหตุ เช่นนั้นก็ต้องทำพิธี กลบบัตรสุมเพลิง ณ ที่เกิดเหตุเช่นเดียวกับการคลอดลูกใรพระราชวัง ซึ่งประเพณีนี้ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
การตายในวัง
นอกจากพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี พระมเหสีเทวี พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายในแล้ว สามัญชนจะเข้ามาตายใน พระราชวังไม่ได้ ถ้ามีเหตุ เช่นนั้นก็ต้องทำพิธี กลบบัตรสุมเพลิง ณ ที่เกิดเหตุเช่นเดียวกับการคลอดลูกในพระราชวัง ซึ่งประเพณีนี้ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
การเหยียบธรณีประตูพระราชวัง
ในแต่ละประตูถือว่ามีเทพยดารักษา จึงห้ามเหยียบธรณีประตู ถ้ามีการละเมิดอาจถูกสั่งให้กราบธรณีประตูเพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ ฉะนั้นประตูวังทุกแห่งจึงมีการสมโภชเป็นการภายในทุกปี
ที่มา :
http://nasarawithdekpakdee.blogspot.com/2010/11/bl
เอามาเเชร์เพื่อความรู้จ้า
ชีวิตในวังหลวง
ตำหนักในเขตพระราชฐานชั้นในนี้ มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน บางตำหนักก็สูงใหญ่หลายชั้นตกแต่งโอ่อ่า บางตำหนักก็เล็กค่อนข้างจะเก่าและผุผัง ตำหนักแต่ละหลังก็มีบรรยากาศแตกต่างกัน บางตำหนักก็ขายขนม ขายน้ำอบแป้งร่ำ เครื่องหอม บางตำหนักก็เปิดเป็นห้างขายผ้าแพรพรรณและเครื่องใช้ บางตำหนักนิยมปลูกเครื่องหอม แล้วให้เด็กผู้หญิงข้าหลวงที่มีเวลาว่างหัดร้อยมาลัยในแบบต่างๆ หรือไม่ก็เก็บดอก จำปี จำปา มะลิ พุทธชาด กระดังงา ส่งไปฝากขายตามประตูวัง บางตำหนักก็โปรดเลี้ยงสุนัข บางตำหนักโปรดเลี้ยงแมว บางตำหนักโปรดเลี้ยงนก บางตำหนักโปรดการขุดบ่อ ก่อเขา จัดสวน ปลูกบัว ตำหนักที่เป็นชาวเมืองเพชรบุรีก็พูดสำเนียงชาวเพชรทั้งตำหนัก ที่มาจากปักษ์ใต้ก็พูดปักษ์ใต้ ที่แปลกกว่าคนอื่นก็คือ ตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ข้าหลวงนุ่งซิ่นไว้ผมมวย แต่งกายอย่างชาวเชียงใหม่ พูดภาษาเมืองเหนือ เป็นที่เดียวที่มีเมี่ยงแจกกินเป็นประจำการดูแลความเรียบร้อยในเขตพระราชฐานชั้นในในรัชกาลต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะโปรดฯ ให้พระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทรงทำหน้าที่ว่าราชการทั่วไปในพระราชฐานชั้นใน ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระศรีพัชราทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผองศรี พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงตั้ง " กรมโขลน" ขึ้น เพื่อดูแลความเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน จึงได้โปรดฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ กรมหลวงสมรรัตนสิริเชฐ ( พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา ) ทรงเป็นอธิบดีกรมโขลนมีราชการเป็นหญิงล้วน กรมโขลน นี้มีหน้าที่ราชการคล้ายตำรวจนครบาล คือ รักษาความสงบ มีกองรักษาการณ์อยู่ที่ศาลา ( เรียกว่า ศาลากรมโขลน หรือเรียกย่อๆ ว่า " ศาลา " ตั้งอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ) มียามประจำอยู่ตามสี่แยก หรือตามสถานการณ์เช่นประตูพระราชวัง ยามเหล่านี้ที่มียศเป็นจ่าเรียกว่า " จ่าโขลน" มีเครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าพื้น สวมเสื้อจีบแขนยาว แบบแขนกะรบอก ห่อผ้าพับข้างนอก บนแขนเสื้อจ่านั้นติดบั้งสี่บั้ง นอกจากนั้น กรมโขลนยังมีพนักงานทำหน้าที่อื่นๆ ด้วย กรณี ที่มีผู้กระทำความผิด ถ้าเป็นโทษสถานเบาก็ถูกคุมขังที่ศาลากรมโขลนนี้ แต่ถ้าเป็นโทษสถานหนักต้องถูกจำขังที่ที่คุมขังฝ่ายใน เรียกว่า ติดสนม (ติดคุก) ถ้าผู้ต้องรับพระราชอาญาเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ จะมีเครื่อง " สังขลิก " ( โซ่ตรวน ใช้ล่ามผู้มีเกียรติฝ่ายใน ) ที่พันธนาการจะหุ้มด้วยผ้าขาว แต่สำหรับคนธรรดาไม่มีหุ้มผ้า ผู้ดูแลในเรื่องนี้เรียกว่า นายหริดโขลนต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี ( พระองค์เจ้านภาพรประภา ) ทรงรับช่วงงานอธิบดีกรมโขลนสืบต่อมาจาก กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ จนเป็นที่รู้จักกันในนาม " เสด็จอธิบดี " จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ในปัจจุบันกรมโขลนนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่งยังมีเจ้าหน้าที่กองการในพระองค์ที่ปฏิบัติงานคล้ายคลึงกับของเดิม โดยจะดูแลความเรียบร้อยทั้งหมด ในอดีตนอกจากการดูแลความเรียบร้อยของพระราชวังแล้ว ในบางครั้งยังทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในสมัย รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ( พระองค์เจ้าหญิงบุตรี ) ทรงดูแลพนักงานทำธูปเทียน จัดดอกไม้ ร้อยดอกไม้ และทรงให้ พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ( พระวิมาดาเธอ ) ทรงดูแลพนักงานเครื่องต้น ( อาหาร ) และทรงให้ ท้าววรจรรยาวาส ( เจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ ๔ ) ทำหน้าที่ดูแลเจ้าจอม และทรงให้ ท้าวทรงกันดาร ( เจ้าจอมมารดาหุ่นในรัชกาลที่ ๔ ) ดูและพระคลังใน ( เป็นที่สำหรับเก็บของที่ต้องใช้เป็นประจำและยังเก็บเครื่องใช้ไม้สอยประเภท เครื่องถ้วยต่างๆ )ระเบียบประเพณีและการดูแลความเรียบร้อย
ในเขตพระราชฐานชั้นในเขตพระราชฐานชั้นในเมื่องครั้งอดีต เปรียบเสมือนเมืองเล็ก ๆ จำเป็นต้องมีกฎระเบียบปฏิบัติ แต่กฎระเบียบนี้จะไม่เป็นกฎตายตัว สามารถเปลื่ยนแปลงได้ตามกาลสมัย และพระราชนิยม โดยเรียกกันว่า " ประเพณีวัง " โดยจะอธิบายคร่าว ๆ ดังนี้
การเข้าออกวัง
ในอดีตถ้าผู้ชายคนใดมีกิจธุระที่จำเป็นต้องเข้ามาในเขตพระราชฐานชั้นใน จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ กรมโขลน ควบคุมเข้าไปได้เฉพาะที่ ที่มีกิจธุระเท่านั้น ในปัจจุบันระเบียบนี้มิได้เข้มงวดเหมือนดังแต่ก่อน แต่ยังต้องคงมีเจ้าหน้าที่กองการในพระองค์ที่เป็นสตรีควบคุมไปด้วย
การเกิดในวัง
มีได้เฉพาะแต่พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์เท่านั้น โดยไม่มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ใดเลย ดังพระบรมราชกระแสของ รัชกาลที่ ๕ ครั้งดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงรับสั่งไว้ว่า " นอกจากเจ้าแผ่นดิน ลูกใครมาออกในวัง ... เมื่อฉันมีลูกก็รับสั่งให้เอาไปออกเสียนอกวัง " ถ้าสามัญชนคนใดมาคลอดลูกในพระราชวังชั้นใน ก็ต้องทำพิธี กลบบัตรสุมเพลิง ณ ที่ที่คลอดลูกเพราะถือว่าโลหิตตกในพระราชวัง นอกจากนั้นยังต้องมีละครสมโภชประตูพระราชวัง ในทั้ง ๔ ทิศ ด้วยเหตุนี้จึง ห้ามมิให้คนท้องเข้าในเขตพระราชฐานชั้นในนอก จากพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี พระมเหสีเทวี พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายในแล้ว สามัญชนจะเข้ามาตายใน พระราชวังไม่ได้ ถ้ามีเหตุ เช่นนั้นก็ต้องทำพิธี กลบบัตรสุมเพลิง ณ ที่เกิดเหตุเช่นเดียวกับการคลอดลูกใรพระราชวัง ซึ่งประเพณีนี้ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
การตายในวัง
นอกจากพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี พระมเหสีเทวี พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายในแล้ว สามัญชนจะเข้ามาตายใน พระราชวังไม่ได้ ถ้ามีเหตุ เช่นนั้นก็ต้องทำพิธี กลบบัตรสุมเพลิง ณ ที่เกิดเหตุเช่นเดียวกับการคลอดลูกในพระราชวัง ซึ่งประเพณีนี้ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
การเหยียบธรณีประตูพระราชวัง
ในแต่ละประตูถือว่ามีเทพยดารักษา จึงห้ามเหยียบธรณีประตู ถ้ามีการละเมิดอาจถูกสั่งให้กราบธรณีประตูเพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ ฉะนั้นประตูวังทุกแห่งจึงมีการสมโภชเป็นการภายในทุกปี
ที่มา : http://nasarawithdekpakdee.blogspot.com/2010/11/bl
เอามาเเชร์เพื่อความรู้จ้า