นับตั้งแต่เลห์แมนบาร์เธอร์สประกาศล้มละลายในปี 2551 สร้างความปั่นป่วนแก่ระบบการเงินโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยและรัฐบาลประเทศต่างๆต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลากหลายรูปแบบ ทั้งการลดดอกเบี้ย อัดฉีดสภาพคล่อง กระตุ้นการบริโภค และการลงทุนภายในประเทศ ทำให้ประเทศต่างๆต้องตั้งงบประมาณขาดดุลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจและมีการกู้เงินจำนวนมากเพื่อมาใช้ในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าระดับปกติ และเป็นภาระของแต่ละประเทศที่จะต้องหาเงินมาชำระหนี้จำนวนมหาศาลให้ทันเวลา
สถานการณ์หนี้สาธารณะของประเทศก็เป็นเช่นเดียวกับหนี้ของบริษัทและคนทั่วไป ถ้ามีความสามารถในการหารายได้และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งก็ไม่มีปัญหาในการชำระคืนหนี้ แต่ถ้ามีข้อจำกัดในการหารายได้และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลก็จะทำให้ล้มละลายได้ กรณีนี้ได้เกิดขึ้นกับกลุ่มประเทศยุโรปที่มีหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง โดยกรีซเป็นประเทศแรกในกลุ่มที่เกิดวิกฤติ เหตุการณ์นี้ได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่นักลงทุนว่าสถานการณ์จะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในกลุ่มยุโรปที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยเฉพาะกลุ่ม PIIGS ที่ใช้สกุลเงินยูโร เช่น โปรตุเกส ไอร์แลน อิตาลี่ สเปน ฮังการี่ และบัลแกเรีย
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศที่ประสบปัญหา กรีซ 130% โปรตุเกส 76% ไอร์แลน 64% สเปน 55%
สัดส่วนหนี้สินระยะสั้นที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี ต่อหนี้สินทั้งหมด ของประเทศที่ประสบปัญหา กรีซ 24% โปรตุเกส 17% ไอร์แลน 8% สเปน 6.8%
สัดส่วนการขาดดุลการคลังต่อ GDP ของประเทศที่ประสบปัญหา กรีซ 12.7% ไอร์แลน 11.6% สเปน 11.4% โปรตุเกส 9.3%
สัดส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ของประเทศที่ประสบปัญหา กรีซ 11.9% โปรตุเกส 10% สเปน 6% ไอร์แลน 3%
อัตราการว่างงานของกลุ่มประเทศยูโรโซนในปี 2553 ปรับตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 10% โดยประเทศสมาชิกยูโรโซนที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุด เช่น สเปน 22.5% ลัตเวีย 19.7% เอสโตรเนีย 19% โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ระดับการว่างงานสูง คือ การหดตัวของภาคการผลิตในแต่ละประเทศสมาชิก
เมื่อวิกฤติหนี้สาธารณะยูโรโซนเกิดขึ้น หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เกินกว่าระดับขั้นสูงที่เหมาะสม คือ เกิน 60% ของ GDP ได้ตื่นตัวที่จะดำเนินนโยบายการคลังเพื่อลดการใช้จ่ายของรัฐบาล และเพิ่มรายได้ภาษีอากรเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ เช่น ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงถึง 200% ของ GDP นับว่าสูงกว่ากรีซมาก แต่ญี่ปุ่นมีข้อได้เปรียบกรีซเพราะที่ผ่านมาญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาอย่างต่อเนื่อง และผู้เป็นเจ้าหนี้สาธารณะเกือบทั้งหมดคือประชาชนในประเทศ ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2553 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศจำกัดงบประมาณรายจ่ายในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่ 71,000,000 พันล้านเยน หรือ 781 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มภาษี
ประเทศอังกฤษซึ้งประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก เดือนมิถุนายน 2553รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศปรับลดงบประมาณรายจ่ายลง 17.7 พันล้านปอน และเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 17.5% เป็น 20% ในเดือนมกราคม 2554 และจะค่อยๆลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจาก 28% เหลือ 24% โดยทยอยลดเป็นเวลา 4 ปี
ประเทศเยอรมนีซึ้งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป เดือนมิถุนายน 2553 รัฐบาลเยอรมนีได้ประกาศลดงบประมาณรายจ่างลง 80,000 ล้านยูโร ในปี 2557 ประกอบด้วย มาตรการต่างๆ ดังนี้ ลดเงินช่วยเหลือผู้ปกครองในการดูแลบุตรลง ลดจำนวนข้าราชการลง 15,000 คน และชะลอการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่
ประเทศฝรั่งเศสซึ้งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ในยุโรป ขาดดุลงบประมาณ 8% และคาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเป็น 83.2% ของ GDP และรัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศแผนลดการขาดดุลงบประมาณลงให้เหลือ 3% ในปี 2558 โดยปรับลดการใช้จ่ายในด้านต่างๆลง โดยเฉพาะการเพิ่มอายุการเกษียณ จาก 60 ปี เป็น 63 ปี
ประเทศอิตาลีซึ้งมีหนี้สาธารณะสูงถึง 118% ของ GDP แม้ว่าตัวเลขขาดดุลงบประมาณค่อนข้างต่ำ เพียง 5.3% ของ GDP เมื่อปี 2552 แต่รัฐบาลอิตาลีก็ได้เห็นชอบกับการลดการขาดดุลงบประมาณลงให้เหลือไม่เกิน 3% ของ GDP ภายในปี 2555 ประกอบด้วยมาตรการต่างๆ ดังนี้ การลดเงินเดือนรัฐมาตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลง 10% ลดการจ่ายเงินอุดหนุนให้กับรัฐบาลท้องถิ่น และกำหนดว่าจ้างข้าราชการใหม่เป็นสัดส่วนเพียง 20% ของข้าราชการที่ออกไปในช่วงปี 2554 - 2556
ผมขอสอบถามท่านอาจารย์ทั้งหลายว่าหลังการซบเซาของเศรษฐกิจกลุ่ม PIIGS อันมาจากปัญหาหนี้สาธารณะ ประกอบกับการลดอัตราการใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละประเทศ กลุ่มยูโรโซนมีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรครับ และมาตรการที่ไช้กระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลอย่างไรต่อกลุ่ม PIIGS ครับผม
ของสอบถามอาจารย์ทั้งหลายเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤติหนี้สาธารณะยูโรโซน
สถานการณ์หนี้สาธารณะของประเทศก็เป็นเช่นเดียวกับหนี้ของบริษัทและคนทั่วไป ถ้ามีความสามารถในการหารายได้และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งก็ไม่มีปัญหาในการชำระคืนหนี้ แต่ถ้ามีข้อจำกัดในการหารายได้และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลก็จะทำให้ล้มละลายได้ กรณีนี้ได้เกิดขึ้นกับกลุ่มประเทศยุโรปที่มีหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง โดยกรีซเป็นประเทศแรกในกลุ่มที่เกิดวิกฤติ เหตุการณ์นี้ได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่นักลงทุนว่าสถานการณ์จะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในกลุ่มยุโรปที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยเฉพาะกลุ่ม PIIGS ที่ใช้สกุลเงินยูโร เช่น โปรตุเกส ไอร์แลน อิตาลี่ สเปน ฮังการี่ และบัลแกเรีย
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศที่ประสบปัญหา กรีซ 130% โปรตุเกส 76% ไอร์แลน 64% สเปน 55%
สัดส่วนหนี้สินระยะสั้นที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี ต่อหนี้สินทั้งหมด ของประเทศที่ประสบปัญหา กรีซ 24% โปรตุเกส 17% ไอร์แลน 8% สเปน 6.8%
สัดส่วนการขาดดุลการคลังต่อ GDP ของประเทศที่ประสบปัญหา กรีซ 12.7% ไอร์แลน 11.6% สเปน 11.4% โปรตุเกส 9.3%
สัดส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ของประเทศที่ประสบปัญหา กรีซ 11.9% โปรตุเกส 10% สเปน 6% ไอร์แลน 3%
อัตราการว่างงานของกลุ่มประเทศยูโรโซนในปี 2553 ปรับตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 10% โดยประเทศสมาชิกยูโรโซนที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุด เช่น สเปน 22.5% ลัตเวีย 19.7% เอสโตรเนีย 19% โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ระดับการว่างงานสูง คือ การหดตัวของภาคการผลิตในแต่ละประเทศสมาชิก
เมื่อวิกฤติหนี้สาธารณะยูโรโซนเกิดขึ้น หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เกินกว่าระดับขั้นสูงที่เหมาะสม คือ เกิน 60% ของ GDP ได้ตื่นตัวที่จะดำเนินนโยบายการคลังเพื่อลดการใช้จ่ายของรัฐบาล และเพิ่มรายได้ภาษีอากรเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ เช่น ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงถึง 200% ของ GDP นับว่าสูงกว่ากรีซมาก แต่ญี่ปุ่นมีข้อได้เปรียบกรีซเพราะที่ผ่านมาญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาอย่างต่อเนื่อง และผู้เป็นเจ้าหนี้สาธารณะเกือบทั้งหมดคือประชาชนในประเทศ ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2553 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศจำกัดงบประมาณรายจ่ายในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่ 71,000,000 พันล้านเยน หรือ 781 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มภาษี
ประเทศอังกฤษซึ้งประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก เดือนมิถุนายน 2553รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศปรับลดงบประมาณรายจ่ายลง 17.7 พันล้านปอน และเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 17.5% เป็น 20% ในเดือนมกราคม 2554 และจะค่อยๆลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจาก 28% เหลือ 24% โดยทยอยลดเป็นเวลา 4 ปี
ประเทศเยอรมนีซึ้งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป เดือนมิถุนายน 2553 รัฐบาลเยอรมนีได้ประกาศลดงบประมาณรายจ่างลง 80,000 ล้านยูโร ในปี 2557 ประกอบด้วย มาตรการต่างๆ ดังนี้ ลดเงินช่วยเหลือผู้ปกครองในการดูแลบุตรลง ลดจำนวนข้าราชการลง 15,000 คน และชะลอการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่
ประเทศฝรั่งเศสซึ้งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ในยุโรป ขาดดุลงบประมาณ 8% และคาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเป็น 83.2% ของ GDP และรัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศแผนลดการขาดดุลงบประมาณลงให้เหลือ 3% ในปี 2558 โดยปรับลดการใช้จ่ายในด้านต่างๆลง โดยเฉพาะการเพิ่มอายุการเกษียณ จาก 60 ปี เป็น 63 ปี
ประเทศอิตาลีซึ้งมีหนี้สาธารณะสูงถึง 118% ของ GDP แม้ว่าตัวเลขขาดดุลงบประมาณค่อนข้างต่ำ เพียง 5.3% ของ GDP เมื่อปี 2552 แต่รัฐบาลอิตาลีก็ได้เห็นชอบกับการลดการขาดดุลงบประมาณลงให้เหลือไม่เกิน 3% ของ GDP ภายในปี 2555 ประกอบด้วยมาตรการต่างๆ ดังนี้ การลดเงินเดือนรัฐมาตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลง 10% ลดการจ่ายเงินอุดหนุนให้กับรัฐบาลท้องถิ่น และกำหนดว่าจ้างข้าราชการใหม่เป็นสัดส่วนเพียง 20% ของข้าราชการที่ออกไปในช่วงปี 2554 - 2556
ผมขอสอบถามท่านอาจารย์ทั้งหลายว่าหลังการซบเซาของเศรษฐกิจกลุ่ม PIIGS อันมาจากปัญหาหนี้สาธารณะ ประกอบกับการลดอัตราการใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละประเทศ กลุ่มยูโรโซนมีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรครับ และมาตรการที่ไช้กระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลอย่างไรต่อกลุ่ม PIIGS ครับผม